เลือกทำเลที่เหมาะ ต้อง "เหมาะ" กับอะไร? - Amarin Academy

เลือกทำเลที่เหมาะ ต้อง “เหมาะ” กับอะไร?

เลือกทำเลที่เหมาะ ต้อง “เหมาะ” กับอะไร?

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า จะเปิดร้านอาหารทั้งทีก็ต้อง เลือกทำเลที่เหมาะ ๆ แต่คำว่า “เหมาะ” คือเหมาะสมในด้านไหนบ้าง วันนี้เราจะมาอธิบายให้ฟัง

1.เหมาะกับกลุ่มลูกค้า

แน่นอนว่าข้อนี้ต้องมาเป็นอันดับแรก คงไม่มีใครอยากเปิดร้านอาหาร แล้วไม่มีลูกค้าเข้าร้านเลยจริงไหม ฉะนั้นต้องตรวจสอบให้ดีก่อนว่า ทำเลที่คุณจะเปิดนั้นมีกลุ่มเป้าหมายของคุณอยู่หรือเปล่า และมีมากน้อยแค่ไหน คุ้มค่ากับการลงทุนเปิดร้านหรือไม่ การลงทุนจะได้ไม่เปล่าประโยชน์

2.เหมาะกับความต้องการของเรา

เมื่อดูกลุ่มลูกค้าแล้วก็มาสอบถามความต้องการของตนเองว่า พื้นที่ที่เข้าตา เหมาะกับความต้องการของเราหรือไม่ ขนาดเหมาสมหรือเปล่า เล็กเกินไปจนอึกอัด หรือใหญ่จนดูแลไม่ไหว ลองคาดคะเนดูว่าหากเปิดร้านจริง จะสามารถออกแบบหรือปรับเปลี่ยนรูปแบบของพื้นที่ ให้ตรงกับความต้องการของคุณได้หรือไม่ อย่าลืมว่า ทำเลดี สร้างร้านอาหารที่ยอดเยี่ยมได้

3.เหมาะกับการขาย

ก่อนเลือกทำเลควรศึกษาพื้นที่ดีๆ ว่ามีศักยภาพพอสำหรับการเปิดร้านอาหารหรือเปล่า หากไม่รู้จะเริ่มต้นอย่าไร ลองสังเกตดูร้านข้างๆ ว่าเขาทำธุรกิจอะไร ดูท่าจะไปได้สวยหรือไม่ จากนั้นลองสอบถามจากร้านรอบๆ ว่า พื้นที่เดิมเคยทำธุรกิจใดมาก่อน ทำไมถึงเลิกกิจการ ลองทำการบ้านเยอะๆ สอบถามจากคนหลายๆ คน (แต่ไม่ต้องเชื่อทุกคน เพราะเขาอาจไม่ได้พูดเรื่องจริงทั้งหมด) แล้วนำข้อมูลทั้งหมดมาประเมินแล้วค่อยตัดสินใจ อย่ากลัวที่จะหาข้อมูล แต่จงกลัวที่จะลงเงินไปแล้วขาดทุนจะดีกว่า

4.เหมาะกับเงินในกระเป๋า

เรื่องนี้เรื่องใหญ่และเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจเลย เราเข้าใจว่าผู้ที่เริ่มต้นทำธุรกิจอาหารมักมีเงินลงทุนไม่มากนัก ฉะนั้นอย่าทุ่มเงินไปกับค่าสถานที่มากเกินไป ควรเพผื่อเงินสำหรับค่าใช้จ่ายอื่นๆ ด้วย แม้ทำเลนั้นจะเตะตาโดนใจสักแค่ไหน แต่หากคุณไม่เหลือเงินมาตกแต่งร้าน หรือซื้ออุปกรณ์ในครัว จ้างพนักงานดีๆ ก็เท่ากับว่าทำเลนั้นไม่มีค่าใดๆ เลย

ดังนั้นขอให้เลือกทำเลที่เหมาะกับเงินเราดีกว่า แล้วนำเงินที่เหลือไปอัดส่วนการตลาด เพื่อให้ลูกค้าเข้าร้านเยอะๆ

(อ่านเพิ่มเติม: 5 ต้นทุนในการทำร้านอาหาร ที่เจ้าของกิจการควรรู้!)

5.เหมาะกับความคุ้มค่า

ค่าสถานที่ในการเปิดร้าน ถือเป็นต้นทุนที่ค่อนข้างสูง ฉะนั้นอย่ากลัวที่จะต่อรองราคาจนกว่าเรา (และเจ้าของพื้นที่) จะพอใจ เพื่อให้ต้นทุนของเราต่ำที่สุด

หากพื้นที่ที่คุณเลือกเป็นพื้นที่ว่างเปล่า ต้องสร้างเองใหม่ทั้งหมด ค่าเช่าพื้นที่อาจจะน้อย แต่คุณต้องลงทุนสร้างใหม่ทั้งหมด แลกกับการได้ร้านออกมาตรงตามความต้องการ กลับกันหากคุณเช่าอาคารหรือเซ้งร้านอาหารเดิม ราคาค่าเช่าอาจจะสูง แต่ภาระด้านการก่อสร้างก็จะน้อยลง ที่สำคัญอาคารที่คุณเช่าอาจจะมีอุปกรณ์บางอย่างแถมมาด้วย ยิ่งเป็นการเซ้งร้านอาหารเดิม ก็จะมีการวางระบบ มีอุปกรณ์ครัวต่างๆ พ่วงมาด้วย แต่สภาพอาจจะไม่สมบูรณ์นัก ฉะนั้นคุณต้องประเมินว่าในระยะยาวแบบไหนคุ้มค่ากว่ากัน

6.เหมาะกับระยะเวลาที่เราต้องการ

ก่อนทำสัญญาเช่า คุณต้องถามตัวเองก่อนว่า คิดว่าร้านอาหารของคุณจะมีอายุสักกี่ปี 2 ปี 5 ปี หรือ 10 ปี หลายคนอาจไม่เคยคิดถึงการปิดกิจการ แต่คุณควรคิดไว้ เพราะจะได้ทำสัญญาการเช่าได้ถูกต้อง บางคนอาจคิดว่าอยากเปิดยาวๆ เป็น 10 ปี จึงทำสัญญาเช่าระยะยาว เพื่อจะได้ลดความเสี่ยงว่าเจ้าของที่จะขึ้นค่าเช่าหรือไม่ให้เช่าต่อ แต่ก็อย่าลืมว่า เกิดร้านอาหารของคุณไปไม่รอดจะทำอย่างไร ข้อแนะนำที่ดีที่สุดคือ 3 ปี และหากร้านไปได้สวยก็ค่อยต่อสัญญาเพิ่ม เลือกกลางๆ เอาไว้ก่อน จะได้ไม่เจ็บตัวภายหลัง

ก่อน เลือกทำเล ร้านอาหาร ลองนำปัจจัยเหล่านี้ไปประกอบการตัดสินใจก่อนนะครับ เพื่อลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจ

เรื่องแนะนำ

ผักคะน้าคละ หรือ ผักคะน้าคัด ? เตรียมวัตถุดิบอย่างไรให้ได้จานเด็ดมัดใจลูกค้า

ผักคะน้าคละ หรือ ผักคะน้าคัด ? เตรียมวัตถุดิบอย่างไรให้ได้จานเด็ดมัดใจลูกค้า  ( SOP การเตรียมวัตถุดิบ + Portion Control = Perfect Dish ) ก่อนจะได้อาหารเลิศรสสักหนึ่งจานต้องผ่านกระบวนการต่างๆ มากมาย เริ่มตั้งแต่การซื้อวัตถุดิบ และหากว่าร้านอาหารของคุณต้องใช้ผักคะน้าจำนวนมาก แล้วคุณกำลังหาซื้ออยู่ที่ตลาดไท คุณจะเลือกผักคะน้าคละ หรือผักคะน้าคัดดีล่ะ ? สมมติว่าราคาผักคะน้าคละ ในตลาดไท ราคากิโลกรัมละ 23 บาท ก่อนจะนำมาปรุงได้ ต้องตัดใบแก่ ใบเหี่ยว ใบเหลืองทิ้ง ไป และตัดส่วนลำต้นที่แข็งออก คุณอาจจะเหลือผักคะน้าที่ใช้จริงแค่เพียง 7 ขีดเท่านั้น เท่ากับว่าต้นทุนจะไม่ใช่ 23 บาทต่อ 1 กิโลกรัมอีกต่อไป แต่จะเป็น 33 บาท ต่อ 1 กิโลกรัม   นอกจากนี้คุณยังต้องเสียเวลาไปกับการคัดแยกเอาผักคะน้าสวยๆ ออกจากกองที่คละกันอยู่อีกต่างหาก ทำให้ต้องเสียคนไปด้วยหนึ่งคนกับกระบวนการนี้ และอย่าลืมว่าวัตถุดิบ คน และเวลา […]

ต้นทุนแฝงร้านอาหาร โฟกัสให้ดี ถ้าไม่อยากผิดพลาด

กำไรที่เกิดขึ้นจากร้านอาหาร จะมากหรือน้อยไม่ได้อยู่ที่ยอดขายเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากความสามารถในการจัดการต้นทุนได้อย่างดีด้วย ต้นทุนที่เรากำหนดไว้อยู่แล้วไม่ว่าจะเป็น วัตถุดิบ ค่าเช่าสถานที่ ค่าบริหารจัดการ หรือต้นทุนทางการตลาดก็ตาม มักจะมี ต้นทุนแฝงร้านอาหาร ที่เกิดขึ้นด้วย หากไม่โฟกัสให้ดีก็ส่งผลให้ร้านสูญเสียค่าใช้จ่าย สูญเสียโอกาสทางธุรกิจโดยไม่จำเป็น    ต้นทุนแฝงร้านอาหาร โฟกัสให้ดี ถ้าไม่อยากผิดพลาด  ต้นทุนจากการสูญเสียวัตถุดิบ           ต้นทุนวัตถุดิบเป็นต้นทุนที่มากที่สุดของร้านอาหารที่เรียกว่า Prime Cost ซึ่งส่งผลต่อค่าใช้จ่ายของร้านมากที่สุด ต้นทุนวัตถุดิบจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของร้านอาหาร โดยเฉลี่ยร้านอาหารทั่วไปจะควบคุมต้นทุนให้ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อรวมกับต้นทุนแรงงานแล้วไม่ควรจะเกิน 45 – 60 % เพื่อควบคุมให้กำไรต่อเดือนเมื่อหักค่าใช้จ่ายภาษีและค่าเสื่อมแล้ว ไม่น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์           การควบคุมต้นทุนวัตถุดิบ อาจจะต้องวิเคราะห์ต้นทุนอาหารแต่ละเมนู ปริมาณการจัดเสิร์ฟ จัดการสต๊อกสินค้าให้ดี โดยเฉพาะการสั่งซื้อสินค้าจากซัพพลายเออร์แต่ละครั้ง ต้องดูความพร้อมในการจัดเก็บวัตถุดิบของร้านด้วย นอกจากวัตถุดิบเสียแล้วการจัดเก็บยังเป็นภาระต้นทุนแฝงที่เกิดขึ้น ซึ่งร้านอาหารใหม่ ๆ ส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักพฤติกรรมของลูกค้าเพียงพอจะสามารถคาดเดายอดขายได้   ต้นทุนค่าจ้างแรงงาน  ต้นทุนแรงงานเป็นต้นทุนที่อยู่ใน Prime Cost เช่นเดียวกัน กระทบต่อค่าใช้จ่ายเป็นอันดับรองลงมาจากต้นทุนวัตถุดิบ ซึ่งควรควบคุมให้ไม่เกิน […]

  หาพนักงานไม่ได้ พนักงานลาออกกะทันหันทำอย่างไรดี เชื่อว่าปัญหานี้เจ้าของร้านอาหารทุกคนไม่อยากเจอ เพราะนอกจากเสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการหาคนทำงานแทนแล้ว ความไม่พร้อมด้านกำลังคนอาจส่งผลต่อการบริหารจัดการและเสียลูกค้าไปในที่สุด มาเรียนรู้ขั้นตอนแก้สถานการณ์ เพื่อให้คุณสามารถรับมือกับเรื่องหัวหมุนนี้ไว้ก่อนจะดีกว่า   ประเมินสถานการณ์ วางแผนการทำงานโดยคาดการณ์จำนวนลูกค้าที่เข้ามารับบริการต่อวัน  โดยร้านส่วนใหญ่จะมีระบบ POS สามารถดูสถิติจำนวนลูกค้าได้  ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดจ้างพนักงานร้านอาหารแบบ Part time  การจ้างเฉพาะช่วงเวลาขายดีเพื่อทดแทนกำลังที่ขาด จะทำให้คุณไม่ต้องแบกค่าใช้จ่ายจาการจ้างงานเต็มวัน นอกจากนี้ควรวางแผนกำลังคนที่มีอยู่ให้เหมาะสมกับลักษณะร้าน เช่น ร้านอาหารแบบบุฟเฟต์เน้นการเตรียมของ เติมของ เคลียร์ภาชนะที่รวดเร็ว อาจเพิ่มพนักงานในส่วนนั้น และดึงพนักงานประจำที่เชี่ยวชาญแล้ว มาคอยบริหารจัดการลูกค้าหน้าร้านแทน   มอบหมายหน้าที่ บริหารจัดการคนที่มีอยู่ให้ดีที่สุด การมอบหมายหน้าที่ที่ชัดเจน จะช่วยลดปัญหาที่เกิดจากการสื่อสารผิดพลาด โดยเฉพาะพนักงานบริการที่ต้องรับมือกับลูกค้าโดยตรง  วิธีที่ง่ายวิธีหนึ่ง คือ การกำหนดจำนวนโต๊ะ  และโซนที่รับผิดชอบให้เหมาะสมกับจำนวนพนักงานบริการที่มีอยู่ จากนั้นกำหนดเวลาในการบริการแต่ละขั้นตอน เช่น หลังจากลูกค้านั่งที่โต๊ะ ตั้งไว้เลยว่าอีกกี่นาทีรับออเดอร์ รวมถึงการเสิร์ฟอาหาร การเคลียร์จานเข้าออก พนักงานที่มีอยู่ต้องหมั่นคอยสังเกตความต้องการของลูกค้า เพื่อให้เกิดการบริการที่ลื่นไหล และทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าได้รับการบริการและความใส่ใจอย่างเต็มที่ ในขณะที่ฝ่ายเตรียมอาหาร ต้องมีการวางแผนอาหารในแต่ละออเดอร์ให้แม่นยำ เพื่อการบริการอย่างดีที่สุด   ครอบคลุมโซนพื้นที่ในการให้บริการ ในกรณีที่ลูกค้าไม่เยอะ การปิดพื้นที่บางส่วน  หรือเชื้อเชิญลูกค้าให้นั่งในพื้นที่ที่กำหนด […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.