9 ปัจจัยในการ เลือกทำเลร้านอาหาร - Amarin Academy

9 ปัจจัยในการ เลือกทำเลร้านอาหาร

9 ปัจจัยในการ เลือกทำเลร้านอาหาร

นอกจากคุณภาพอาหาร รสชาติ และการบริการ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ร้านอาหารประสบความสำเร็จแล้ว สิ่งสำคัญอีกประการที่เป็นตัวกำหนดชะตาของธุรกิจว่าจะไปรอดหรือไม่ ก็คือการ เลือกทำเลร้านอาหาร

รู้หรือไหมว่า ไม่ใช่ทุกพื้นที่จะเหมาะเป็นทำเลสำหรับร้านอาหาร ทำเลที่ดีนั้นหายากเย็นยิ่งกว่าที่หลายคนคิดไว้ บางครั้งพื้นที่ติดถนนบริเวณใจกลางเมืองที่จ้อกแจ้กจอแจ อาจจะเป็นจุดที่โดนคนเมินมากที่สุดก็เป็นไปได้ ขณะเดียวกันทำเลที่คุณคิดว่า อย่างไรก็ไม่น่าจะมีคนผ่าน ก็อาจกลับกลายเป็นพื้นที่ที่ทำกำไรให้กับเจ้าของร้านได้อย่างมหาศาล…ลองเก็บ 9 ปัจจัยในการเลือกที่ตั้งร้านเหล่านี้ไว้เป็นตัวเลือก ก่อนตัดสินใจจะเริ่มร้านกันดีกว่า

1.รู้รึยังลูกค้าเราคือใคร

ทำเลบางทำเลคนเยอะแต่อาจไม่เหมาะกับร้านของเราถ้าคนเหล่านั้นไม่ใช่กลุ่มลูกค้าที่เรามองหา ทั้งนี้ทั้งนั้นก่อนที่จะเลือกทำเลใดๆก็ตามเราต้องรู้ก่อนเสมอว่าเราจะขายใคร ในทำเลนั้นมีกลุ่มลูกค้าเราอยู่หรือไม่ พฤติกรรมเป็นยังไง การหาข้อมูลที่ดีที่สุดคือการเข้าไปนั่งในร้านอาหารที่คล้ายๆเราแล้วสังเกตุกลุ่มลูกค้า อีกอย่างคือการหาข้อมูลในบริเวณนั้นๆเช่น มีตึกออฟฟิศเยอะแค่ไหน กลางวันคนเหล่านี้ไปทานที่ไหนกัน คนผ่านหน้าร้านเยอะแค่ไหน

2.ที่จอดรถต้องพอ

คนเราทุกคนล้วนมีความขี้เกียจซ่อนอยู่ในตัว ลูกค้าของคุณก็เช่นกัน ถ้าเลือกได้คงไม่มีใครอยากเหนื่อยกับการเดินไกลๆ เพื่อไปกินอาหาร เราล้วนต้องเลือกความสะดวกสบายก่อนทั้งนั้น เว้นเสียแต่ว่า ร้านของคุณตั้งอยู่ในตัวเมืองที่มีรถสาธารณะวิ่งผ่าน หรือใกล้รถไฟฟ้า หรือเป็นย่านที่ผู้คนเดินกันคับคั่ง แต่ถ้าหากร้านอาหารของคุณอยู่แถบชานเมือง ที่จำเป็นต้องขับรถไปกินเท่านั้น การมีที่จอดรถก็ถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง หรือถ้าร้านของคุณไม่มีพื้นที่เพียงพอสำหรับทำเป็นลานจอดรถ ก็ให้ลองพิจารณาดูก่อนว่า แถวนั้นมีพื้นที่จอดรถที่สามารถไปจอดได้อยู่บ้างหรือเปล่า

3.สังเกตเห็น เป็นใช้ได้

ทำเลที่ดีคือที่ที่คนมักจะสังเกตเห็นได้ง่าย อาจจะเป็นสถานที่ที่คนเดินกันอย่างพลุกพล่าน หรือเป็นบริเวณที่รถสัญจรไปมาบ่อยๆ หรือหากร้านของคุณต้องเข้าซอยไปสักนิด ก็อาจใช้วิธีติดป้ายร้านขนาดใหญ่ไว้ริมถนน เพื่อให้คนผ่านไปมารู้สึกคุ้นตา แม้วันนี้เขาอาจจะยังไม่ตัดสินใจเข้าร้าน แต่อย่างน้อยๆ เขาก็สามารถจดจำชื่อและตำแหน่งร้านของคุณได้ไม่ยาก พูดง่ายๆ ก็เหมือนกับการทำโฆษณาแบบไม่ต้องเสียเงินนั่นแหละ

ร้านอาหาร Outdoor
ร้านอาหารที่ตั้งอยู่โซน Outdoor ก็ข้อได้เปรียบคือมีโอกาสเห็นง่ายกว่า

4.ขนาด…ใครว่าไม่สำคัญ

แม้คุณต้องการทำแค่ร้านเล็กๆ อย่างร้านกาแฟ หรือเบเกอรี่ แต่ก็ใช่ว่าจะไม่ต้องแคร์เรื่องขนาดของร้านเลย คุณต้องไม่ลืมว่า ภายในร้านจะต้องแบ่งสัดส่วนให้เพียงพอต่อการทำครัว วางตู้เย็น ชั้นวางวัตถุดิบ รวมทั้งทำพื้นที่ออฟฟิศเล็กๆ สำหรับทำงานเอกสารของคุณด้วย หรือหากเป็นร้านอาหาร ก็ควรมีพื้นที่ไว้สำหรับนั่งรอคิว หรือพื้นที่บาร์ก่อนเข้าด้านในร้าน ดังนั้นก่อนตัดสินใจเลือกทำเล ลองวางแผนให้ดีว่า พื้นที่เท่านี้พอแล้วจริงๆ หรือ

5. ทำความรู้จักเพื่อนบ้าน

ก่อนจะตัดสินใจเลือกทำเลใดๆ ก็ตาม คุณต้องไม่ลืมเก็บข้อมูลของร้านในละแวกนั้นด้วยว่า เขากำลังทำธุรกิจอะไรกันอยู่ หากว่ามีคนทำธุรกิจเดียวกับคุณอยู่แล้ว 5-6 ร้าน คุณก็ต้องกลับมาพิจารณาให้ดีแล้วว่า จะมีกำลังต่อสู้ร้านเหล่านั้นไหวหรือไม่ นอกจากนี้ต้องดูให้ดีกว่า ร้านค้าส่วนใหญ่แถวนั้นเงียบเหงาหรือคึกคัก หากว่าคึกคัก คุณก็มีแนวโน้มจะประสบความสำเร็จตามได้ง่ายๆ

6.หรูไปก็ไม่ดี

เจ้าของร้านหลายคนตัดสินใจเลือกทำเลร้านในที่ห่างไกลผู้คน เพื่อที่จะได้พื้นที่แบบกว้างขวาง ใหญ่โต สำหรับลงทุนเปิดร้านแบบหรูหรา ดูดีมีสไตล์ แต่รู้หรือไม่ว่า การลงทุนเช่นนี้อาจเสียเปล่าได้ เพราะลูกค้าคงไม่สามารถไปกินอาหารในร้านเช่นนี้ได้บ่อยๆ ส่วนใหญ่จะเลือกไปในโอกาสพิเศษเท่านั้น ดังนั้น ลองถามตัวเองดีๆ ว่า ลงทุนขนาดนี้ คุ้มหรือไม่

7.ระวังค่าเช่าที่งอกได้

หลายคนถึงกับถอดใจเมื่อมารู้ทีหลังว่า นอกจากค่าเช่าร้านที่ต้องจ่ายทุกเดือนแล้ว ยังมีรายจ่ายจิปาถะงอกขึ้นมาพร้อมค่าเช่าอีก โดยเฉพาะค่าส่วนกลาง ในกรณีที่เช่าร้านใต้อพาร์ทเมนต์หรือคอนโด ดังนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจเช่าที่ใดๆ คุณควรสอบถามให้ดีเสียก่อนว่า มีค่าใช้จ่ายอะไรเพิ่มอีกไหม หากต่อรองได้ ก็ทำรีบซะ

  1. อย่าหุนหันพลันแล่น

หลายคนรีบตัดสินใจทันที หลังจากเห็นทำเลถูกใจเพียงแค่ที่เดียว การตัดสินใจด่วนจี๋เช่นนี้ อาจไม่ส่งผลดีต่อธุรกิจของคุณนัก คุณควรต้องพิจารณาทำเลนั้นๆ ในแต่ละช่วงเวลาของวันให้ดีเสียก่อน ค่อยๆ สังเกตว่า ช่วงไหนคนมักจะเดินผ่าน บางสถานที่ที่มีผู้คนพลุกพล่านในช่วงวันทำงาน อาจจะหงอยเหงามากในช่วงวันเสาร์อาทิตย์ก็เป็นไปได้ ดังนั้น ใจเย็นๆ ค่อยๆ ตัดสินใจจะดีกว่า

  1. วางแผนก่อนเซ็นสัญญา

ก่อนที่คุณจะเซ็นสัญญาเช่าพื้นที่ คุณต้องวางแผนให้ดีเสียก่อนว่า หากร้านอาหารของคุณไม่ได้ทำกำไรอย่างที่คิด คุณจะมีแผนสำรองในการจ่ายค่าเช่าให้ได้ครบตามสัญญาอย่างไร แม้จะฟังดูไม่เป็นมงคลเท่าไหร่ แต่ก็เป็นเรื่องประมาทไม่ได้เลย ทางที่ดีควรเริ่มต้นจากการเซ็นสัญญาแค่ปีหรือสองปีก่อน หากธุรกิจไปได้สวย ก็ค่อยเปลี่ยนมาเซ็นกันแบบยาวๆ

9 ข้อที่ยกมานี้ น่าจะเพียงพอสำหรับการตัดสินใจเลือกทำเลร้าน…เชื่อเถอะว่า แค่เริ่มต้นดี ก็มีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว

We do not work in isolation, seriöse ghostwriter agenturen but rather build networks with institutions and partners within and outside of the wwu.

เรื่องแนะนำ

เจ้าของร้านจิวเวลรี่แชร์ ทำอาหารต้องถอดเครื่องประดับ! แหล่งสะสมเชื้อโรค มาตรฐานที่คนทำอาหารควรให้ความสำคัญ

ถอดบทเรียน เจ้าของร้านจิวเวลรี่แชร์ ทำอาหารอย่าลืมถอดเครื่องประดับ! เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคชั้นดี มาตรฐานความปลอดภัย ที่คนทำอาหารควรให้ความสำคัญ เวลาทำอาหารอย่าลืมถอดเครื่องประดับ!!! รู้หรือไม่ว่าเครื่องประดับที่เราใส่ ๆ กันอยู่ทุกวันเนี่ย เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคชั้นดีเลยนะ วันก่อนแอดได้เห็นโพสต์ที่เจ้าของร้านจิวเวลรีคนหนึ่งได้มาแชร์เป็นอุทาหรณ์ให้กับสมาชิกในกลุ่ม “เบเกอรี่พอเพียง” ถึงเรื่องการใส่เครื่องประดับทำขนมว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ โดยเฉพาะการใส่แหวน เพราะว่ามันสกปรกมาก อีกทั้งยังได้ส่งผลต่อภาพลักษณ์เรื่องความสะอาดของอาหารและร้านนั้น ๆ ด้วย 🔸แหล่งสะสมเชื้อโรค🤢 เจ้าของร้านจิวเวลรี่รายนี้ได้โพสต์ถึงประเด็นนี้ว่า “ว่ากันด้วยเรื่องของการใส่แหวนในการทำเบเกอรี่ ในฐานะของเจ้าของร้านจิวเวลรี่ อยากจะบอกทุกคนว่าให้ถอดก่อนทำเถอะค่ะ เพราะแหวนที่เราเห็นว่าสวยวิบวับเนี่ย ด้านในท้องแหวนหรือตามซอกเตยที่เกาะเพชร มันสกปรกมากเลยนะคะ เวลาเห็นคนที่ไลฟ์สดหรืออาจารย์ที่สอนตามคอร์สออนไลน์ใส่แหวนทำแล้วนี่รู้สึกไม่ดีทุกครั้ง เพราะเจอเวลาลูกค้าส่งแหวนมาทำความสะอาด มันไม่โอเคจริงๆ ค่ะ แล้วถ้าแม่ค้าใส่แหวนด้วยความเคยชินไม่ได้ถอด นึกภาพกันออกมั้ยคะว่าเรากำลังกินเชื้อโรคและสิ่งสกปรกเข้าไปอยู่ แม้มันจะผ่านความร้อนแล้วก็ตาม” พร้อมเสริมว่า “การทำความสะอาดแหวนทุกวันไม่ได้การันตีว่าแหวนเราจะสะอาดหมดจด เพราะตามซอกหลืบเล็กที่แปรงเข้าไม่ถึงยังมีเชื้อโรคที่สะสมอยู่ต้องทำความสะอาดด้วยเครื่องอัลตร้าโซนิค เครื่องใหญ่แบบที่ใช้ในโรงงานเท่านั้น ถึงจะสะอาดจริง ๆ ซึ่งเธอยังได้บอกอีกว่าการมาโพสต์ในครั้งนี้ไม่ได้มีเจตนาโจมตีใคร หากทำให้ท่านใดรู้สึกเห็นต่าง หรือไม่พอใจก็ขออภัย ณ ที่นี้ด้วย 🔸ความเห็นจากชาวเน็ต💬 เมื่อเรื่องนี้ออกไปก็ได้มีสมาชิกกลุ่มเบเกอรี่พอเพียงทั้งคนขายและลูกค้าต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องนี้ โดยส่วนใหญ่เห็นด้วยกับเจ้าของโพสต์ว่าการใส่เครื่องประดับทำอาหารเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ ซึ่งคนทำเบเกอรีหลายคนก็ได้บอกว่าตั้งแต่ทำขนมขายก็ไม่ได้ใส่เครื่องประดับเลย ด้วยเหตุผลต่าง ๆ เช่น ความถนัด ความสะอาด เป็นต้น […]

เปิดร้านอาหาร

มนุษย์เงินเดือน เปิดร้านอาหาร แบบไม่ต้องลาออกจากงาน

สำหรับคนที่อยากจะเริ่มต้นทำธุรกิจร้านอาหาร แต่ยังต้องทำงานหลักหรืองานประจำอยู่ อาจจะมีปัญหากับการจัดการด้านเวลาอยู่บ้าง และอีกไม่น้อยที่ยังไม่พร้อมจะลงทุนทำหน้าร้านใหญ่โต เพราะยังเป็นมือใหม่ในตลาด

เช็คลิสต์ความพร้อมร้านอาหาร ก่อนรบตลาด Delivery

  ร้านอาหาร Delivery ช่วยเพิ่มโอกาสในการขายมากขึ้น แต่ก็อาจตัดโอกาสในการขายเช่นกัน หากว่าร้านของคุณไม่พร้อมในการดำเนินการ มาลองตรวจสอบกันก่อนว่าร้านของคุณพร้อมหรือไม่ จากเช็คลิสต์ 5 ข้อ เหล่านี้   เจ้าของต้องริเริ่ม กำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการเริ่มทำร้านอาหาร Delivery การใช้ Application ด้าน Delivery มีตัวเลือกอยู่หลายเจ้าทั้ง Grab, Get, FOODPANDA, lineman  ซึ่งไม่จำเป็นที่ร้านอาหารจะต้องใช้ทุกเจ้าที่มีอยู่ เพราะแทนที่จะส่งผลดี อาจส่งผลเสียต่อร้านมากกว่า เจ้าของควรคำนึงถึงเป้าหมายของร้าน และต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับรายได้ของสินค้าที่ขายได้หลังหักต้นทุนแล้ว เช่น แอพพลิเคชั่นบางแห่งคิดค่าคอมมิชชั่นจากยอดการส่งเป็นเปอร์เซ็นต์ อาจจะไม่เหมาะกับร้านที่มีมาร์จินต่ำ  ทำให้ต้องขายลูกค้าในราคาที่สูง ลูกค้าสับสนราคาขาย และไม่ตัดสินใจซื้อ   ตลาดต้องรุก การใช้ Application ผู้ให้บริการ Delivery ยังช่วยให้การทำส่งเสริมการขายเป็นไปได้มากขึ้น การตลาดที่ดีจะต้องศึกษาข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้า การเตรียมข้อมูล ภาพ การวางรูปแบบเมนูสินค้าใน Application เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อเมนูที่ต้องการผลักดันยอดได้ในลำดับแรก ๆ   Application ส่วนใหญ่จะการทำโปรโมชันเพื่อแข่งขันกันเป็นเจ้าตลาด ร้านอาหาร Delivery จึงควรศึกษาข้อมูลเพื่อจัดทำโปรโมชั่นร่วมที่มีรูปแบบตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และพฤติกรรมการซื้อมากที่สุด […]

แชร์สูตร คำนวณทั้งโครงสร้างต้นทุน ก่อนตั้งราคาอาหาร ร้านอาหารมีต้นทุนแฝง ป้องกันอาการ ขายดี…จนเจ๊ง!

แชร์สูตร คำนวณทั้งโครงสร้างต้นทุน ก่อนตั้งราคาอาหาร ร้านอาหารมีต้นทุนแฝง ป้องกันอาการ ขายดี…จนเจ๊ง! ขายดีจนเจ๊ง! เชื่อว่าสิ่งที่เจ้าของร้านอาหารมือใหม่อยากจะเห็นก็คือภาพของลูกค้ามาใช้บริการเต็มร้าน ขายดี ขายหมดทุกวัน แต่ทว่าการที่ลูกค้าเยอะ ก็ไม่ได้การันตีว่าจะได้กำไรเสมอไป ซึ่งกรณีแบบนี้เคยเกิดขึ้นกับหลายร้านที่ขายดีแต่ไม่มีกำไร กว่าจะรู้ตัวว่าขาดทุนสะสมมานานก็เกือบเจ๊งแล้ว ซึ่งต้นเหตุของปัญหาเหล่านี้ เกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น การตั้งราคาอาหารผิด คำนวณต้นทุนผิดหรือตั้งราคาอาหารจากต้นทุนวัตถุดิบอย่างเดียว แล้วถ้าอยากขายดีและมีกำไรต้องทำยังไงลองมาดูวิธีการตั้งราคาที่ถูกต้องกัน! . ทุกคนต้องเข้าใจก่อนว่าต้นทุนของราคาอาหารทุกจานล้วนมีต้นทุนแฝง ไม่ได้มีแค่ค่าวัตถุดิบอย่างเดียว ฉะนั้นจะเอาแค่ค่าวัตถุดิบมาใช้ในการตั้งราคาอาหารไม่ได้ ต้องเอามาทั้งโครงสร้าง โดยโครงสร้างต้นทุนแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้ ต้นทุนวัตถุดิบ COG (cost of grocery) ควรอยู่ที่ 35-40% ต้นทุนค่าเช่าที่ COR (cost of rental) ควรอยู่ที่ 10-15% ต้นทุน พนักงาน COL (cost of labor) ควรอยู่ที่ 20% ต้นทุนอื่นๆ ETC (เช่น ค่าน้ำ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.