เปิดร้านเอง VS ซื้อแฟรนไชส์...แบบไหนดีกว่ากัน - Amarin Academy

เปิดร้านเอง VS ซื้อแฟรนไชส์…แบบไหนดีกว่ากัน

เปิดร้านเอง VS ซื้อแฟรนไชส์…แบบไหนดีกว่ากัน

หลายคนอยากเริ่มต้นธุรกิจ ด้วยการเปิดร้านอาหารแฟรนไชส์ขึ้นมาสักร้าน เพราะได้ยินใครต่อใครพูดให้ฟังว่า ซื้อแฟรนไชส์ มีเปอร์เซ็นต์ที่จะประสบความสำเร็จในธุรกิจรวดเร็วกว่าเริ่มต้นนับหนึ่งทำร้านอาหารด้วยตัวเอง เนื่องจากแบรนด์ร้านอาหารเป็นที่รู้จักดีอยู่แล้ว ทำให้ลูกค้าสามารถตัดสินใจซื้อได้ง่ายกว่า

อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยหลายอย่างที่นักธุรกิจมือใหม่ต้องพิจารณาให้ดีเสียก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงินลงทุน ทำเลที่ตั้ง ค่าแรกเข้าในการใช้เครื่องหมายการค้า รวมไปถึงกฎระเบียบยิบย่อย … ถ้าคุณกำลังอยู่ในช่วงระหว่างการตัดสินใจว่าจะซื้อแฟรนไชส์ร้านอาหารดีหรือไม่ ลองอ่านข้อดีข้อเสียเหล่านี้ เพื่อช่วยให้ตัดสินใจง่ายขึ้นกันดีกว่าครับ

ซื้อแฟรนไชส์

 ข้อดี ของการซื้อแฟรนไชส์

1. เปิดง่าย เริ่มได้ทันที ร้านอาหารแฟรนไชส์ มีทุกอย่างมาให้คุณเสร็พสรรพ ไม่ว่าจะเป็นชื่อร้าน อุปกรณ์ตกแต่ง เมนูอาหาร รวมไปถึงแผนการตลาด ทำให้คุณแทบจะเปิดร้านได้เลยทันที โดยไม่ต้องมีเรื่องจุกจิกให้ต้องมานั่งพะวง

2. มีคนคอยช่วยเหลือ สิ่งที่คุณจะได้รับพ่วงมากับธุรกิจแฟรนไชส์ ก็คือ การช่วยเหลือและสนับสนุนจากบริษัทแม่ หากคุณมีข้อสงสัย หรือพบเจอปัญหาใด ๆ เกี่ยวกับการทำธุรกิจ ก็สามารถอุ่นใจได้เลยว่า มีคนคอยให้ความช่วยเหลือหรือเป็นที่ปรึกษาให้เสมอ

3. มีกำลังซื้อที่ดี ร้านแฟรนไชส์สามารถซื้อวัตถุดิบต่าง ๆ ได้ในราคาถูกมากกว่าร้านอาหารทั่วไป นั่นเป็นเพราะ ร้านแฟรนไชส์มีกำลังซื้อที่มากกว่านั่นเอง คุณจึงตัดเรื่องปวดหัวออกไปได้แล้วอีกหนึ่งอย่าง

4. ชื่อร้านติดหู เจ้าของร้านแฟรนไชส์สามารถเปิดร้านได้อย่างสบายใจหายห่วง ไม่ต้องคอยกังวลว่า ทำอย่างไรให้ชื่อร้านเป็นที่รู้จัก และที่สำคัญไปกว่านั้น คุณไม่ต้องเสียเงินมหาศาล ไปกับการทำการตลาดในช่วงเริ่มต้น

ซื้อแฟรนไชส์

ข้อเสีย ของการซื้อแฟรนไชส์

1. เงิน (ไม่พอ) ปัญหาเรื่องเงินจัดเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดของการซื้อแฟรนไชส์เลยก็ว่าได้ เพราะหากคุณต้องการซื้อแฟรนไชส์แบรนด์ใหญ่ ๆ คุณจำเป็นต้องมีวงเงินไปค้ำประกันก่อนก้อนหนึ่ง (ซึ่งเป็นจำนวนที่มากเอาเรื่อง) แถมยังต้องกันอีกก้อนหนึ่งไว้เป็นเงินสำหรับลงทุนด้วย

2. จำกัดอิสรภาพทางความคิด ต้องทำใจยอมรับว่า การซื้อแฟรนไชส์จะทำให้คุณหมดสิทธิครีเอทเมนู ออกแบบป้ายร้านอาหาร จัดวางเฟอร์นิเจอร์หรือของตกแต่งร้านตามใจชอบ ดังนั้น ธุรกิจแฟรนไชส์จึงเหมาะกับคนที่พร้อมจะพับเก็บความคิดสร้างสรรค์ของตัวเองเอาไว้

3. มีกฎระเบียบจุกจิก ร้านแฟรนไชส์มาพร้อมกับกฎระเบียบข้อบังคับมากมายที่เจ้าของร้านต้องทำตามอย่างเข้มงวด พนักงานร้านแฟรนไชส์หลายแห่งจะต้องเข้ารับการฝึกฝนอบรมจนกระทั่งสามารถดำเนินธุรกิจเหมือนกับบริษัทแม่ได้ เพื่อไม่ให้เสียมาตรฐานของแบรนด์ร้านอาหาร

4. เสียค่าธรรมเนียมการจัดการ หรือ “ ค่ารอยัลตี้ ” (Royalty Fee) ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายระหว่างการดำเนินกิจการ ที่ต้องจ่ายให้แก่บริษัทแฟรนไชส์เป็นรายเดือน ดังนั้น คุณจำเป็นจะต้องมีเงินทุนที่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายส่วนนี้ และต้องแบ่งสรรเงินทุนอีกส่วนหนึ่ง ให้เพียงพอกับการดำเนินงานธุรกิจตามปกติด้วย

แน่นอนว่า ไม่มีธุรกิจใดที่มีแต่ข้อดีร้อยเปอร์เซ็นต์ สุดท้ายแล้วจะตัดสินใจเลือกแบบไหน ก็คงขึ้นอยู่กับเงินในกระเป๋า ความชอบ และความพร้อมของคุณแล้วละครับ

While the tips above give you a jump-start who can i pay to do my homework on the online portion of author branding, to get the most out of them you really need to have some basic branding already built.

เรื่องแนะนำ

พีคไทม์ ออเดอร์แน่น! ร้านอาหารรับมืออย่างไร?

Host จัดคิว ให้เหมาะสมกับที่นั่ง การทำยอดขายขึ้นอยู่กับการจัดที่นั่ง การจัดการด้านที่นั่งให้เพียงพอกับลูกค้าตามจำนวนที่คาดการณ์ การจัดสรรที่นั่ง และรับออเดอร์ได้อย่างรวดเร็ว จะช่วยลดระยะเวลาในการบริการหน้าร้าน ส่งผลให้ร้านสามารถทำรอบได้สูง ในช่วงเวลาพีคไทม์ ร้านอาหารหลายแห่งจะมีการจ้าง Host ในการรับหน้าที่ต้อนรับลูกค้า พาลูกค้าไปยังที่นั่ง แต่หากร้านของคุณเป็นร้านเล็ก ๆ ก็สามารมอบหน้าที่ให้กับหัวหน้าพนักงานเสิร์ฟ หรือผู้จัดการร้านอาหารในการดูแล โดยจะต้องมีทักษะในการวางแผนจัดการที่นั่ง การสื่อสารกับลูกค้า  รวมถึงประสานกับพนักงานส่วนบริการเพื่อรับหน้าที่ต่อได้เป็นอย่างดี   อุปกรณ์ วางแผนให้เหมาะกับ Turn ถ้าหากอุปกรณ์ไม่เพียงพอต่อจำนวนลูกค้า อาจส่งผลโดยตรงกับประสบการณ์ในการรับบริการ การเตรียมความพร้อมด้านอุปกรณ์จึงเป็นเรื่องสำคัญ คุณอาจจะคาดการณ์ได้จากจำนวนลูกค้าที่สูงสุดที่รับในช่วงพีคไทม์ ว่าจะใช้ได้กี่รอบ ยกตัวอย่าง ร้านอาหาร 40 ที่นั่ง คาดการณ์ว่าจะรับลูกค้าได้ 2 รอบในช่วงพีคไทม์ อุปกรณ์สำหรับลูกค้าจะต้องมี 80 ชุด  และคุณอาจจะบวกจำนวนเพิ่มขึ้นมากกว่านั้นสัก 1 เปอร์เซนต์ โดยคำนวณให้เพียงพอ ไม่ควรเผื่อการนำอุปกรณ์ที่มีอยู่ไปล้างเพื่อใช้ในช่วงเวลานี้   เตรียมอาหารให้พร้อม มีคนรอซื้อแต่ไม่มีของขาย มีขายแต่ขายช้า ลูกค้าต้องรอเป็นระยะเวลานานๆ ทำให้รับลูกค้าได้น้อยรอบ  รวมถึงประสบการณ์ยอดแย่อันดับต้น ๆ ที่ลูกค้าร้านอาหารเจอและทำให้ไม่กลับไปกินร้านอาหารนั้น ๆ […]

ลูกค้าหายไปไหนกัน ? เจ้าของร้านตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับพฤติกรรมลูกที่เปลี่ยนไป

ลูกค้าหายไปไหนกัน ? รวมความคิดเห็นจากคนทำร้านกาแฟ เจ้าของร้านตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับพฤติกรรมลูกที่เปลี่ยนไป ร้านคุณกำลังเผชิญกับภาวะยอดขายตก ลูกค้าหายอยู่หรือเปล่า ? เจ้าของร้านกาแฟรายหนึ่งได้มาโพสต์ตั้งคำถามในกลุ่ม “คนบ้ากาแฟ” เกี่ยวกับการทำธุรกิจของตนเองในขณะนี้ได้อย่างน่าสนใจว่า เดี๋ยวนี้ลูกค้าหายไปไหนหมด โดยโพสต์ดังกล่าวได้ระบุข้อความว่า “#ลูกค้าหายไปไหน มาชวนเพื่อนๆ ช่วยกันคิดหน่อย คิดว่าตอนนี้หลายร้านคงเจอกับภาวะ “นั่งตบยุง” “นั่งไถมือถือ” “นั่งดู Netflix” เราเป็นคนนึงที่เคยไม่กินกาแฟ แต่พอเปิดร้านกาแฟกลายมาเป็นคอกาแฟ ขาดกาแฟไม่ได้สักวัน เปิดร้านกาแฟมาเข้าปีที่ 7 เราเริ่มสงสัยว่า “ลูกค้าหายไปไหน” ทั้ง ๆ ที่ในซอยที่ร้านเราอยู่ ไม่มีร้านกาแฟจริงจังที่เป็นคู่แข่ง อาจจะมีร้านชากาแฟที่เป็นคีออสบ้าง แต่ถ้าร้านกาแฟจริงจังมีเราร้านเดียว พอลูกค้าหายไป เราเลยเริ่มสงสัยว่าลูกค้าหายไปไหน หรือเกิดจากกระแส 1. กาแฟดริป/Moka pot ทานเองที่บ้าน 2. เครื่องทำกาแฟแคปซูล 3. กาแฟในร้านสะดวกซื้อ 4. ลูกค้าเลิกกินกาแฟ 5. ลูกค้าไปทานร้านอื่น เพื่อนๆ ช่วยเราคิดหน่อยว่าลูกค้าหายไปไหน?” . หลังจากที่โพสต์นี้ออกไปก็ได้มีทั้งเจ้าของร้านกาแฟ และผู้บริโภคต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นกัน โดยสรุปเป็นหลายปัจจัยดังนี้ ชงกินเองที่บ้าน […]

ออกแบบเมนูร้านอาหาร เมนูไหนควรเชียร์ขาย เมนูไหนควรตัดทิ้ง!

ไม่รู้จะตัดเมนูไหนทิ้งหรือควรเชียร์ขายเมนใด เรามีหลักการง่ายๆ ที่ช่วยให้คุณ ออกแบบเมนูร้านอาหาร ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น มาแชร์ให้รู้กัน!

เพิ่มกำไรร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย VS ลดต้นทุน วิธีไหนดีกว่ากัน ?

ทุกคนย่อมหวังว่าจะได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ จึงสรรหาสารพัดวิธีเพื่อ เพิ่มกำไรร้านอาหาร ซึ่งมี 2 วิธีหลักๆ ที่ช่วยได้ นั่นคือการ เพิ่มยอดขาย และ การลดต้นทุน

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.