เปิดร้านอาหาร ดูแลร้านเอง VS จ้างคนมาคุมร้าน - Amarin Academy

เปิดร้านอาหาร ดูแลร้านเอง VS จ้างคนมาคุมร้าน

เปิดร้านอาหาร ดูแลร้านเอง VS จ้างคนมาคุม

เปิดร้านอาหาร ต้องเข้าร้านทุกวันไหม ? ถ้าไม่ดูแลร้านเอง ลูกน้องจะโกงหรือเปล่า มีวิธีป้องกันอย่างไร ? เชื่อว่าหลายคนคงมีคำถามเหล่านี้อยู่ในหัว ทำให้ตัดสินใจไม่ได้สักทีว่าจะดูแลร้านเองหรือควรจ้างผู้จัดการร้านมาคุม ใครที่กังวลเรื่องนี้ เราจะลองมาเปรียบเทียบให้ฟังว่า การดูแลร้านเอง กับ การจ้างคนมาคุมร้าน มีข้อดีข้อเสียอย่างไร

ดูแลร้านเอง

ข้อดี > ควบคุมทุกอย่างได้เต็มที่ / รู้ทุกจุดอ่อนเพื่อนำไปปรับปรุงการทำงาน

ไม่มีใครรักร้านเท่าเราหรอก จริงไหม ฉะนั้นถ้าคุณเข้าร้านทุกวัน ดูแลทุกๆ อย่างด้วยตัวเอง ตั้งแต่การรับลูกค้าหน้าร้าน การเสิร์ฟอาหาร ไปจนถึงระบบครัว การจัดสต๊อกวัตถุดิบ การดูแลพนักงาน บัญชีและการเงิน ฯลฯ แน่นอนว่าธุรกิจของคุณย่อมดำเนินไปด้วยความราบรื่น (มากกว่าปล่อยให้คนอื่นดูแล) ทั้งด้านคุณภาพอาหาร การบริการ และการควบคุมต้นทุน

ร้านอาหารหลายๆ ร้านที่ประสบความสำเร็จ เช่น Mo-Mo-Paradise บอกกับเราว่า ช่วงที่ทำธุรกิจแรกๆ พี่เอ – สุรเวช เตลาน เข้าไปดูแลร้านทุกวัน จึงสามารถควบคุมต้นทุนวัตถุดิบได้ดีมาก เพราะเมื่อเห็นว่าพนักงานทำงานผิดพลาด เช่น หั่นผักผิดวิธี ทำให้มีเศษผักเหลือทิ้งมาก ก็สามารถเข้าไปแก้ไขและสอนงานได้ทันที ทั้งยังทำให้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นภายในร้านโดยละเอียด ซึ่งเขาจะนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้วางแผนเพื่อแก้ไข รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นซ้ำ

นอกจากนี้เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น เช่น ลูกค้า Complain การบริการ เมื่อเจ้าของร้านเห็นท่าไม่ดี หรือเห็นว่าพนักงานไม่สามารถจัดการเองได้ ก็จะได้ไปช่วยคลี่คลายให้สถานการณ์ดีขึ้นได้ทันที

ข้อเสีย > ขาดอิสระ เติบโตค่อนข้างยาก

ใครที่เปิดร้านอาหารอยู่ หรือมีเพื่อนที่เปิดร้านอาหารจะรู้ว่า การทำร้านอาหารไม่ได้มีเวลาว่าง หรือได้เป็นนายตัวเองอย่างที่คิด ยิ่งร้านไหนที่เจ้าของร้านดูแลเองด้วยแล้ว ไม่ต้องพูดถึงเวลาว่างเลย หาเวลาไปทำธุระยังลำบาก เพราะการจะปิดร้านแต่ละที ย่อมหมายถึงรายได้ที่คุณต้องสูญเสียไป แถมยังมีรายจ่ายที่ต้องจ่ายทั้งๆ ที่ไม่ได้เปิดร้านอีกด้วย เช่น ค่าเช่าที่ ค่าแรงพนักงาน (กรณีจ้างเป็นรายเดือน) เป็นต้น

ที่สำคัญไม่ต้องพูดถึงการเติบโตด้วยการขยายสาขาเลย เพราะแค่สาขาเดียวก็มีเรื่องให้ต้องบริหารจัดการมากมาย มีรายละเอียดเยอะมากที่ต้องใส่ใจ ก็ทำให้เหนื่อยแทบแย่แล้ว ฉะนั้นโอกาสเติบโตด้วยการขยายสาขาถือว่าค่อนข้างยาก แต่สำหรับร้านไหนที่คิดว่าอยากเปิดกิจการเล็กๆ ไม่ได้คิดจะเติบโตด้วยการขยายสาขา ก็สามารถเลือกดูแลร้านเองได้

การจ้างคนมาคุมร้าน

ข้อดี > มีอิสระ โอกาสเติบโตสูง

แน่นอนว่าเมื่อคุณจ้างพนักงานมาดูแลร้าน คุณย่อมมีอิสระมากขึ้น เพราะสามารถฝากฝังร้านให้พนักงานดูแลอย่างใกล้ชิด แล้วคุณก็เป็นคนคอยคุมอยู่ห่างๆ แต่การจะทำวิธีนี้ได้นั้น คุณต้องทำการบ้านค่อนข้างหนัก (มาก) ด้วยการวางระบบร้านทุกอย่างให้เป๊ะ สามารถตรวจสอบได้ มีการเทรนด์พนักงานอย่างเป็นระบบ และมีวิธีป้องกันการทุจริตที่รัดกุม

ทั้งนี้หากระบบของคุณดีพอ มีทีมงานที่พร้อม และมีโอกาสในการเติบโตเข้ามา คุณก็สามารถวางแผนขยายสาขาหรือการขายแฟรนด์ไชส์ได้ด้วย

(อ่านเพิ่มเติม การวางระบบร้านอาหาร)

ข้อเสีย > ควบคุมไม่ได้ทุกจุด / ใช้เวลาปั้นทีมงานค่อนข้างนาน

แม้ว่าคุณจะวางระบบอย่างดีเยี่ยม แต่หากคุณไม่ได้เข้ามาดูแลร้านเองทุกวัน ก็ต้องยอมรับว่าอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้ (มากกว่าการเข้ามาคุมงานเอง) เช่น เวลาที่เจ้าของร้านไม่อยู่ที่ร้าน พนักงานอาจจะมีความกระตือรือร้นน้อยลง หรือมีช่องทุจริตมากขึ้น เป็นต้น

แต่ขณะเดียวกันการจะหาคนที่ทำงานได้ตรงตามมาตรฐาน และไว้ใจได้เข้ามาดูแลร้านก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ผู้ประกอบการหลายคนอาจใช้วิธี “ซื้อตัว” ผู้จัดการร้านที่เก่ง มีผลงานดี ไม่มีประวัติการทุจริตเข้ามาแบ่งเบาภาระ แต่ก็มักประสบปัญหาสำคัญคือ ผู้จัดการร้านที่ซื้อตัวมา เข้ากับวัฒนธรรมของร้านไม่ได้ จึงทำงานได้ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง บางคนจึงเลือกปั้นพนักงานในร้านให้เป็นผู้จัดการแทน ซึ่งแน่นอนว่าต้องอาศัยระยะเวลาค่อนข้างมาก กว่าจะทำให้คนๆ นึงเก่งเทียบเท่า หรือใกล้เคียงกับที่เราต้องการ

พอจะทราบข้อดี ข้อเสียของการดูแลร้านเอง และ การจ้างพนักงานมาดูแลร้านแล้วใช่ไหม จริงๆ เราไม่อยากฟันธงว่าแบบไหนดีกว่ากัน เพราะมันขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของคุณว่า อยากจะให้ร้านอาหาดำเนินไปในทิศทางใด

บางคนอาจแค่อยากมีธุรกิจเล็กๆ ได้ดูแลร้านเอง อยากเห็นลูกค้ามีความสุขเวลาได้กินอาหารที่เราตั้งใจทำ ก็เลือกที่จะดูแลร้านเอง แต่บางคนอาจอยากเห็นธุรกิจเติบโต เพื่อให้มีรายได้เข้ามาเลี้ยงดูครอบครัวและทีมงานอย่างเหมาะสม ก็อาจจะต้องเลือกวิธีสร้างระบบ แล้วหาคนเข้ามาดูแลร้าน

สุดท้ายแล้วไม่ว่าจะตัดสินใจเลือกวิธีไหน ขึ้นอยู่กับตัวเจ้าของร้านเองว่าจะมองอนาคตร้านเป็นอย่างไร

เรื่องแนะนำ

ทำธุรกิจให้สำเร็จ

ทำธุรกิจให้สำเร็จ มาจากการติดกระดุมเม็ดแรกถูก!

ถ้าคุณเลือกทำเลผิดหรือลงทุนมากไป จะย้อนกลับไปแก้ไขไม่ได้เลย เหมือนการติดกระดุมเม็ดแรกผิด เม็ดต่อไปก็ผิดหมด ผมจะมาบอกเคล็ดลับ ทำธุรกิจให้สำเร็จ ให้ทราบกัน

เปิดร้านอาหารให้สำเร็จ

8 Checklists อยาก เปิดร้านอาหารให้สำเร็จ ควรทำ!

ก่อนเปิดร้านอาหาร เราต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ? เราจึงรวบรวม 8 Checklists ที่เจ้าของร้านที่อยาก เปิดร้านอาหารให้สำเร็จ ควรทำ มาแชร์ให้ทุกคนรู้กัน

5 แนวทางลดต้นทุนวัตถุดิบ ในวันที่อะไรๆ ก็ขึ้นราคา วิกฤตของแพง จะให้ขายแบบเดิมคงไม่ไหว

5 แนวทาง “ลดต้นทุนวัตถุดิบ” ในวันที่อะไรๆ ก็ขึ้นราคา วิกฤตของแพง จะให้ขายแบบเดิมคงไม่ไหว เมื่อเกิดวิกฤตของแพง วัตถุดิบขึ้นราคา จนบางทีทำให้ทุกคนรู้สึกว่าจะแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้นไม่ไหวแล้ว แต่จะปรับราคาก็กลัวลูกค้าไม่ซื้ออีก เรียกได้ว่าเป็นสถานการณ์ที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกของคนทำร้านอาหารมาก ๆ แต่ทั้งนี้ก็ใช่ว่าจะไม่มีวิธีรับมือกับวิกฤตนี้เลย เพราะฉะนั้นลองมาดูแนวทางในการบริหารจัดการร้านเพื่อ ลดต้นทุนวัตถุดิบ รับ “วิกฤตของแพง” แล้วนำไปปรับใช้กัน! 1.ลองทานเมนูนี้ไหมคะ ? . หนึ่งในวิธีที่สามารถช่วยลดต้นทุนได้ ในวิกฤติที่ของแพงนั้นก็คือ การเชียร์ขายเมนูอื่นแทนเมนูที่มีส่วนประกอบของวัตถุดิบที่มีราคาแพง อย่างเช่นในกรณีที่หมูแพง เมื่อลูกค้ามาสั่งอาหาร เราอาจใช้วิธีการเสนอขายเมนูอื่น ๆ ให้ลูกค้าเกิดความสนใจ และอยากจะสั่งเมนูอื่นมากกว่าเมนูที่ทำจากหมู โดยอาจทำการเสนอขายในแง่ของเมนูแนะนำ เช่น เมนูแนะนำของร้านเราจะเป็นปลาทอดน้ำปลา แกงส้มแป๊ะซะ ไก่ทอดกระเทียม หรืออาจเป็นการทำโปรโมชั่นกับเมนูนั้น ๆ เช่น การจัดเป็นเซ็ต แถมน้ำ เป็นต้น . 2.ของใหม่จากของเดิม . ลองย้อนกลับมาดูว่าวัตถุดิบที่เรามีอยู่หรือวัตถุดิบที่ลูกค้าไม่ค่อยสั่งอันไหนบ้าง ที่สามารถจับมารังสรรค์เป็นเมนูใหม่ได้บ้าง เช่น ปลาทูน่า แทนที่เราจะเสิร์ฟแค่สลัดทูน่าเพียงอย่างเดียว ก็ลองคิดเมนูใหม่ ๆ เพิ่มเติม เช่น ยำทูน่า […]

ทางออกร้านอาหาร ทำอย่างไรเมื่อ ต้นทุนอาหารแพง

ต้นทุนอาหารที่มีแนวโน้มว่า จะมีราคาแพงขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี นับว่าเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่เจ้าของร้านคิดหนัก ดังนั้น ถ้าไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์ต้องมาขึ้นราคาอาหารจนลูกค้าหนี ก็ต้องมีทางออกที่ดี มาดูกันว่า เจ้าของร้านต้องทำอย่างไรเมื่อ ต้นทุนอาหารแพง ขึ้นเรื่อยๆ   ทางออกร้านอาหาร ทำอย่างไรเมื่อ ต้นทุนอาหารแพง คาดการณ์ราคาวัตถุดิบให้ได้ สิ่งที่เจ้าของร้านอาหารต้องทำก่อนเปิดร้านอาหารก็คือ การกำหนดตัวเลขวัตถุดิบที่จะต้องสูงขึ้นในแต่ละปี เช่น วางแผนต้นทุนที่สูงขึ้นเฉลี่ยปีไว้ปีละ 5 เปอร์เซนต์  การคาดการณ์ล่วงหน้า เช่น มะนาวจะแพงขึ้นในเดือนเมษายนของทุกปีซึ่งเป็นหน้าแล้ง และมักจะฉุดราคาวัตถุดิบอื่น ๆ ให้ขึ้นไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นผัก แก๊สหุงต้ม น้ำมัน  หรือช่วงเทศกาลเจที่ผักจะมีราคาสูงขึ้น การประเมินสถานการณ์ จะช่วยให้สามารถกำหนดงบประมาณในการสั่งซื้อ หรือแผนการตลาดในช่วงนั้นๆ ได้ นอกจากนั้น ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อราคาของวัตถุดิบแบบฉับพลัน เช่น การผันผวนของเศรษฐกิจการเมือง หรือเกิดสถานการณ์บางอย่างที่ทำให้ราคาของวัตถุดิบที่เป็นเมนูขายดีของร้านถีบตัวสูงขึ้น ยกตัวอย่าง ร้านของคุณเพิ่งเปิดใหม่ มีเมนูซิกเนเจอร์เป็นหอยสังข์ที่ได้รับความนิยม เปิดไปได้หนึ่งเดือนหอยสังข์ขาดตลาดราคาสูงลิ่ว การปรับเปลี่ยนราคา ปริมาณในการเสิร์ฟเพื่อลดต้นทุนทันที อาจส่งผลต่อการตอบรับของลูกค้าโดยตรง สิ่งที่จะทำให้การประเมินสถานการณ์เป็นได้อย่างมีประสิทธิภาพก็คือ การมีระบบที่ช่วยบันทึกข้อมูลของวัตถุดิบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นจำนวนที่ใช้ ราคา แหล่งซื้อ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.