นายจ้างที่ได้รับความช่วยเหลือมีแค่ 11% ส่องสถิติการเข้าถึง มาตรการเยียวยา จากภาครัฐ

นายจ้างที่ได้รับความช่วยเหลือมีแค่ 11% ส่องสถิติการเข้าถึง มาตรการเยียวยา จากภาครัฐ

        แม้ว่าวิกฤต COVID-19 จะกระทบต่อประชาชนคนไทยทุกคน แต่ มาตรการเยียวยา ของภาครัฐนั้นเข้าถึงผู้ที่ได้รับผลกระทบทั่วถึงหรือไม่? เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากประชาชน สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จึงได้ทำการสำรวจ ผลกระทบเบื้องต้นจากการใช้มาตรการบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจจาก COVID-19 ผ่านระบบ online ในช่วงวันที่ 9-13 เม.ย. 63 โดยมีผู้เข้าร่วมตอบแบบสอบถาม 8,929 คน จากทั้ง 77 จังหวัดในประเทศไทย 

สถิติประชาชน 4 กลุ่มอาชีพ
ที่เข้าถึง มาตรการเยียวยา จากภาครัฐ

        โดยผู้ตอบแบบสอบถามจะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มอาชีพ ได้แก่ นายจ้าง พนักงาน ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และผู้ว่างงาน ในภาพรวมแล้ว มีคนไทยมากถึง 88% ที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากมาตรการของรัฐ เพราะส่วนใหญ่ “ติดเงื่อนไข” ซึ่งมีทั้งผู้ที่ไม่เข้าข่าย และผู้ที่ควรได้รับสิทธิ์แต่ถูกปฏิเสธ โดยมาตรการที่คนได้รับมากที่สุดเป็นมาตรการของนโยบายการคลัง แต่มาตรการเหล่านี้ก็ไม่เพียงพอที่จะช่วยเหลือประชาชน ในกรณีที่สถานการณ์ยาวนานมากกว่า 3 เดือน   

มาตรการเยียวยากลุ่มนายจ้าง  

        เนื่องจากธุรกิจส่วนใหญ่มีรายได้ลดลงหรือถูกสั่งปิด นายจ้างโดยเฉพาะกลุ่ม SMEs จึงต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือในด้านเงินทุนสำหรับฟื้นฟูธุรกิจ ลดภาระค่าจ้างแรงงาน ค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อเสริมสภาพคล่อง แต่มีกลุ่มนายจ้างแค่เพียง 11% จากทั้งหมดที่ได้รับความช่วยเหลือ ในด้านการพักเงินต้นและดอกเบี้ย การผ่อนผันภาษี และสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ดอกเบี้ย 2% ต่อปี)

        นอกจากนี้ มาตรการด้านการเงินที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอต่อการพยุงธุรกิจ หรือแก้ปัญหาสภาพคล่องทางการเงินในช่วงวิกฤติ 3-6 เดือน ประชาชนกลุ่มนี้ต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติมในด้านการลดภาระค่าใช้จ่ายในการประกอบธุรกิจ การเตรียมเงินทุนสำหรับการฟื้นฟูกิจการ รวมถึงหาช่องทางในการระบายสินค้า 

 

มาตรการเยียวยากลุ่มพนักงาน ลูกจ้าง แรงงาน 

        ผลกระทบต่อประชาชนในกลุ่มนี้มีทั้งการถูกลดค่าจ้าง รายได้ลดลง หรือธุรกิจที่ทำงานถูกสั่งปิด โดยมีผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือ 12% และความช่วยเหลือส่วนใหญ่ที่ได้รับเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายและมาตรการด้านการคลัง เช่น การลดหย่อนเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ลดหรือเลื่อนจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและการจ่ายค่าน้ำค่าไฟ พักเงินต้นและดอกเบี้ย เงินเยียวยา 5,000 บาทจากโครงการ “เราไม่ทิ้งกัน” ปรับเกณฑ์การปรับโครงสร้างหนี้ สินเชื่อพิเศษ ฯลฯ 

        มาตรการที่กลุ่มลูกจ้างต้องการเพิ่มเติม คือการลดค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำรงชีพเพิ่มเติม อาทิเช่น ค่าไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ อาหารและสินค้าที่จำเป็น รวมถึงลดค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าเทอม กำหนดมาตรฐานการพักหนี้ให้ทุกสถาบันการเงินไปในลักษณะเดียวกัน เพื่อลดเงื่อนไขที่ยุ่งยากลง สนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ให้ความช่วยเหลือประชาชนทุกกลุ่มอาชีพที่ได้รับผลกระทบ และชดเชยผลประโยชน์แก่ผู้ที่อยู่ในประกันสังคม 

 

มาตรการเยียวยากลุ่มอาชีพอิสระ

        ฟรีแลนซ์เป็นกลุ่มอาชีพที่มีรายได้ไม่แน่นอน จึงไม่ผ่านเงื่อนไขต่างๆ ที่ภาครัฐตั้งไว้ ทำให้ส่วนใหญ่ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐ และมีกลุ่มที่ได้รับความช่วยเหลือแค่ 11% ที่ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท การพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย ลดหรือเลื่อนการจ่ายค่าน้ำค่าไฟ ดังนั้น กลุ่มนี้จึงต้องการให้ภาครัฐปรับเงื่อนไขให้เหมาะสม ครอบคลุมทุกกลุ่มที่เดือดร้อน ประชาสัมพันธ์ให้ชัดเจนทั่วถึง ลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค ยกเว้นการชำระภาษีทุกชนิด โดยเฉพาะภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) รวมถึง เพิ่มการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ หรือต้องการให้รัฐมีงานทางเลือกให้ 

 

มาตรการเยียวยากลุ่มผู้ว่างงาน

        ผู้ว่างงานเป็นกลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือมากที่สุด แต่กลับเข้าถึงความช่วยเหลือได้แค่ 9% ที่ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท การพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย ลดหรือเลื่อนการจ่ายค่าน้ำค่าไฟ ซึ่งหากภาครัฐไม่เร่งเข้าช่วยเหลือ กลุ่มนี้ก็อาจจะอยู่ได้ไม่เกิน 3 เดือน โดยผู้ว่างงานต้องการมาตรการที่ลดภาระหนี้สินและค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ช่วยจัดหางาน หรือส่งเสริมการพัฒนาทักษะ และการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ให้มากขึ้น 

        ข้อเสนอแนะในภาพรวมของผู้ตอบแบบสอบถามทุกกลุ่ม คือต้องการให้รัฐบาลขยาย มาตรการเยียวยา ให้เข้าถึงประชาชนทุกกลุ่ม ลดเงื่อนไขการเข้าถึงมาตรการช่วยเหลือ จัดหางานให้ประชาชนที่ถูกเลิกจ้าง ลดค่าใช้จ่ายภาครัฐที่ไม่จำเป็น เพื่อนำงบประมาณกลับมาช่วยเหลือประชาชน ลดความซับซ้อนในการเข้าถึงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ คืนภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือลดหย่อนภาษี รวมถึง ผ่อนปรนให้บางธุรกิจกลับมาเปิดทำการได้โดยมีเงื่อนไขที่เหมาะสมและปลอดภัย 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สามารถดูรายละเอียดของการสำรวจต่อได้ที่นี่ 

เรื่องแนะนำ

เทรนด์อาหาร

รู้ยัง? เทรนด์อาหาร Size เล็ก กำลังมา!

หลายคนคงคุ้นเคยกับอาหารขนาดยักษ์ ที่เรียกกระแสความสนใจผู้บริโภคได้ไม่น้อย แต่รู้ไหมว่า เทรนด์อาหาร กำลังเปลี่ยนไป หันมาเสิร์ฟ อาหาร size เล็ก แทน

สไปร์ท

สไปร์ท เปลี่ยนขวดสี เป็นขวดใส ผลักดันการรีไซเคิลพลาสติกครั้งสำคัญ

เชื่อว่าเครื่องดื่ม สไปร์ท ขวดสีเขียว เป็นเอกลักษณ์และภาพจำที่คุ้นเคยของคนทั่วโลก แต่ด้วยกระแสการหันมาใส่ใจเรื่องการใช้พลาสติกมากขึ้น หลายองค์กรเริ่มให้ความสำคัญและตื่นตัวกับเรื่องนี้ ล่าสุดบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง โคคา-โคล่า ได้มีการประกาศเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ใหม่ของ “ สไปรท์ ” โดยเปลี่ยนมาใช้ขวดพลาสติกแบบใส แทนการใช้ขวดสีเขียวแบบเดิม ในภูมิภาคอาเซียน โดยการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้ก็เพื่อให้สอดคล้องกับเทรนด์ของโลก ที่พยายามผลักดันในการตามเก็บและรีไซเคิลขวดพลาสติกพีอีที (Circular Economy)   สไปร์ท เปลี่ยนขวดสี เป็นขวดใส เครื่องดื่มสไปรท์จำหน่ายในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยบรรจุภัณฑ์ขวดพลาสติกสีเขียวที่ผู้บริโภครู้จักดีมาตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรกในฟิลิปปินส์เมื่อปี พ.ศ. 2511 และเพิ่งมีการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ เนื่องด้วย The Coca-Cola Company ต้องการเดินหน้าโปรเจ็คตามวิสัยทัศน์ World Without Waste สานต่อความมุ่งมั่นเดินหน้าผลักดันการรีไซเคิลขวดพลาสติกเพื่อให้สามารถนำขวดพลาสติกเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ง่ายขึ้น และนำกลับมาใช้ใหม่ได้ต่อไป  ซึ่งก่อนหน้านี้กลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่าในยุโรป ประสบความสำเร็จในการยกเลิกใช้ขวดพลาสติกสีเขียวสำหรับสไปรท์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต่อไปก็จะเป็นการเดินหน้าในโซนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้เริ่มเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์เป็นขวดพลาสติกใสในประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในเดือนพฤศจิกายนนี้ ส่วนประเทศอื่นๆ จะทยอยเปลี่ยนในปี 2563 สไปร์ท เปลี่ยนสีขวด ช่วยให้เกิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน การเปลี่ยนมาใช้ขวดพลาสติกพีอีทีแบบใส แทนการใช้ขวดพลาสติกสีแบบเดิม ยังเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคได้เป็นอย่างมาก เพราะสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างไม่รู้จบ และเกิดเป็นระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งการยกเลิกใช้บรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มชนิดพลาสติกพีอีทีแบบสี คือข้อเสนอแนะสำคัญในรายงานการเร่งสร้างแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนจากบรรจุภัณฑ์ขวดพีอีทีหลังการบริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ฉบับใหม่ อีกด้วย   […]

กรมพัฒฯ ชวนผู้ประกอบการร้านอาหาร สมัครรับตราสัญลักษณ์ Thai SELECT ประเทศไทย ปี 67

กรมพัฒฯ ชวนผู้ประกอบการร้านอาหารไทย สมัครเพื่อรับตราสัญลักษณ์ Thai SELECT ในประเทศไทย ประจำปี 2567 ขยายเวลาการรับสมัครถึง 7 มิถุนายน 67 นี้เท่านั้น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า…ขอเชิญชวนผู้ประกอบการร้านอาหารไทยทั่วประเทศ  สมัครเพื่อรับตราสัญลักษณ์ Thai SELECT ในประเทศไทย ประจำปี 2567 “อาหารไทยต้อง Thai Select” การันตรีคุณภาพ บริการ และรสชาติอาหารมาตรฐานอาหารไทย พร้อมกับสิทธิประโยชน์มากมาย ทั้งการส่งเสริมการตลาด หรือร่วมแคมเปญกับหน่วยงานพันธมิตร เข้ารับการอบรมสัมมนาธุรกิจร้านอาหาร และการประชาสัมพันธ์ผ่าน Social Media ของ Thai SELECT สอบถามรายละเอียด โทร : 02 547 5954 กองธุรกิจบริการ สนใจสมัคร https://docs.google.com/…/1FAIpQLSdXaT5vrH…/formResponse

เทรนด์ร้านอาหารปี 2018

เทรนด์ร้านอาหารปี 2018 รู้แล้ว ปรับเลย!

ยุคที่เทคโนโลยีมีบทบาทในชีวิตมนุษย์เช่นนี้ ร้านอาหารก็ควรปรับเปลี่ยนบริการให้สอดคล้องกับพฤติกรรมดังกล่าว ว่าแต่ เทรนด์ร้านอาหารปี2018 เป็นอย่างไรบ้างนะ

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.