5 ข้อควรรู้ สื่อสาร บนโลกออนไลน์ไม่ให้เกิดดราม่า - Amarin Academy

5 ข้อควรรู้ สื่อสาร บนโลกออนไลน์ไม่ให้เกิดดราม่า

สื่อออนไลน์นับเป็นช่องทางการทำการตลาดยอดฮิตในยุคนี้ เพราะด้วยฟังก์ชันการใช้งานที่ตอบโจทย์สุดๆ ทั้งราคาถูก อัปเดตข้อมูลได้รวดเร็ว และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ในวงกว้าง แต่แน่นอนว่าเมื่อมีข้อดี ย่อมมีข้อเสีย เพราะหากพนักงานของคุณทำงานผิดพลาด หรือมีวิธีการสื่อสารบนโลกออนไลน์ไม่ถูกใจกลุ่มลูกค้ามากนัก อาจกลายเป็น “ดราม่าใหญ่” จนทำให้ยอดขายตกฮวบได้ วันนี้เราจึงมี 5 ข้อควรรู้ ซึ่งเป็นเทคนิคการ สื่อสาร บนโลกออนไลน์ในเบื้องต้น มาแนะนำให้ทราบกัน

อย่าปล่อยให้โลกออนไลน์ทำ ร้านเจ๊ง! 

5 ข้อควรรู้ สื่อสาร บนโลกออนไลน์ไม่ให้เกิดดราม่า

1.สุภาพเสมอ

คำหยาบคาย สอดเสียด ดูถูกหรือถากถาง ถือเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับการสื่อสารบนโลกออนไลน์ แม้ว่าหลายแบรนด์อาจวางคาแรกเตอร์ว่าเป็นเพจที่สนุกสนาน เป็นกันเอง เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงง่าย แต่ก็ต้องระมัดระวังในการใช้คำพูดเพื่อไม่ให้ “ล้ำเส้น” จนเกินไป เพราะลูกค้าแต่ละคนมีลักษณะนิสัยที่ต่างกัน หากสื่อสาร “ผิดจังหวะ” อาจส่งผลกระทบร้ายแรงกลับมาได้ ดังนั้นเพื่อความเหมาะสม (และปลอดภัย) ใช้คำสุภาพจะดีที่สุด

ตัวอย่างเพจที่สามารถสื่อสารและตอบโต้กับลูกค้าได้ดี คือ KFC ที่เคยเป็นกระแสโด่งดังในโลกออนไลน์ว่าแอดมินนั้นมีไหวพริบในการตอบคำถาม จนเรียกยอดไลก์และยอดแชร์บนโลกโซเชียลได้ถล่มทลาย ซึ่งเมื่อลองสังเกตดูดีๆ จะพบว่า ภายใต้ความสนุกสนานนั้น แอดมินก็ใช้ประโยคที่สุภาพและเหมาะสม

2.คุมอารมณ์ให้อยู่

เชื่อว่าเจ้าของธุรกิจหลายๆ คนคงเคยประสบปัญหา “ลูกเพจไม่น่ารัก” กันมาบ้าง เช่น ก่อกวนหน้าเพจ ใช้คำไม่สุภาพหรือตำหนิด้วยถ้อยคำรุนแรงเกินควร จนทำให้เจ้าของธุรกิจหรือแอดมินเพจรู้สึกไม่พอใจขึ้นมาบ้าง แม้ว่าคุณจะไม่พอใจมากเพียงใด ก็ต้องควบคุมอารมณ์ให้อยู่ และไม่ควรตอบโต้กับกลุ่มคนเหล่านั้น เพราะอาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ ทั้งนี้หากเป็นข้อความตำหนิเรื่องสินค้าหรือบริการ ก็ควรตอบกลับด้วยคำสุภาพ พร้อมแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่หากเป็นข้อความก่อกวน ก็ควรใช้วิธีลบหรือซ่อนข้อความนั้นๆ จากหน้าเพจแทน จะเป็นทางออกที่เหมาะสมกว่า

3.ถอดตัวตนออก แล้วพูดในฐานะแบรนด์

แอดมินหรือผู้ที่ดูแลเพจ ต้องคำนึงเสมอว่า ทุกประโยคที่พิมพ์ลงบนหน้าเพจ ล้วนสะท้อนตัวตนของแบรนด์ทั้งหมด ซึ่งลูกค้ามักจะเชื่อมโยงข้อความเหล่านั้นเข้ากับภาพลักษณ์ของแบรนด์ ดังนั้นหากคุณอยากให้ลูกค้ารับรู้ภาพลักษณ์ร้านคุณอย่างไร ก็ต้องสื่อสารด้วยข้อความเช่นนั้น โดยทุกครั้งที่พิมพ์ข้อความหรือตอบคำถามลูกค้า แม้ว่าช่วงเวลานั้นคุณจะอารมณ์ไม่ดีแค่ไหน ก็ต้องถอดอารมณ์นั้นออกไปให้หมด แล้วคิดเสมอว่า คุณกำลังพูดในฐานะแบรนด์ ไม่ได้พูดในฐานะตัวคุณเอง

4.คิดเสมอว่า ทุกคำตอบ คงอยู่ตลอดไป

ก่อนที่กดโพสต์ข้อความใดๆ ลงบนเพจ ต้องคำนึงเสมอว่า ข้อความนั้นจะคงอยู่ตลอดไป แม้ว่าเทคโนโลยีปัจจุบันจะสามารถกดแก้ไข หรือลบข้อความได้ แต่ก็อาจมีผู้ที่กดเซฟข้อความนั้นไว้ และหากข้อความนั้นเป็นข้อความที่ไม่เหมาะสม ย่อมส่งผลกระทบต่อธุรกิจของคุณในภายหลังอย่างแน่นอน โดยกรณีตัวอย่างการโพสข้อความผิดพลาดนั้นมีมากมาย เช่น ประกาศโปรโมชั่นผิด ตอบลูกค้าด้วยถ้อยคำที่ไม่เหมาะสม หรือบางครั้งอาจลืมสลับบัญชี โดยเข้าใจว่ากำลังจะโพสต์ข้อความตำหนิลูกค้าลงบัญชีส่วนตัว แต่จริงๆ กลับเป็นหน้าเพจของร้าน ฯลฯ และยิ่งถ้าข้อความนั้น ถูกแชร์ต่อกันเรื่อยๆ หายนะมาเยือนร้านของคุณแน่นอน

5.ใจเขา ใจเรา

สุดท้ายนี้ถือว่าผู้ดูแลเพจต้องคำนึงถึงตลอดเวลาคือ ก่อนจะสื่อสารหรือตอบคำถามใดๆ นั้น ต้องคิดเสมอว่า หากคุณเป็นลูกค้า จะคาดหวังคำตอบในรูปแบบใด เช่น หากลูกค้าเข้ามาสอบถามโปรโมชั่น (ทั้งๆ ที่คุณระบุรายละเอียดทั้งหมดไว้ในโพสต์ด้านบนแล้ว) คุณย่อมไม่อยากได้รับคำตอบว่า “ข้างบนก็มี อ่านสิ” จริงไหม แต่คงอยากได้รับคำอธิบายเพิ่มเติมเพื่อให้กระจ่างขึ้น หรือหากลูกค้าร้องเรียนเรื่องการบริการที่ขาดตกบกพร่อง เขาย่อมต้องการคำขอโทษและการแสดงความรับผิดชอบอย่างจริงใจ ไม่ใช่คำพูดห้วนๆ หรือไม่แสดงความรับผิดชอบใดๆ เลย ดังนั้นก่อนพิมพ์ ต้องคิดถึงใจเขา ใจเราด้วย

 

5 ข้อควรรู้ที่เรานำเสนอมานี้ เป็นเพียงคำแนะนำเบื้องต้นในการสื่อสารบนโลกออนไลน์เท่านั้น แต่เมื่อลงมือปฏิบัติจริงผู้ดูแลเพจจะต้องอาศัยการคิด วิเคราะห์ว่า ควรตอบคำถามหรือสื่อสารอย่างไร เพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจมากที่สุด

 


                กลับมาอีกครั้งกับหลักสูตร HR for Food Business บริหารคน สำหรับธุรกิจอาหาร รุ่นที่ 3 หลักสูตรที่จะทำให้ผู้ประกอบการเรียนรู้การบริหารบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ ไขข้อข้องใจปัญหาเรื่องพนักงานลาออกบ่อย ขาด ลา มาสาย ทะเลาะกัน การหาพนักงานที่ดี โครงสร้างเงินเดือน สัญญาจ้างงาน รวมถึงกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานต่างๆ ที่ต้องรู้ โดยวิทยากร คือ อาจารย์ พีรพัฒน์ กองทอง ผู้มีประสบการณ์จากธุรกิจอาหารเชนใหญ่อย่าง แมคโดนัลด์ ประเทศไทย ที่จะมาพร้อมแขก สุดพิเศษ ร่วมแชร์ประสบการณ์การบริหารจัดการพนักงานในร้าน งานนี้จะจัดขั้นในวันอังคารที่ 31 มีนาคม – วันพุธที่ 1 เมษายน 2563  เวลา 9.00-17.00 น. 

 

คลิกสมัครด่วน! หลักสูตร HR for Food Business บริหารคน สำหรับธุรกิจอาหาร รุ่นที่ 3

HR for Food Business บริหารคน สำหรับธุรกิจอาหาร รุ่นที่ 3

เรื่องแนะนำ

GEN ไหนกินแบบไหน รู้ไว้ได้เปรียบ

แม้ว่ากลุ่ม GEN Y จะมีจำนวนมากที่สุดในประเทศไทย แต่ก็ยังเป็นกลุ่มที่ยังต้องคำนึงค่าใช้จ่ายเพราะรายได้ยังไม่มั่นคงนัก ทำให้กลุ่ม GEN X ซึ่งมีพฤติกรรมในกินอาหารนอกบ้านมากที่สุด มีกำลังซื้อมากสุด เพราะอยู่ในช่วงวัยที่มีรายได้มั่นคงแล้ว ถูกมองว่ากำลังส่งผลกับการเติบโตของร้านอาหารมากที่สุด   กลุ่ม GEN Y คาดหวังเรื่องรสชาติอาหารมากกว่าคน GEN X แต่ GEN X คาดหวังในด้านการบริการมากกว่าคน GEN Y ในขณะที่ GEN Y สนใจเรื่องบรรยากาศ แต่ GEN X จะคาดหวังว่าพนักงานมีความเข้าใจเมนูของร้านด้วย ให้ความสนใจกับรูปแบบการบริการและเครื่องแต่งกายของพนักงาน ในขณะที่ GEN Y จะชอบให้บริการเหมือนกับเป็นครอบครัวมากกว่า แต่ก็สนใจในเรื่องคุณภาพกับราคาที่จ่าย   ร้านอาหารประเภท Quick Service ได้ใจทั้ง GEN X  และ Y คน GEN X ยังชอบที่จะสั่งอาหารประเภทฟาสฟู๊ด เช่น พิซซ่า แฮมเบอร์เกอร์ […]

คู่แข่งร้านอาหาร

Marketing Collaboration สร้างพันธมิตรจาก คู่แข่งร้านอาหาร

“Marketing Collaboration”  สร้างพันธมิตรจาก คู่แข่งร้านอาหาร ในช่วงหลายปีมานี้ ถือเป็นยุคแห่งการ Collaboration หรือการจับมือกันของธุรกิจอาหาร เราจะเห็นหลาย ๆ แบรนด์สร้างสินค้าหรือโปรโมชั่นใหม่ร่วมกัน ทำให้เกิดความแปลกใหม่ในวงการธุรกิจอาหารมากยิ่งขึ้น เป็นการสร้างพันธมิตรจาก คู่แข่งร้านอาหาร ซึ่งการร่วมมือกันระหว่างธุรกิจอาหารนี้ มีประโยชน์มากมาย ดังนี้ สร้างความน่าสนใจและให้ประสบการณ์ใหม่ๆ กับผู้บริโภค ปลุกกระแสทางการตลาดให้เป็นไวรัล และได้รับการพูดถึงในวงกว้าง แลกเปลี่ยนกลุ่มลูกค้าระหว่างแบรนด์ ขยายฐานลูกค้าใหม่ๆ ลดการแข่งขัน และเพิ่มพันธมิตรทางการค้า ทำให้แบรนด์ดูทันสมัย และเข้าถึงกลุ่มลูกค้ารุ่นใหม่มากขึ้น ใช้จุดแข็งของพาร์นเนอร์มาชดเชยจุดอ่อนของแบรนด์ตัวเอง   เหล่านี้ถือเป็นกลยุทธ์ที่กำลังมาแรงทีเดียว กับการสร้างพันธมิตรจาก คู่แข่งร้านอาหาร เราลองมาดูตัวอย่างความร่วมมือในธุรกิจอาหารที่น่าสนใจกัน ว่ามีแบรนด์ไหน จับมือกับแบรนด์ไหนบ้าง   4 Case Study: เปลี่ยนคู่แข่งเป็นคู่ค้าร้านอาหาร Bar B Q Plaza X Pizza Hut ในปีที่ผ่านมา บาร์บีคิวพลาซ่าและพิซซ่าฮัท ได้จัดแคมเปญและออกเมนูฟิวชั่นร่วมกัน โดยทางร้านบาร์บีคิวพลาซ่าจะมีเมนูหมูที่เสิร์ฟแบบใหม่บนถาดพิซซ่า เครื่องเคียงแบบพิซซ่าและน้ำจิ้มใหม่ ส่วนร้านพิซซ่าฮัท ก็มีพิซซ่าหน้าหมูบาร์บิกอนในซอสใหม่ เป็นการรวมจุดเด่นของทั้งสองแบรนด์เข้าด้วยกัน สร้างความตื่นเต้นแก่ลูกค้า และเกิดเป็นกระแสในโซเชียลมีเดียในช่วงนั้นได้  […]

สร้างคอนเทนต์ร้านอาหาร

เทคนิคลับ สร้างคอนเทนต์ร้านอาหาร เอาชนะใจลูกค้าได้จริง

ทำเพจร้านอาหารสรา้งคอนเทนต์ยังไงดี ใครเจอปัญหานี้ เรามีเทคนิคง่ายๆ ในการ สร้างคอนเทนต์ร้านอาหาร ผ่านโซเชียลมีเดียให้โดนใจมาแนะนำ

Bartercard

Bartercard ทางเลือกคนทำธุรกิจ ช่วยเพิ่มยอดขาย ค่าใช้จ่ายลด

กุญแจสำคัญในการเติบโตของธุรกิจ คือ ยอดขายที่เพิ่มขึ้นและค่าใช้จ่ายที่ลดลง ดังนั้น ในยุคปัจจุบันนี้จึงมีวิธีทำการตลาดมากมาย ที่เข้ามาเป็นตัวช่วยหรือทางเลือกในการทำกำไร และช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายให้ธุรกิจของคุณ ซึ่ง Bartercard ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจของคนทำธุรกิจ ที่จะมาช่วยผู้ประกอบการในการเพิ่มยอดขาย ลดต้นทุนค่าใช้จ่าย แล้วBartercard คืออะไร จะเข้ามาช่วยผู้ประกอบการได้อย่างไรบ้าง เรามีคำตอบค่ะ   Bartercard ทางเลือกใหม่คนทำธุรกิจ ระบบBartercard (บาร์เทอร์คาร์ด) คือ ตลาดการค้าที่ประกอบไปด้วยผู้ถือบัตรกว่า 35,000 นักธุรกิจ เพื่อทำการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกันโดยไม่ใช้เงินสด โดยมุ่งหวังให้เกิดความร่วมมือ และการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกัน ปัจจุบันมีนักธุรกิจเข้าร่วมในระบบนี้ถึง 9 ประเทศ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือประเทศไทยด้วย สำหรับระบบการทำงานของบาร์เทอร์คาร์ดนั้น เป็นการพัฒนาการแลกเปลี่ยนซึ่งเคยเกิดขึ้นในสมัยก่อน ที่เป็นการแลกเปลี่ยนสินค้ากันโดยตรง แต่การแลกเปลี่ยนโดยตรงแบบเดิมนั้น ก็มีอุปสรรคอยู่ที่ความต้องการในการแลกเปลี่ยนอาจจะไม่ตรงกันในขณะนั้น ทำให้ไม่เกิดการแลกเปลี่ยนกันขึ้น ดังนั้น บาร์เทอร์คาร์ด จึงได้มีการพัฒนาหน่วยเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า “เทรดบาท” ขึ้นมา 1 เทรดบาท จะเท่ากับ 1 บาท เปรียบเสมือนคุณมีบัญชีธนาคาร โดยสามารถใช้จ่ายในการซื้อสินค้าได้จากยอดเงินคงเหลือจากการขายสินค้าของคุณ หรือวงเครดิตปลอดดอกเบี้ยที่ได้รับจากบาร์เทอร์คาร์ด ข้อดีของ Bartercard คืออะไร? 1. […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.