วิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า ในสังคม New normal หลังวิกฤตโควิด - Amarin academy

วิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า ในสังคม New normal หลังวิกฤตโควิด

        การระบาดของโควิด-19 ทำให้การใช้ชีวิตของทุกคนเปลี่ยนไปในระยะเวลาอันสั้น เมื่อต้นปีใครจะเชื่อ ถ้าบอกว่าประเทศไทยจะต้องปิดรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ หลายบริษัทจะยอมให้พนักงาน Work from home หรือร้านอาหารจะต้องหันมาขายผ่านเดลิเวอรี ทำการตลาดออนไลน์แข่งกันแบบทุกวันนี้
        ทุกอย่างนี้มีการระบาดของไวรัสมา Disrupt หรือเป็นตัวเร่งให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งสิ้น และแม้ว่าโรคนี้จะสามารถควบคุมได้แล้ว พฤติกรรมบางอย่างของผู้บริโภคก็จะต้องเปลี่ยนไปแน่นอน เรียกได้ว่าเกิดเป็นพฤติกรรมปกติในรูปแบบใหม่ หรือที่เรียกว่า “New Normal” นั่นเอง

พฤติกรรมลูกค้าในสังคม New normal 

        พฤติกรรมเบื้องต้นของคนไทยที่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจน คือความร่วมมือกันดูแลสุขอนามัยของตัวเองและคนรอบข้าง เช่น การใส่หน้ากากอนามัยออกจากบ้านตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการออกไปทำงาน ซื้อของกินของใช้ต่างๆ ใช้แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้ออย่างสม่ำเสมอ ส่วนของผู้ให้บริการตามบริษัท ร้านสะดวกซื้อ ธนาคาร หรือสถานที่ต่างๆ ก็มีการวัดอุณหภูมิผู้ที่มาใช้บริการ และมีเจลแอลกอฮอล์ให้ล้างมือ หรือแม้แต่บริษัทอนุญาติให้พนักงานลา หรือ ทำงานที่บ้านทันทีเมื่อมีอาการป่วย เช่น มีไข้ ไอ จาม ที่ดูเป็นแค่อาการเล็กน้อยในภาวะปกติ 

New normal
        นอกจากนี้ พฤติกรรมของผู้บริโภคเกี่ยวกับสินค้าอาหารก็เปลี่ยนแปลงไปมากเช่นกัน โดยการรับประทานอาหารนอกบ้านลดลงอย่างชัดเจน ถึงแม้ต่อจากนี้รัฐบาลจะประกาศให้เปิดหน้าร้าน แต่ลูกค้าบางส่วนก็อาจจะยังคงกังวลต่อสุขอนามัยและไม่กล้ามาใช้บริการร้านอาหาร

        หลายคนเป็นห่วงว่าร้านอาหาร หรือห้างสรรพสินค้าจะไม่มีผู้มาใช้บริการ เพราะผู้บริโภคเคยชินกับการใช้บริการเดลิเวอรี หรือธุรกิจต่างๆ ผ่านทางออนไลน์แล้ว แต่ความเป็นจริงแล้วร้านอาหารเป็นธุรกิจบริการอย่างหนึ่ง การนั่งทานอาหารในบ้านและนอกบ้านนั้นให้ประสบการณ์ที่แตกต่างกัน และไม่สามารถทดแทนกันได้ รวมถึงมนุษย์เป็นสัตว์สังคม การได้ออกมาทำกิจกรรม พบเจอผู้คนนอกบ้านเป็นสิ่งที่เราโหยหามากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อต้องกักตัวอยู่แต่ในบ้านเป็นระยะเวลานาน

        ดังนั้น พฤติกรรมของผู้คนอาจไม่ได้เปลี่ยนโดยสิ้นเชิง ผู้บริโภคก็ยังคงต้องการเข้าร้านอาหาร หรือห้างสรรพสินค้าอยู่ แต่อาจจะไม่สามารถเทียบกับภาวะก่อนวิกฤตได้ และด้วยการแข่งขันที่สูงมากในธุรกิจร้านอาหาร ผู้ประกอบการร้านอาหารจะต้องติดตามเทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปให้ทัน และวางแผนปรับกลยุทธ์ธุรกิจให้เหมาะสม โดยพฤติกรรมการใช้บริการร้านอาหารใน New Normal ที่น่าสนใจ ได้แก่


New normal

  • เทรนด์อาหารสุขภาพ (Healthy Food)

        ผู้สูงวัยและผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงในการติดเชื้อไวรัส รวมถึงการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ พฤติกรรมการกินเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดโรค เช่น โรคเบาหวาน โรคไต ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ ดังนั้น นอกจากผู้บริโภคจะใส่ใจกับสุขอนามัยของอาหารมากขึ้นแล้ว ยังมีแนวโน้มที่จะเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้นอีกด้วย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่คํานึงถึงคุณค่าทางโภชนาการเป็นอันดับแรก รวมถึงอาหารที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันก็เป็นที่ต้องการมากขึ้น เพื่อรักษาสุขภาพตนเองไม่ให้ติดเชื้อได้ง่าย 

        ประโยชน์อีกด้านของอาหารสุขภาพ คือช่วยควบคุมน้ำหนักสำหรับคนที่ดูแลรูปร่าง ในสถานการณ์ที่ไม่สามารถออกไปทำกิจกรรมต่างๆ นอกบ้านได้ อาหารเพื่อสุขภาพจึงกลายเป็นตัวเลือกของผู้บริโภคในวงกว้างมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ 

        นอกจากนี้ ผู้บริโภคยังมีความต้องการของกินเล่นหรือขนมขบเคี้ยวที่ดีต่อสุขภาพ และมีคุณค่าทางโภชนาการมากขึ้น เช่น มีโปรตีนสูง ทำจากผัก ผลไม้ ธัญพืชที่มีวิตามินสูง เป็นสูตรหวานน้อย หรือใช้สารให้ความหวานจากธรรมชาติแทนน้ำตาล เป็นต้น จึงเป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการร้านอาหารที่จะนำเสนอเมนูอาหารเพื่อสุขภาพต่างๆ รองรับการใช้ชีวิตแบบคนเมือง และสังคมที่กำลังเข้าสู่สังคมสูงวัย 

 

New normal

  • ยุคธุรกิจออนไลน์ (E-commerce)

        Social distance หรือการเว้นระยะห่างทางสังคม ทำให้ผู้บริโภคใช้บริการอาหารเดลิเวอรี หรือซื้อของผ่านทางออนไลน์มากขึ้น หลังจากวิกฤตนี้ผ่านไป ผู้บริโภคส่วนใหญ่ก็ยังคงนิยมซื้อสินค้าบางชนิดผ่านทางโลกออนไลน์ รวมถึงบริการจัดส่งอาหารเดลิเวอรี เนื่องจากช่วยอำนวยความสะดวกและประหยัดเวลาได้มาก ตอบโจทย์รูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป ทั้งระยะเวลาการใช้อินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นของคนทุกวัย การทำงานจากที่บ้าน นักศึกษาที่เรียนผ่านทางออนไลน์มากขึ้น และผู้สูงอายุที่ส่วนใหญ่คุ้นเคยกับการซื้อสินค้าออนไลน์แล้ว

        ซึ่งการสั่งอาหารผ่านช่องทางออนไลน์จะมีการพัฒนาให้หลากหลายมากขึ้น ผ่านช่องทางต่าง ๆ ทั้งแอปพลิเคชันที่มีให้บริการ ผ่านช่องทางที่ผู้ประกอบการร้านอาหารพัฒนาขึ้นเอง หรือตัวกลางอื่นๆ ในแต่ละพื้นที่ ธุรกิจร้านอาหารส่วนใหญ่จึงก้าวเข้ามาอยู่ในทั้งโลกออนไลน์ร่วมกับออฟไลน์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการบริหารจัดการธุรกิจ ช่องทางการขาย การทำตลาดและสื่อสารกับลูกค้า รวมถึงการชำระเงิน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้บริโภคมากที่สุด

 

New normal

  • ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Economic Recession)

        ผลกระทบของ COVID-19 ต่อเศรษฐกิจทั่วโลกรุนแรงยิ่งกว่าวิกฤตการเงินที่ผ่านมาในอดีต  ทำให้อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2563 นี้ติดลบ และธุรกิจทุกภาคส่วนได้รับผลกระทบไม่มากก็น้อย แน่นอนว่าในภาวะเศรษฐกิจถดถอยและฟื้นตัวได้ช้าแบบนี้ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ก็ต้องประหยัดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมถึงค่าอาหาร ส่งผลให้ผู้บริโภคต้องลดค่าใช้จ่ายในการรับประทานอาหารต่อมื้อลง รวมและลดความถี่ในการใช้บริการร้านอาหารตามความรุนแรงของภาวะเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ผู้บริโภคบางส่วนยังนิยมประกอบอาหารเองมากขึ้น และย่อมกระทบกับรายได้ของผู้ประกอบการร้านอาหารอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราทุกคนก็คงได้แต่ปรับตัวตามคามสามารถ และหวังว่าจะมีมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่เหมาะสมและทันเวลา เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถเดินต่อไปได้

        ความสามารถในการปรับตัวของร้านอาหาร เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจร้านอาหารดำเนินต่อไปได้ ผู้ประกอบการจึงควรอัปเดตข่าวสารต่างๆ รวมถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วหลังวิกฤตโควิด เพื่อให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ทันเวลา

 

เรื่องแนะนำ

สำรวจตัวเอง ก่อนเข้าใจ Digital Marketing ผิด

การทำธุรกิจในยุคปัจจุบันนี้เปลี่ยนไปมาก โดยเฉพาะการทำการตลาดที่คนส่วนใหญ่หันมาทำการตลาดออนไลน์กันมากขึ้น จนมีหลายคนเริ่มสงสัยว่า Digital Marketing มันเป็นเพียงแค่กระแสความนิยมชั่วคราวหรือเป็นแฟชั่นรึเปล่า?

กฎกระทรวงสาธารณสุข

เจ้าของร้านรู้หรือยัง? กฎกระทรวงสาธารณสุข ที่ร้านอาหารต้องทำตาม

ในการทำร้านอาหารนั้น มีรายละเอียดมากมายที่ต้องเรียนรู้ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ เรื่องของ กฎกระทรวงสาธารณสุข ที่เจ้าของร้านควรศึกษาอย่างละเอียด ว่ามีกฎข้อบังคับใดบ้าง ที่ร้านอาหารจะต้องปฏิบัติตาม สำหรับใครที่ยังไม่ทราบรายละเอียด เราสรุปมาให้เข้าใจง่ายๆ ได้ดังนี้ครับ กฎกระทรวงสาธารณสุข ที่ร้านอาหารต้องทำตาม ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า กระทรวงสาธารณสุขนั้น ได้ประกาศกฎกระทรวง สุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561 ในราชกิจจานุเบกษา  เพื่อให้กลุ่มร้านอาหารต้องปฏิบัติตาม แบ่งเป็น 5 หมวดหมู่ สรุปได้ 22 ข้อ ดังนี้   ข้อ 1 กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (20 มิ.ย. 2561) ข้อ 2 ในกฎกระทรวงนี้ “อาหารสด” หมายความว่า อาหารที่มีสภาพเป็นของสด เช่น เนื้อสัตว์ ผัก หรือผลไม้ “อาหารประเภทปรุงสําเร็จ” หมายความว่า อาหารที่ได้ผ่านการทํา ประกอบหรือปรุงสําเร็จพร้อมที่จะรับประทานได้ รวมทั้งของหวานและเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ “อาหารแห้ง” หมายความว่า อาหารที่ผ่านกระบวนการทําให้แห้ง โดยการอบ […]

ไวรัสโคโรน่า

ไวรัสโคโรน่า (COVID-19) กระทบหนัก! ร้านอาหารปรับตัวอย่างไรในวิกฤตนี้

จากข่าวการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของ ไวรัสโคโรน่า หรือ COVID-19 โรคติดต่ออันตรายที่กำลังแพร่ระบาดไปยังหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในหลายๆประเทศ ที่มีผู้ป่วยติดเชื้อ รวมถึงผู้ที่เข้าเกณฑ์ต้องเฝ้าระวังที่ผ่านมานับพันราย และได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ COVID-19 เป็นโรคติดต่ออันตรายแล้ว จากเหตุการณ์นี้แน่นอนว่าย่อมส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการหลายรายในประเทศ รวมถึงผู้ประกอบการร้านอาหารก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน แล้วร้านอาหารต้องปรับตัวอย่างไรกับสถานการณ์นี้    ไวรัสโคโรน่า (COVID-19) กระทบหนัก! ร้านอาหารปรับตัวอย่างไรในวิกฤตนี้ ไวรัสกระทบร้านอาหาร เสียรายได้หลักหมื่นล้านบาท นักท่องเที่ยวที่น้อยลงส่งผลกระทบต่อร้านอาหารตั้งแต่ SME รายย่อยไปจนถึงรายใหญ่ ซึ่งข้อมูลจากศูนย์วิจัยธนาคารออมสินคาดการณ์ว่า หากประเทศไทยควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสได้ภายใน 3 เดือน ธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มในประเทศจะสูญเสียรายได้ไปแล้วประมาณ 16,000 ล้านบาท แต่หากสถานการณ์การแพร่ระบาดลากยาวไปจนถึง 6 เดือน อาจจะสูญเสียรายได้มากถึง 34,000 ล้านบาท    พฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง จำนวนลูกค้าต่างชาติที่ลดลงส่งผลอย่างมากต่อร้านอาหารในจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว เช่น กรุงเทพฯ ชลบุรี  รวมถึงร้านอาหารริมทางหรือ Street Food ที่กระจายอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ นอกจากนี้ ลูกค้าคนไทยเองก็มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ได้แก่ หลีกเลี่ยงการออกไปในที่สาธารณะ และใช้เวลาที่บ้านมากขึ้น สั่งอาหารเดลิเวอรี่มากขึ้น เลือกทานอาหารในร้านที่คนไม่แออัด ซื้ออาหารสำเร็จรูปกลับไปทานที่บ้านแทน […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.