ไขข้อข้องใจทำไมเกาหลีใต้ใช้ถุงดำใส่อาหาร? ขัดภาพจำคนไทยเอาไว้ใส่สิ่งปฏิกูล

ไขข้อข้องใจ ทำไมเกาหลีใต้ใช้ถุงดำใส่อาหาร?

ไขข้อข้องใจ ทำไมเกาหลีใต้ใช้ ถุงดำ ใส่อาหาร?

เชื่อว่าหลายคนอาจเคยถึงขั้นเกิดอาการ Culture Shock เมื่อได้เห็นถุงใส่ของ/ใส่อาหารของคนเกาหลี ที่เป็นสี ดำ ! ซึ่งในบ้านเราอาจมีภาพจำว่าถุงสีนี้มีไว้เพื่อใส่สิ่งปฏิกูลหรือขยะ ไม่ได้นำมาใช้ใส่ของ ทำไมคนเกาหลีถึงนำ ถุงดำ มาใส่อาหารกันนะ โพสต์นี้มีคำตอบ!

  • ถุงรีไซเคิล

ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่าถุงพลาสติกที่คนเกาหลีมักนำมาใช้ใส่อาหาร มีอยู่ 2 แบบ ซึ่งล้วนเป็นถุงแบบรีไซเคิลทั้งสิ้น แต่แตกต่างกันที่ส่วนประกอบในการผลิตถุง กล่าวคือ ถุงที่ผลิตจากพลาสติกใหม่ 100% จะมีลักษณะใสและสีสวย แต่ในการผลิตถุงพลาสติกลักษณะนี้ ก็จะมีพลาสติกบางส่วนที่ไม่ผ่าน QC ทำให้พลาสติกพวกนี้ไม่ถูกนำมาใช้ และเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล โดยการนำมาหลอมใหม่ ซึ่งเมื่อพลาสติกหลาย ๆ สีมารวมกันเยอะ ๆ ก็จะทำให้กลายเป็นสีเข้ม ไปจนถึงสีดำ

ในขณะที่ถุงรีไซเคิลสีดำ จะเป็นการนำเม็ดพลาสติกที่ใช้แล้วหลากหลายสี มาทำการรีไซเคิลใหม่ และเพื่อไม่ให้ออกมาในสีประหลาด ผู้ผลิตจึงได้มีการนำสีเข้มมากลบ โดยส่วนใหญ่จะเป็นสีดำ ซึ่งถุงชนิดนี้มีต้นทุนการผลิตที่ไม่สูงเท่ากับถุงแบบสี จึงเป็นที่นิยมในการนำมาใช้ของคนเกาหลี ทั้งในร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ ไปจนถึงร้านสตรีทฟู้ด แต่ทั้งนี้ก็ไม่ใช่ทุกธุรกิจจะเลือกใช้ถุงสีดำเสมอไปนะ

  • นโยบายรัฐ

ทั้งนี้ที่คนเกาหลีนิยมใช้ถุงรีไซเคิล ส่วนหนึ่งก็มาจากการที่รัฐบาลเกาหลีมีนโยบายให้คนเกาหลีเลิกใช้ถุงพลาสติก เพราะถือเป็นการสิ้นเปลือง และทำลายสิ่งแวดล้อม ทำให้หากเราไปซื้อของจากร้านสะดวกซื้อ เขาก็จะไม่มีถุงพลาสติกให้ แต่เราต้องเสียเงินซื้อ หรือไม่ก็ต้องพกถุงไปเอง

Reference: https://theseriousseries.com/black-bag-in-south-korea/

เรื่องแนะนำ

ตัวช่วยสำคัญช่วยเพิ่มความสะดวก ลดต้นทุน เพิ่มกำไรให้ธุรกิจ

ตัวช่วยสำคัญช่วยเพิ่มความสะดวก ลดต้นทุน เพิ่มกำไรให้ธุรกิจ ทำธุรกิจยุคนี้นอกจากจะต้องพัฒนาสินค้าหรือบริการให้ดี สร้างความต่าง เพื่อดึงดูดลูกค้า เอาชนะคู่แข่งให้ได้แล้ว ยังต้องเร่งหาช่องทางการควบคุมต้นทุน ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น หรือลดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อน เพื่อช่วยให้ธุรกิจมีกำไร และอยู่รอดได้ เราจึงมีตัวช่วยเด็ดที่จะช่วยลดต้นทุน และเพิ่มกำไรให้ธุรกิจมาฝาก! ตัวช่วยด้านการหาฟรีแลนซ์ออนไลน์ ทุกวันนี้ธุรกิจจะมองข้ามเรื่องงานออกแบบและงานดีไซน์ไม่ได้แล้ว เพราะถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ดึงดูดใจลูกค้าให้อยากซื้อสินค้าและบริการของเรา โดยงานออกแบบที่ว่านี้ ไม่ว่าจะเป็นภาพประกอบบทความ ภาพที่ใช้ในการโฆษณา รวมไปถึงบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ ที่สามารถสะท้อนตัวตนของธุรกิจเราได้ แต่การจะสร้างสรรค์งานเหล่านี้ตรงใจเรา และถูกใจลูกค้าไม่ใช่เรื่องง่าย หากเจ้าของร้านต้องมาออกแบบเองก็อาจจะเสียเวลาที่จะไปพัฒนาธุรกิจในด้านอื่น ๆ หรือหากจ้างพนักงานมาดูแลส่วนนี้โดยเฉพาะ ก็กลัวว่าค่าใช้จ่ายของธุรกิจจะสูงเกินไป ใครกำลังกังวลกับเรื่องนี้ เรามีตัวช่วยเด็ดนั่นคือ Fastwork เว็บไซต์หาฟรีแลนซ์ออนไลน์ด้านการออกแบบมืออาชีพ ไม่ว่าจะเป็น นักออกแบบ/กราฟิกดีไซน์ นักวาดภาพประกอบ ออกแบบ Packaging ฯลฯ ที่จะช่วยให้การออกแบบงานสร้างสรรค์กลายเป็นเรื่องง่าย ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน โดย Fastwork จะมีฟรีแลนซ์ออนไลน์จำนวนมาก ให้เราได้เลือกตามความต้องการ มีคะแนนและข้อความรีวิวจากผู้ใช้งานท่านอื่น ๆ เป็นเครื่องมือที่ช่วยตัดสินใจ เรียกว่าเป็นช่องทางที่เหมาะกับ SME ที่ต้องการความสะดวก รวดเร็ว และต้องการงานสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพในราคาที่สมเหตุสมผล   ตัวช่วยด้านการจัดส่งสินค้า […]

เทียบให้ชัด เนย VS มาร์การีน ทั้งแหล่งที่มาและการใช้ ต่างอย่างไร ?

เทียบให้ชัด เนย VS มาร์การีน ทั้งแหล่งที่มาและการใช้ ต่างอย่างไร ? เนยกับมาร์การีนคือสิ่งเดียวกัน? ความเข้าใจผิดของผู้บริโภคหลาย ๆ คน ซึ่งจริง ๆ ทั้ง 2 อย่างนี้ไม่ใช่อันเดียวกัน และมีส่วนประกอบที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง ดังนั้นเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง เรามาดูความแตกต่างที่บอกว่า “เนย” และ “มาร์การีน” คือคนละอย่างกัน!!! . เนย ทำจากอะไร? . เนยเป็นไขมันที่แยกมาจากน้ำนมสัตว์ ที่ส่วนใหญ่ใช้น้ำนมวัวเป็นวัตถุดิบหลัก แต่อาจจะใช้น้ำนมจากสัตว์อื่น เช่น แกะ แพะ หรือควายก็ได้ โดยไขมันที่ว่านี้มีกรดไขมันชนิดอิ่มตัวสูง (saturated fatty acid) . ในการผลิตเนย จะเริ่มจากแยกส่วนที่เป็นไขมันออกจากน้ำนมดิบโดยการปั่นก่อน เมื่อแยกส่วนไขมันออกมาแล้วก็นำไปฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อน จากนั้นทำให้เย็นและนำมาปั่นต่อเพื่อให้ไขมันจับตัวเป็นก้อน สุดท้ายจึงนำมาทำให้เป็นก้อนตามขนาดที่ต้องการเพื่อจำหน่าย โดยเนยที่ได้จะเป็นเนยรสจืด (unsalted butter) ที่มีไขมันต่ำกว่า 80% อีกทั้งเนื่องจากประกอบด้วยไขมันสายสั้น ทำให้มีจุดหลอมเหลวต่ำ ต้องเก็บไว้ในตู้เย็นเสมอเพื่อให้เนยยังคงรูป . ข้อดี […]

“เรียบจบไม่ตรงสาย แต่มาขายอาหาร เสียดายของ” กรณีศึกษาจากผู้ประสบความสำเร็จแม้จะจบไม่ตรงสาย

คิดอย่างไรกับประโยค… “เรียบจบไม่ตรงสาย แต่มาขายอาหาร เสียดายของ” กรณีศึกษาจากผู้ประสบความสำเร็จแม้จะจบไม่ตรงสาย เชื่อว่าผู้ประกอบการหลาย ๆ คนจะต้องเคยเจอประโยคหรือคำพูดเทือก ๆ นี้ “เรียบจบไม่ตรงสาย แต่มาขายอาหาร เสียดายของ” จากทั้งคนรู้จักและไม่รู้จัก ซึ่งบางทีมันก็ทำให้เราเสียความรู้สึกได้เลย แต่ในบางคนก็ตั้งคำถามกลับนะ “ทำไมล่ะ ? ทำอาชีพค้าขายแล้วมันทำไมหรอ ? คนทำมาค้าขายแล้วประสบความสำเร็จก็มีให้เห็นเยอะแยะไป” . อย่างในวงการธุรกิจอาหารก็มีผู้ประกอบการที่เรียนจบไม่ตรงสาย แต่หันมาค้าขายจนประสบความสำเร็จกันนักต่อนัก แล้วแบบนี้เรียกว่าเสียของจริงไหม ? ลองมาดู ตัวอย่างผู้ประกอบการ นักธุรกิจที่จบไม่ตรงสาย! คุณปลา อัจฉรา บุรารักษ์ Founder & Creative Director เครือ IBERRY Group จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ก่อนที่จะมาทำธุรกิจคุณปลาได้ทำงานเป็นแอร์โฮสเตสมาก่อน แต่ได้ตัดสินใจลาออกเพราะรู้สึกว่าไม่ใช่ตัวตนจริง ๆ ของเธอ จึงมีความคิดที่อยากจะเปิดร้านอาหารเป็นของตัวเอง เพราะเป็นชอบทำอาหารและขนมเป็นชีวิตจิตใจ บวกกับเป็นคนชอบท่องเที่ยวจึงได้เห็นว่าในต่างประเทศมีร้านไอศกรีมแบบ Gelato อยู่หลายแห่ง แต่ที่ไทยยังไม่มี คุณปลาจึงเห็นว่านี่เป็นโอกาสที่ดีที่จะเริ่มต้นก่อนคนอื่น ทั้งนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นของร้านไอศกรีม IBERRY ที่ปัจจุบันได้ขยับขยายแตกแบรนด์ร้านอาหารไทยอื่น […]

ธุรกิจโตไว แข่งกับใครก็ชนะ เพราะมีที่ปรึกษาชี้ทางสำเร็จ

เจ้าของธุรกิจ SME ในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตจึงต้องก้าวนำคู่แข่งอยู่เสมอด้วยการมีที่ปรึกษาทางธุรกิจเป็นตัวช่วย เพื่อช่วยลดเวลา ลดความผิดพลาด ลดต้นทุน และเพิ่มโอกาสความสำเร็จ

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.