9 Checklist ธุรกิจ ควรทำ ถ้าไม่อยากเจ๊ง! - Amarin Academy

9 Checklist ธุรกิจ ควรทำ ถ้าไม่อยากเจ๊ง!

9 Checklist ธุรกิจ ควรทำ ถ้าไม่อยากเจ๊ง!

ทำธุรกิจต้องหมั่นตรวจสอบระบบการทำงานอยู่เสมอ เพื่อเช็คว่าธุรกิจของคุณมีปัญหาอะไรต้องเร่งแก้ไข หรือควรพัฒนาส่วนใดเป็นพิเศษ เพื่อให้ธุรกิจของเราโตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด อย่างนั้นมาดูกันดีกว่าว่า Checklist ธุรกิจ ที่เจ้าของธุรกิจควรทำมีอะไรบ้าง

  1. Check งานให้เป็นระบบ

ระบบ คือหัวใจสำคัญที่ทำให้งานทุกส่วนราบรื่น ดังนั้นเจ้าของธุรกิจต้องวางระบบการทำงานให้เหมาะสม กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบให้พนักงานแต่ละตำแหน่งให้ชัดเจน เพื่อให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพสูงสุด เช่น ร้านอาหารขนาดใหญ่ ควรสร้างระบบการดูแลลูกค้าให้พนักงาน โดยรับผิดชอบเป็นโซน อาจแบ่งเป็น A B C เพื่อให้พนักงานดูแลลูกค้าได้ทั่วถึง หรือสร้างระบบงานครัว เมื่อรับออร์เดอร์แล้ว ตำแหน่งใดจะเป็นคนส่งต่อออร์เดอร์นั้นให้เชฟ ใครจะคอยเช็คว่าอาหารทุกจานถูกต้องและตรงตามที่ลูกค้าสั่ง หรือมีเมนูใดตกหล่นหรือเปล่า เป็นต้น

  1. Check ทีมให้พร้อม

ไม่มีใครสามารถทำธุรกิจด้วยตัวคนเดียวได้ ดังนั้นทีมงานคือส่วนสำคัญ เจ้าของธุรกิจจะต้องประเมินความรู้ ความสามารถและทักษะของพนักงานอย่างสม่ำเสมอ พร้อมหาวิธีผลักดันให้พวกเขาพัฒนาตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการจัดเทรนด์นิ่ง ฝึกทักษะการทำงาน หรืออย่างร้าน Factory Coffee ที่ใช้การแข่งขันบาริสต้า เป็นเครื่องผลักดันบาริสต้าภายในร้านให้เก่งขึ้น

ยิ่งทีมงานของคุณเก่งขึ้นเท่าไร ธุรกิจของคุณก็เติบโตได้มากขึ้นเท่านั้น

  1. Check คุณภาพสินค้าและบริการให้ได้มาตรฐาน

ไม่ว่าคุณจะทำการตลาดเก่งขนาดไหน ถ้าสินค้าหรือบริการคุณไม่ดีพอ หรือทำให้ลูกค้าประทับใจไม่ได้ โอกาสที่คุณจะประสบความสำเร็จก็น้อยตามไปด้วย ฉะนั้นก่อนจะพัฒนางานด้านอื่นๆ หรือวางแผนการเติบโต เจ้าของธุรกิจต้องทำให้สินค้าหรือบริการมีมาตรฐานคงที่ให้ได้เสียก่อน รวมทั้งพัฒนาให้ดีขึ้นอยู่เสมอด้วย

  1. Check บัญชีให้ถูกต้อง

เรื่องเงินๆ ทองๆ กับธุรกิจเป็นของคู่กัน เจ้าของธุรกิจบางคนอาจรู้สึกปวดหัวกับเรื่องบัญชี รายรับ – รายจ่าย หรือไม่มีความรู้เรื่องบัญชีเลย จึงตัดสินใจให้ลูกน้องจัดการทั้งหมด แล้วตัวคุณเองดูแค่ตัวเลขบรรทัดสุดท้ายว่าได้กำไรหรือขาดทุน กำไรก็แล้วไป ขาดทุนค่อยมาว่ากัน แต่!!! การทำอย่างนั้นคือหายนะขั้นสุด เพราะเรื่องเงินคืองานที่คุณจะไว้ใจใครไม่ได้เลย บางครั้งลูกน้องอาจทำงานผิดพลาดหรือเกิดการทุจริตขึ้นมา ธุรกิจของคุณเสียหายแน่นอน แต่หากคุณไม่เก่งเรื่องตัวเลขจริงๆ อาจลองนำเทคโนโลยีเกี่ยวกับระบบการจัดการบัญชีที่แสดงผลแม่นยำเข้ามาช่วย เท่านี้ก็ไม่ต้องปวดหัวกับตัวเลขแล้ว

  1. Check ช่องทุจริต

ทำธุรกิจ มีรอยรั่วได้ทุกจุด เจ้าของธุรกิจต้องหมั่นตรวจสอบว่าธุรกิจของคุณมีรอยรั่วที่จุดใด เช่น หากคุณทำร้านอาหาร ต้องเริ่มเช็คตั้งแต่การรับออร์เดอร์ของพนักงานว่า จำนวนอาหารที่เสิร์ฟตรงกับยอดเงินที่ได้รับไหม วัตถุดิบที่ใช้ในแต่ละวัน เหลือเท่าไร สอดคล้องกับยอดขายไหม ยอดการสั่งซื้อวัตถุดิบ ตรงกับจำนวนวัตถุดิบที่ได้รับไหม จำนวนเงินในลิ้นชัก ตรงกับยอดขายจริงหรือเปล่า ฯลฯ สิ่งเหล่านี้คือช่องทางที่สามารถทุจริตได้ทั้งสิ้น เจ้าของร้านจะต้องวางระบบให้มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันการทุจริตให้ได้มากที่สุด

  1. Check ต้นทุน ไม่ให้พุ่ง

ต้นทุน คือสิ่งที่เจ้าของธุรกิจต้องควบคุมให้ได้ เพราะถ้าต้นทุนสูง กำไรของคุณก็น้อยตามไปด้วย ดังนั้นเจ้าของธุรกิจต้องหมั่นเช็คต้นทุนอย่างสม่ำเสมอว่าเหมาะสมหรือไม่ ถ้าหากสูงเกินไป ก็ต้องตรวจสอบว่าเกิดจากสาเหตุใด เพื่อจะได้แก้ไขได้ตรงจุด เช่น ถ้าคุณทำธุรกิจโรงแรม แล้วพบว่าค่าไฟสูงมาก ต้องไล่หาสาเหตุว่ามาจากอะไร เช่น ลูกค้าเปิดแอร์ทิ้ง

  1. Check คู่แข่ง อย่าปล่อยให้แซงหน้า

ไม่มีธุรกิจใด ไม่มีคู่แข่ง ฉะนั้นถ้าเรามัวแต่อยู่เฉยๆ หรือเดินช้าๆ คู่แข่งอาจจะวิ่งแซงจนไม่เห็นฝุ่น เจ้าของธุรกิจต้องคอยตรวจสอบว่า ตอนนี้คู่แข่งเขาเดินเกมอย่างไร วางกลยุทธ์หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปแบบไหน แต่ดูในที่นี้ไม่ใช่ดูเพื่อทำตาม แต่ต้องนำมาเป็นเกณฑ์ในการประเมินว่า เรากำลัง “ช้า” ไปหรือเปล่า เมื่อรู้จักคู่แข่งอย่างรอบด้านแล้ว เราก็จะรู้ว่าควรจะโตอย่างไร จึงแตกต่างและดีกว่าคู่แข่ง

  1. Check เทรนด์ผู้บริโภค

ทุกวันนี้เทรนด์ผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว สังเกตได้จากกระแสความนิยมที่เปลี่ยนแทบทุกสัปดาห์ (ก่อนหน้านี้ชากุหลาบก็มาแรง ต่อด้วยกระแสชาเขียว มันม่วง ฯลฯ ) ดังนั้นเจ้าของธุรกิจต้องไม่นิ่งเฉย หรือปล่อยให้โอกาสหลุดลอยไป แต่ต้องศึกษาเทรนด์ผู้บริโภคอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะเทรนด์ในต่างประเทศ ที่มักเกิดขึ้นเร็วกว่าประเทศไทย หากผู้ประกอบการจับทางได้ถูกก็มีโอกาสปลุกกระแส สร้างยอดขายได้ไม่ยาก

  1. Check โอกาสในการเติบโต

ทำธุรกิจ ใครๆ ก็อยากเติบโต แต่ถ้ามัวนั่งรอให้โอกาสเข้ามาถึงที่ คุณอาจไม่มีโอกาสโตเลยก็ได้ ฉะนั้นผู้ประกอบการต้องวิ่งหาโอกาส เพื่อทำให้ธุรกิจเติบโตได้เร็วที่สุด เช่น แทนที่จะรอให้เงินทุนพร้อมแล้วค่อยขยายสาขา ก็อาจเปลี่ยนเป็นการโตด้วยวิธีอื่นที่ใช้เงินทุนไม่มากนัก เช่น โตด้วยการสร้างพันธมิตร จับมือกับธุรกิจอื่นออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ มาตีตลาด หรือขยายช่องทางการขาย กรณีที่น่าสนใจคือ Starbucks ที่จับมือกับ After you นำเมนูเด็ดคือ ชิบูย่าฮันนี่ โทสต์ และ ช็อคโกแลตบราวนี่ เข้าไปจำหน่ายในสาขาต่างๆ เป็นต้น

การทำธุรกิจต้องหมั่นตรวจสอบระบบและพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ เพราะหากคุณหยุดนิ่งเมื่อไร โอกาสที่ธุรกิจจะหายไปจากตลาดก็สูงตามไปด้วย ดังนั้น Checklist ที่เราแนะนำมานี้ อย่าลืมนำไปปรับใช้กันนะครับ

เรื่องแนะนำ

6 ปัญหาที่ต้องระวัง  ในการนำ ร้านอาหารเข้าระบบเดลิเวอรี

6 ปัญหาที่ต้องระวัง เมื่อนำ ร้านอาหารเข้าระบบเดลิเวอรี

        การจะนำ ร้านอาหารเข้าระบบเดลิเวอรี เป็นทางเลือกกึ่งบังคับของผู้ประกอบการหลายๆท่าน ในช่วงที่มีการ Shutdown กรุงเทพฯ รวมถึงอีกหลายจังหวัดจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 การปรับตัวเข้าสู่ระบบเดลิเวอรี จึงเป็นการเพิ่มโอกาสทำยอดขายทางออนไลน์ เพื่อชดเชยกับยอดขายหน้าร้านที่ลดลง รวมถึงเป็นการเพิ่มช่องทางในการขายใหม่ๆให้กับลูกค้า แต่ระบบนี้ก็ไม่ได้มีแต่ข้อดีเสมอไป ลองมาดูปัญหาที่ผู้ประกอบการควรระวังเพื่อไม่ให้ร้านขาดทุน!! หากต้องนำร้านอาหารเข้าร่วมให้บริการเดลิเวอรี 6 ปัญหาที่ต้องระวัง  เมื่อนำ ร้านอาหารเข้าระบบเดลิเวอรี 1. ไม่สามารถรักษาคุณภาพและรสชาติของอาหารได้         การส่งอาหารผ่านระบบเดลิเวอรี จะต้องมีการควบคุมมาตรฐานของอาหาร โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่าอาหารจะต้องปรุงสุกใหม่ เนื้อสัตว์ควรผ่านกระบวนการทำอาหารที่อุณหภูมิมากกว่า 70 องศาเซลเซียส และหลีกเลี่ยงการจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุกเพื่อป้องกันการปนเปื้อนในอาหาร         นอกจากนี้ ผู้ประกอบการอาจจะต้องเจอกับปัญหารสชาติและคุณภาพของอาหารที่ด้อยลง ซึ่งมีสาเหตุได้จากหลายปัจจัย เช่น เกิดจากระยะเวลาในการจัดส่งที่ล่าช้า หรือการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสมกับชนิดของอาหาร เช่น อาหารทอด เมื่อนำบรรจุลงกล่องที่ปิดมิดชิด จะทำให้เกิดไอน้ำควบแน่นอยู่ที่ฝากล่อง และเกิดความชื้นทำให้อาหารนั้นไม่กรอบ รสชาติและสัมผัสของอาหารจึงไม่เหมือนเดิม ทางร้านควรมีแนวทางการแก้ไข โดยอาจจะเลือกใช้กล่องที่มีรูระบายความร้อน […]

7 ขั้นตอนสุดง่าย เขียน SOP ร้านอาหารด้วยตัวเอง

1.ตั้งเป้าหมาย             คุณอาจจะเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า ทำอะไรก็ตามต้องรู้เป้าหมาย การเขียน SOP ก็เช่นกัน การกำหนดเป้าหมายตั้งแต่เริ่มต้นจะช่วยให้คุณวางโครงร่างของ SOP ได้ง่าย และเกิดการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น คุณต้องการเขียน SOP ในการรับสินค้าจากซัพพลายเออร์ในแต่ละอาทิตย์ อาจกำหนดเป้าหมายเพื่อลดระยะเวลาการทำงานให้ได้มากที่สุด SOP ที่ดีจะไม่ได้เขียนขึ้นเพียงเพื่อบอกขั้นตอนในการวัตถุดิบทั่วไปเท่านั้น แต่ทุก ๆ ขั้นตอน จะต้องถูกคิดเพื่อลดระยะเวลาในการทำงาน กระทบต่อการจัดการหน้าร้านให้น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย การตั้งเป้าหมายของ SOP ง่ายที่สุด คือ การแก้ปัญหาที่มีอยู่ให้หมดไป และการพัฒนาให้ขั้นตอนการทำงานเดิมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น   2.กำหนดรูปแบบ                         วัตถุประสงค์ของ  SOP คือการกำหนดการทำงานแบบเป็นขั้นตอน เพื่อให้ทีมงานที่เกี่ยวข้องเข้าใจ และสามารถปฏิบัติงานได้ตามได้อย่างถูกต้อง  รูปแบบที่นำมาใช้จึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเอกสาร  SOP ที่ใช้อยู่ทั่วไปนั้นมีหลายรูปแบบด้วยกัน ควรคำนึงถึงความเหมาะสมกับลักษณะงานนั้น ๆ เช่น  การเขียน SOP เป็นหัวข้อ  (Simply Format)  เน้นการสร้างความเข้าใจโดยภาพรวม เช่น ข้อกำหนดพนักงานร้านในการเข้างานก่อนการปฏิบัติงาน หรือขั้นตอนหน้าร้านที่ไม่ซับซ้อนมากนัก ส่วนงานที่ต้องเน้นการปฏิบัติที่ถูกต้อง […]

เทคนิค หาพนักงานร้านอาหาร ชั้นเซียน ก่อนเปิดร้าน!

หาพนักงานร้านอาหาร จนท้อ แถมทำงานได้ไม่ถึงเดือนก็ลาออก ต้องหาพนักงานมาแทนกันให้วุ่น ลดปัญหาน่าปวดหัวเรื่องพนักงาน ด้วยเทคนิคการหาคนให้ตรงใจตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อลดผลกระทบที่เกิดกับร้านของคุณให้มากที่สุดกันดีกว่า   เทคนิค หาพนักงานร้านอาหาร ก่อนเปิดร้าน! WHAT  หาอะไร ประเภทของร้านอาหารแต่ละแบบ ต้องการพนักงานที่ต่างประสบการณ์กัน  รวมถึงจำนวนที่เหมาะสมก็ต่างกันด้วย เพื่อให้สอดคล้องกับการวางโครงสร้างต้นทุนร้านอาหารที่เหมาะสม ทีมงานร้านอาหารแบ่งเป็น 2 ทีมงานหลัก ๆ  คือ ทีมงานหลังบ้าน เช่น เชฟ ผู้ช่วยเชฟ คนปรุงอาหาร คนแพ็คอาหาร พนักงานล้างจาน และทีมงานหน้าบ้าน เช่น  ผู้จัดการร้าน ผู้ช่วยผู้จัดการ พนักงานต้อนรับ แคชเชียร์พนักงานรับออร์เดอร์  ซึ่งแต่ละตำแหน่งมีหน้าที่การทำงานที่ชัดเจน จำนวนการจ้างงานก็ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของร้าน เช่น ถ้าคุณทำร้านอาหาร Quick Service  เน้นพนักงานแคชเชียร์รับ Order ลูกค้า ไม่ต้องจ้าง Food Runner  ก็ได้  หรือร้านขนาดเล็ก ผู้จัดการคนเดียว โดยไม่ต้องมีผู้ช่วยก็สามารถดำเนินงานได้ Tips : ต้นทุนแรงงานเป็น Fix […]

ทำร้านอาหาร

ทำร้านอาหาร มีแต่ passion ไม่มีระบบ ไม่รอดนะ!

เวลาได้คุยกับคนที่เริ่ม ทำร้านอาหาร หลายคนชอบบอกว่าเขาอยากทำร้าน เพราะชอบทำอาหาร เวลาทำให้ญาติหรือเพื่อนๆ กินมีแต่คนบอกว่าอร่อย และเชียร์ให้เปิดร้านเลย

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.