ใช้บริการรับจดทะเบียนบริษัทรูปแบบต่าง ๆ มีกี่ขั้นตอนต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง? 

ใช้บริการรับจดทะเบียนบริษัทรูปแบบต่าง ๆ มีกี่ขั้นตอน ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง? 

อาจจะถึงเวลาแล้วที่ผู้อ่านจะต้องเริ่มคิดถึงการ จดทะเบียนบริษัท เนื่องจากมีข้อดีหลายอย่างและไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิด หากเริ่มลองทำธุรกิจมาสักพักแล้วถึงจุดหนึ่งที่รายได้สูงพอสมควร การจ่ายภาษีในฐานะบุคคลธรรมดาอาจจะทำให้คุณเสียเปรียบได้ เพราะเป็นการจ่ายภาษีแบบขั้นบันได แต่เมื่อจดทะเบียนบริษัทแล้ว อัตราภาษีจะคงที่อยู่ที 20% ในบทความนี้เราเลยรวบรวมเกี่ยวกับการใช้บริการรับจดทะเบียนบริษัทรูปแบบต่าง ๆ ว่ามีทั้งหมดกี่ขั้นตอน และต้องจัดเตรียมเอกสารอะไรไว้บ้าง?

search

1.ตั้งชื่อบริษัทสำหรับใช้ยื่นจดทะเบียนบริษัท

ก่อนอื่นก็ต้องเข้าไปตรวจสอบในฐานข้อมูลของบริษัทที่จดทะเบียนในไทยของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าก่อนว่าชื่อบริษัทที่คุณต้องการนั้นไม่ได้ซ้ำกับบริษัทอื่น แต่ก่อนที่จะใช้งานได้ต้องลงทะเบียนบนเว็บไซต์ก่อนและหากพบว่าชื่อที่ตั้งใจจะใช้ไม่ได้ซ้ำกับใครแล้ว ก็ทำเรื่องจองชื่อบริษัทที่ต้องการและมองหาบริการรับจดทะเบียนบริษัทได้เลย

2.จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิก่อนที่จะจ้างบริการรับจดทะเบียนบริษัท

หลังจากได้รับการรับรองชื่อบริษัทแล้ว ภายใน 30 วันต้องยื่นจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิเพื่อแสดงเจตจำนงในการจัดตั้งบริษัท ซึ่งในขั้นตอนนี้ต้องเตรียมข้อมูลต่อไปนี้ไว้ให้พร้อม

  • ชื่อบริษัท
  • ตำแหน่งที่ตั้งบริษัท
  • วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งบริษัท
  • จำนวนของทุนจดทะเบียน
  • ชื่อ อายุ ที่อยู่ พร้อมจำนวนของกรรมการและพยาน 2 คน
  • จำนวนหุ้นที่ชำระแล้วอย่างน้อยร้อยละ 25 ของทุนจดทะเบียน
  • ชื่อผู้ตรวจสอบบัญชี พร้อมเลขทะเบียนผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และค่าตอบแทน
  • ชื่อ อายุ ที่อยู่ของผู้ถือหุ้นและรายละเอียดจํานวนหุ้นของแต่ละคน

3.เตรียมเอกสารสำหรับใช้บริการรับจดทะเบียนบริษัท

  • แบบจองชื่อนิติบุคคลในข้อแรก
  • สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนของที่ต้องการจดทะเบียนบริษัท รวมทั้งของกรรมการทุกคน
  • หลักฐานการรับชําระค่าหุ้น
  • แผนที่แสดงตำแหน่งที่ตั้งของบริษัท

4.เซ็นรับรองสำเนาถูกต้องของเอกสาร

หลังจากที่ได้รับอนุมัติข้อมูลจากฝ่ายทะเบียน ให้เซ็นรับรองเอกสารให้เรียบร้อยเพื่อเตรียมยื่นสำหรับใช้บริการรับจดทะเบียนบริษัท ในขั้นตอนนี้อาจจะมีการขอเอกสารเพิ่มเติมจากนายทะเบียนตามแต่การพิจารณา

5.ยื่นคำขอให้ได้รับจดทะเบียนบริษัทที่สำนักงานของกรมธุรกิจการค้าใกล้บ้าน

เมื่อเตรียมเอกสารครบเรียบร้อยแล้ว นายทะเบียนก็จะรับจดทะเบียนบริษัทและออกใบรับรองให้ไว้เป็นหลักฐาน เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย ทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้ารับจดทะเบียนบริษัทแบบนิติบุคคลทั้งหมด 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามัญ ห้างหุ้นส่วนจำกัด และ บริษัทจำกัด ซึ่งสองแบบแรกเป็นบริษัทที่มีหุ้นส่วนตั้งแต่สองคนขึ้นไป และบริษัทจำกัดจะมีหุ้นส่วนตั้งแต่สามคนขึ้นไป นอกจากจำนวนคนที่ต่างกันแล้ว ก็มีความแตกต่างด้านอื่นๆ เล็กน้อยคือห้างหุ้นส่วนจำกัดสามัญจะต้องช่วยกันรับผิดชอบต่อหนี้สินที่เกิดขึ้นอย่างไม่จำกัด

ส่วนห้างหุ้นส่วนจำกัด ผู้ถือหุ้นสามารถเลือกได้ว่าใครจำเป็นคนรับผิดชอบต่อหนี้สินแบบจำกัดหรือไม่จำกัด โดยผู้ที่รับผิดชอบหนี้สินแบบจำกัดจะไม่มีอำนาจในการตัดสินใจได้เท่ากับอีกฝ่าย และแบบสุดท้าย บริษัทจำกัด หุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบต่อหนี้สินแบบจำกัดเท่ากันหมดแต่ไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ค้างชำระ

business

และนี่ก็คือขั้นตอนในใช้บริการรับจดทะเบียนบริษัทของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าสำหรับผู้อ่านทุกท่านที่ต้องการจดทะเบียนบริษัท นอกจากข้อดีในเรื่องของภาษีแล้ว การทำบัญชีอย่างเป็นกิจจะลักษณะยังจะช่วยธุรกิจในอนาคตเมื่อธุรกิจเติบโตได้ดีและต้องการเครดิตจากธนาคารเพื่อกู้ยืมในอนาคตได้ด้วย หากผู้อ่านท่านใดไม่มีเวลาที่จะดูแลเรื่องการจดทะเบียนบริษัทด้วยตัวเองและต้องการผู้ช่วยล่ะก็ สามารถค้นหาฟรีแลนซ์จาก Fastwork ที่เคยมีประสบการณ์รับจดทะเบียนบริษัทมาก่อนได้ที่ https://fastwork.co/commercial-registration

 

เรื่องแนะนำ

หน้าที่ของเจ้าของร้านอาหาร

หน้าที่ของเจ้าของร้านอาหาร คืออะไร

สาเหตุหลักที่ทำให้ร้านอาหารต้องปิดตัวคือ เจ้าของร้านทำงานน้อยเกินไปหรือมากเกินไป บางคนอาจสงสัยว่า หน้าที่ของเจ้าของร้านอาหาร คืออะไร วันนี้เราจะมาเผยให้ฟัง

ผักคะน้าคละ หรือ ผักคะน้าคัด ? เตรียมวัตถุดิบอย่างไรให้ได้จานเด็ดมัดใจลูกค้า

ผักคะน้าคละ หรือ ผักคะน้าคัด ? เตรียมวัตถุดิบอย่างไรให้ได้จานเด็ดมัดใจลูกค้า  ( SOP การเตรียมวัตถุดิบ + Portion Control = Perfect Dish ) ก่อนจะได้อาหารเลิศรสสักหนึ่งจานต้องผ่านกระบวนการต่างๆ มากมาย เริ่มตั้งแต่การซื้อวัตถุดิบ และหากว่าร้านอาหารของคุณต้องใช้ผักคะน้าจำนวนมาก แล้วคุณกำลังหาซื้ออยู่ที่ตลาดไท คุณจะเลือกผักคะน้าคละ หรือผักคะน้าคัดดีล่ะ ? สมมติว่าราคาผักคะน้าคละ ในตลาดไท ราคากิโลกรัมละ 23 บาท ก่อนจะนำมาปรุงได้ ต้องตัดใบแก่ ใบเหี่ยว ใบเหลืองทิ้ง ไป และตัดส่วนลำต้นที่แข็งออก คุณอาจจะเหลือผักคะน้าที่ใช้จริงแค่เพียง 7 ขีดเท่านั้น เท่ากับว่าต้นทุนจะไม่ใช่ 23 บาทต่อ 1 กิโลกรัมอีกต่อไป แต่จะเป็น 33 บาท ต่อ 1 กิโลกรัม   นอกจากนี้คุณยังต้องเสียเวลาไปกับการคัดแยกเอาผักคะน้าสวยๆ ออกจากกองที่คละกันอยู่อีกต่างหาก ทำให้ต้องเสียคนไปด้วยหนึ่งคนกับกระบวนการนี้ และอย่าลืมว่าวัตถุดิบ คน และเวลา […]

กฎหมายการจ้างพนักงาน

กฎหมายการจ้างพนักงาน ร้านอาหาร ควรรู้ !

มีผู้ประกอบการไม่น้อยยังไม่รู้กฎหมายหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการจ้างพนักงาน จึงอาจทำให้เกิดการจ้างงานผิดกฎหมาย อาจส่งผลเสียในภายหลังได้ วันนี้เราจึงนำ กฎหมายการจ้างพนักงาน ที่เจ้าของร้านอาหารควรรู้มาฝาก

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.