ความเห็นจากกลุ่มคนรักบุฟเฟต์ พกน้ำจิ้มไปร้านอาหาร เท่ากับไม่ให้เกียรติร้านไหม?

พกน้ำจิ้มไปร้านอาหาร เป็นการไม่ให้เกียรติร้านไหม? ความคิดเห็นจากสมาชิก กลุ่มคนรักบุฟเฟต์ (Buffet Lovers)

พกน้ำจิ้มไปร้านอาหาร เป็นการไม่ให้เกียรติร้านไหม?
ความคิดเห็นจากสมาชิก กลุ่มคนรักบุฟเฟต์ (Buffet Lovers)

แอดได้ไปเห็นโพสต์หนึ่งที่สมาชิก “กลุ่มคนรักบุฟเฟต์ (Buffet Lovers)” ได้มาตั้งคำถามเกี่ยวกับประเด็นเรื่องน้ำจิ้มได้อย่างน่าสนใจ ซึ่งประเด็นนี้ได้มีการตั้งคำถามถึง “การพกน้ำจิ้มไปร้านบุฟเฟต์ ว่าเป็นการกระทำที่ไม่ให้เกียรติร้านหรือไม่?” โดยสมาชิกเจ้าของโพสต์ ได้ยกตัวอย่างว่าเธอก็เป็นคนหนึ่งที่พกน้ำจิ้มซีฟู้ดไปร้านบุฟเฟต์ ด้วยเหตุผลว่าบางร้านน้ำจิ้มไม่ถูกปาก เลยพกไปเองดีกว่าจะได้กินได้เยอะ ๆ และเปรียบเทียบว่าถ้าตนเป็นเจ้าของร้านก็น่าจะชอบ ที่ไม่ต้องเปลืองน้ำจิ้มที่ร้าน
.
ซึ่งเมื่อเรื่องนี้ออกไปก็ได้มีสมาชิกกลุ่มดังกล่าวต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันด้วยเหตุผลที่หลากหลาย แบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายหลัก ๆ คือฝ่ายที่คิดว่าสามารถพกน้ำจิ้มไปได้ ไม่เห็นเป็นอะไร แต่ต้องมีการสอบถามหรือขออนุญาตร้านก่อนพกน้ำจิ้มเข้าไปด้วย กับฝ่ายที่คิดว่าไม่ควรนำอาหารอื่น ๆ เข้าร้านอาหาร

โดยสรุปเป็นเหตุผลหลัก ๆ ได้ ดังนี้

👤💬 มองว่า พกน้ำจิ้มไปได้

🔸กินคีโต🍴

“คนกินคีโตต้องพกไปค่ะ ต้องปรุงน้ำจิ้มเอง แล้วไปทานเนื้อสัตว์ (ที่ไม่หมัก) ที่ร้าน แต่คิดว่ายังไงก็ควรพูดคุยตกลงกันก่อนว่าโอเคทั้งสองฝ่ายไหม เพราะบางร้าน Signature เขาคือน้ำจิ้ม”

“คนกินคีโตบางที่ก็เรื่องปกติเลย พกไปเองเพราะไม่อยากหลุดหรือปนเปื้อนเยอะกว่าจะเข้าใหม่ลำบาก”

“เราทานคีโต พกน้ำจิ้มไปเอง ร้านน่าจะชอบนะคะ เพราะเราทานน้ำจิ้มทั่วไปไม่ได้”

🔸ข้อจำกัดส่วนตัว🤢

“ตอบในมุมของมนุษย์กินเผ็ดไม่ได้นะคะ คือเราเป็นคนกินเผ็ดไม่ได้เลย นิดนึงก็แสบริมฝีปากไหม้เป็นสะเก็ดเลยค่ะ เราพกไปเองแต่เอาไปในร้านที่เป็นร้านประจำ ที่เขาอนุญาต ส่วนร้านใหม่ ๆ จะพกไปแต่จะไปขอก่อน ซึ่งบางร้านถ้าเลิ่กลั่กหรือหัวเราะว่าเราเวอร์ เราก็แค่ขอบคุณค่ะ ยิ้ม ๆ แล้วเดินออก เพราะกินไม่ได้จริง ๆ ถ้าสมมติไปกินกับเพื่อน ๆ กระทันหัน เราไม่เคยกินน้ำจิ้มได้เลยค่ะ จะขอเกลือมาจิ้มอาหารทะเลแทน เพื่อน ๆ รู้ แต่อันนี้ย้ำอีกครั้งว่าเป็นมุมคนกินเผ็ดไม่ได้นะคะ หลายร้านเข้าใจค่ะ พกไปกินแฮปปี้ดี”

“เราแพ้สาลีค่ะ เลยต้องพกน้ำจิ้มไปเอง ก่อนหน้านี้เคยไปกินร้านนึง เราก็ถามเขาก่อนแล้วว่าในน้ำจิ้มมีสาลีไหมเราแพ้ ทางร้านบอกว่าไม่มี เรากินไปได้นิดเดียว ผื่นแพ้ขึ้นแดงทั้งตัวเลยค่ะ”

🔸น้ำจิ้มไม่ถูกปาก👅

“บางร้าน มันก็ไม่ไหวกับน้ำจิ้มจริงๆ เช่นส่วนตัวเพื่อนและคนอื่นๆ เชียร์ร้านชาบูร้านนึงมาก เลยลองตัดใจไปชิมดู ไม่ไหวเลยจริงๆ กับน้ำทุกรสชาติ ที่มีให้ในวันนั้น เนื้อดีวัตถุดิบดี แต่น้ำจิ้มไม่ใช่ทางของผม เลยไม่ได้ไปอีก ถ้าไปอีกก็คงพกน้ำจิ้มไปเอง”

“ส่วนตัวว่าถ้ากับร้านซีฟู้ดก็คงเสียความรู้สึก เพราะแบบหัวใจของร้านบุฟเฟ่ต์ซีฟู้ดคือน้ำจิ้มซีฟู้ด แต่ขอยกตัวอย่างร้านนึงที่มีเมนูกุ้งแม่น้ำด้วย แต่เคยขอน้ำจิ้มซีฟู้ดมาทานคู่ กล้าพูดเลยว่ารสชาติเหมือนน้ำจิ้มขวดในร้านสะดวกซื้อ แย่มากๆ ต้องพกไปเอง”

“หมูกระทะแถวบ้าน คือดีมาก ติดอย่างเดียวใช้น้ำจิ้มสำเร็จรูปรสจัดแต่ออกหวาน คือถ้าเติมมะนาวไปลงคืออร่อยเลย แต่ติดที่ว่าร้านใช้มะนาวขวด จบเห่!!”

👤💬 มองว่า ไม่ควรนำอาหารอื่น ๆ เข้าร้านอาหาร

🔸ไม่ให้เกียรติ🙅🏻‍♀️

“ถือว่าหยามเจ้าของร้านครับ หาว่าน้ำจิ้มเขาไม่อร่อย เคยทำไปครับ เขาไล่ผมออกจากร้านเลย ”

ส่วนตัวถ้าแง่คนทำอาหารคงใช่ เหมือนไปบอกว่าเขาทำไม่อร่อย ในแง่เจ้าของร้านเจอก็คงหนักใจแต่จะบ่นก็กลัวดราม่า บางคนถึงขั้นไม่อยากทำบุฟเฟ่ต์ราคาประหยัด เพราะเลี่ยงกลุ่มลูกค้าเลยนะ ถ้าเลี่ยงได้เลี่ยงไม่เอาของนอกร้านไปกินในร้านตามข้อตกลงคือดีสุด”

🔸สุขอนามัย🧼

“ถือว่าผิดมารยาทค่ะ ในต่างประเทศนี่เรื่องคอขาดบาดตายมาก ไม่ใช่แต่ไม่ให้เกียรติเชฟ แต่เป็นเรื่องสุขอนามัย เพราถ้าเราป่วยอาหารเป็นพิษท้องเสียแล้วไปอ้างว่าเป็นเพราะอาหารในร้านเขา เขาต้องรับผิดชอบ แต่ถ้าเขาพบว่าคุณพกน้ำจิ้มไปเอง จากที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากร้านได้ ร้านก็หลุดพ้นความรับผิเชอบไป”

“เราเคยทำงานที่ร้านอาหารในห้าง เคยถามผู้จัดการแบบนี้แหละว่าลูกค้าขอเอาอาหารมาเองแล้วทานกับของในร้านได้ไหม ผู้จัดการบอกว่าไม่อนุญาตให้เอาอย่างอื่นเข้ามาเพราะถ้าลูกค้าทานมื้อนั้นแล้วอาหารเป็นพิษหรือเป็นอะไรขึ้นมา ร้านจะไม่สามารถสืบทราบได้เลยว่ามันเกิดจากอาหารของร้านหรือของที่ลูกค้านำเข้ามา ดังนั้นร้านอาจปฏิเสธความรับผิดชอบได้”

👤💬 มุมผู้ประกอบการ

“ถ้าลูกค้าจะเอาอะไรที่ “ร้านให้ฟรี” หรือ​ “รวมอยู่ในค่าใช้จ่าย” อยู่แล้วมา​ ผมอนุญาต​ครับ​ เพราะร้านไม่เสียอะไร แต่ถ้าเป็นของที่ร้าน​ขาย​หรือต้องซื้อเพิ่ม อันนั้นไม่ได้ครับ”

“สำหรับเราเอาที่ลูกค้าถนัดเลยค่ะ แค่เขามาอุดหนุนทานอาหารร้านเราก็ดีใจมากแล้ว ส่วนน้ำจิ้มก็เอาที่ชอบในรสชาติที่ตัวเองโปรดฝีมือตัวเองมาได้เลย”

“ในมุมเจ้าของร้าน ผมจะถามว่า…น้ำจิ้มที่ร้านไม่อร่อยหรือครับ ไม่อร่อยตรงไหน ควรปรับปรุงอย่างไร ? เมื่อรู้คำตอบก็นำไปพิจารณาว่ารสชาติเป็นไปอย่างที่ลูกค้าว่าหรือเปล่า? หรือเป็นความชอบเฉพาะตัว เช่น ชอบเปรี้ยวจัด เค็มจัด หรือหวานจัด แต่ในเบื้องต้นต้องพิจารณาให้ได้ว่า น้ำจิ้มของทางร้านได้มาตรฐานตามรสชาติที่ควรจะเป็นหรือเปล่า? เพราะแต่ละคนอาจจะชอบไม่เหมือนกัน ส่วนเรื่องการนำน้ำจิ้มมาเอง ผมไม่ซีเรียสว่าจะเป็นการไม่ให้เกียรติทางร้านหรือเปล่า หรือแม้กระทั่ง จะได้ประหยัดน้ำจิ้ม ร้านอาหารที่ดี ควรยอมรับคำติชมเพื่อนำไปปรับปรุงคุณภาพและรสชาติของอาหาร และบริการ ไม่ย่ำอยู่กับที่”

นอกจากนี้หลายคนก็แชร์เชิงเสนอแนะในกรณีที่ร้านนั้น ๆ มีน้ำจิ้มที่ไม่ถูกใจ ไม่ตอบโจทย์ว่าให้เลือกที่จะเปลี่ยนร้านไปหาร้านที่รสชาติถูกปากดีกว่า เพราะเดี๋ยวนี้มีตัวเลือกให้กินเยอะมาก

รวมถึงบางคนก็ได้แนะนำทางร้านด้วยเช่นกันว่า ถ้าหากร้านไม่ต้องการให้ลูกค้านำอาหารเข้ามาในร้าน อาจทำการติดป้ายแจ้งไว้เลย เพื่อเป็นการตัดปัญหาตั้งแต่ต้น

🔸ร้านที่อนุญาตให้นำอาหารอื่นเข้ามาได้?😱

สำหรับกรณีการนำอาหารอื่นเข้าไปในร้านอาหาร ก็มีร้านหนึ่งที่ได้ใช้วิธีการที่น่าสนใจ อย่างร้าน CQK Hot Pot ที่อนุญาตให้ลูกค้านำอาหารอื่นเข้าไปในร้านได้ โดยใช้วิธีการแจ้งลูกค้าว่า “ถ้าท่านไม่มีอาหารจานโปรดที่สั่งได้ในร้าน ท่านสามารถนำอาหารเข้ามาเองได้ และท่านสามารถนำเครื่องดื่มโปรดมาได้โดยไม่คิดค่าเปิด” ซึ่งถือว่าเป็นวิธีการที่แปลกใหม่มาก ๆ ที่ร้านอาหารร้านหนึ่งจะยอมให้ลูกค้านำอาหารอื่นเข้ามามารับประทานในร้านได้
.
แล้วคุณล่ะคิดเห็นกับประเด็น “พกน้ำจิ้มไปร้านบุฟเฟต์” อย่างไร? มาแชร์กัน
.
Reference: https://bit.ly/3oqrbGahttps://bit.ly/3B0JUgS
#AmarinAcademy #ร้านอาหาร

เรื่องแนะนำ

Operation Setup วางระบบร้านอาหารไม่ยากอย่างที่คิด

รู้ว่ากำลังทำร้านอาหารประเภทไหน             ร้านอาหารแต่ละประเภท มีลักษณะที่ต่างกัน การวางระบบก็มีความแตกต่างกันด้วย ก่อนที่จะเริ่มต้นวางระบบร้านอาหารจึงต้องรู้ว่าร้านอาหารของเรามีรูปแบบการบริการแบบไหน ยกตัวอย่าง ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดไม่เน้นการบริการ แต่เน้นที่ความรวดเร็ว ร้านอาหารภัตตาคารเน้นการบริการที่มีมาตรฐานแบบ Table Service ประเภทของร้านอาหารจะสัมพันธ์กับการวางโครงสร้างต้นทุน โครงสร้างทีมงานร้านอาหาร และระบบงานครัว อย่างไรก็ดี ร้านอาหารลักษณะเดียวกันก็ไม่จำเป็นต้องมีระบบร้านที่เหมือนกันเสมอไป ขึ้นอยู่กับว่า เป้าหมายและจุดขายที่แตกต่างกันของแต่ละร้านด้วย คลิกอ่าน เทคนิควางระบบร้านอาหาร 5 ประเภท Click link การวางโครงสร้างงาน             ลำดับต่อมา คือการวางโครงสร้างงานร้านอาหาร ซึ่งจะเป็นการวางรูปแบบการทำงานของทีมงานร้านอาหาร ที่สามารถแบ่งง่าย ๆ เป็น 3 ส่วน คือทีมงานบริหาร มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายทิศทาง ซึ่งประกอบไปด้วย เป็นเจ้าของ หุ้นส่วน ลูกจ้างบริหารระดับสูง  ทีมงานเบื้องหน้า ได้แก่ทีมที่ให้บริการหน้าร้าน ตั้งแต่ ฝ่ายต้อนรับ ผู้จัดการร้าน พนักงานเสิร์ฟ ทีมงานเบื้องหลัง ได้แก่ ทีมงานการผลิต ทีมครัว และทีมสนับสนุนดูแลระบบ เป็นต้น การวางโครงสร้างงานเป็นการกำหนดกำลังคน ขอบเขตในการทำงาน […]

เช็คลิสต์ความพร้อมร้านอาหาร ก่อนรบตลาด Delivery

  ร้านอาหาร Delivery ช่วยเพิ่มโอกาสในการขายมากขึ้น แต่ก็อาจตัดโอกาสในการขายเช่นกัน หากว่าร้านของคุณไม่พร้อมในการดำเนินการ มาลองตรวจสอบกันก่อนว่าร้านของคุณพร้อมหรือไม่ จากเช็คลิสต์ 5 ข้อ เหล่านี้   เจ้าของต้องริเริ่ม กำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการเริ่มทำร้านอาหาร Delivery การใช้ Application ด้าน Delivery มีตัวเลือกอยู่หลายเจ้าทั้ง Grab, Get, FOODPANDA, lineman  ซึ่งไม่จำเป็นที่ร้านอาหารจะต้องใช้ทุกเจ้าที่มีอยู่ เพราะแทนที่จะส่งผลดี อาจส่งผลเสียต่อร้านมากกว่า เจ้าของควรคำนึงถึงเป้าหมายของร้าน และต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับรายได้ของสินค้าที่ขายได้หลังหักต้นทุนแล้ว เช่น แอพพลิเคชั่นบางแห่งคิดค่าคอมมิชชั่นจากยอดการส่งเป็นเปอร์เซ็นต์ อาจจะไม่เหมาะกับร้านที่มีมาร์จินต่ำ  ทำให้ต้องขายลูกค้าในราคาที่สูง ลูกค้าสับสนราคาขาย และไม่ตัดสินใจซื้อ   ตลาดต้องรุก การใช้ Application ผู้ให้บริการ Delivery ยังช่วยให้การทำส่งเสริมการขายเป็นไปได้มากขึ้น การตลาดที่ดีจะต้องศึกษาข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้า การเตรียมข้อมูล ภาพ การวางรูปแบบเมนูสินค้าใน Application เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อเมนูที่ต้องการผลักดันยอดได้ในลำดับแรก ๆ   Application ส่วนใหญ่จะการทำโปรโมชันเพื่อแข่งขันกันเป็นเจ้าตลาด ร้านอาหาร Delivery จึงควรศึกษาข้อมูลเพื่อจัดทำโปรโมชั่นร่วมที่มีรูปแบบตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และพฤติกรรมการซื้อมากที่สุด […]

พร้อมเปิดร้านอาหาร

แบบทดสอบคุณ พร้อมเปิดร้านอาหาร หรือยัง ?

บางคนอาจยังไม่รู้ว่าตัวเองพร้อมสำหรับการเปิดร้านมากน้อยแค่ไหน วันนี้เราจึงมีแบบทดสอบง่ายๆ ให้คุณลองประเมินตัวเองดูว่าคุณ พร้อมเปิดร้านอาหาร หรือยัง

พฤติกรรมพนักงานบริการ

เช็ค 10 พฤติกรรมพนักงานบริการ ที่ร้านอาหารควรปรับปรุง

พนักงานบริการถือว่ามีความสำคัญต่อร้านอาหารมาก ฉะนั้นทางที่ดีมาเช็ค พฤติกรรมพนักงานบริการ ของร้านเราดีกว่า ว่าเข้าข่ายต้องรีบปรับปรุงหรือเปล่า

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.