5 คุณสมบัติที่ เจ้าของร้านอาหาร ต้องมี - Amarin Academy

5 คุณสมบัติที่ เจ้าของร้านอาหาร ต้องมี

5 คุณสมบัติที่ เจ้าของร้านอาหาร ต้องมี

เชื่อว่าใครๆ ก็อยากเป็นนายตัวเอง หลายคนถึงกับลาออกจากงานประจำ เพื่อมาเปิดธุรกิจของตัวเอง และธุรกิจอันดับต้นๆ ที่ทุกคนนึกถึงคือการเปิดร้านอาหาร แต่ไม่ใช่ใครก็เปิดร้านอาหารได้ เพราะจากสถิติพบว่าร้านอาหารส่วนใหญ่มักปิดตัวลงภายในเวลา 3 ปีแรก วันนี้เราจึงขอนำเสนอ 5 คุณสมบัติที่ เจ้าของร้านอาหาร ต้องมี เพื่อให้คุณลองเช็คตัวเองเบื้องต้น ว่าเหมาะกับการทำธุรกิจอาหารหรือเปล่า

มีทักษะด้านการบริหารและการจัดการ

เชื่อว่าเจ้าของร้านอาหารร้อยละ 90 ตัดสินใจเริ่มต้นเปิดร้านอาหาร เป็นเพราะชื่นชอบในการทำอาหาร แต่เมื่อเปิดร้านอาหารจริงๆ กลับต้องปวดหัวกับงานอื่นๆ สารพัด ไม่ว่าจะเป็นงานด้านบัญชี การบริหารจัดการ งานบริการ ประชาสัมพันธ์ การตลาด การคัดเลือกและบริหารคน ฯลฯ จนทำให้หลายคนเหนื่อยจนถอดใจ และตัดสินใจปิดร้านอาหารลง แม้หลายคนจะบอกว่างานไหนที่ไม่ถนัดก็จ้างคนเข้ามาดูแลแทน แต่อย่าลืมว่าการจ้างคน ในที่สุดคุณก็คือคนสุดท้ายที่ต้องตรวจสอบงานอยู่ดี

ฉะนั้นก่อนเริ่มต้นทำธุรกิจอาหาร ต้องถามตัวเองก่อนว่า พร้อมรับมือกับหน้าที่ต่างๆ ดังที่ยกตัวอย่างมาไหม

มีความอดทนสูงมาก

หลายคนคงเคยอ่านบทสัมภาษณ์ หรือชมรายการโทรทัศน์ที่ไปถ่ายทำเจ้าของร้านอาหารที่ประสบความสำเร็จ แต่รู้ไหมว่าเบื้องหลังความสำเร็จที่ดูสวยหรูนั้น เส้นทางมักไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ หากคุณคิดว่าการเปิดร้านอาหารเป็นเรื่องง่าย ขอให้คุณลองทบทวนอีกครั้ง เพราะความสำเร็จจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากปราศจากความพยายาม โดยสาเหตุหลักที่ทำให้ร้านอาหารส่วนใหญ่ต้องปิดตัวลงใน 1-2 ปีแรก คือเจ้าของร้านอาหารเหนื่อยกับการทำงานหนัก โดยไม่เห็นผลตอบแทนในทันที

จริงๆ แล้ว หากลองถามร้านอาหารที่ประสบความสำเร็จดูว่า ช่วงปีแรกเขาทำงานกันอย่างไร เชื่อไหมว่าร้านอาหารแทบทุกร้านจะตอบว่า บางครั้งเขาทำงานสัปดาห์ละไม่ต่ำกว่า 80 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุด ไม่มีพักร้อน เพราะการเริ่มตันทำธุจกิจใหม่ต้องอาศัยความใส่ใจ และทุ่มเทกับมันตลอดเวลา

ต้องมีไฟอยู่เสมอ

ไม่มีใครใส่ใจร้านอาหารของคุณได้เท่ากับตัวของคุณเอง นี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่คุณต้องใส่ใจและทุ่มเททุกวินาทีให้ร้านอาหาร เพื่อที่จะนำพาร้านให้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง แต่ถ้าวันใดที่คุณเหนื่อยหรือหมดไฟในการทำงาน เชื่อได้เลยว่าธุรกิจจะต้องมีปัญหาอย่างแน่นอน ลองคิดดูสิว่า ถ้าเจ้าของร้านเริ่มแสดงท่าทางเหนื่อยๆ เบื่อๆ กับการทำงาน ไม่กระตือรือร้นที่จะทำอะไรใหม่ๆ ลูกน้องคนไหนจะอย่างทำงานล่ะ ฉะนั้นกฎข้อสำคัญของเจ้าของร้านอาหารคือ ห้ามหมดไฟเด็ดขาด

ต้องไม่กลัวงานหนัก

ธุรกิจอาหารเป็นธุรกิจที่เกิดปัญหาได้ตลอดเวลา และหากร้านคุณไม่มีผู้จัดการร้าน คุณก็ต้องเป็นผู้แก้ปัญหาเอง ไม่ว่าวันนั้นจะเป็นวันหยุด วันพักผ่อน หรือแม้แต่วันเกิดแฟน ก็ต้องยอมเสียสละเวลานั้นมาคิดแก้ปัญหา ฉะนั้นนอกจากคุณต้องมั่นใจว่าตัวเองสามารถทำงานหนักได้แล้ว ก็ต้องมั่นใจว่าครอบครัวของคุณจะเข้าใจเช่นกัน เพราะในช่วงเริ่มต้น ธุรกิจอาหารจะดึงเวลาชีวิตของคุณไปเยอะมาก

มีใจรักงานบริการ และมีทักษะด้านการสื่อสาร

หนึ่งในหัวใจสำคัญของการทำร้านอาหาร คือต้องมีใจรักการบริการ หากเจ้าของร้านรักงานบริการ ทำงานด้วยความเต็มใจ ยิ้มแย้มอยู่เสมอ ลูกค้าย่อมประทับใจและอยากเป็นลูกค้าประจำ ขณะเดียวกันทักษะด้านการสื่อสารก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะเจ้าของร้านต้องเป็นพูดถ่ายทอดความคิด เป็นผู้สั่งการให้พนักงานทำตามที่เราต้องการ และเมื่อเกิดปัญหาขึ้น เช่น ลูกค้าไม่พอใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง บางครั้งเจ้าของร้านก็ต้องเป็นคนรับหน้า และแก้ไขสถานการณ์ให้ดีขึ้น

หากเจ้าของร้านมีทักษะการสื่อสารที่ดี ทั้งด้านร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นท่าทางการยืนที่นอบน้อม สายตาที่แสดงความจริงใจ หรือด้านคำพูดที่กล่าวคำขอโทษและแสดงความรับผิดชอบได้อย่างเหมาะสม ก็จะช่วยให้ปัญหาคลี่คลายลงได้โดยง่าย

พอจะเห็นภาพแล้วใช่ไหมว่า เจ้าของร้าน แค่ทำอาหารอร่อยอย่างเดียวไมได้ แต่ต้องมีคุณสมบัติอื่นๆ ประกอบด้วย จึงจะช่วยให้ร้านอาหารประสบความสำเร็จ หากคุณเชื่อว่าตัวเองมีคุณสมบัติครบถ้วนตามนี้ ก็ลงมือเปิดร้านอาหารได้เลย

เรื่องแนะนำ

ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร

ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้!

ร้านอาหารที่ประสบความสำเร็จ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความอร่อยหรือการตกแต่งร้านเท่านั้น แต่ต้องอาศัย “ทีมงาน” ที่ดีมีคุณภาพ ช่วยกันสร้างสรรค์ขึ้นมา เจ้าของร้านบางท่านอาจจะคิดว่าให้ทีมแบ่งงานกันทำง่ายๆ ใครว่างก็ไปช่วยคนอื่นทำต่อ แต่ถ้าจะบริหารร้านให้เป็นระบบอย่างมืออาชีพแล้ว ควรจะแบ่งงานกันอย่างไร มาศึกษาการแบ่ง  ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้! ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้! ร้านอาหารแต่ละชนิดก็จะต้องการพนักงานที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันไป โดยเราสามารถแบ่งประเภทพนักงานออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ พนักงานหลังร้าน และพนักงานหน้าร้าน  พนักงานหลังร้าน ความสามารถที่จำเป็นของพนักงานหลังร้านหรือในครัวนั้น ขึ้นอยู่กับประเภทของร้านอาหาร และความซับซ้อนของเมนูในร้าน เช่น ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด พนักงานไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ในครัวมากนัก ก็สามารถประกอบอาหารได้ตามมาตรฐาน แต่ถ้าเป็นร้านอาหารญี่ปุ่น คงต้องการเชฟที่มีประสบการณ์มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นความรู้เกี่ยวกับวัตถุดิบ ความสามารถในการใช้มีด การแล่ปลา การปั้นซูซิและทำอาหารญี่ปุ่นอื่นๆ  ยิ่งเป็นร้านที่พัฒนามากขึ้น ตำแหน่งก็จะยิ่งละเอียด เพื่อความชัดเจนในหน้าที่ ลดความซ้ำซ้อนของงาน และมีโครงสร้างเหมือนกับบริษัทย่อยๆ ที่พนักงานต้องเรียนรู้ขึ้นไปเรื่อยๆ โดยตำแหน่งในครัวแบ่งย่อยได้เป็น  หัวหน้าเชฟ เป็นตำแหน่งสำคัญที่สุดเบื้องหลังร้าน แค่ต้องทำอาหารได้ดียังไม่พอ แต่ต้องสามารถบริการจัดการครัวได้ด้วย ทั้งเรื่องการกระจายงานให้พนักงานในครัว ดูแลการจัดการวัตถุดิบ คำนวนต้นทุนอาหาร วางแผนและพัฒนาเมนูในร้าน   ผู้ช่วยเชฟ  มีหน้าที่ช่วยจัดการงานต่างๆ ของหัวหน้าเชฟ และดูแลครัวในกรณีที่หัวหน้าเชฟไม่อยู่ […]

ลูกค้าหายไปไหนกัน ? เจ้าของร้านตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับพฤติกรรมลูกที่เปลี่ยนไป

ลูกค้าหายไปไหนกัน ? รวมความคิดเห็นจากคนทำร้านกาแฟ เจ้าของร้านตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับพฤติกรรมลูกที่เปลี่ยนไป ร้านคุณกำลังเผชิญกับภาวะยอดขายตก ลูกค้าหายอยู่หรือเปล่า ? เจ้าของร้านกาแฟรายหนึ่งได้มาโพสต์ตั้งคำถามในกลุ่ม “คนบ้ากาแฟ” เกี่ยวกับการทำธุรกิจของตนเองในขณะนี้ได้อย่างน่าสนใจว่า เดี๋ยวนี้ลูกค้าหายไปไหนหมด โดยโพสต์ดังกล่าวได้ระบุข้อความว่า “#ลูกค้าหายไปไหน มาชวนเพื่อนๆ ช่วยกันคิดหน่อย คิดว่าตอนนี้หลายร้านคงเจอกับภาวะ “นั่งตบยุง” “นั่งไถมือถือ” “นั่งดู Netflix” เราเป็นคนนึงที่เคยไม่กินกาแฟ แต่พอเปิดร้านกาแฟกลายมาเป็นคอกาแฟ ขาดกาแฟไม่ได้สักวัน เปิดร้านกาแฟมาเข้าปีที่ 7 เราเริ่มสงสัยว่า “ลูกค้าหายไปไหน” ทั้ง ๆ ที่ในซอยที่ร้านเราอยู่ ไม่มีร้านกาแฟจริงจังที่เป็นคู่แข่ง อาจจะมีร้านชากาแฟที่เป็นคีออสบ้าง แต่ถ้าร้านกาแฟจริงจังมีเราร้านเดียว พอลูกค้าหายไป เราเลยเริ่มสงสัยว่าลูกค้าหายไปไหน หรือเกิดจากกระแส 1. กาแฟดริป/Moka pot ทานเองที่บ้าน 2. เครื่องทำกาแฟแคปซูล 3. กาแฟในร้านสะดวกซื้อ 4. ลูกค้าเลิกกินกาแฟ 5. ลูกค้าไปทานร้านอื่น เพื่อนๆ ช่วยเราคิดหน่อยว่าลูกค้าหายไปไหน?” . หลังจากที่โพสต์นี้ออกไปก็ได้มีทั้งเจ้าของร้านกาแฟ และผู้บริโภคต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นกัน โดยสรุปเป็นหลายปัจจัยดังนี้ ชงกินเองที่บ้าน […]

โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร

โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร จะเปิดร้านต้องรู้!

สถิติจาก Wongnai รายงานว่า ในบรรดาร้านอาหารที่เปิดหลังปี 2660 มีเพียง 10% เท่านั้นที่อยู่รอด  ซึ่งปัญหาที่ทำให้ร้านอาหารส่วนใหญ่ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ เป็นเพราะไม่ได้มีการวางแผนธุรกิจมาก่อน หรือศึกษากลุ่มลูกค้าในตลาดไม่ดีพอ และปัญหาสำคัญที่พบมากที่สุดจนทำให้ร้านต้องปิดกิจการลงนั้น คือการบริหารต้นทุนที่ผิดพลาด คุมต้นทุนไม่อยู่ บางร้านแม้จะขายดีแต่ก็ไม่มีกำไร ดังนั้น เจ้าของร้านควรจะต้องรู้จัก โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร ถ้าไม่อยากเจ๊ง   โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร จะเปิดร้านต้องรู้! สิ่งจำเป็นที่คนจะเปิดร้านอาหารต้องรู้ ก็คือเรื่องของ โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร สิ่งนี้จะเป็นตัวแนะแนวทางว่า ในการจะเปิดร้านอาหาร คุณควรลงทุนกับอะไรบ้าง มีต้นทุนในส่วนไหนที่ต้องรู้ และจะต้องวางแผนอย่างไรก่อนที่จะเปิดร้านอาหาร  เบื้องต้นเราสามารถกำหนดโครงสร้างต้นทุนร้านอาหารได้เป็น 4 ส่วนหลักๆ ดังนี้ ต้นทุนวัตถุดิบ (Food Cost) ค่าวัตถุดิบอาหาร รวมไปถึงค่าบรรจุภัณฑ์ ถือเป็นค่าใช้จ่ายหลักของร้านอาหาร เจ้าของร้านควรจะใส่ใจและควบคุมต้นทุนส่วนนี้ให้ดี โดยต้นทุนวัตถุดิบจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของร้าน ถ้าเป็นร้านทั่วไปจะอยู่ที่ 25-30% แต่ร้านอาหารประเภทบุฟเฟ่ต์ อาจมีต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้นเป็น 45-50% ซึ่งทางร้านอาจจะต้องชดเชยด้วยการลดต้นทุนด้านอื่น เช่น ต้นทุนแรงงาน โดยให้ลูกค้าบริการตัวเองเป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้ได้กำไรในอัตราที่เหมาะสม หรือใช้วิธีการควบคุมต้นทุนในส่วนอื่นๆ ตามความเหมาะสมของแต่ละร้าน   […]

เซตอัพระบบ ร้านบุฟเฟต์ ต้องอย่างไรให้ได้กำไร

ทำร้านอาหารบุฟเฟต์อย่างไรให้ได้กำไร ? คงเป็นคำถามของเจ้าของร้านอาหารหลาย ๆ คน เนื่องจาก ร้านบุฟเฟต์ ได้รับความนิยมในปัจุบัน จึงกลายเป็นตลาดแมสของธุรกิจร้านอาหารที่มีผู้เข้ามาเล่นจำนวนมาก แต่ไม่ใช่ทุกคนที่ประสบความสำเร็จ ปัญหาสำคัญก็คือ ขาดการเซตอัพระบบการจัดการร้านอาหารที่เหมาะสมกับร้านบุฟเฟต์ ซึ่งแตกต่างจากร้านอาหารประเภทอื่น เพราะอะไรจึงทำให้ร้านบุฟเฟต์แตกต่าง แล้วต้องวางระบบอย่างไรจึงเหมาะสมเรามีคำตอบค่ะ   เซตอัพระบบ ร้านบุฟเฟต์ อย่างไร ให้ได้กำไร   เพราะต้นทุนอาหารสูง….จึงต้องบริหารจัดการวัตถุดิบให้ดี ในขณะที่ร้านอาหารประเภทอื่น ๆ กำหนดต้นทุนวัตถุดิบที่ 25 – 30 เปอร์เซ็นต์ แต่ร้านอาหารประเภทร้านบุฟเฟต์ จะมีต้นทุนวัตถุดิบอยู่ที่ 35 -45 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าต้นทุนอื่น ๆ ของร้าน  จึงต้องมีการกำหนดโครงสร้างที่เหมาะสม เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายต้นทุนอื่น ๆ ให้ดีด้วย อย่างไรก็ตาม ต้นทุนวัตถุดิบสามารถควบคุมได้ โดยการเซตอัพระบบการจัดการวัตถุดิบไว้อย่างรัดกุม ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ การหาซัพพลายเออร์ที่สอดคล้องกับความต้องการ เพราะซัพพลายเออร์เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้คุณได้กำไรมากขึ้นหรือน้อยลง เช่น ปัญหาที่พบบ่อย ๆ คือ มาตรฐานในการตัดแต่งวัตถุดิบ ใหญ่บ้างเล็กบ้าง ทำให้ควบคุมการใช้งานยาก เป็นต้น […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.