จิตวิทยาบริหารคน ฉีกกฎทุกตำรา แก้ทุกปัญหาแบบ Copper

จิตวิทยา บริหารคน ฉีกกฎในตำรา ขจัดทุกปัญหาเรื่องคน!

Copper จิตวิทยาบริหารคน ฉีกกฎในตำรา ขจัดทุกปัญหาเรื่องคน!

พนักงานโกง บริการแย่ ไม่พัฒนาตัวเอง ลาออกบ่อย ทำงานไม่เต็มที่ ขาด ลา มาสาย ทะเลาะกัน ทำงานพลาดบ่อย ไม่รับผิดชอบ ใครเจอปัญหาเหล่านี้บ้าง? มาดู จิตวิทยาบริหารคน และวิธีแก้ปัญหาของพี่เกษม กุนซือใหญ่แห่ง Copper International buffet กัน

เพราะที่นี่ขึ้นชื่อว่าเป็นสังคมการทำงานร้านอาหารที่ดีที่สุด พนักงานมีความสุข บริการเยี่ยม เราถอดบทเรียนการใช้หลัก จิตวิทยาบริหารคน ของพี่เกษมออกมาได้ 5 ข้อห้ามหลักๆ ซึ่งแทบทุกข้อฉีกทุกกฎในตำราก็ว่าได้ !

1.อย่าขี้เหนียว! อยากได้คนดี คนเก่ง ต้องกล้าจ่าย !

“ตำราส่วนใหญ่บอกว่าต้นทุนพนักงานไม่ควรเกิน 15 – 20% แต่เวลาพี่จ้างพนักงาน ต้นทุนเป็นเรื่องสุดท้ายที่พี่นึกถึงเลย ไม่เคยมีกฎเกณฑ์ตายตัวว่า ต้องทำงานกี่เดือนถึงได้ขึ้นเงินเดือน หรือต้องปรับเงินเดือนปีละกี่ครั้ง

ถ้าเราเห็นแววว่า เฮ้ย! เด็กคนนี้ทำงานดี โอเคมาก เราขึ้นเงินให้เลย เพราะถ้าเรามัวแต่รอสิ้นปีตามกฎ ถ้ามีที่อื่นที่ได้เงินมากกว่าแค่เดือนละ 2000 บาท คุณเสียคนดีๆ ไปเลยนะ

และไม่ว่าร้านจะขาดทุน – กำไร เราต้องขึ้นเงินเดือน ต้องมีโบนัส เพราะเรารู้ว่าทั้งปี เขาหวังแค่นี้แหละ ได้จับเงินก้อน คุณต้องลองมาชั่งน้ำหนักกัน เงินเท่านี้ แต่เทียบกับงานที่เขาตั้งใจทำมากทั้งปี เขาทำเงินให้คุณได้มากกว่าแน่นอน”

เกษม Copper

2. อย่าปล่อยให้ลูกน้องจัดการปัญหาเรื่องคน เราต้องดูแลเอง

“สิ่งสำคัญของการบริหารคนคือ เราต้องเข้าใจมนุษย์ เข้าใจความต้องการของเขา คนทำงานมีแค่ 2 อย่างหลักๆ ที่อยากได้ หนึ่งคือ เงิน สอง คือ บรรยากาศการทำงานที่ดี ถ้าเขาได้สองสิ่งนี้ ยังไงเขาก็อยู่กับเรา

เจ้าของร้านส่วนใหญ่เวลาเจอปัญหาเรื่องพนักงาน ชอบส่งให้หัวหน้าพนักงานไปเคลียร์ เพราะมันเป็นงานที่คุณไม่อยากทำ เป็นปัญหาจุกจิก แต่อย่าลืมว่าลูกน้องเขาอาจจะไม่ได้เข้าใจปัญหาเหมือนคุณ มาตรฐานการทำงานก็ไม่เหมือนคุณ วิธีการแก้ปัญหาก็ไม่เหมือนคุณ

ฉะนั้นถ้าพี่สังเกตเห็นว่ากำลังจะมีปัญหา เช่น มีเจ้าพ่อ เจ้าแม่ แบ่งพรรค แบ่งพวก เด็กของคนนั้น เด็กของคนนี้ พี่จะเรียกมาคุยเองทันทีเลย เราต้องปราบตั้งแต่ต้น จะปล่อยไม่ได้

พี่ยอมรับว่าตัวเองดุ ถามว่าทำไมต้องดุขนาดนี้ เพราะเรารู้ว่าถ้าเราปล่อย ปัญหามันเกิดแน่ องค์กรไปต่อไม่ได้

3. อย่าสอนให้เขาเป็นลูกจ้าง แต่จงสอนให้เขาเป็นหัวหน้า

สิ่งที่เราสอนพนักงานเสมอคือ เราสอนให้เขาเป็นหัวหน้า ไม่ได้สอนให้เขาเป็นลูกน้องตลอดชีวิต ไม่งั้นคุณก็ต้องสอนเขาตลอดไป ต้องสั่งเขาตลอดไปและก็เหนื่อยตลอดไป แต่ถ้าเราสอนให้เขาโตขึ้น สุดท้าย เขาก็จะทำงานเก่งขึ้น คุณก็สบาย

ทุกวันนี้ผู้ช่วยผู้จัดการของพี่ ก็เคยเป็นเด็กวิ่งอาหาร อยู่ในตำแหน่งต่ำสุดในร้านมาก่อน พนักงานรปภ. ก็เลื่อนมาเป็นเชฟ เด็กพาร์ทไทม์ที่ตอนนี้เคยเก็บจาน เราเห็นแววว่าเขามีไหวพริบ เราก็จับมาให้เป็นพนักงานดูแลเรื่องตัวเลข เรื่องสต๊อก ดูงานหลังร้าน

4. อย่าใส่ใจแค่เรื่องงาน เรื่องส่วนตัวก็ต้องดูแล

“เจ้าของร้านหลายคนไม่ค่อยให้ความสำคัญกับรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เรื่องความเป็นอยู่ บ้านอยู่ที่ไหน ครอบครัวทำอะไร พี่ถามหมด คนไหนบ้านอยู่ไกล เห็นนั่งรอรถเมล์อยู่ ถ้าพี่ว่างก็ไปส่ง เพราะว่าเรารู้ว่าถ้าเขากลับเอง กว่าจะถึงนานแน่ จะนั่งแท๊คซี่ ก็ 200 – 300 บาท แค่ค่ารถไป – กลับก็ไม่เหลือแล้ว พี่ไม่มีตังมาก่อน เลยเข้าใจ

อาหารของเราเลี้ยงอย่างดี วันไหนลูกค้าเยอะ เหนื่อยมาก ก็ปิดร้านเลี้ยง ให้เขากินอาหารในร้าน และเขาจะกินแค่พออิ่ม ป้องกันการขโมยได้ ที่ร้านนี้ไม่เคยเจอปัญหาเรื่องขโมยหรือทุกเดือนพี่จะพาน้องๆ ไปดูหนัง ไปกินข้าว คนเหนื่อยก็อยากพักผ่อน อยากผ่อนคลาย บรรยากาศการทำงานมันก็จะดี”

5. อย่าเอาแต่ออกกฎ แต่ต้องทำให้เขามีส่วนร่วม

การทำงานที่นี่ เราไม่เอาแต่ออกกฎเองว่าต้องทำอะไร ยังไง เราให้เขาเขียนขั้นตอนการทำงานมาเอง ให้เขาใช้เวลานั่งเขียน แต่ละแผนก เดือนนึงเลยว่าหน้าที่ของตัวเองต้องทำอะไรบ้าง เราก็ให้หัวหน้าไปคุม เขียนผิด ก็ทำใหม่

สุดท้ายเราก็ได้ SOP (Standard Operation Procedures) เป็นคู่มือการทำงานของร้านที่ทุกคนมีส่วนร่วม แน่นอนว่าการที่เราเขียนให้ง่ายกว่า ทุกอย่างจบ ไม่ต้องเสียเวลา แต่ทุกอย่างมันถูกบังคับ ทุกคนก็เป็นเหมือนหุ่นยนต์ ไม่มีความรู้สึกนึกคิด ทำตามคำสั่งอย่างเดียว แต่พอเขาเขียนเอง เขาถึงรู้ว่า แต่ละขั้นตอนมันต้องทำ มันสำคัญ เพราะมันออกมาจากตัวเขาเอง

หลังจากรู้หลักการบริหารพนักงานของพี่เกษมไปแล้ว มาฟังความรู้สึกของพนักงานในร้านที่ได้ทำงานกับ Copper กัน

การะเกด สิริวรามาศ (ต้นหลิว)

หนูเคยทำงานมาหลายที่ แต่ที่นี่ไม่เหมือนที่อื่น รู้สึกว่าสนุก มาทำงานไม่ได้รู้สึกเหนื่อย เหมือนมาเจอเพื่อนๆ แถมยังได้เงินด้วย หัวหน้าก็เหมือนเป็นพี่ ผู้จัดการก็เป็นเหมือนพ่อ เราคุยกันได้หมด ช่วยเหลือกัน ทุกคนเหมือนครอบครัว

ถึงเราจะเป็น Part Time ก็รู้สึกว่าต้องทำงานให้เต็มที่ เพราะเขาก็จ่ายเงินให้เราเหมือนกัน ลูกค้ามาที่ร้าน เขาแยกไม่ออกหรอกว่าใครเป็นประจำ ใครเป็น Part Time เขาก็ต้องคาดหวังว่าจะได้รับบริการที่ได้มาตรฐานเดียวกัน ฉะนั้นเราก็เลยรู้สึกว่าต้องทำงานให้ดีที่สุด

ธัญพร สังวรราชทรัพย์ (น้ำฝน)

หนูเพิ่งมาทำงานที่นี่ได้ 3 เดือน แต่ได้เรียนรู้อะไรเยอะมาก ได้รู้ว่าต้องเสิร์ฟยังไง เข้ากับลูกค้ายังไง รับออร์เดอร์ยังไง หนูรู้สึกว่าสังคมการทำงานที่นี่ดีมาก พี่พนักงานก็ดี พี่เกษมก็ใจดี ทุกคนช่วยเหลือกัน เป็นจุดที่ทำให้เราอยากมาทำงาน

พี่เกษมเป็นคนระเบียบเยอะ แต่เพื่อร้าน เราก็เข้าใจ หลังเวลางานเขาก็ใส่ใจพนักงาน บางครั้งเรากลับบ้านดึก เขาก็ไปส่งที่บ้าน พอมันเริ่มด้วยการให้ เริ่มจากการใส่ใจ เราก็รู้สึกว่าต้องให้ตอบ ถ้าพี่เกษมใส่ใจเรา เราก็ใส่ใจกับงานต่อ ใส่ใจลูกค้าต่อ เพื่อตอบแทนสิ่งที่เขาให้มา


“กลยุทธ์บุฟเฟ่ต์ เผยเคล็ดลับ ทำบุฟเฟ่ต์ให้มีกำไร รุ่นที่ 2”
.
++แชร์ทุกปัญหาที่ร้านบุฟเฟ่ต์ต้องเจอ++

++เผยทุกเคล็ดลับที่จะช่วยให้ร้านอยู่รอดและมีกำไร++
.
จาก 3 เซียน ธุรกิจบุฟเฟ่ต์ ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในยุคนี้!
.
คุณธนพงศ์ วงศ์ชินศรี เจ้าของร้าน Penguin Eat Shabu
คุณสุรเวช เตลาน เจ้าของร้าน Mo-Mo Paradise
คุณเกษม สัตยารักษ์ General Manager ร้าน Copper International Buffet

รายละเอียดเพิ่มเติม
http://amarinacademy.com/1193/course/buffet-course/

เรื่องแนะนำ

โกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ พลิกโฉมกาแฟห้องแถว สู่ร้านกาแฟทันสมัยแต่แฝงกลิ่นไอความคลาสสิก

โกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ มีวิธีการปรับตัวเพื่ออยู่รอดท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงอย่างไร และมีเคล็ดลับการรักษาแบรนด์อย่างไร ไม่ให้ถูกกลืนหายไปกับกระแสสังคม

Food Solution

Food Solution ตอบโจทย์ครบ จบทุกปัญหาร้านอาหาร

Food solution คือ ผู้ช่วยมือดีที่จะเข้ามาช่วยให้การบริหารงานร้านอาหารง่ายขึ้น เชื่อมต่อทั้งระบบบัญชีและระบบชำระเงิน ทั้งสะดวกสบาย และคุ้มค่า

วิธีรับมือลูกค้า ที่มีปัญหา รับมืออย่างไรให้เจ๋ง พลิกวิกฤตเป็นโอกาสได้

เชื่อไหมว่า….เจ้าของร้านอาหารหลายร้านไม่รู้ว่าจะมี วิธีรับมือลูกค้า ที่มีปัญหาอย่างไร ? หรือบางรายก็คิดว่าการรับมือลูกค้าเป็นเรื่องของศิลปะและประสบการณ์ ถ้าเกิดก็ปรับไปตามหน้างานก็พอ ซึ่งร้านอาหารจำนวนไม่น้อย ไม่มีการกำหนดขั้นตอนการรับมือลูกค้า และไม่เคยฝึกพนักงานให้รับมือ สุดท้าย…มีร้านอาหารที่ต้องเจ๊ง เพราะรับมือกับลูกค้าไม่เป็น Customer Complain Handling เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องถูกกำหนดไว้ในมาตรฐานการบริการ SOP  เพื่อให้ทีมงานสามารถนำไปปฏิบัติได้ สามารถพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้ หรืออย่างน้อยก็ต้องส่งผลเสียกับร้านน้อยที่สุด  มาดูกันว่ามีแนวทางอะไรบ้าง ที่ควรรู้ก่อนนำไปกำหนดรูปแบบของร้านคุณเอง Customer Complain Handling วิธีรับมือลูกค้า ที่ควรรู้! กำหนดความร้ายแรงให้กับกรณี วิธีรับมือลูกค้า เมื่อเกิดปัญหาโดยทั่วไปนั้น มีลำดับขั้นตอนที่ไม่แตกต่างกันนัก ไม่ว่าจะเป็นการขอโทษก่อนเป็นลำดับแรก จากนั้นสอบถามเรื่องที่เกิดขึ้น  และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าโดยทันที แต่สิ่งที่ทำให้การรับมือกับปัญหาต่าง ๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้กว่านั้น คือ การกำหนดระดับความรุนแรงของปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดหน้าร้านเข้าไปด้วย เพราะจะช่วยให้ทีมงานร้านอาหารสามารถจัดการกับปัญหาตรงหน้าได้อย่างเหมาะสม เพราะในแต่ละช่วงเวลาร้านอาจจะยุ่ง มีลูกค้ารายอื่น ๆ ที่ต้องบริการ รวมถึงระดับความไม่พอใจของลูกค้านั้นกระทบกับบรรยากาศของร้าน หรือการบริการกับลูกค้าอื่น ๆ ต่างกัน การกำหนดระดับความรุนแรงจากมากไปน้อย เป็นเหมือนเครื่องมือในการสื่อสารกับทีมงานในส่วนต่าง ๆ ของร้านว่ากำลังใช้แผนการใดในการรับมือ เช่น ต้องเร่งรีบแค่ไหน ต้องการตัวช่วยระดับผู้จัดการหรือไม่ […]

กำไร เพิ่ม

กำไร เพิ่ม ปีละเกือบแสน แค่ปรับระบบพนักงาน

ร้านอาหาร ส่วนใหญ่ มักโฟกัสที่การควบคุมต้นทุนวัตถุดิบ แต่กว่าจะลดได้ก็หืดขึ้นคอ ขณะที่การลดการจ้างพนักงานประจำ กำไร เพิ่ม ปีละแสน โดยไม่ต้องเหนื่อยเพิ่ม

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.