แก้ปัญหาลูกค้านั่งนาน ไม่สั่งอาหารเพิ่ม - Amarin Academy

แก้ปัญหาลูกค้านั่งนาน ไม่สั่งอาหารเพิ่ม

แก้ปัญหาลูกค้านั่งนาน ไม่สั่งอาหารเพิ่ม

ลูกค้านั่งในร้านนาน ทำให้รับลูกค้าอื่นไม่ได้ ควรทำอย่างไรดี? ปัญหานี้เป็นปัญหาที่หลายๆ ร้านปวดหัว เพราะถ้าแก้ไขผิดอาจทำให้ลูกค้าไม่พอใจ จนกลายเป็นปัญหาใหญ่ตามมา เราจึงมีเทคนิคดีๆ ที่ช่วย แก้ปัญหาลูกค้านั่งนาน มาแนะนำ

แต่ก่อนที่จะไปทราบเทคนิค สิ่งแรกที่ควรรู้คือ คุณวางตำแหน่งของร้านไว้แบบใด ถ้าร้านของคุณวางตำแหน่งไว้ว่าเป็นคาเฟ่ให้ลูกค้ามานั่งเล่น ถ่ายรูป ไม่ว่าอย่างไรก็ต้องยอมรับว่าลูกค้าต้องนั่งนานแน่นอน เพราะเขายอมจ่ายเงินซื้อกาแฟ เพื่อบรรยากาศ ฉะนั้นหลายๆ ร้านจึงใช้เทคนิคตั้งราคาอาหารค่อนข้างสูง เพื่อชดเชยค่าเสียโอกาสในการรับลูกค้าท่านอื่นๆ

อย่าง Starbucks แบรนด์กาแฟที่วาง Position ว่า ไม่ได้ต้องการขายกาแฟ แต่ต้องการเป็น Community ให้คนได้เข้ามานั่งเล่น พบปะ พูดคุย และขายประสบการณ์ดีๆ ให้ลูกค้า ดังนั้น Starbucks จึงอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าทุกอย่าง ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ Starbucks ทำได้คือ พื้นที่ร้านกว้าง รองรับลูกค้าได้มาก และต้นทุนต่ำกว่า เนื่องจากมีหลายสาขาทำให้อำนาจการต่อรองกับ Supplier สูง หรือพูดง่ายๆ ว่า ยิ่งซื้อ ยิ่งถูก ที่สำคัญราคาเครื่องดื่มสูงกว่าร้านกาแฟทั่วไป 2 – 3 เท่า นั่นแปลว่าการที่เขารับลูกค้าคนเดียว กลับมียอดขายเทียบเท่ากับร้านกาแฟเล็กๆ รับลูกค้า 2 – 3 คน Starbucks จึงสามารถปล่อยให้ลูกค้านั่งนานๆ ได้โดยไม่เดือดร้อน นี่คือข้อได้เปรียบของแบรนด์ที่ทำให้คู่แข่งอื่น แข่งค่อนข้างลำบาก

แต่หากร้านอาหารหรือคาเฟ่ของคุณไม่ได้วาง Position ไว้เหมือนกับ Starbucks แต่เจอปัญหาลูกค้านั่งนาน ลองทำตามเทคนิคนี้ดูได้เลย

1.ให้รหัส Wifi จำกัดเวลา ไม่มีปลั๊กบริการ

ร้านกาแฟหรือคาเฟ่หลายๆ แห่ง มักใช้วิธีนี้บอกลูกค้ากลายๆ ว่าเราจำกัดเวลา ไม่ให้นั่งนาน เพราะลูกค้าบางกลุ่มมักมานั่งทำงานเป็นเวลานาน ทำให้ร้านรับลูกค้ารายอื่นไม่ได้ และสูญเสียรายได้ไป ดังนั้นร้านส่วนใหญ่จึงให้รหัส Wifi ไว้กับใบเสร็จ โดยจะมีเวลาจำกัดประมาณ 1.30 – 2 ชั่วโมง เมื่อหมดชั่วโมงก็ต้องซื้อแก้วใหม่ ถ้าลูกค้าจำเป็นต้องใช้ Wifi จริงๆ ก็ต้องยอมจ่าย เพื่อรับบริการนี้ เป็นต้น เช่นเดียวกัน การไม่มีปลั๊กไฟก็จะช่วยให้ลูกค้าลุกเร็วขึ้นได้เช่นกัน เพราะไม่มีที่ชาร์ตคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟน

วิธีนี้นอกจากจะช่วยบรรเทาปัญหาลูกค้านั่งนานได้แล้ว ยังเป็นการกรองกลุ่มลูกค้าได้อีกด้วย เพราะลูกค้าที่อยากนั่งคาเฟ่นานๆ เพื่อทำงาน ย่อมมองหาร้านที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน แต่ถ้าเป็นลูกค้าทั่วไปที่นั่งไม่นาน อาจไม่สนใจ 2 ปัจจัยนี้เลยก็ได้ ฉะนั้นถ้าลูกค้าเป้าหมายของคุณคือลูกค้ากลุ่มหลัง ก็ไม่ต้องกังวลว่า การจำกัดชั่วโมง Wifi หรือไม่มีปลั๊ก จะกระทบกับความรู้สึกของเขา

2.เก้าอี้อย่าเลือกแบบนั่งสบายนัก

เคยสังเกตไหม เวลาไปร้านอาหาร คาเฟ่ หรือร้านประเภท fast food บางร้านแล้วรู้สึกว่า เก้าอี้นั่งไม่สบายเลย ทั้งแข็ง ไม่มีเบาะนุ่มๆ รองรับสรีระ บางคนอาจคิดว่า เป็นเพราะร้านประหยัดค่าใช้จ่าย (สำหรับบางร้านที่งบประมาณจำกัด ก็อาจเป็นเพราะเหตุผลนี้) แต่จริงๆ แล้วนั่นอาจเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่ออกแบบมาเพื่อทำให้ลูกค้าลุกจากร้านเร็วขึ้น เพราะรู้สึกว่านั่งนานๆ แล้วไม่สบายเท่าไร ลุกไปที่อื่นดีกว่า ทำให้ร้านมีเพิ่มโอกาสรับลูกค้าได้มากขึ้น

3.เสียงเพลงกระตุ้น

รู้หรือไม่…ร้านอาหารที่เป็น Chain restaurant บางร้านมีการกำหนด Playlist ในการเปิดเพลงด้วย เพื่อสร้างบรรยากาศ “มาตรฐาน” ภายในร้าน ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าไม่ว่าจะไปรับประทานที่สาขาไหน ก็ให้ความรู้สึกและประสบการณ์ที่คล้ายคลึงกัน แต่นอกจาก Playlist เพลงจะออกแบบมาเพื่อสร้างบรรยากาศแล้ว บางร้านยังกำหนดระดับเดซิเบลในการเปิดเพลงด้วย บางร้านเปิดเพลงชิลๆ เบาๆ ก็จะทำให้ลูกค้ารู้สึกผ่อนคลาย นั่งได้เรื่อยๆ นั่งได้นาน แต่บางร้านที่อยากกระตุ้นให้ลูกค้าลุกเร็วขึ้น ก็อาจเลือกเปิดเพลงหนักๆ เช่น เพลงร็อค เพลงแร๊ป ในระดับเดซิเบลที่ค่อนข้างดัง เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าตื่นตัว กระฉับกระเฉง และลุกจากร้านได้เร็วขึ้น

4.เก็บจาน สอบถามด้วยความสุภาพว่า ต้องการรับอะไรเพิ่มเติมไหม?

วิธีนี้หลายๆ ร้านอาหารใช้บ่อย แต่ก็มีข้อควรระวังคือ ถ้าเทรนด์พนักงานไม่ดี เข้าไปเก็บจานหรือสอบถามด้วยคำพูดที่ไม่เหมาะสม ใบหน้าไม่ยิ้มแย้ม อาจทำให้ลูกค้าไม่พอใจได้

นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาเป็นกรณีๆ ไปว่าจะเข้าไปสอบถามลูกค้าเมื่อไหร่ เช่น นั่งนานเกิน 2 ชั่วโมง และมีลูกค้าคนอื่นรออยู่เต็มหน้าร้าน ก็อาจจะเริ่มด้วยการขออนุญาตเก็บจาน พร้อมเข้าไปสอบถามว่า ขอโทษนะครับ คุณลูกค้า อาหารรสชาติเป็นอย่างไรบ้างครับ หากอยากติชมใดๆ แจ้งได้เลยนะครับ ลูกค้าต้องการสั่งอาหารเพิ่มเติมไหมครับ ถ้าต้องการสั่งเรียกพนักงานได้เลยนะครับ เป็นต้น

การสอบถามเรื่องอื่นๆ ก่อนถามว่าสั่งอาหารเพิ่มเติมไหม จะช่วยให้ลูกค้าไม่รู้สึกอึดอัดว่าถูกเร่งจนเกินไป แต่เข้าใจได้ว่าคุณกำลังกระตุ้นให้เขาสั่งอาหารเพิ่ม หรือลุกจากโต๊ะ

5.วางบิล

วิธีนี้เป็นวิธีสุดท้ายที่อยากให้ทำ เพราะค่อนข้างแสดงออกชัดเจนว่าเรากำลังบอกให้เข้าลุกจากโต๊ะ ซึ่งลูกค้าบางรายที่ไม่เข้าใจ อาจรู้สึกไม่ดีต่อร้านของเราได้ ทางที่ดีควรลองทำวิธีอื่นๆ ก่อน ถ้าไม่ประสบความสำเร็จจริงๆ อาจเข้าไปหาลูกค้าพร้อมกล่าวว่า ขออนุญาตวางบิลนะครับคุณลูกค้า แต่หากต้องการสั่งเมนูใดๆ เพิ่มเติม สั่งเพิ่มเติมได้ตลอดเลยนะครับ

จริงๆ ลูกค้าส่วนใหญ่จะเข้าใจ ถ้าเห็นว่าร้านแน่น คนเยอะ เขาจะรีบลุกให้ เพราะเกรงใจลูกค้าท่านอื่นๆ มีน้อยรายเท่านั้นที่เราต้องงัดไม้เด็ดออกมาใช้ และสุดท้าย ถ้าลูกค้ายังไม่ลุกจากโต๊ะ คุณอาจจะต้องทำใจ และหาวิธีเพิ่มยอดขายจากช่องทางอื่นแทน เพราะการมีเรื่องกันลูกค้า ไม่เป็นผลดีต่อร้านเลย

เรื่องแนะนำ

บางทีลูกค้าก็ให้โอกาสเราแค่ครั้งเดียว! ปัจจัยที่ต้องทำ ถ้าอยากมี “ลูกค้าประจำ”

ถอดบทเรียน บางทีลูกค้าก็ให้โอกาสเราแค่ครั้งเดียว ร้านตั้งข้อสังเกต ลูกค้าไม่กลับมาอีก เพราะร้านไม่พร้อม ปัจจัยที่ต้องให้ความสำคัญถ้าอยากมี “ลูกค้าประจำ” บางทีลูกค้าก็ให้โอกาสเราแค่ครั้งเดียว… เจ้าของร้านกาแฟร้านหนึ่งได้มาโพสต์เล่าเรื่องราวในกลุ่ม “คนบ้ากาแฟ” เมื่อเขาสังเกตเห็นว่าลูกค้าที่เคยมาใช้บริการ ไม่กลับมาใช้บริการอีก โดยเขาได้ตั้งขอสงสัยว่าอาจเป็นเพราะว่าวันที่ลูกค้ากลุ่มนั้นมาใช้บริการ ทางร้านมีโต๊ะไว้บริการไม่เพียงพอ ทำให้ลูกค้าไม่ประทับใจ ไม่ตอบโจทย์จึงไม่กลับมาใช้บริการอีก โดยเขาโพสต์ว่า “บางทีลูกค้าก็ไม่ได้มีให้โอกาสเราแก้ตัวนะครับ มาครั้งแรกวันที่โต๊ะไม่พอกันนั่ง หลังจากวันนั้น ผมซื้อโต๊ะใหม่เลย ลูกค้ากลุ่มนี้ก็ไม่ได้มาอีกเลยครับ แต่ก็ขอบคุณมากๆ ครับ ที่มาในครั้งนั้น ทำให้รู้ว่าเรายังมีส่วนไหนที่ต้องปรับ ถ้าเป็นไปได้ ก็อยากให้มาอีกนะครับ เพราะตอนนี้ร้านเงียบมาก โล่งสุด พ่อค้านั่งตบยุงรอครับ ”   🔸ความเห็นจากชาวเน็ต💬 ซึ่งหลังจากโพสต์นี้ออกไปก็ได้มีเจ้าของร้านกาแฟรวมถึงลูกค้าต่างเข้ามาคอมเมนต์ให้กำลังใจเจ้าของร้านรายนี้กันอย่างล้นหลาม บ้างก็ตั้งข้อสังเกตว่าลูกค้ากลุ่มนั้นอาจจะเป็นลูกค้าขาจร ที่อาจจะผ่านและแวะเข้ามาใช้บริการ เช่น “เขาอาจจะแค่แวะมาแบบขาจรแล้ววันนั้นร้านคุณสวยเลยมาบรรจบที่ร้านคุณ เรื่องที่นั่งไม่แปลกหรอกค่ะ ร้านเปิดแรก ๆ ไม่มีอะไรเพอร์เฟค ใส่ใจเรื่องรสชาติของสินค้าในร้านดีกว่าค่ะ ต่อให้ไม่มีที่นั่ง ถ้าของอร่อยลูกค้าก็มาซื้อค่ะ แต่ก็ดีแล้วที่ใส่ใจปัญหาที่เกิดขึ้นและนำมาแก้ไข สู้ ๆ นะคะ ” “บางทีเป็นขาจรมาแวะค่ะ อย่าหมดหวัง ถ้าเขาผ่านมา เชื่อว่าเขาแวะแน่นอนค่ะ” […]

Food Rotation Labels สติ๊กเกอร์บอกรายละเอียดวัตถุดิบ มาตรฐานครัวสำคัญที่ร้านอาหารควรมี

Food Rotation Labels สติ๊กเกอร์บอกรายละเอียดวัตถุดิบ มาตรฐานครัวสำคัญที่ร้านอาหารควรมี ทุกวันนี้ผู้คนหันมาให้ความสำคัญกับอาหารการกินในทุก ๆ ทาง นี่จึงเป็นเหตุผลชวนให้ผู้ประกอบการหันมาใส่ใจสุขลักษณะในการประกอบอาหาร เพื่อสร้างความมั่นใจทั้งต่อคนเสิร์ฟและคนรับประทาน ลองเปลี่ยนมาใช้ สติ๊กเกอร์บอกรายละเอียดวัตถุดิบ กัน! . สติ๊กเกอร์บอกรายละเอียดวัตถุดิบ (Food Rotation Labels หรือบางคนอาจจะเรียกว่า Daydot) คือ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดระบบวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ประกอบอาหาร โดยในสติกเกอร์จะมีหัวข้อให้ผู้ใช้ระบุข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุดิบนั้น ๆ เช่น วัตถุดิบคืออะไร ผลิตวันไหน หมดอายุเมื่อไหร่ และใครเป็นคนเปิดใช้ เพื่อป้องกันการนำวัตถุดิบที่ไม่ปลอดภัยมาใช้ในการบริโภค ตัวอย่างข้อมูลที่ควรมีบนสติกเกอร์ติดอาหาร: 1.ชื่อผลิตภัณฑ์ (Product) เพื่อบ่งบอกว่าผลิตภัณฑ์นั้น คืออะไร 2.การจัดเก็บ (Type) : มีการจัดเก็บแบบไหน เช่น แช่แข็ง (Frozen) แช่เย็น (Chiller) หรือเก็บในอุณหภูมิห้อง (Ambient) 3.วันที่ผลิต (Product Date) 4.เวลาผลิต (Production Time) 5.วันที่หมดอายุ (Expiry Date) […]

วัดความสำเร็จของร้านอาหาร……ที่ไม่ใช่แค่ยอดขาย

วิเคราะห์ตัวเลข ตัวเลขรายได้รวม ความสำเร็จของร้านอาหารไม่สามารถวัดได้ด้วยยอดขายปัจจุบันเสมอไป ร้านอาหารจำเป็นที่จะต้องวิเคราะห์ตัวเลขรายได้จริงที่เกิดขึ้นทั้งหมด โดยนำรายได้ปีที่ผ่านมา และปีปัจจุบัน มาเปรียบเทียบ เพื่อให้สามารถคาดการณ์ถึงรายได้ในอนาคต การขยายสาขาใหม่แสดงถึงการสามารถทำรายได้ที่มากขึ้นก็จริง แต่รายได้นั้นมีอัตราการเติบโตที่เหมาะสมในการลงทุนหรือไม่ เมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น   ตัวเลขยอดขายต่อบิล ร้านมีกลยุทธ์การขายที่สามารถเพิ่มค่าใช้จ่ายต่อบิลได้ สามารถเจาะกลุ่มลูกค้าที่หลากหลายไม่ว่าจะด้วยเมนู หรือการจัดการส่งเสริมการขาย แสดงถึงความสำเร็จ และแนวโน้มของการสร้างรายได้ในอนาคต   ตัวเลขอัตราส่วนกำไรขั้นต้น  (Gross Profit Margin) การที่จะวัดว่าร้านอาหารประสบความสำเร็จ หรือมีแบรนด์ที่แข็งแกร่งหรือไม่ ร้านจะต้องมีอัตราส่วนกำไรขั้นต้นต่อหน่วยที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งแสดงถึงความสามารถควบคุมต้นทุนการผลิตได้ดี ตัวเลขที่บอกอัตราส่วนกำไรขั้นต้น ต้องนำไปเปรียบเทียบกับกิจการคู่แข่ง หรือตัวเลขเฉลี่ยจากร้านอาหารในตลาดเดียวกัน    ระบบร้านอาหารที่ดี ระบบร้านอาหารที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการบริการ การจัดการด้านครัวและวัตถุดิบ พนักงาน  โดยมีตัวชี้วัดที่มีประสิทธิภาพเกิดข้อผิดพลาดด้านการจัดการน้อย แสดงถึงความสามารถในการควบคุมการจัดการร้านอาหารได้เป็นอย่างดี มีส่วนสำคัญอย่างมากกับการทำร้านอาหาร โดยเฉพาะในสภาพการแข่งขันปัจจุบัน หากร้านอาหารของคุณขายดีมาก ๆ แต่ไม่มีระบบจัดการร้านอาหารที่ดี ต้องแก้ปัญหารายวัน ย่อมส่งผลต่อตัวเลขรายได้   Brand Royalty ของลูกค้า             เนื่องจากลูกค้าร้านอาหารมีตัวเลือกเยอะ และหลากหลาย ทำให้เป็นธุรกิจที่ลูกค้ามี […]

รับช่วงต่อกิจการ

5 เทคนิค รับช่วงต่อกิจการ ยังไง ไม่ให้เจ๊ง!

ยุคนี้หลายคนเริ่มผันตัวมาเป็นนักธุรกิจมากขึ้น ซึ่งมีทั้งที่เริ่มทำธุรกิจด้วยตัวเอง และเลือก รับช่วงต่อกิจการ จากที่บ้าน ซึ่งทั้งสองรูปแบบก็มีความท้าทายแตกต่างกัน

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.