5 ขั้นตอน การพัฒนาทีมงานร้านอาหารแบบง่ายๆ ใช้ได้ทุกร้าน ทุกตำแหน่งงาน

5 ขั้นตอน พัฒนาทีมงานแบบง่ายๆ ใช้ได้ทุกร้าน

เพราะปัญหาเรื่องทีมงาน เป็นปัญหาคลาสสิคของร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านทุกคนพอเปิดไปสักพัก ก็ต้องเจอไม่ว่าจะเป็น พนักงานทำออเดอร์ผิด รสชาติหน้าตาอาหารผิดเพี้ยน เสริฟผิดโต๊ะ รับออเดอร์ตกหล่น ความสะอาดภายในร้านและในครัว จนถึงปัญหาการลาออกบ่อยของพนักงาน

 

ผมเชื่อว่าสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปัญหาเหล่านี้ไม่ถูกแก้ และกลับมาหาเราซ้ำๆ ไม่ใช่เพราะเราไม่สอน……… แต่ปัญหาคือ เราไม่มี Flow Chart หรือ SOP ของการพัฒนาความสามารถให้พนักงาน

 

เมื่อเราไม่ได้วางลำดับขั้นตอนของการสอนเพื่อประเมินพนักงานว่าเขาอยู่จุดไหนแล้ว  และจากนี้เขาควรจะไปไหนต่อ มันก็เลยทำให้เขาอยู่จุดเดิม พอเกิดปัญหา ก็เลยเป็นภาระของ เจ้าของร้านที่ต้องเข้ามาแก้อยู่เสมอ

 

ยกตัวอย่างปัญหาในครัว เช่น

พนักงาน A หั่นผัก มาหลายเดือน ก็หั่นผักอยู่แบบนั้น ไม่เคยได้จับกระทะทำอะไรเลย ยิ่งกว่านั้นพอพนักงานรุ่นพี่ลาหยุด กลายเป็นว่าคนที่อยู่ คือพนักงาน A ที่ทำหน้าที่หั่นผัก จำเป็นต้องมาจับกระทะทำอาหาร แต่ทำไม่ได้ เนื่องจากไม่ได้มีการพัฒนาให้พนักงาน A ได้จับกระทะทำอาหารมาก่อน ทำงานครัวในวันนั้นไม่สามารถดำเนินงานได้อย่างราบรื่นอย่างที่ควรจะเป็น

 

แสดงว่าเจ้าของร้านไม่เคยตรวจสอบความสามารถของเขาเลยว่าเขาสามารถทำงานได้ด้วยตัวเองไหม อยู่ขั้นไหนแล้ว ดังนั้นเราควรจะตั้งเป้าพัฒนาศักยภาพอย่างไร ต่อพนักงานหนึ่งคนเพื่อให้เขาเกิดผลสูงสุด

 

วันนี้ผมมี SOP ของการพัฒนาทีมงานแบบง่ายๆ ใช้ได้ทุกตำแหน่ง มาฝากกันครับ

ผมเชื่อว่า ไม่ว่ารายละเอียดเนื้อหาของงานแต่ละตำแหน่งในร้านของพวกเราจะเป็นอย่างไร แต่การสร้างทีมงานล้วนอยู่ในกรอบ 5 ขั้นตอนนี้…………………..ลองเอาไปปรับใช้กันดูนะครับ

 

#5ขั้นตอนพัฒนาทีมงานแบบง่ายๆใช้ได้ทุกร้าน

1. I do You look

เมื่อรับพนักงานเข้ามาใหม่ ในการฝึกขั้นแรก ให้เรา(หรือหัวหน้างาน) เป็นผู้ลงมือทำ แสดงเป็นตัวอย่างการทำงานตามมาตรฐานให้กับพนักงาน หรือทีมงานที่รับมาใหม่ ส่วนพนักงานที่มาใหม่ หรือเราต้องการที่จะสอนมีหน้าที่ เป็นผู้สังเกตการณ์เพียงเท่านั้น ทีมงานสามารถสอบถามในสิ่งที่สงสัยได้

จุดประสงค์ในขั้นตอนนี้คือ เพื่อสร้างความเข้าใจให้มากที่สุด ก่อนจะลงมือปฏิบัติ

2. I do You do

ในขั้นตอนนี้ เราและทีมงาน ทำกิจกรรมไปพร้อมๆกัน หรือทำร่วมกัน เพื่อให้ทีมงานได้ลงมือปฏิบัติ ให้เกิดโอกาสผิดพลาดน้อยที่สุด ทีมงานสามารถที่จะเลียนแบบทุกขั้นตอนของการทำงานได้โดยง่าย

หัวใจ ของขั้นตอนนี้คือ ผลงานที่ออกมาจะต้องมีความเหมือนหรือใกล้เคียงกันมากที่สุด

 

3. You do – I look

เมื่อหัวหน้าเห็นว่าทีมงานเกิดความเคยชินแล้ว มาถึงขั้นตอนนี้ เราสามารถทดสอบโดยการปล่อยให้เขาลงมือปฏิบัติเอง แต่โดยที่เรายังคอยสอดส่องดูแลอยู่ห่างๆ เพื่อเข้าไปช่วยแก้ไขในยามที่เกิดความผิดพลาด ที่เขาไม่สามารถแก้เองได้

4. You do – I leave

ทีมงานที่จะมาถึงขั้นตอนนี้ได้ แสดงว่า เขาต้องเกิดความเข้าใจในกิจกรรมอย่างแท้จริงแล้ว ในทุกขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบ สามารถทำได้โดยที่เราไม่ต้องออกปากกำกับ ดูแล สามารถแก้ปัญหาเล็กน้อยที่เกิดขึ้นได้เองถึงขั้นตอนนี้เจ้าของร้าน หรือคนสอนสามารถปล่อยให้เขาอยู่นอกสายตาได้แล้ว ไม่ต้องเฝ้ามองอยู่ตลอด เพื่อที่จะแยกย้ายกันทำงานในหน้าที่อื่นต่อไป

5. I look – You teach

จุดสูงสุดของการสร้างทีมงานจะสำเร็จ เมื่อทีมงานที่เราสร้าง  สามารถสร้างทีมงานที่มีคุณภาพต่อไปได้ ขั้นตอนนี้ เจ้าของร้านสามารถท้าทายให้เขาเริ่มที่จะสอนคนอื่น ตามลำดับขั้นตอน 1-4 โดยที่มีเราคอยสอดส่องดูแล (หรือนัดหมายในการทดสอบร่วมกัน)

ถ้าในขั้นตอนนี้สำเร็จ และเราทำอยู่เสมอ ร้านจะมีทีมงานระดับ 5 จำนวนมากและจะช่วยลดความเหนื่อยจากปัญหาพนักงานลาออกบ่อยได้ครับ เพราะเจ้าของร้านไม่ต้องเป็นคนฝึกเองตั้งแต่ต้น ในทุกๆครั้ง”

 

และนี่ก็คือ SOP ของการพัฒนาทีมงานแบบง่ายๆแต่ได้ผลมาก

เมื่อเรารู้ขั้นตอน 5 ระดับนี้แล้ว ก็ให้เรานำกลับไปประเมินทีมงานของเราว่าแต่ละคนอยู่ในขั้นไหน เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องและสร้างคนให้เก่งขึ้นได้ครับ

 

สุดท้ายนี้อยากฝากไว้ว่าการเติบโตทุกอย่างจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าทีมงานไม่เห็นร่วมกันว่าปัญหาที่มีอยู่ตอนนี้คือปัญหา  ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมืออะไรก็ตามการนำมาใช้ในทีมงานเริ่มต้นจากการสร้างความสัมพันธ์เพื่อให้ทุกคนเปิดใจและเห็นปัญหาร่วมกันทั้งสิ้น การบริหารร้านจะแยกออกจากการบริหารความสัมพันธ์ไม่ได้ เพราะเราทำงานกับคนไม่ใช่เครื่องจักร เจ้าของร้านจึงควรพัฒนามุมมองทัศนคติและความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์กับทีมงานด้วย

 

ขอให้ทุกร้านมีทีมงานที่ดีและประสบความสำเร็จครับ

 

สมัครเลยถ้าคุณไม่อยากพลาดหลักสูตรที่จะช่วยแก้ทุกปัญหาให้กับคุณ   คลิก

เรื่องแนะนำ

ผู้จัดการร้านอาหารที่ดี

4 คุณสมบัติสำคัญที่ ผู้จัดการร้านอาหารที่ดี ควรมี

ผู้จัดการร้านอาหาร คือคนที่ทำหน้าที่ควบคุมร้านอาหารให้ดำเนินงานไปได้โดยราบรื่น อย่างนั้นมาดูกันสิว่า ผู้จัดการร้านอาหารที่ดี ต้องมีคุณสมบัติใดบ้าง

บางทีลูกค้าก็ให้โอกาสเราแค่ครั้งเดียว! ปัจจัยที่ต้องทำ ถ้าอยากมี “ลูกค้าประจำ”

ถอดบทเรียน บางทีลูกค้าก็ให้โอกาสเราแค่ครั้งเดียว ร้านตั้งข้อสังเกต ลูกค้าไม่กลับมาอีก เพราะร้านไม่พร้อม ปัจจัยที่ต้องให้ความสำคัญถ้าอยากมี “ลูกค้าประจำ” บางทีลูกค้าก็ให้โอกาสเราแค่ครั้งเดียว… เจ้าของร้านกาแฟร้านหนึ่งได้มาโพสต์เล่าเรื่องราวในกลุ่ม “คนบ้ากาแฟ” เมื่อเขาสังเกตเห็นว่าลูกค้าที่เคยมาใช้บริการ ไม่กลับมาใช้บริการอีก โดยเขาได้ตั้งขอสงสัยว่าอาจเป็นเพราะว่าวันที่ลูกค้ากลุ่มนั้นมาใช้บริการ ทางร้านมีโต๊ะไว้บริการไม่เพียงพอ ทำให้ลูกค้าไม่ประทับใจ ไม่ตอบโจทย์จึงไม่กลับมาใช้บริการอีก โดยเขาโพสต์ว่า “บางทีลูกค้าก็ไม่ได้มีให้โอกาสเราแก้ตัวนะครับ มาครั้งแรกวันที่โต๊ะไม่พอกันนั่ง หลังจากวันนั้น ผมซื้อโต๊ะใหม่เลย ลูกค้ากลุ่มนี้ก็ไม่ได้มาอีกเลยครับ แต่ก็ขอบคุณมากๆ ครับ ที่มาในครั้งนั้น ทำให้รู้ว่าเรายังมีส่วนไหนที่ต้องปรับ ถ้าเป็นไปได้ ก็อยากให้มาอีกนะครับ เพราะตอนนี้ร้านเงียบมาก โล่งสุด พ่อค้านั่งตบยุงรอครับ ”   🔸ความเห็นจากชาวเน็ต💬 ซึ่งหลังจากโพสต์นี้ออกไปก็ได้มีเจ้าของร้านกาแฟรวมถึงลูกค้าต่างเข้ามาคอมเมนต์ให้กำลังใจเจ้าของร้านรายนี้กันอย่างล้นหลาม บ้างก็ตั้งข้อสังเกตว่าลูกค้ากลุ่มนั้นอาจจะเป็นลูกค้าขาจร ที่อาจจะผ่านและแวะเข้ามาใช้บริการ เช่น “เขาอาจจะแค่แวะมาแบบขาจรแล้ววันนั้นร้านคุณสวยเลยมาบรรจบที่ร้านคุณ เรื่องที่นั่งไม่แปลกหรอกค่ะ ร้านเปิดแรก ๆ ไม่มีอะไรเพอร์เฟค ใส่ใจเรื่องรสชาติของสินค้าในร้านดีกว่าค่ะ ต่อให้ไม่มีที่นั่ง ถ้าของอร่อยลูกค้าก็มาซื้อค่ะ แต่ก็ดีแล้วที่ใส่ใจปัญหาที่เกิดขึ้นและนำมาแก้ไข สู้ ๆ นะคะ ” “บางทีเป็นขาจรมาแวะค่ะ อย่าหมดหวัง ถ้าเขาผ่านมา เชื่อว่าเขาแวะแน่นอนค่ะ” […]

เซตอัพทีมงานหน้าร้าน ทัพสำคัญเพิ่มยอดขาย

เปิดร้านอาหาร ทำอย่างไรให้ร้านอาหารขายดี ? หนึ่งในคำตอบ ก็คือการบริการให้ดี เพราะเรื่องบริการ ไม่ใช่แค่เสิร์ฟอาหาร แต่เป็นการสร้างประสบการณ์ให้แก่ลูกค้าและผู้ที่เป็นด่านหน้าในการทำหน้าที่นี้ในร้านอาหาร ก็คือ ทีมงานหน้าร้าน จึงมีความสำคัญที่เจ้าของร้านอาหารจะต้องวางระบบเพื่อสร้างมาตรฐานในการทำงานให้เกิดขึ้นให้ได้ ทีมงานหน้าร้านประกอบไปด้วยใครบ้าง ผู้จัดการร้าน มีหน้าที่ในการบริหาร และจัดการร้านอาหาร ดูแลความเรียบร้อย ทั้งวางแผนและการแก้ปัญหา ผู้จัดการร้านต้องดูแลให้ทีมงานทำงานได้ตามเป้าหมายที่กำหนด ยังมีหน้าที่สำคัญในการบริหารและจัดการยอดขายให้เป็นไปได้ตามเป้าอีกด้วย ดูหน้าที่ผู้จัดการร้านต้องเก่งอะไรบ้าง Click link  พนักงานต้อนรับ ส่วนใหญ่ร้านอาหารประเภท Casual และ Fine Dinning จะมีการจ้างพนักงานต้อนรับ ทำหน้าที่เป็น Host ในการต้อนรับลูกค้า จัดคิวในช่วงเวลาลูกค้าเยอะ ถือเป็นคนแรกที่ได้พูดคุยให้คำแนะนำร้านอาหารแก่ลูกค้า และเป็นคนสุดท้ายที่จะกล่าวลาลูกค้าและเชื้อเชิญให้กลับมาอีกครั้ง พนักงานต้อนรับจึงต้องมีทักษะในการจัดการ และมี Service mind ยิ้มแย้มแจ่มใส และบุคลิกที่สะท้อนต่อรูปแบบร้านอาหารเป็นอย่างดี แคชเชียร์ พนักงานเก็บเงิน ต้องทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและรอบคอบ เพราะเกี่ยวข้องกับการจัดการเงิน การจัดทำบิล คิดเงิน ทอนเงินที่ถูกต้องให้แก่ลูกค้า บางครั้งแคชเชียร์ต้องรับหน้าที่ในการจองโต๊ะด้วยถือเป็นด่านแรกที่ได้คุยกับลูกค้า ส่งผลให้ลูกค้าอยากมาใช้บริการหรือเกิดความประทับใจหรือไม่ด้วยเหมือนกัน พนักงานออกอาหาร / พนักงานเสิร์ฟ เป็นตำแหน่งที่ต้องเผชิญหน้ากับลูกค้ามากที่สุด จะต้องมีความรวดเร็ว แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.