ไม่มีหรอก ของถูกหรือของแพง มีแต่ “คุ้ม” หรือ “ไม่คุ้ม” - Amarin Academy

ไม่มีหรอก ของถูกหรือของแพง มีแต่ “คุ้ม” หรือ “ไม่คุ้ม”

ไม่มีหรอก ของถูกหรือของแพง มีแต่คุ้มหรือ ไม่คุ้ม

เคยสงสัยไหมว่า ทำไมร้านอาหารหลายร้านที่ตั้งราคาแพงกว่าตลาด กลับมีคนเข้าไปกินไม่ขาดสาย เทียบกับอีกร้านที่ราคาถูกกว่า แต่กลับไม่มีลูกค้าเลย สิ่งนี้ทำให้เห็นว่า ของราคาถูกกว่า ไม่จำเป็นต้องขายได้ดีกว่าของราคาแพงกว่าเสมอไป เพราะลูกค้าไม่ได้มองที่ ของถูกหรือของแพง แต่เขามองว่า “คุ้ม”  หรือ “ไม่คุ้ม” กับสิ่งที่จ่ายไปมากกว่า โดยทฤษฎีความคุ้มค่าของลูกค้าคือ

ความคุ้มค่า = สิ่งที่ได้รับ สิ่งที่คาดหวัง

จากสมการจะเห็นว่า การที่ตั้งราคาอาหารสูงไม่ใช่เรื่องที่ผิด แต่ต้องมั่นใจว่าเราสามารถส่งมอบได้มากกว่าหรือเท่ากับตามที่ลูกค้าคาดหวังด้วย

ความคุ้มค่าในมุมมองของลูกค้าอาจไม่ใช่แค่รสชาติและราคาเพียงอย่างเดียว แต่รวมไปถึง การบริการ ความรวดเร็ว สะดวกสบาย บรรยากาศและการตกแต่งจานด้วย

บางร้านรสชาติอาหารอาจจะไม่ได้เด่นมาก แต่พนักงานบริการดี ยิ้มแย้มแจ่มใส จัดจานสวย ก็จะทำให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปได้

ยกตัวอย่างเช่น

ร้านก๋วยเตี๋ยวต้มยำทะเล A ตั้งอยู่ในตึกแถวตั้งราคาขายชามละ 80 บาท ลูกค้าที่มากินจะคาดหวังทันทีว่า 80 บาทที่เสียไป เขาจะได้อะไรกลับมาบ้าง โดยคาดคะเนจากประสบการณ์ที่ผ่านมา เช่น รสชาติอาจไม่ต้องอร่อยมาก แต่ต้องได้เร็ว เพราะกินเสร็จต้องรีบไปทำงานต่อ แต่ปรากฏว่ารสชาติก็ไม่ดี รอมาครึ่งชั่วโมงแล้วก๋วยเตี๋ยวก็ยังไม่มา ถามเจ๊เจ้าของร้านไปก็ไม่สนใจ ลูกค้าจะรู้สึกว่า “ไม่คุ้ม” กับเงินที่เสียไปทันที

ขณะเดียวกัน อีกเจ้าหนึ่งขายก๋วยเตี๋ยวต้มยำทะเลแบบเดียวกันราคา 120 บาท อยู่ในคอมมูนิตี้มอลล์ แต่ให้กุ้งตัวใหญ่ รสชาติจัดจ้าน ร้านบรรยากาศดี พนักงานยิ้มแย้มแจ่มใส ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่า ต่อให้เขาต้องจ่ายแพงกว่า แต่ก็รู้สึก “คุ้ม” กับทุกบาทที่จ่ายไป

สุดท้ายสิ่งสำคัญอีกสิ่งคือ อย่าโฆษณาเกินจริง เพราะทุกครั้งที่เราโฆษณา นอกจากจะทำลูกค้ารู้จักร้านเราแล้ว ยังทำให้ลูกค้าคาดหวังในร้านตามที่เขาเห็นด้วย

สมมติถ้ารูปก๋วยเตี๋ยวที่เราใช้โฆษณาใช้กุ้งตัวใหญ่ แต่งจานสวย แต่พอมากินจริง ๆ แล้ว กุ้งกลับตัวเล็ก จัดจานก็ไม่เหมือนในรูป ลูกค้าจะรู้สึกทันทีว่าถูกเอาเปรียบ หรือในรูปร้านเราดูตกแต่งสวย บรรยากาศดี แต่พอมาถึงกลับพบข้าวของวางกระจัดกระจาย ร้านดูเก่า หรือที่เขาเรียกกันว่า “รูปไม่ตรงปก” ฉะนั้นจะโฆษณาอะไร จงมั่นใจด้วยว่า เราทำได้อย่างที่พูด ไม่อย่างนั้น ลูกค้าคงหนีหายหมด และยากมาก ๆ ที่เขาจะกลับมากินซ้ำเป็นครั้งที่ 2

ถ้าเจ้าของร้านเข้าใจจุดนี้ทั้งหมด จะทำให้เราไม่ต้องมานั่งคิด โปรโมชั่น ลดราคา เพื่อดึงหรือแย่งลูกค้ากับเจ้าอื่น ๆ อีกต่อไป โดยเอาเวลาที่เหลือไปคิดว่า จะทำอย่างไรให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่ากับทุกบาททุกสตางค์ที่เขาจ่ายให้เรามากกว่า และจะทำอย่างไรให้เราสามารถตั้งราคาได้สูงขึ้น โดยที่ลูกค้ารู้สึกว่าไม่แพง

เรื่องแนะนำ

หุ้นกับเพื่อนเปิดร้านอาหารดี….แต่ต้องคุยเรื่องนี้กันก่อน

คนที่มีความฝันเหมือนกัน ตกลงจับมือร่วมกันทำธุรกิจร้านอาหาร แต่เมื่อลงขันร่วมกันแล้ว กลับขัดแย้งกันในทุกเรื่อง ก็ไม่สามารถทำร้านอาหารให้ประสบความสำเร็จได้   เมื่อต้องลงเรือลำเดียวกัน เป้าหมายในการทำร้านอาหาร และทัศนคติในการทำธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทำความรู้จักหุ้นส่วนให้มากพอ นอกจากนี้การเลือกหุ้นส่วนที่มีความถนัดที่แตกต่างกันจะช่วยส่งเสริมในส่วนที่อีกฝ่ายหนึ่งขาด และควรมอบสิทธิ์ขาดในการตัดสินใจในเรื่องที่แต่ละคนถนัดดูแล ก็เป็นอีกแนวทางในการสรุปข้อขัดแย้งที่เกิดจากการคิดเห็นที่ไม่ตรงกันได้   ลงทุนกับลงแรง การลงทุนทำร้านอาหารกับเพื่อนมักเป็นลักษณะลงทั้งทุนและแรงด้วยกัน เมื่อมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดต้องทำมากกว่า หรือได้รับค่าตอบแทนน้อยกว่า จะนำไปสู่ข้อขัดแย้งได้มากที่สุด เพราะฉะนั้นต้องแบ่งเรื่องงานและเรื่องเงินให้ลงตัว ถ้าลงแรงด้วยควรกำหนดค่าตอบแทนเงินเดือนให้อยู่ในค่าใช้จ่าย ในขณะเดียวกันควรมีระบบตรวจสอบที่โปร่งใส และสัดส่วนต้องเป็นไปตามเงินลงทุนตามหุ้นที่กำหนดไว้ตั้งแต่แรก   ไม่มีสัญญาใจ ในโลกของการทำธุรกิจ อย่าทำสัญญาปากเปล่าแม้ว่าจะเป็นเพื่อนสนิทหรือคนรัก ถึงจะเป็นแค่ร้านอาหาร หรือร้านกาแฟเล็ก ๆ ที่เริ่มต้นลงทุนไม่กี่บาทก็ตาม การเขียนข้อสัญญาร่วมกันมีผลทางด้านกฎหมาย ซึ่งจะต้องกำหนดบทบาทหน้าที่รับผิดชอบ เงินลงทุน จำนวนหุ้น  การคิดเงินปันผลและระยะเวลาในการคืนผลกำไร ยังเป็นหลักฐานการจ่ายเงิน ที่ยืนยันการร่วมลงทุนระหว่างคุณและหุ้นส่วน ซึ่งหากสุดท้ายเกิดปัญหาจนไปต่อไม่ได้ ข้อกำหนดที่ทำร่วมกันยังเป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายในการหาข้อสรุปข้อขัดแย้งร่วมกันด้วย   อย่าอะไรก็ได้….แผนธุรกิจต้องชัดเจน ช่วงเริ่มต้นอะไรก็ดี เพราะไม่มีใครมองเห็นถึงปัญหา และมักจะตกม้าตายด้วยความคิดที่ว่าคนกันเองไม่โกงแน่นอน แผนธุรกิจจะช่วยให้การทำกิจการร้านอาหารเป็นไปอย่างมีทิศทาง ทั้งงบประมาณในการลงทุน การทำการตลาด การพัฒนาสินค้าและบริการ เป้าหมายธุรกิจ รวมถึงระยะเวลาในการลงทุนเพิ่ม ควรเลือกที่จะทะเลาะกันตั้งแต่มันอยู่ในกระดาษ ก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติงานจริงที่เป็นการตกลงแล้วของทุกฝ่ายเท่านั้น    อย่ามองข้าม…เรื่องเล็กที่กลายเป็นเรื่องใหญ่ ไม่ใช่เพียงแค่ผลประโยชน์ที่ทำให้หุ้นส่วนร้านขัดแย้งกันเสมอไป […]

เทคนิคคิดโปรโมชั่น เอาใจลูกค้าสาย Foodie!

ชอบกิน ชอบลอง และชอบแชร์ประสบการณ์ร้านอาหารใหม่ ๆ กลุ่ม Foodie จึงเป็นกลุ่มที่ร้านอาหารในยุคนี้ให้ความสนใจ เพราะนอกจากจะสามารถขายให้กลุ่มนี้ได้มากแล้ว คนกลุ่มนี้ยังทำให้ร้านเป็นที่รู้จักมากขึ้นอีกด้วย เรามาดู เทคนิคคิดโปรโมชั่น เอาใจลูกค้าสาย Foodie! กันครับ   เทคนิคคิดโปรโมชั่น เอาใจลูกค้าสาย Foodie! เซฟเงินแต่ได้ภาพ แม้กลุ่ม Foodie ยินดีจะจ่ายเงินในการกิน ดื่ม เพื่อประสบการณ์ใหม่ ๆ แต่ก็มองหาทางที่จะประหยัดค่าใช้จ่ายอยู่เหมือนกัน โปรโมชั่นที่น่าสนใจคือ เป็นส่วนลดที่ให้ประสบการณ์ที่พิเศษ เช่น คูปองส่วนลดเพื่อได้ทดลองเมนูใหม่ หรือการร่วมกับบัตรเครดิตโดยการแลกแต้มบัตรสะสมในบัตรเป็นเมนูพิเศษ นอกจากนั้นโปรโมชั่นที่ทำให้ได้กินอาหารอย่างหลากหลายในราคาที่ถูกกว่า เช่น มา 4 จ่าย 3 ของร้านอาหารบุฟเฟต์ นอกจากคุ้มค่าแล้วยังได้ภาพถ่ายเยอะอีกด้วย   ท้าทายและน่าแชร์ กลุ่ม Foodie ชอบการแชร์ภาพถ่ายลงในโซเชียลมีเดีย สนุกกับการเล่าเรื่องอาหารในมุมมองตัวเอง ซึ่งโปรโมชั่นออนไลน์ไม่ได้มีเพียงแค่เช็คอิน แชร์ แล้วได้รับสินค้าฟรี แต่การใส่ความสนุกเข้าไปจะทำให้เกิดการแชร์ที่อิมแพคมากกว่า เช่น แคมเปญตอกไข่ของ MK หรือการจับคูปองที่มีโอกาสซื้อสินค้าพิเศษได้จำนวนจำกัด นอกจากนำเสนอจุดขายของเมนูใหม่แล้ว ยังส่งเสริมให้ลูกค้าอยากมีส่วนร่วมอีกด้วย   […]

ต้นทุนแฝงร้านอาหาร โฟกัสให้ดี ถ้าไม่อยากผิดพลาด

กำไรที่เกิดขึ้นจากร้านอาหาร จะมากหรือน้อยไม่ได้อยู่ที่ยอดขายเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากความสามารถในการจัดการต้นทุนได้อย่างดีด้วย ต้นทุนที่เรากำหนดไว้อยู่แล้วไม่ว่าจะเป็น วัตถุดิบ ค่าเช่าสถานที่ ค่าบริหารจัดการ หรือต้นทุนทางการตลาดก็ตาม มักจะมี ต้นทุนแฝงร้านอาหาร ที่เกิดขึ้นด้วย หากไม่โฟกัสให้ดีก็ส่งผลให้ร้านสูญเสียค่าใช้จ่าย สูญเสียโอกาสทางธุรกิจโดยไม่จำเป็น    ต้นทุนแฝงร้านอาหาร โฟกัสให้ดี ถ้าไม่อยากผิดพลาด  ต้นทุนจากการสูญเสียวัตถุดิบ           ต้นทุนวัตถุดิบเป็นต้นทุนที่มากที่สุดของร้านอาหารที่เรียกว่า Prime Cost ซึ่งส่งผลต่อค่าใช้จ่ายของร้านมากที่สุด ต้นทุนวัตถุดิบจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของร้านอาหาร โดยเฉลี่ยร้านอาหารทั่วไปจะควบคุมต้นทุนให้ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อรวมกับต้นทุนแรงงานแล้วไม่ควรจะเกิน 45 – 60 % เพื่อควบคุมให้กำไรต่อเดือนเมื่อหักค่าใช้จ่ายภาษีและค่าเสื่อมแล้ว ไม่น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์           การควบคุมต้นทุนวัตถุดิบ อาจจะต้องวิเคราะห์ต้นทุนอาหารแต่ละเมนู ปริมาณการจัดเสิร์ฟ จัดการสต๊อกสินค้าให้ดี โดยเฉพาะการสั่งซื้อสินค้าจากซัพพลายเออร์แต่ละครั้ง ต้องดูความพร้อมในการจัดเก็บวัตถุดิบของร้านด้วย นอกจากวัตถุดิบเสียแล้วการจัดเก็บยังเป็นภาระต้นทุนแฝงที่เกิดขึ้น ซึ่งร้านอาหารใหม่ ๆ ส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักพฤติกรรมของลูกค้าเพียงพอจะสามารถคาดเดายอดขายได้   ต้นทุนค่าจ้างแรงงาน  ต้นทุนแรงงานเป็นต้นทุนที่อยู่ใน Prime Cost เช่นเดียวกัน กระทบต่อค่าใช้จ่ายเป็นอันดับรองลงมาจากต้นทุนวัตถุดิบ ซึ่งควรควบคุมให้ไม่เกิน […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.