“อร่อยไม่ซ้ำ จำสูตรไม่ได้” ประโยคขำๆ ที่ลูกค้าไม่ขำ 3 สิ่งต้องยึดคุมรสชาติอาหาร

“อร่อยไม่ซ้ำ จำสูตรไม่ได้” ประโยคแซวขำๆ ที่ลูกค้าอาจไม่ขำ 3 องค์ประกอบที่ต้องยึด ควบคุมรสชาติอาหาร

“อร่อยไม่ซ้ำ จำสูตรไม่ได้”
ประโยคแซวขำๆ ที่ลูกค้าอาจไม่ขำ
3 องค์ประกอบที่ต้องยึด ควบคุมรสชาติอาหาร

“อร่อยไม่ซ้ำ จำสูตรไม่ได้” ประโยคที่แซวเล่นกันขำๆ แต่ลูกค้าอาจไม่ขำ และถือเป็นวิธีไล่ลูกค้าวิธีหนึ่งเลยก็ว่าได้ วันก่อนแอดได้มีโอกาสพูดคุยกับเจ้าของร้านคาเฟ่มือใหม่คนหนึ่ง ถึงวิธีการทำร้าน การจัดการต่าง ๆ โดยระหว่างที่คุยกันตอนหนึ่งของบทสนทนาเจ้าของร้านก็ได้เปิดใจกับแอดว่า “ด้วยความที่เขาเป็นมือใหม่ เพิ่งเปิดร้านได้ไม่นาน ทำให้ยังกะส่วนผสมเครื่องดื่มแต่ละแก้วไม่โปรเท่าไหร่ หลายครั้งจึงประสบปัญหาลูกค้าคอมเพลนเรื่องรสชาติ รสชาติไม่เหมือนเดิมบ้าง เข้มไปบ้าง จนบางทีก็ทำให้เขารู้สึกเสียเซล์ฟจนอยากปิดร้านไปเลย”
.
ต้องยอมรับว่าเรื่อง “มาตรฐานรสชาติ” ถือเป็นเรื่องสำคัญมากอย่างหนึ่งสำหรับร้านอาหาร และร้านเครื่องดื่ม ยิ่งมีหลายสาขา ก็ยิ่งต้องควบคุมมาตรฐานรสชาติให้ดี ให้เหมือนกันในทุก ๆ สาขา เพราะมาตรฐานของรสชาติเป็นสิ่งที่เรากำหนดขึ้นและลูกค้าส่วนใหญ่ก็พอใจและยอมรับในรสชาตินี้ ดังนั้นจึงต้องปรุงให้มีรสชาติที่คงที่ เพื่อรักษาความพึงพอใจของลูกค้า แล้วจะทำให้ทุกจาน ทุกแก้วรสชาติเหมือนกันต้องทำยังไง ? โพสต์นี้มีคำตอบ!
.
การสร้างมาตรฐานรสชาติ มีองค์ประกอบอยู่ 3 อย่าง


🔸วิธีการทำ🥣
.
ร้านอาหารอาจอาศัยการทำ SOP (Standard Operating Procedure) “คู่มือมาตรฐานเชิงปฏิบัติการ” หรือจะเรียกง่าย ๆ ว่า “คู่มือร้านอาหาร” ก็ได้ ซึ่ง SOP คือคู่มือที่ใช้บันทึกข้อมูลการทำงานในทุก ๆ ตำแหน่งในร้านอาหาร

เป็นตัวช่วยในการควบคุมมาตรฐานของร้านอาหารให้คงที่ ทั้งรสชาติ หน้าตาอาหาร รูปแบบการบริการและอื่น ๆ ในกรณีที่เรามีหลายสาขา แล้วต้องจ้างคนมาทำ การมี SOP ก็จะทำให้การเทรนพนักงานเป็นเรื่องง่าย เพราะเราได้บันทึกสูตรและขั้นตอนการทำที่ชัดเจนไว้แล้ว

ตรงกันข้ามถ้าร้านไม่มี SOP และปล่อยให้การทำอาหารเป็นไปตามคนปรุง พนักงานบางคนใส่น้ำตาล 4 ช้อน บางคนใส่ 3 ก็ส่งผลต่อรสชาติที่ลูกค้าได้รับแล้ว


🔸วัตถุดิบ🥩🥬
.
ใช้วัตถุดิบแบบไหนให้ซื้อแบบเดิม เช่น ใช้พริกแบบไหน ข่าแบบไหน หรือเนื้อเกรดไหนในเมนูอาหารของร้าน ไม่ใช่สักแต่ว่าเห็นของลดราคาแล้วเปลี่ยนไปซื้อ แต่ของคุณภาพไม่เท่ากัน รสไม่เหมือนกัน ก็มีผลต่อรสชาติ รสสัมผัสของเมนูอาหารจานนั้น ๆ ด้วยเหมือนกัน


🔸เครื่องมือ🍴
.
เมื่อต้องการควบคุมมาตรฐานสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ เครื่องมือในการชั่ง ตวง วัด เพราะถ้าไม่ทำ แล้วใช้การกะ การประมาณหรือความเคยชิน โอกาสที่รสชาติจะเพี้ยนก็มีสูง ดังนั้นควรมีการสร้างมาตรฐานสูตร (Standard Recipe) ไว้เลยว่าจานนี้ แก้วนี้ต้องใส่อะไรเท่าไหร่ รสชาติ หน้าตายังไง เช่น การกำหนดมาตรฐานของเมนูคอหมูย่าง ในหนึ่งจานต้องมี 20 ชิ้น สีของคอหมูต้องเป็นสีน้ำตาลทอง และต้องเป็นคอหมูที่มีมันหมู 60% เท่านั้น เป็นต้น
.
นอกจากนี้เมื่ออาหารของเรามีมาตรฐานรสชาติแล้ว ก็ยังต้องมีการกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบ เพื่อเช็คว่ารสชาตินี้โอเคหรือยังด้วย โดยอาจใช้การชิมเอง สังเกตจากสีหน้าลูกค้าเมื่อทานเข้าไปแล้ว หรือดูว่าลูกค้ากินหมดไหม ไปจนถึงถามลูกค้า ถ้าทำทุกอย่างได้ตรงตามมาตรฐาน 100% ทีนี้ก็ลดโอกาสที่จะเกิดปัญหารสชาติไม่คงที่ได้แล้ว คนชงไม่เสียเซล์ฟ ที่สำคัญลูกค้าแฮปปี้🥰
.
#AmarinAcademy #ร้านอาหาร

เรื่องแนะนำ

ข้อพลาดของนักธุรกิจ

5 ข้อพลาดของนักธุรกิจ รุ่นใหม่

คนรุ่นใหม่ผันตัวมาเป็นเจ้าของธุรกิจมากขึ้น แต่ประสบการณ์อาจยังไม่มากพอ จนก้าวพลาด เราจึงขอยกตัวอย่าง ข้อพลาดของนักธุรกิจ ให้ทราบ เผือช่วยป้องกันปัญหาได้

จิตวิทยาบริหารคน

จิตวิทยา บริหารคน ฉีกกฎในตำรา ขจัดทุกปัญหาเรื่องคน!

Copper ขึ้นชื่อว่าเป็นสังคมการทำงานร้านอาหารที่ดีที่สุด เราถอดบทเรียนการใช้หลัก จิตวิทยา บริหารคน ออกมาได้ 5 ข้อหลักๆ ซึ่งแทบทุกข้อฉีกทุกกฎในตำราก็ว่าได้!

แชร์สูตร คำนวณทั้งโครงสร้างต้นทุน ก่อนตั้งราคาอาหาร ร้านอาหารมีต้นทุนแฝง ป้องกันอาการ ขายดี…จนเจ๊ง!

แชร์สูตร คำนวณทั้งโครงสร้างต้นทุน ก่อนตั้งราคาอาหาร ร้านอาหารมีต้นทุนแฝง ป้องกันอาการ ขายดี…จนเจ๊ง! ขายดีจนเจ๊ง! เชื่อว่าสิ่งที่เจ้าของร้านอาหารมือใหม่อยากจะเห็นก็คือภาพของลูกค้ามาใช้บริการเต็มร้าน ขายดี ขายหมดทุกวัน แต่ทว่าการที่ลูกค้าเยอะ ก็ไม่ได้การันตีว่าจะได้กำไรเสมอไป ซึ่งกรณีแบบนี้เคยเกิดขึ้นกับหลายร้านที่ขายดีแต่ไม่มีกำไร กว่าจะรู้ตัวว่าขาดทุนสะสมมานานก็เกือบเจ๊งแล้ว ซึ่งต้นเหตุของปัญหาเหล่านี้ เกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น การตั้งราคาอาหารผิด คำนวณต้นทุนผิดหรือตั้งราคาอาหารจากต้นทุนวัตถุดิบอย่างเดียว แล้วถ้าอยากขายดีและมีกำไรต้องทำยังไงลองมาดูวิธีการตั้งราคาที่ถูกต้องกัน! . ทุกคนต้องเข้าใจก่อนว่าต้นทุนของราคาอาหารทุกจานล้วนมีต้นทุนแฝง ไม่ได้มีแค่ค่าวัตถุดิบอย่างเดียว ฉะนั้นจะเอาแค่ค่าวัตถุดิบมาใช้ในการตั้งราคาอาหารไม่ได้ ต้องเอามาทั้งโครงสร้าง โดยโครงสร้างต้นทุนแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้ ต้นทุนวัตถุดิบ COG (cost of grocery) ควรอยู่ที่ 35-40% ต้นทุนค่าเช่าที่ COR (cost of rental) ควรอยู่ที่ 10-15% ต้นทุน พนักงาน COL (cost of labor) ควรอยู่ที่ 20% ต้นทุนอื่นๆ ETC (เช่น ค่าน้ำ […]

การจัดเก็บวัตถุดิบ

เทคนิค การจัดเก็บวัตถุดิบ สำหรับร้านอาหาร เพื่อลดการเสียต้นทุน

         ในช่วงวิกฤตนี้ ประชาชนส่วนใหญ่เลือกที่จะซื้ออาหารและวัตถุดิบต่างๆ ตุนเอาไว้ ส่วนร้านอาหารต่างๆ ก็เน้นการขายแบบเดลิเวอรี่เพิ่มขึ้น ทำให้มีต้องมีการซื้อวัตถุดิบเพื่อรองรับการสั่งซื้อมากขึ้นเช่นกัน ดังนั้น การจัดเก็บวัตถุดิบ จึงเป็นเรื่องที่ทุกคนควรใส่ใจ เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา คงคุณภาพของอาหาร และลดการสูญเสียต้นทุนวัตถุดิบให้น้อยที่สุด           ในส่วนของผู้ประกอบการร้านอาหารควรยึดหลัก First In First Out (FIFO) หรือการใช้วัตถุดิบที่หมดอายุก่อน นอกจากนี้ วัตถุดิบแต่ละประเภทยังมีเทคนิคในการเก็บรักษาที่แตกต่างกันไป บทความนี้จึงขอรวมเทคนิคการยืดอายุวัตถุดิบอาหาร ให้สามารถเก็บได้นานที่สุด  เทคนิค การจัดเก็บวัตถุดิบ สำหรับร้านอาหาร เพื่อลดการเสียต้นทุน   เนื้อสัตว์           วัตถุดิบประเภทเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ ควรจะทำความสะอาด ตัดแต่งเนื้อตามลักษณะที่ต้องการ ซับให้แห้ง หลังจากนั้นอาจจะนำไปหมักกับเครื่องปรุง แล้วแบ่งเป็นสัดส่วนสำหรับใช้ในแต่ละครั้ง บรรจุใส่กล่องสำหรับแช่แข็ง หรือใส่ในถุงซิปล็อคแล้วกดให้แบน เพื่อให้ความเย็นเข้าถึงทั่วกันและจัดเก็บง่าย หรือจะห่อด้วยพลาสติกห่ออาหารก็ได้ หลังจากนั้นจึงนำไปแช่ในช่องแช่แข็ง […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.