เทคนิคทำ SOP งานบริการดี ลูกค้าไหลมาเทมา - Amarin Academy

เทคนิคทำ SOP งานบริการดี ลูกค้าไหลมาเทมา

งานบริการ เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญของการทำร้านอาหารก็ว่าได้ ซึ่งถ้าอยากให้ร้านของคุณมีงานบริการที่ดี การทำ SOP สำหรับงานบริการลูกค้าก็เป็นสิ่งสำคัญที่เจ้าของร้านต้องทำ เพื่อให้พนักงานมีแบบแผนการบริการที่เป็นระบบ ถูกต้องตาม มาตรฐานของร้าน แล้ว เทคนิคทำ SOP เพื่อให้งานบริการดี ลูกค้าประทับใจทำได้อย่างไร มาดูกันครับ

เทคนิคทำ SOP งานบริการดี ลูกค้าไหลมาเทมา

การกำหนดบทบาทหน้าที่

พนักงานมีส่วนสำคัญในการชี้วัดว่า SOP ที่เขียนขึ้นมา สามารถใช้ประโยชน์ในการควบคุมมาตฐานงานบริการได้ดีจริงหรือไม่ การกำหนด SOP ที่ดี ควรทำให้พนักงานแต่ละคนรู้บทบาทหน้าที่ที่ชัดเจน ของตัวเอง ว่ามีอะไรบ้าง และจะต้องปฏิบัติอย่างไรในสถานการณ์ต่าง ๆ  รวมถึงช่วยให้มองเห็นภาพรวมการทำงานร่วมกับส่วนอื่น ๆ ได้

 

รูปแบบที่นำมาใช้ และความชัดเจน

รูปแบบเป็นอีกสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะจะทำให้การสื่อสารเป็นไปอย่างกระชับและเข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น อาจจะเป็นการใช้แผนผัง หรือภาพประกอบที่ชัดเจน เพื่อช่วยให้จดจำง่าย ใช้ศัพท์เทคนิคที่เข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน มีภาษาที่สอดคล้องกับผู้ที่นำไปปฏิบัติจริง และตรวจสอบให้แน่ใจในการนำเอกสารมาใช้ มีการกำกับเลขที่เอกสารเพื่อใช้อ้างอิง

 

วัตถุประสงค์และการวัดผล

วัตถุประสงค์ที่สำคัญของการกำหนด SOP ด้านการบริการ คือ การรักษามาตรฐานที่เกิดจากการให้บริการลูกค้าที่เป็นไปอย่างมีลำดับขั้นตอน ช่วยลดความผิดพลาด  การมีคู่มือที่เป็นเหมือนแบบปฏิบัติ ช่วยทำให้การบริหารจัดการหน้าร้านไม่สะดุดจากการที่พนักงานเข้าออก

การเขียน SOP เจ้าของร้านอาหารจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน สำหรับกระบวนการนั้น เพื่อทำให้มองภาพรวม คาดการณ์ ถึงรายละเอียดที่จะเกิดขึ้นใน SOP ไม่ว่าจะเป็น วัตถุประสงค์เพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าจากการต้อนรับ การรับออร์เดอร์ที่รวดเร็วตามกำหนดเวลา การรับมือลูกค้าร้องเรียน  SOP งานบริการยังช่วยกำหนดเวลาในการให้บริการ ซึ่งควรกำหนดให้มีการวัดผล และสามารถตรวจสอบได้  เพื่อแก้ไขปรับปรุงให้ SOP นั้น ๆ มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับสถานการณ์ของร้านในแต่ละช่วงเวลาได้ดียิ่งขึ้น

 

ทดสอบก่อนใช้งานจริง

การใช้งานได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากความถูกต้องที่เกิดจากการกำหนดร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้อง ผู้ที่มีความรู้ ประสบการณ์หน้างานจริงๆ แล้ว ควรทดสอบการใช้งานจริงว่ามีสิ่งที่ขาดตกบกพร่อง หรือเป็นไปตามที่วางระบบไว้หรือไม่ ซึ่งระบบการบริการจะต้องมีความสอดคล้องกับการปฏิบัติงานในส่วนอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการจัดการหน้าร้าน งานครัว ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน

 

ยกตัวอย่าง การเขียน SOP สำหรับการบริการลูกค้า

 

การทำ SOP ช่วยให้ธุรกิจร้านอาหารของคุณดำเนินไปอย่างไม่สะดุด ลดการสูญเสีย เกิดมาตรฐานในการดูแลลูกค้า ที่เจ้าของไม่ต้องคอยดูแลแก้ปัญหายิบย่อยตลอดเวลา แก้ไขปัญหาการบริการสะดุดเมื่อขาดคนหน้าร้าน เพราะมีระบบในการควบคุมการทำงานให้ได้มาตรฐานที่ชัดเจน

การกำหนดรูปแบบการบริการที่เป็นเอกลักษณ์แบบเฉพาะของร้าน ยังถือเป็นการออกแบบประสบการณ์ให้กับลูกค้า ถือเป็นการสร้างแบรนด์ที่ดี  SOP ยังมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการขยายสาขาในอนาคตอีกด้วย

 


 

                  กลับมาอีกครั้งกับหลักสูตร HR for Food Business บริหารคน สำหรับธุรกิจอาหาร รุ่นที่ 3 หลักสูตรที่จะทำให้ผู้ประกอบการเรียนรู้การบริหารบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ ไขข้อข้องใจปัญหาเรื่องพนักงานลาออกบ่อย ขาด ลา มาสาย ทะเลาะกัน การหาพนักงานที่ดี โครงสร้างเงินเดือน สัญญาจ้างงาน รวมถึงกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานต่างๆ ที่ต้องรู้ โดยวิทยากร คือ อาจารย์ พีรพัฒน์ กองทอง ผู้มีประสบการณ์จากธุรกิจอาหารเชนใหญ่อย่าง แมคโดนัลด์ ประเทศไทย ที่จะมาพร้อมแขกสุดพิเศษ งานนี้จะจัดขั้นในวันอังคารที่ 31 มีนาคม – วันพุธที่ 1 เมษายน 2563  เวลา 9.00-17.00 น. 

 

คลิกสมัครด่วน! หลักสูตร HR for Food Business บริหารคน สำหรับธุรกิจอาหาร รุ่นที่ 3

HR for Food Business บริหารคน สำหรับธุรกิจอาหาร รุ่นที่ 3

 

เรื่องแนะนำ

5 ขั้นตอน พัฒนาทีมงานแบบง่ายๆ ใช้ได้ทุกร้าน

เพราะปัญหาเรื่องทีมงาน เป็นปัญหาคลาสสิคของร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านทุกคนพอเปิดไปสักพัก ก็ต้องเจอไม่ว่าจะเป็น พนักงานทำออเดอร์ผิด รสชาติหน้าตาอาหารผิดเพี้ยน เสริฟผิดโต๊ะ รับออเดอร์ตกหล่น ความสะอาดภายในร้านและในครัว จนถึงปัญหาการลาออกบ่อยของพนักงาน   ผมเชื่อว่าสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปัญหาเหล่านี้ไม่ถูกแก้ และกลับมาหาเราซ้ำๆ ไม่ใช่เพราะเราไม่สอน……… แต่ปัญหาคือ เราไม่มี Flow Chart หรือ SOP ของการพัฒนาความสามารถให้พนักงาน   เมื่อเราไม่ได้วางลำดับขั้นตอนของการสอนเพื่อประเมินพนักงานว่าเขาอยู่จุดไหนแล้ว  และจากนี้เขาควรจะไปไหนต่อ มันก็เลยทำให้เขาอยู่จุดเดิม พอเกิดปัญหา ก็เลยเป็นภาระของ เจ้าของร้านที่ต้องเข้ามาแก้อยู่เสมอ   ยกตัวอย่างปัญหาในครัว เช่น พนักงาน A หั่นผัก มาหลายเดือน ก็หั่นผักอยู่แบบนั้น ไม่เคยได้จับกระทะทำอะไรเลย ยิ่งกว่านั้นพอพนักงานรุ่นพี่ลาหยุด กลายเป็นว่าคนที่อยู่ คือพนักงาน A ที่ทำหน้าที่หั่นผัก จำเป็นต้องมาจับกระทะทำอาหาร แต่ทำไม่ได้ เนื่องจากไม่ได้มีการพัฒนาให้พนักงาน A ได้จับกระทะทำอาหารมาก่อน ทำงานครัวในวันนั้นไม่สามารถดำเนินงานได้อย่างราบรื่นอย่างที่ควรจะเป็น   แสดงว่าเจ้าของร้านไม่เคยตรวจสอบความสามารถของเขาเลยว่าเขาสามารถทำงานได้ด้วยตัวเองไหม อยู่ขั้นไหนแล้ว ดังนั้นเราควรจะตั้งเป้าพัฒนาศักยภาพอย่างไร ต่อพนักงานหนึ่งคนเพื่อให้เขาเกิดผลสูงสุด   วันนี้ผมมี SOP […]

Crisis Management เมื่อโซเชียลทำพิษ ร้านต้องจัดการอย่างไร

เชื่อว่าเจ้าของร้านอาหารก็อยากให้ร้านของตัวเองเป็นที่พอใจของลูกค้าอยู่เสมอ แต่ความผิดพลาดเป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นได้กับทุกร้าน หลายร้านเองต้องประสบปัญหากับน้ำผึ้งหยดเดียวเนื่องจากรับมือไม่เป็น Crisis Management จึงเป็นสิ่งที่เจ้าของร้านอาหารในยุคนี้ต้องรู้จักและเตรียมตัวรับมือให้ดี ซึ่งสามารถทำได้ตามวิธีที่แนะนำดังนี้   Crisis Management เมื่อโซเชียลทำพิษ ร้านต้องจัดการอย่างไร ตอบทันทีอย่าให้มีดราม่า ความไม่พอใจต่อเหตุการณ์จะยิ่งรุนแรงมากขึ้นจนกลายเป็นดราม่าได้หากได้รับการเพิกเฉย การตอบลูกค้ารวดเร็วจะทำให้ลูกค้าใจเย็นลง ดังนั้น ร้านอาหารควรจะวางแนวทางในการตอบคำถามไว้ โดยต้องใช้คำง่าย ๆ ตรงไปตรงมาในการตอบ และสุภาพ การพยายามเอาชนะลูกค้าย่อมไม่เป็นผลดี เช่น กรณีร้านที่เจ้าของร้านตอบโต้อย่างรุนแรงเมื่อลูกค้าติถึงคุณภาพอาหาร จากเรื่องเล็ก ๆ ที่สามารถจัดการได้ กับเป็นเรื่องใหญ่ที่ลุกลามไปยังช่องทางอื่น ๆ เพราะฉะนั้น ผู้ที่ทำหน้าที่ตอบคำถามไม่ว่าจะเป็นเจ้าของหรือจ้างคนมาทำหน้าที่แอดมินโดยตรง จะต้องเป็นคนที่ใจเย็นและสื่อสารได้ดี   ขอโทษอย่างจริงใจ ถ้าคุณคิดว่าการขอโทษแสดงถึงการยอมรับ คุณกำลังคิดผิด เพราะการขอโทษไม่ได้สื่อสารถึงลูกค้าคู่กรณีเพียงอย่างเดียว แต่ร้านกำลังสื่อสารไปถึงลูกค้าคนอื่น ๆ ด้วย ว่าคุณเป็นร้านอาหารที่ให้ความใส่ใจและเห็นว่าลูกค้าเป็นคนสำคัญเพียงใด  นอกจากนี้การขอโทษเป็นการทำให้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีเพียงแค่ประเด็นเดียว ซึ่งดีกว่าการแก้ตัวที่จะทำให้เกิดประเด็นใหม่ ๆ หากคุณรับมือได้ไม่ดีพอก็จะบานปลายเกิดผลเสียมากกว่าได้ในที่สุด   รวบรวมข้อมูล…เปิดอกไกล่เกลี่ย ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพ รสชาติ การบริการของร้านอาหาร คุณจะต้องสอบถามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ควรแบ่งระดับความร้ายแรงของสถานการณ์ไว้ เช่น ขั้นต้น คือลูกค้าไม่พอใจรสชาติ […]

ลูกค้าล้นร้าน

ลูกค้าล้นร้าน ทำอาหารไม่ทัน ทำอย่างไรดี?

วันก่อนมีโอกาสไปกินข้าวที่ร้านอาหาร แล้วเจอเหตุการณ์คลาสิกคือ ลูกค้าล้นร้าน ทำอาหารไม่ทัน จึงอยากเล่าสู่กันฟัง เพื่อเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ ทุกคนครับ

ทำร้านอาหารให้น่าประทับใจ

8 เทคนิค ทำร้านอาหารให้น่าประทับใจ

เปิดร้านอาหารทั้งที ก็อยากทำให้ดีที่สุด แต่จะทำอย่างไรให้ลูกค้าชื่นชอบและประทับใจในทุกๆ ด้าน วันนี้เรามี 10 เทคนิค ทำร้านอาหารให้น่าประทับใจ มาแนะนำ

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.