ใช้บริการรับจดทะเบียนบริษัทรูปแบบต่าง ๆ มีกี่ขั้นตอนต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง? 

ใช้บริการรับจดทะเบียนบริษัทรูปแบบต่าง ๆ มีกี่ขั้นตอน ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง? 

อาจจะถึงเวลาแล้วที่ผู้อ่านจะต้องเริ่มคิดถึงการ จดทะเบียนบริษัท เนื่องจากมีข้อดีหลายอย่างและไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิด หากเริ่มลองทำธุรกิจมาสักพักแล้วถึงจุดหนึ่งที่รายได้สูงพอสมควร การจ่ายภาษีในฐานะบุคคลธรรมดาอาจจะทำให้คุณเสียเปรียบได้ เพราะเป็นการจ่ายภาษีแบบขั้นบันได แต่เมื่อจดทะเบียนบริษัทแล้ว อัตราภาษีจะคงที่อยู่ที 20% ในบทความนี้เราเลยรวบรวมเกี่ยวกับการใช้บริการรับจดทะเบียนบริษัทรูปแบบต่าง ๆ ว่ามีทั้งหมดกี่ขั้นตอน และต้องจัดเตรียมเอกสารอะไรไว้บ้าง?

search

1.ตั้งชื่อบริษัทสำหรับใช้ยื่นจดทะเบียนบริษัท

ก่อนอื่นก็ต้องเข้าไปตรวจสอบในฐานข้อมูลของบริษัทที่จดทะเบียนในไทยของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าก่อนว่าชื่อบริษัทที่คุณต้องการนั้นไม่ได้ซ้ำกับบริษัทอื่น แต่ก่อนที่จะใช้งานได้ต้องลงทะเบียนบนเว็บไซต์ก่อนและหากพบว่าชื่อที่ตั้งใจจะใช้ไม่ได้ซ้ำกับใครแล้ว ก็ทำเรื่องจองชื่อบริษัทที่ต้องการและมองหาบริการรับจดทะเบียนบริษัทได้เลย

2.จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิก่อนที่จะจ้างบริการรับจดทะเบียนบริษัท

หลังจากได้รับการรับรองชื่อบริษัทแล้ว ภายใน 30 วันต้องยื่นจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิเพื่อแสดงเจตจำนงในการจัดตั้งบริษัท ซึ่งในขั้นตอนนี้ต้องเตรียมข้อมูลต่อไปนี้ไว้ให้พร้อม

  • ชื่อบริษัท
  • ตำแหน่งที่ตั้งบริษัท
  • วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งบริษัท
  • จำนวนของทุนจดทะเบียน
  • ชื่อ อายุ ที่อยู่ พร้อมจำนวนของกรรมการและพยาน 2 คน
  • จำนวนหุ้นที่ชำระแล้วอย่างน้อยร้อยละ 25 ของทุนจดทะเบียน
  • ชื่อผู้ตรวจสอบบัญชี พร้อมเลขทะเบียนผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และค่าตอบแทน
  • ชื่อ อายุ ที่อยู่ของผู้ถือหุ้นและรายละเอียดจํานวนหุ้นของแต่ละคน

3.เตรียมเอกสารสำหรับใช้บริการรับจดทะเบียนบริษัท

  • แบบจองชื่อนิติบุคคลในข้อแรก
  • สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนของที่ต้องการจดทะเบียนบริษัท รวมทั้งของกรรมการทุกคน
  • หลักฐานการรับชําระค่าหุ้น
  • แผนที่แสดงตำแหน่งที่ตั้งของบริษัท

4.เซ็นรับรองสำเนาถูกต้องของเอกสาร

หลังจากที่ได้รับอนุมัติข้อมูลจากฝ่ายทะเบียน ให้เซ็นรับรองเอกสารให้เรียบร้อยเพื่อเตรียมยื่นสำหรับใช้บริการรับจดทะเบียนบริษัท ในขั้นตอนนี้อาจจะมีการขอเอกสารเพิ่มเติมจากนายทะเบียนตามแต่การพิจารณา

5.ยื่นคำขอให้ได้รับจดทะเบียนบริษัทที่สำนักงานของกรมธุรกิจการค้าใกล้บ้าน

เมื่อเตรียมเอกสารครบเรียบร้อยแล้ว นายทะเบียนก็จะรับจดทะเบียนบริษัทและออกใบรับรองให้ไว้เป็นหลักฐาน เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย ทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้ารับจดทะเบียนบริษัทแบบนิติบุคคลทั้งหมด 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามัญ ห้างหุ้นส่วนจำกัด และ บริษัทจำกัด ซึ่งสองแบบแรกเป็นบริษัทที่มีหุ้นส่วนตั้งแต่สองคนขึ้นไป และบริษัทจำกัดจะมีหุ้นส่วนตั้งแต่สามคนขึ้นไป นอกจากจำนวนคนที่ต่างกันแล้ว ก็มีความแตกต่างด้านอื่นๆ เล็กน้อยคือห้างหุ้นส่วนจำกัดสามัญจะต้องช่วยกันรับผิดชอบต่อหนี้สินที่เกิดขึ้นอย่างไม่จำกัด

ส่วนห้างหุ้นส่วนจำกัด ผู้ถือหุ้นสามารถเลือกได้ว่าใครจำเป็นคนรับผิดชอบต่อหนี้สินแบบจำกัดหรือไม่จำกัด โดยผู้ที่รับผิดชอบหนี้สินแบบจำกัดจะไม่มีอำนาจในการตัดสินใจได้เท่ากับอีกฝ่าย และแบบสุดท้าย บริษัทจำกัด หุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบต่อหนี้สินแบบจำกัดเท่ากันหมดแต่ไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ค้างชำระ

business

และนี่ก็คือขั้นตอนในใช้บริการรับจดทะเบียนบริษัทของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าสำหรับผู้อ่านทุกท่านที่ต้องการจดทะเบียนบริษัท นอกจากข้อดีในเรื่องของภาษีแล้ว การทำบัญชีอย่างเป็นกิจจะลักษณะยังจะช่วยธุรกิจในอนาคตเมื่อธุรกิจเติบโตได้ดีและต้องการเครดิตจากธนาคารเพื่อกู้ยืมในอนาคตได้ด้วย หากผู้อ่านท่านใดไม่มีเวลาที่จะดูแลเรื่องการจดทะเบียนบริษัทด้วยตัวเองและต้องการผู้ช่วยล่ะก็ สามารถค้นหาฟรีแลนซ์จาก Fastwork ที่เคยมีประสบการณ์รับจดทะเบียนบริษัทมาก่อนได้ที่ https://fastwork.co/commercial-registration

 

เรื่องแนะนำ

ร้านอาหารประสบความสำเร็จ

กฎ 4 ข้อช่วยให้ ร้านอาหารประสบความสำเร็จ

ในธุรกิจร้านอาหารเราคงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า กว่าจะทำให้ ร้านอาหารประสบความสำเร็จ ได้นั้น ต้องใช้ความทุ่มเทพลังกายและพลังใจเป็นอย่างมาก

ถอดบทเรียน ครัวกลางใหม่ Bear House ทำไมสร้างห้องบัญชีและ HR ใหญ่ที่สุด

ถอดบทเรียน ครัวกลาง ใหม่ Bear House ทำไมสร้างห้องบัญชีและ HR ใหญ่ที่สุด จากบทเรียนขาดทุน 17 ล้านบาท สู่การให้ความสำคัญด้านบัญชีอย่างจริงจัง ธุรกิจคุณให้ความสำคัญกับ ฝ่ายบัญชีและ HR มากแค่ไหน? เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงจะได้ดูคลิปพาทัวร์การก่อสร้างครัวกลางใหม่ ของสอง youtuber ชื่อดัง คุณกานต์ อรรถกร และคุณซารต์ ปัทมพร ยูทูปเบอร์ที่ได้ผันตัวมาทำธุรกิจอาหารแบรนด์ Bear House ควบคู่ไปด้วยแล้ว ที่มาของครัวกลางใหม่ ซึ่งคนที่ติดตามก็คงพอทราบเหตุผลของการสร้างครัวกลางใหม่ในครั้งนี้แล้วว่า เพราะ Bear House ต้องการครัวกลางที่อยู่ใกล้เมืองมากขึ้น และเพื่อลด Sizing ของครัวกลางให้เหมาะกับธุรกิจที่ทำ โดยระหว่างที่คุณกานต์และคุณซารต์กำลังพาทัวร์ครัวกลางใหม่ ก็ได้มีการบรรยายแผนผังของครัวกลางไปพร้อม ๆ กัน  ทำไมต้องสร้างห้องบัญชีและ HR ใหญ่ที่สุด ซึ่งตอนหนึ่งของคลิปคุณกานต์และคุณซารต์ได้บอกว่า ตามผังของการก่อสร้างครัวกลางใหม่ในครั้งนี้ เขาได้วางให้ห้องบัญชีเป็นห้องที่ใหญ่ที่สุด รองลงมาเป็นห้อง HR ที่อยู่ติดกัน โดยทั้งสองได้ให้เหตุผลว่าทีมบัญชีและ HR เป็นฝ่ายด่านหลัง […]

Operation Setup วางระบบร้านอาหารไม่ยากอย่างที่คิด

รู้ว่ากำลังทำร้านอาหารประเภทไหน             ร้านอาหารแต่ละประเภท มีลักษณะที่ต่างกัน การวางระบบก็มีความแตกต่างกันด้วย ก่อนที่จะเริ่มต้นวางระบบร้านอาหารจึงต้องรู้ว่าร้านอาหารของเรามีรูปแบบการบริการแบบไหน ยกตัวอย่าง ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดไม่เน้นการบริการ แต่เน้นที่ความรวดเร็ว ร้านอาหารภัตตาคารเน้นการบริการที่มีมาตรฐานแบบ Table Service ประเภทของร้านอาหารจะสัมพันธ์กับการวางโครงสร้างต้นทุน โครงสร้างทีมงานร้านอาหาร และระบบงานครัว อย่างไรก็ดี ร้านอาหารลักษณะเดียวกันก็ไม่จำเป็นต้องมีระบบร้านที่เหมือนกันเสมอไป ขึ้นอยู่กับว่า เป้าหมายและจุดขายที่แตกต่างกันของแต่ละร้านด้วย คลิกอ่าน เทคนิควางระบบร้านอาหาร 5 ประเภท Click link การวางโครงสร้างงาน             ลำดับต่อมา คือการวางโครงสร้างงานร้านอาหาร ซึ่งจะเป็นการวางรูปแบบการทำงานของทีมงานร้านอาหาร ที่สามารถแบ่งง่าย ๆ เป็น 3 ส่วน คือทีมงานบริหาร มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายทิศทาง ซึ่งประกอบไปด้วย เป็นเจ้าของ หุ้นส่วน ลูกจ้างบริหารระดับสูง  ทีมงานเบื้องหน้า ได้แก่ทีมที่ให้บริการหน้าร้าน ตั้งแต่ ฝ่ายต้อนรับ ผู้จัดการร้าน พนักงานเสิร์ฟ ทีมงานเบื้องหลัง ได้แก่ ทีมงานการผลิต ทีมครัว และทีมสนับสนุนดูแลระบบ เป็นต้น การวางโครงสร้างงานเป็นการกำหนดกำลังคน ขอบเขตในการทำงาน […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2023 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.