เตรียมความพร้อม ช่วยร้านช่วงพีคไทม์ ทำอย่างไรให้ร้านอาหารขายให้ได้มากที่สุด

พีคไทม์ ออเดอร์แน่น! ร้านอาหารรับมืออย่างไร?

Host จัดคิว ให้เหมาะสมกับที่นั่ง

การทำยอดขายขึ้นอยู่กับการจัดที่นั่ง การจัดการด้านที่นั่งให้เพียงพอกับลูกค้าตามจำนวนที่คาดการณ์ การจัดสรรที่นั่ง และรับออเดอร์ได้อย่างรวดเร็ว จะช่วยลดระยะเวลาในการบริการหน้าร้าน ส่งผลให้ร้านสามารถทำรอบได้สูง

ในช่วงเวลาพีคไทม์ ร้านอาหารหลายแห่งจะมีการจ้าง Host ในการรับหน้าที่ต้อนรับลูกค้า พาลูกค้าไปยังที่นั่ง แต่หากร้านของคุณเป็นร้านเล็ก ๆ ก็สามารมอบหน้าที่ให้กับหัวหน้าพนักงานเสิร์ฟ หรือผู้จัดการร้านอาหารในการดูแล โดยจะต้องมีทักษะในการวางแผนจัดการที่นั่ง การสื่อสารกับลูกค้า  รวมถึงประสานกับพนักงานส่วนบริการเพื่อรับหน้าที่ต่อได้เป็นอย่างดี

 

อุปกรณ์ วางแผนให้เหมาะกับ Turn

ถ้าหากอุปกรณ์ไม่เพียงพอต่อจำนวนลูกค้า อาจส่งผลโดยตรงกับประสบการณ์ในการรับบริการ การเตรียมความพร้อมด้านอุปกรณ์จึงเป็นเรื่องสำคัญ คุณอาจจะคาดการณ์ได้จากจำนวนลูกค้าที่สูงสุดที่รับในช่วงพีคไทม์ ว่าจะใช้ได้กี่รอบ ยกตัวอย่าง ร้านอาหาร 40 ที่นั่ง คาดการณ์ว่าจะรับลูกค้าได้ 2 รอบในช่วงพีคไทม์ อุปกรณ์สำหรับลูกค้าจะต้องมี 80 ชุด  และคุณอาจจะบวกจำนวนเพิ่มขึ้นมากกว่านั้นสัก 1 เปอร์เซนต์ โดยคำนวณให้เพียงพอ ไม่ควรเผื่อการนำอุปกรณ์ที่มีอยู่ไปล้างเพื่อใช้ในช่วงเวลานี้

 

เตรียมอาหารให้พร้อม

มีคนรอซื้อแต่ไม่มีของขาย มีขายแต่ขายช้า ลูกค้าต้องรอเป็นระยะเวลานานๆ ทำให้รับลูกค้าได้น้อยรอบ  รวมถึงประสบการณ์ยอดแย่อันดับต้น ๆ ที่ลูกค้าร้านอาหารเจอและทำให้ไม่กลับไปกินร้านอาหารนั้น ๆ อีก เกิดจากปัญหาด้านการเตรียมความพร้อมวัตถุดิบแทบทั้งสิ้น การ Pre cook บางเมนู เพื่อลดระยะเวลาการปรุง รวมถึงการประสานความพร้อมในส่วนของครัวกับพนักงานรับออเดอร์จะช่วยให้คุณสามารถเชียร์ขายเมนูที่ทำได้เร็ว มีวัตถุดิบเพียงพอ จะช่วยให้การบริหารจัดการในช่วงเวลาพีคไทม์เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

 

วางแผนจากข้อมูลใน POS

ข้อมูล POS เก็บบันทึกช่วงเวลาที่ลูกค้าเข้าร้านมากที่สุด สถิติในการใช้เวลาต่อลูกค้า 1 บิล เมนูอาหารที่สั่งในแต่ละช่วงเวลา ช่วยให้เจ้าของร้านอาหารสามารถนำข้อมูลที่เกิดจากการใช้บริการจริงของลูกค้า มาวิเคราะห์ เพื่อวางแผนในการเตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ทั้งการบริหารจัดการ และการออกแบบโปรโมชั่น ข้อมูลพฤติกรรมลูกค้ายังสามารถนำมาออกแบบการจัดเมนูตามช่วงเวลา จะดีต่อการการบริหารจัดการหน้าร้าน เตรียมความพร้อมในการขายเมนูง่าย ๆ เหมาะสมกับความต้องการของกลุ่มลูกค้า และสามารถสร้างกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ ได้ตามช่วงเวลา

 

ใช้เทคโนโลยีเป็นตัวช่วย

เทคโนโลยีต่าง ๆ ช่วยให้การบริหารจัดการได้ง่ายขึ้นไม่ว่าจะเป็น อุปกรณ์การจัดคิว การจองคิว และสั่งล่วงหน้าผ่านทางแอพพลิเคชั่น หรืออุปกรณ์สั่งอาหารหน้าร้าน ช่วยลดขั้นตอนในการรับบริการ ลดงานพนักงานหน้าร้าน ลดความผิดพลาดด้านการจัดคิว หลีกเลี่ยงปัญหาที่จะเกิดจากการจัดการหน้าร้านที่ไม่มีประสิทธิภาพ การจัดคิวล่วงหน้ายังช่วยให้ร้านจัดเตรียมอาหารไว้ก่อน ช่วยลดเวลารอ อีกทั้งยังอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าเพื่อวางแผนการเดินทาง การรู้ระยะเวลาในการรอทำให้ลูกค้ารู้สึกดีมากกว่า เป็นการสร้างประสบการณ์ในการรับบริการที่ดีกว่า ข้อระวังก็คือ การจัดการคิวที่เหมาะสมระหว่างลูกค้าที่จองคิวล่วงหน้ากับลูกค้า Walk in เพื่อให้ลูกค้าทุกคนเกิดความรู้สึกในด้านดีกับร้านอาหารของคุณ

 

วางแผนพื้นที่นั่ง และออกแบบบริการ

การจัดวางแผนผังร้านอาหารยังช่วยให้การบริหารจัดการร้านทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ครัว การจัดวางอุปกรณ์ ตู้เย็นเก็บวัตถุดิบ ให้ทีมงานทำงานได้อย่างสะดวกในพื้นที่ใกล้ ๆ หรือพื้นที่เดียว

การจัดที่นั่งภายในร้านอาหารยังมีส่วนช่วยให้คุณสามารถรองรับลูกค้าได้มาก เช่น โต๊ะที่สามารถแยกออกจากกันได้ เพื่อให้รับได้ทั้งลูกค้ากลุ่ม และลูกค้าที่มาคู่ นอกจากนั้นปัจจุบัน การจัดให้มีบาร์สำหรับรับประทานคนเดียวเป็นไอเดียที่น่าสนใจ เพราะช่วยให้คุณทำรอบร้านได้เร็วขึ้น และยังสอดคล้องกับพฤติกรรมการกินอาหารของคนในปัจจุบันที่ชอบมากินอาหารที่ร้านคนเดียวได้อีกด้วย นอกจากนี้ควรออกแบบขั้นตอนการบริการ ไม่ว่าจะเป็นการสั่งออเดอร์ การคิดเงินให้กระชับ รัดกุม ก็จะช่วยลดระยะเวลาในการบริการได้เช่นกัน

 

จะเห็นได้ว่าเป้าหมายในการบริหารจัดการร้านช่วงพีคไทม์ มีอยู่ 2 เรื่องใหญ่ ๆ ก็คือ การสร้างยอดขายให้มากที่สุด และลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด เพราะฉะนั้นเมื่อวางแผนไว้อย่างดีแล้ว ควรมีการเก็บบันทึกและวัดผล เพื่อจะสามารถแก้ไขจุดผิดพลาด จะส่งผลต่อยอดขายในท้ายที่สุด

 

สมัครเลยถ้าคุณไม่อยากพลาดหลักสูตรที่จะช่วยแก้ทุกปัญหาให้กับคุณ   คลิก

 

เรื่องแนะนำ

5 ปัจจัยต้องมี อยากเปิดร้านเบเกอรี เพราะทำขนมเป็นอย่างเดียวอาจไม่พอ

เคล็ดลับร้านอาหาร 5 ปัจจัย ที่ต้องมีหากอยากเปิด ร้านเบเกอรี ทำขนมเป็นอย่างเดียวอาจไม่พอสำหรับเปิดร้าน ต้องยอมรับว่ามีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ฝันอยากจะมี ร้านเบเกอรี เป็นของตัวเอง ด้วยภาพจำที่ดูสวยงาม ได้ทำขนมสวย ๆ ในร้านที่ดูน่ารักอบอุ่น หญิงสาวยืนปาดเค้กอยู่ในครัวอย่างน่าทะนุถนอม แต่จริง ๆ แล้ว แทบจะไม่ใช่แบบนั้นเลย เพราะการทำ เบเกอรี ไม่ใช่สิ่งที่ใคร ๆ ก็ทำได้ และไม่ใช่งานง่าย ๆ หากใครคิดว่าแค่ทำขนมเป็นก็ทำได้ ก็ขอให้คิดใหม่ เพราะนั่นเป็นแค่ส่วนหนึ่งในการทำ ร้านเบเกอรีเท่านั้น พอมาถึงตรงนี้หลายคนก็อาจจะเกิดคำถามว่า อ้าว แล้วถ้าอยากเปิด ร้านเบเกอรี ต้องมีอะไรบ้างล่ะ ? มาดูกัน! ใจรัก การทำเบเกอรี่ไม่ใช่งานง่าย ๆ สบาย ๆ อย่างที่หลายคนคิด ผู้ที่คิดจะเปิดร้านจึงต้องมีใจรักจริง ๆ นอกจากนี้ยังต้องอึด ถึกทน และมีความพยายามสูง ซึ่งผู้ประกอบการร้านเบเกอรี่หลายคนก็บอกเป็นเสียงเดียวกันว่าการทำเบเกอรี่เหนื่อย เพราะชีวิตส่วนใหญ่ก็ต้องอยู่ในครัว นั่งบีบครีมหลังขดหลังแข็ง อดหลับอดนอน ไม่ได้หอมหวานเหมือนหน้าตาขนมหรอกแต่ที่ทำก็เพราะใจรักล้วน ๆ ความรู้เฉพาะ ธุรกิจเกี่ยวกับเบเกอรี่เป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยองค์ความรู้เฉพาะ […]

food delivery

5 สิ่งที่ร้านอาหารต้องปรับ เมื่อเริ่มทำ Food delivery

ธุรกิจ Food Delivery กำลังมาแรง แต่ปัญหาสำคัญคือ ร้านอาหารหลายๆ ร้านไม่รู้จะเริ่มปรับจากจุดไหน เพื่อให้ไม่กระทบต่อหน้าร้าน วันนี้เรามีเทคนิคดีๆ มาฝาก

5 ขั้นตอน พัฒนาทีมงานแบบง่ายๆ ใช้ได้ทุกร้าน

เพราะปัญหาเรื่องทีมงาน เป็นปัญหาคลาสสิคของร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านทุกคนพอเปิดไปสักพัก ก็ต้องเจอไม่ว่าจะเป็น พนักงานทำออเดอร์ผิด รสชาติหน้าตาอาหารผิดเพี้ยน เสริฟผิดโต๊ะ รับออเดอร์ตกหล่น ความสะอาดภายในร้านและในครัว จนถึงปัญหาการลาออกบ่อยของพนักงาน   ผมเชื่อว่าสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปัญหาเหล่านี้ไม่ถูกแก้ และกลับมาหาเราซ้ำๆ ไม่ใช่เพราะเราไม่สอน……… แต่ปัญหาคือ เราไม่มี Flow Chart หรือ SOP ของการพัฒนาความสามารถให้พนักงาน   เมื่อเราไม่ได้วางลำดับขั้นตอนของการสอนเพื่อประเมินพนักงานว่าเขาอยู่จุดไหนแล้ว  และจากนี้เขาควรจะไปไหนต่อ มันก็เลยทำให้เขาอยู่จุดเดิม พอเกิดปัญหา ก็เลยเป็นภาระของ เจ้าของร้านที่ต้องเข้ามาแก้อยู่เสมอ   ยกตัวอย่างปัญหาในครัว เช่น พนักงาน A หั่นผัก มาหลายเดือน ก็หั่นผักอยู่แบบนั้น ไม่เคยได้จับกระทะทำอะไรเลย ยิ่งกว่านั้นพอพนักงานรุ่นพี่ลาหยุด กลายเป็นว่าคนที่อยู่ คือพนักงาน A ที่ทำหน้าที่หั่นผัก จำเป็นต้องมาจับกระทะทำอาหาร แต่ทำไม่ได้ เนื่องจากไม่ได้มีการพัฒนาให้พนักงาน A ได้จับกระทะทำอาหารมาก่อน ทำงานครัวในวันนั้นไม่สามารถดำเนินงานได้อย่างราบรื่นอย่างที่ควรจะเป็น   แสดงว่าเจ้าของร้านไม่เคยตรวจสอบความสามารถของเขาเลยว่าเขาสามารถทำงานได้ด้วยตัวเองไหม อยู่ขั้นไหนแล้ว ดังนั้นเราควรจะตั้งเป้าพัฒนาศักยภาพอย่างไร ต่อพนักงานหนึ่งคนเพื่อให้เขาเกิดผลสูงสุด   วันนี้ผมมี SOP […]

ธุรกิจมีปัญหา

3 สิ่งที่ต้องทำ เมื่อ ธุรกิจมีปัญหา

ทำธุริจคงหลีกเลี่ยงปัญหาไปไม่ได้ และบางครั้งอาจเจอปัญหาหนักจนไม่รู้จะแก้อย่างไร เราจึงมีเทคนิคดีๆ ที่จะช่วยดึงสติยาม ธุรกิจมีปัญหา มาฝาก

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.