เคล็ด (ไม่) ลับ ทำร้านบุฟเฟต์ให้มีกำไร - Amarin Academy

เคล็ด (ไม่) ลับ ทำร้านบุฟเฟต์ให้มีกำไร

เคล็ด (ไม่) ลับ ทำร้านบุฟเฟต์ให้มีกำไร

ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีร้านบุฟเฟต์เยอะมากๆ เมื่อเทียบกับประเทศในแถบเอเชียด้วยกัน ไล่ไปตั้งแต่ อาหารญี่ปุ่นไม่ว่าจะเป็น ยากินิกุ ชาบูชาบู ซูชิบุฟเฟต์ หรืออาหารนานาชาติตามโรงแรมต่างๆ อาหารไทย เช่น หมูกระทะ ไก่ย่าง ส้มตำ ขนมจีน ไปจนถึงร้านขนม เนื่องด้วยพฤติกรรมและนิสัยของคนไทยที่ชอบกินอาหารเป็นกลุ่ม โดยไม่อยากมานั่งกังวลว่าจะต้องจ่ายเงินเท่าไหร่ ทำให้ธุรกิจร้านอาหารบุฟเฟต์โตสวนกระแสร้านอาหารประเภทอื่น แต่ขณะเดียวกันกลับมีไม่กี่ร้านที่สามารถยืนหยัดท่ามกลางการแข่งขันเหล่านี้ได้ ส่วนที่เหลือต่างล้มหายไปในระยะเวลาอันรวดเร็ว ด้วยหลายๆ ปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นควบคุมต้นทุนไม่ได้ ลูกค้าน้อยลงทำให้กำไรไม่เหลือ คู่แข่งตัดราคา ไม่มีจุดเด่นเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ฯลฯ วันนี้เลยอยากสรุปเทคนิคการ ทำร้านบุฟเฟต์ให้มีกำไร มาฝากกัน

1.ทำให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่า

จริงๆ แล้วลูกค้าไม่ได้สนใจว่าราคาบุฟเฟต์ของคุณจะถูกหรือแพง เขาสนใจแค่ว่าคุ้มหรือไม่คุ้มมากกว่า ฉะนั้นไม่ว่าคุณจะตั้งราคาบุฟเฟต์เท่าไหร่ จะ 99 บาทหรือ 1000 บาท จงมั่นใจว่าทุกเมนูที่คุณเสิร์ฟให้ลูกค้า จะทำให้เขารู้สึกคุ้มค่ากับเงินที่เสียไป โดยที่ไม่ได้รู้สึกว่าถูกยัดเยียดหรือเอาเปรียบ จำไว้ว่าลูกค้ามีทางเลือกเสมอ เมื่อเขารู้สึกว่าคุณไม่แฟร์ เขาก็พร้อมจะไปร้านอื่นทันที เพราะไม่ได้มีร้านคุณร้านเดียวที่ขายอาหารแบบนี้

2.บริหารจัดการต้นทุนให้ดี

“You can’t manage what you can’t measure” “คุณไม่สามารถบริหารจัดการอะไรที่คุณไม่สามารถตรวจวัดได้” ก่อนที่คุณจะเริ่มคิดถึงการบริหารจัดการต้นทุน คุณต้องรู้ก่อนว่าในแต่ละเมนูมีต้นทุนเท่าไหร่ มีส่วนประกอบอะไรบ้าง อย่างละกี่กรัม เมนูไหนออกมากหรือออกน้อย เหล่านี้เป็นเรื่องพื้นฐานที่คนทำร้านอาหารบุฟเฟต์มักละเลย เพราะชอบคิดว่าดูไปทำไม ในเมื่อเราไม่สามารถบังคับลูกค้าให้กินอย่างที่เราต้องการได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ถ้าเรารู้ว่าเมนูไหนมีต้นทุนที่สูงและไม่เป็นที่นิยม แค่เราตัดออกจะทำให้เราสามารถลด food costs ได้ทันที

3.บริหารของเสียให้เหลือน้อยที่สุด

ยิ่งคุณทำให้ของเสียในร้านเหลือน้อยเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้คุณมีกำไรที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น หากคุณใส่ใจในรายละเอียดและรู้จักมองหาไอเดียอะไรใหม่ๆ อาจทำให้คุณได้เมนูใหม่โดยที่ต้นทุนวัตถุดิบแทบไม่เพิ่มขึ้นเลยก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น ปลาแซลมอน 1 ตัว แทนที่เราจะแล่เอาหนังหรือเอาส่วนหัวปลาทิ้งไป คุณอาจเอามาทำหัวปลาต้มซีอิ๊ว หรือหนังปลาทอดกรอบ ก็จะทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าไลน์บุฟเฟต์ของคุณหลากหลายมากขึ้น โดยที่คุณแทบจะไม่เหลือเศษทิ้งเลย

เหล่านี้รวมไปถึงการทำให้ portion ของอาหารน้อยลง ก็อาจลดโอกาสที่ลูกค้าจะกินเหลือให้น้อยลงได้ เนื่องจากพฤติกรรมของคนที่กินบุฟเฟต์มักชอบลองอะไรหลายๆ อย่าง การที่แต่ละเมนูมีขนาดไม่ใหญ่นัก จะทำให้ลูกค้ามีโอกาสลองเมนูอื่นๆ มากขึ้น

4.คิดให้ดีก่อนทำโปรโมชั่น

ท่าไม้ตายที่คนทำร้านบุฟเฟต์ส่วนใหญ่ใช้ในการทำการตลาดก็คือการลดราคา ไม่ว่าจะเป็นลด 30% จากราคาเต็ม มา 4 จ่าย 3 หรือแม้กระทั่งมา 4 จ่าย 2 แน่นอนลูกค้าคุณอาจเพิ่มขึ้นอย่างถล่มทลายในระยะเวลาอันสั้น แต่เมื่อไหร่ที่คู่แข่งคุณลดราคาถูกกว่า หรือมีโปรโมชั่นที่ดึงดูดมากกว่า ก็มีโอกาสที่ลูกค้ากลุ่มนี้จะไหลไปร้านคู่แข่งคุณในทันที และสุดท้ายเกมมักจบลงที่ ไม่คุณก็คู่แข่งขาดทุนย่อยยับและต้องออกจากธุรกิจนี้ไป

ฉะนั้นก่อนที่จะทำให้โปรโมชั่น ให้กลับมาดูที่จุดยืนของแบรนด์ (Brand Positioning) ของคุณด้วยว่า ขายอะไรและขายใคร คุณอาจจะได้ลูกค้ากลุ่มใหม่ที่มาเพราะโปรโมชั่น แต่ในขณะเดียวกันคุณก็อาจเสียลูกค้ากลุ่มเดิมที่จงรักภักดีกับร้านคุณไป เพราะเขาคิดว่าคุณสูญเสียความเป็นตัวตนไปแล้ว และอาจทำให้คุณภาพของอาหารและการบริการที่เขาเคยได้รับลดลง

5.รสชาติและบริการคือพื้นฐานที่สำคัญที่สุด

คนทำร้านบุฟเฟต์มักคิดว่า ลูกค้าที่มาร้านบุฟเฟต์เขาคงดูที่ความคุ้มด้านปริมาณเป็นหลัก รสชาติอาหารหรือบริการคงไม่ซีเรียสมาก ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง คงไม่เป็นไร ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดมหันต์ แท้จริงแล้วไม่ว่าลูกค้าจะเสียเงินให้คุณเพื่อมากินบุฟเฟต์หรืออะลาคาร์ท คงไม่มีใครอยากกินอาหารที่ไม่อร่อยหรือไม่มีคุณภาพแน่นอน

ฉะนั้นควรตั้งใจทำอาหารทุกจาน รวมถึงใส่ใจในการบริการให้ดีที่สุดไม่ต่างจากร้านอาหารทั่วไป และถ้าคุณต้องการลดค่าใช้จ่าย ขอให้คุณเลือกที่จะบริหารจัดการต้นทุนก่อนที่จะลดคุณภาพของอาหารหรือบริการ เพราะเมื่อไหร่ที่คุณเลือกลดคุณภาพของวัตถุดิบ โอกาสที่ลูกค้าของคุณจะเลิกใช้บริการร้านคุณก็ย่อมมีมากขึ้นด้วยเช่นกัน

การทำร้านบุฟเฟต์มีขั้นตอน รายละเอียดและเคล็ดลับอีกมากมาย อย่าคิดเพียงว่า คนอื่นเปิดได้ เราก็เปิดได้ ศึกษาให้ดี แล้วลงมือทำอย่างมั่นใจดีกว่า

เรื่องแนะนำ

แจก Checklist เซตอัพระบบร้านอาหาร จบ ครบ เปิดร้านได้เลย

การทำเช็คลิสต์ก่อนเปิดร้านอาหารเป็นสิ่งสำคัญของการเซตอัพระบบร้านอาหาร ที่จะช่วยให้เจ้าของร้านอาหารรู้ว่ามีสิ่งไหนที่ทำสำเร็จแล้ว เหลืองานส่วนไหนบ้างที่ต้องทำให้เสร็จเรียบร้อยก่อนที่ร้านจะเปิดรับลูกค้าได้จริง   “เจ้าของร้านอาหารเปิดใหม่ควรทำเช็คลิสต์เรื่องอะไรบ้าง”   1.งานออกแบบและตกแต่งภายในร้าน โครงสร้างและการตกแต่งร้าน ควรเป็นสิ่งที่แล้วเสร็จก่อนการเปิดร้าน เพราะการเพิ่มเติมหน้างานเมื่อร้านเปิดไปแล้วทำได้ยาก แต่ก็เป็นปัญหาอันดับต้น ๆ ของเจ้าของร้านอาหาร โดยเฉพาะปัญหาผู้รับเหมา เจ้าของร้านอาหารเปิดใหม่ที่ทำโครงสร้างใหม่ทั้งหมดจึงควรเคร่งครัดให้ดำเนินงานตามแผนงานและเผื่อเวลาไว้สำหรับงานที่ไม่เป็นไปตามกำหนด การจัดทำเช็คลิสต์จะช่วยให้เจ้าของร้านวางแผนสำรองหากเกิดปัญหา   2.งานระบบ             ระบบน้ำ ไฟ แสงสว่าง การติดตั้งอุปกรณ์ครัวเรื่องสำคัญที่อาจส่งผลทำให้ร้านไม่สามารถเปิดได้ หรือถ้าหากเกิดปัญหาหน้างานก็แก้ไขค่อนข้างลำบาก จึงควรทดลองเดินระบบ จัดทำให้แล้วเสร็จเสียแต่เนิ่น ๆ   3.กฏหมาย และการเงิน อย่าลืม กำหนดการจัดทำเอกสารด้านการเงิน การขออนุญาตทางราชการที่เกี่ยวข้องกับร้านอาหาร วางแผนรายรับรายจ่ายล่วงหน้า จัดระบบการเงินหลังร้านให้พร้อมสำหรับการเปิดร้าน   4.การสั่งซื้อวัตถุดิบ             ช่วงเปิดร้านแรก ๆ อาจจะมีปัญหาเรื่องการสั่งซื้อวัตถุดิบ หากไม่เคยเปิดร้านขายอาหารมาก่อน การคำนวณปริมาณและการประสานงานกับซัพพลายเออร์ เพราะฉะนั้นควรมีการพูดคุยกับซัพพลายเออร์ก่อนเปิดร้าน การเซตอัพระบบบริหารวัตถุดิบไว้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นระบบการจัดซื้อ การรับสินค้า การจัดเก็บวัตถุดิบ การจัดเตรียมวัตถุดิบเพื่อให้พร้อมใช้งาน การมีระบบปฏิบัติงาน SOP จะช่วยให้ร้านจัดการเรื่องวัตถุดิบได้อย่างมีประสิทธิภาพ   5.อุปกรณ์หน้าบ้านและหลังบ้าน             […]

ร้านอาหารฟื้นตัว

พร้อมคว้าทุกโอกาส!! 4 ปัจจัยช่วยให้ ร้านอาหารฟื้นตัว เร็วหลังวิกฤต

        ร้านอาหารฟื้นตัว จากวิกฤตได้หรือไม่? เนื่องจาก “อาหาร” เป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ที่ขาดไม่ได้ ธุรกิจอาหารจึงเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ไม่มีวันตาย เพียงแต่ว่าธุรกิจนี้มีการแข่งขันที่รุนแรงจากผู้ประกอบการจำนวนมากในตลาด ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจขาลง ทำให้ผู้ประกอบการต้องรู้จักปรับตัวพัฒนาอยู่เสมอ ในช่วงวิกฤตโควิด-19 นี้ ก็ทำให้ร้านอาหารหลายๆร้านสามารถคิดหาหนทางใหม่ในการดำเนินธุรกิจ แบบที่ไม่เคยคิดว่าจะทำได้ หรือไม่เคยลองทำมาก่อนในภาวะปกติ เรียกได้ว่าเป็นความท้าทายที่ผลักดันให้หลายคนได้ลองเปิดประตูบานใหม่         ในด่านต่อไปที่ผู้ประกอบการร้านอาหารต้องคิดวางแผนคือ หากสถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้น และการแพร่ระบาดของไวรัสอยู่ในการควบคุมแล้ว ธุรกิจร้านอาหารจะต้องทำอย่างไรเพื่อให้ไปต่อได้เร็ว และสามารถคว้าโอกาสได้ก่อน ลองมาดูปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ ร้านอาหารฟื้นตัว ได้เร็วหลังผ่านวิกฤตกันครับ   ปัจจัยสำคัญช่วยให้ “ร้านอาหารฟื้นตัว” เร็วหลังวิกฤต   1. สร้างฐานลูกค้าประจำให้กลับมาซื้อซ้ำ         การขายแบบเดลิเวอรีหรือทางออนไลน์มากขึ้น ย่อมทำให้ทางร้านเก็บข้อมูลของลูกค้า และข้อมูลการขายเมนูอาหารต่างๆ ได้ง่ายขึ้นมาก กลุ่มเป้าหมายของร้านก็จะชัดเจนมากขึ้น ทางร้านก็ต้องสร้างช่องทางการติดต่อ และช่องทางการสั่งอาหารให้ครบถ้วน มีแผนการตลาดที่ช่วยรักษาลูกค้ากลุ่มนี้ให้กลับมาซื้ออาหารซ้ำอีก อำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าที่ใช้บริการ หากได้รับคำติชมก็สามารถแสดงความรับผิดชอบ และปรับปรุงแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว […]

เซตอัพทีมงานหน้าร้าน ทัพสำคัญเพิ่มยอดขาย

เปิดร้านอาหาร ทำอย่างไรให้ร้านอาหารขายดี ? หนึ่งในคำตอบ ก็คือการบริการให้ดี เพราะเรื่องบริการ ไม่ใช่แค่เสิร์ฟอาหาร แต่เป็นการสร้างประสบการณ์ให้แก่ลูกค้าและผู้ที่เป็นด่านหน้าในการทำหน้าที่นี้ในร้านอาหาร ก็คือ ทีมงานหน้าร้าน จึงมีความสำคัญที่เจ้าของร้านอาหารจะต้องวางระบบเพื่อสร้างมาตรฐานในการทำงานให้เกิดขึ้นให้ได้ ทีมงานหน้าร้านประกอบไปด้วยใครบ้าง ผู้จัดการร้าน มีหน้าที่ในการบริหาร และจัดการร้านอาหาร ดูแลความเรียบร้อย ทั้งวางแผนและการแก้ปัญหา ผู้จัดการร้านต้องดูแลให้ทีมงานทำงานได้ตามเป้าหมายที่กำหนด ยังมีหน้าที่สำคัญในการบริหารและจัดการยอดขายให้เป็นไปได้ตามเป้าอีกด้วย ดูหน้าที่ผู้จัดการร้านต้องเก่งอะไรบ้าง Click link  พนักงานต้อนรับ ส่วนใหญ่ร้านอาหารประเภท Casual และ Fine Dinning จะมีการจ้างพนักงานต้อนรับ ทำหน้าที่เป็น Host ในการต้อนรับลูกค้า จัดคิวในช่วงเวลาลูกค้าเยอะ ถือเป็นคนแรกที่ได้พูดคุยให้คำแนะนำร้านอาหารแก่ลูกค้า และเป็นคนสุดท้ายที่จะกล่าวลาลูกค้าและเชื้อเชิญให้กลับมาอีกครั้ง พนักงานต้อนรับจึงต้องมีทักษะในการจัดการ และมี Service mind ยิ้มแย้มแจ่มใส และบุคลิกที่สะท้อนต่อรูปแบบร้านอาหารเป็นอย่างดี แคชเชียร์ พนักงานเก็บเงิน ต้องทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและรอบคอบ เพราะเกี่ยวข้องกับการจัดการเงิน การจัดทำบิล คิดเงิน ทอนเงินที่ถูกต้องให้แก่ลูกค้า บางครั้งแคชเชียร์ต้องรับหน้าที่ในการจองโต๊ะด้วยถือเป็นด่านแรกที่ได้คุยกับลูกค้า ส่งผลให้ลูกค้าอยากมาใช้บริการหรือเกิดความประทับใจหรือไม่ด้วยเหมือนกัน พนักงานออกอาหาร / พนักงานเสิร์ฟ เป็นตำแหน่งที่ต้องเผชิญหน้ากับลูกค้ามากที่สุด จะต้องมีความรวดเร็ว แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี […]

7 ขั้นตอนสุดง่าย เขียน SOP ร้านอาหารด้วยตัวเอง

1.ตั้งเป้าหมาย             คุณอาจจะเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า ทำอะไรก็ตามต้องรู้เป้าหมาย การเขียน SOP ก็เช่นกัน การกำหนดเป้าหมายตั้งแต่เริ่มต้นจะช่วยให้คุณวางโครงร่างของ SOP ได้ง่าย และเกิดการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น คุณต้องการเขียน SOP ในการรับสินค้าจากซัพพลายเออร์ในแต่ละอาทิตย์ อาจกำหนดเป้าหมายเพื่อลดระยะเวลาการทำงานให้ได้มากที่สุด SOP ที่ดีจะไม่ได้เขียนขึ้นเพียงเพื่อบอกขั้นตอนในการวัตถุดิบทั่วไปเท่านั้น แต่ทุก ๆ ขั้นตอน จะต้องถูกคิดเพื่อลดระยะเวลาในการทำงาน กระทบต่อการจัดการหน้าร้านให้น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย การตั้งเป้าหมายของ SOP ง่ายที่สุด คือ การแก้ปัญหาที่มีอยู่ให้หมดไป และการพัฒนาให้ขั้นตอนการทำงานเดิมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น   2.กำหนดรูปแบบ                         วัตถุประสงค์ของ  SOP คือการกำหนดการทำงานแบบเป็นขั้นตอน เพื่อให้ทีมงานที่เกี่ยวข้องเข้าใจ และสามารถปฏิบัติงานได้ตามได้อย่างถูกต้อง  รูปแบบที่นำมาใช้จึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเอกสาร  SOP ที่ใช้อยู่ทั่วไปนั้นมีหลายรูปแบบด้วยกัน ควรคำนึงถึงความเหมาะสมกับลักษณะงานนั้น ๆ เช่น  การเขียน SOP เป็นหัวข้อ  (Simply Format)  เน้นการสร้างความเข้าใจโดยภาพรวม เช่น ข้อกำหนดพนักงานร้านในการเข้างานก่อนการปฏิบัติงาน หรือขั้นตอนหน้าร้านที่ไม่ซับซ้อนมากนัก ส่วนงานที่ต้องเน้นการปฏิบัติที่ถูกต้อง […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.