4 เหตุผลสำคัญที่ทำให้ “ พนักงานดีๆ ลาออก ” - Amarin Academy

4 เหตุผลสำคัญที่ทำให้ “ พนักงานดีๆ ลาออก ”

4 เหตุผลสำคัญที่ทำให้ “ พนักงานดีๆ ลาออก ”

เชื่อว่าปัญหาน่าปวดหัวอันดับหนึ่งของร้านอาหาร คือเรื่อง “คน” ใช่ไหมครับ ทั้งเรื่องขาด ลา มาสาย บริการไม่ดี ไม่พัฒนาตัวเอง และที่สำคัญ พนักงานลาออกกันเป็นว่าเล่น แต่สิ่งที่ทำให้เจ้าของร้านอาจต้องนั่งกุมขมับคือ การที่พนักงานดีๆ ที่ตั้งใจจะปั้นให้เป็นมือขวาหรือมือซ้าย ดันมาลาออกซะนี่! จะหาคนมาแทนก็ยากลำบาก ฉะนั้นถ้าไม่อยากให้ปัญหานี้เกิดขึ้น มาลองดู 4 เหตุผล ที่อาจส่งผลให้ พนักงานดีๆ ลาออก กันดีกว่า เผื่อจะช่วยป้องกันปัญหานี้ได้บ้าง

1.เพราะตัวคุณเอง

หากพนักงานดีๆ ของคุณตัดสินใจลาออก ก่อนที่จะโทษว่าพนักงานไม่อดทน หรือมองว่ามาจากสาเหตุอื่นๆ ลองย้อนกลับมามองที่ตัวคุณเองก่อนว่า เป็นเพราะว่าคุณเป็นเจ้านายที่ไม่ดีหรือเปล่า
ส่วนใหญ่แล้วพฤติกรรมที่ลูกน้องมักไม่ชอบสุดๆ คือ การที่เจ้าของร้านด่าทอ ต่อว่าลูกน้องตลอดเวลา โดยไม่สมเหตุสมผล แถมยังไม่ช่วยหาทางออกหรือวิธีแก้ไขปัญหาให้ด้วย (ลองคิดดูว่า ถ้าคุณเป็นลูกน้อง คงไม่อยากได้หัวหน้าที่มีนิสัยเหมือนเชฟกอร์ดอน แรมซีย์ ที่เอาแต่ตะโกนด่าลูกทีมตลอดเวลา แบบไม่ไว้หน้าหรอก จริงไหม?)
หรืออีกพฤติกรรมหนึ่งที่พนักงานส่วนใหญ่รับไม่ได้คือ ความไม่ยุติธรรมของเจ้าของร้าน เช่น หากพนักงานบางคนขาด ลา มาสาย หรือทำงานผิดพลาดบ่อยๆ แต่เจ้าของร้านกลับไม่ลงโทษ หรือไม่มีกฎเกณฑ์ในการตัดสินความผิดตายตัว วันนี้อารมณ์ดี ก็แค่ตักเตือน อีกวันหนึ่งอารมณ์ไม่ดี ก็เปลี่ยนจากการตักเตือนเป็นตัดเงินเดือนหรือสั่งพักงาน การไม่มีระบบที่ชัดเจน จะทำให้ลูกน้องบางคนรู้สึกว่าตัวเองไม่ได้รับความยุติธรรม
หากพนักงานดีๆ ของคุณรับไม่ได้กับพฤติกรรมหรือวัฒนธรรมดังกล่าว ย่อมตัดสินใจลาออก เพื่อสิ่งที่ดีกว่าก็ได้

2.เพราะไม่โตสักที

เคยไหม ทำงานเป็นปีๆ แต่ตำแหน่งงานก็ยังอยู่เท่าเดิม ไม่ได้ขยับขยาย เงินเดือนก็ขึ้นทีละเล็ก ทีละน้อย เป็นใครก็ไม่อยากอยู่ต่อจริงไหมครับ ฉะนั้นเจ้าของร้านอาหารต้องวางแผนการเติบโตให้ทีมงานด้วย เช่น อาจลองประเมินผลงานของลูกน้องทุกครึ่งปี บอกให้เขารับรู้ว่าการทำงานของเขาเป็นอย่างไร สมควรปรับปรุงหรือพัฒนาในส่วนไหนบ้าง หากเขาปรับปรุงหรือพัฒนาได้ตามเป้า จะได้รับผลอะไรตอบแทน วิธีนี้จะทำให้เขารู้สึกว่าการทำงานมีเป้าหมาย และได้รับผลตอบแทนที่วัดผลได้อย่างชัดเจน
นอกจากจะช่วยให้เขาอยากทำงานกับเราต่อแล้ว ยังทำให้เขาได้พัฒนาตัวเองตลอดเวลา ส่งผลดีต่อธุรกิจของเราอีกด้วย

3.เพราะเพื่อนร่วมงานแย่

ปัญหาเรื่องเพื่อนร่วมงานเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดการลาออก เช่น หากพนักงานคนอื่นเฉื่อยชา ไม่กระตือรือร้น พนักงานดีๆ ย่อมรู้สึกว่าตัวเองขยันไป หรือทำดีไปก็ไม่เกิดประโยชน์ ทางเลือกของพวกเขามักมี 2 ทาง คือ ไหลไปตามน้ำ “ในเมื่อไม่มีใครขยัน แล้วฉันจะทำไปเพื่ออะไร อย่างนั้นก็ทำงานตามหน้าที่ก็พอ” หรืออีกทางหนึ่งคือ ลาออก เพื่อไปหาสังคมใหม่ๆ ที่ดีกว่า
แน่นอนว่าทั้งสองทางเลือกย่อมส่งผลเสียต่อร้านอาหารทั้งคู่ ฉะนั้นจึงเป็นหน้าที่ของเจ้าของร้านที่จะสร้างวัฒนธรรมที่ดีให้กับลูกน้อง หากพบพนักงานที่มีพฤติกรรมไม่ดีต้องรีบตักเตือนและแก้ไข ไม่อย่างนั้นอาจส่งผลกระทบในระยะยาวได้

4.เพราะไม่มีระบบ อุปกรณ์ไม่พร้อม

ระบบคือสิ่งสำคัญที่สุดในการทำร้านอาหาร ยิ่งคุณวางระบบได้ดีมากเท่าไร ปัญหาก็ยิ่งมีน้อยมากเท่านั้น แต่หากคุณไม่วางระบบการทำงานเลย นอกจากตัวคุณเองต้องปวดหัวกับสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว พนักงานก็ต้องคอยมานั่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้าตลอดเวลาเช่นกัน เช่น ปัญหาอาหารออกช้า เพราะวัตถุดิบหมด (เนื่องจากไม่เคยมีการเช็คสต็อกวัตถุดิบเลย) ต้องรีบให้พนักงานไปซื้อ นอกจากจะเสียเวลาแล้ว พนักงานรับออร์เดอร์อาจจะต้องถูกลูกค้าตำหนิจากความไม่พร้อม หากโดนบ่อยๆ เข้าก็พนักงานคงเซ็งไปตามๆ กัน

นอกจากนี้ความไม่พร้อมของเครื่องไม้ เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นต่อการทำงาน ก็ส่งผลให้พนักงานลาออกได้เช่นกัน เช่น เคาท์เตอร์ครัวอาจจะสูงเกินไป ทำให้ปรุงอาหารไม่สะดวก ต้องก้มๆ เงยๆ ทำให้มีปัญหาสุขภาพ แจ้งเจ้าของร้านไปก็ไม่มีแนวโน้มว่าจะช่วยแก้ปัญหา เป็นใคร ใครก็ลาออกครับ เพราะห่วงสุขภาพตัวเองมากกว่า

ปัจจัย 4 ข้อที่ว่ามานี้ เป็นปัจจัยหลักๆ ที่อาจส่งผลให้พนักงานลาออก แต่จริงๆ แล้วยังมีปัจจัยอื่นๆ มากมาย เช่น เรื่องเงินเดือน สวัสดิการต่างๆ ที่อาจไม่ตรงกับความคาดหวังของพนักงาน หรือปัญหาส่วนตัวของลูกน้อง เจ้าของร้านลองพิจารณากันดูนะครับ ว่ามาจากสาเหตุอะไร จะได้แก้ไขได้ตรงจุด

เรื่องแนะนำ

ร้านอาหาร SME

วิกฤตระยะยาว ร้านอาหาร SME ต้องปรับตัวอย่างไร? 

         การแพร่ระบาดของไวรัส เป็นสาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจและการลงทุนทั่วโลกกระทบหนักอยู่ในขณะนี้ แน่นอนว่าร้านอาหารต้องเผชิญกับสภาพการแข่งขันในรูปแบบใหม่ และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป หากสถานการณ์นี้ยืดเยื้อต่อไป ผู้ประกอบการ ร้านอาหาร SME จำเป็นต้องหาแนวทางในการรับมือระยะยาวที่จะช่วยให้ธุรกิจไปต่อได้  วิกฤตร้านอาหาร ร้านอาหาร SME ปรับตัวอย่างไร?           ในทุกปัญหามีทางออก แม้ว่าธุรกิจอาหารในช่วงนี้จะไม่สามารถขายทางหน้าร้านได้มากนัก แต่ความต้องการของผู้บริโภคยังคงมีอยู่ ทางออกของการทำร้านอาหารจึงต้องเน้นการขายทางออนไลน์และส่งอาหารเดลิเวอรี่มากขึ้น รวมถึงการปรับตัวในรูปแบบอื่นๆ ได้แก่           ปัญหาที่ต้องแก้เร่งด่วน          ปัญหาที่ทุกร้านอาหารต้องเจอคือรายได้ที่ลดลง แต่ต้นทุนต่างๆ ยังคงต้องเสียอยู่เหมือนเดิม การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เจ้าของร้านควรทำ คือการจัดการต้นทุนต่างๆ ลองพิจารณาต้นทุนที่สามารถตัดได้ เช่น ลองเจรจาขอลดค่าเช่าร้าน ค่าเช่าอุปกรณ์ต่างๆ ค่าเช่าระบบ POS ในร้านอาหาร ค่าวัตถุดิบอาหาร ลดปริมาณหรือความถี่ในกิจกรรมต่างๆ ที่เคยจัด เช่น การทำความสะอาดร้าน การนัดกำจัดแมลง      […]

ส่วนผสมของ SOP กับวิธีทำคู่มือ ง่ายๆ ใครๆ ก็ทำได้

ส่วนผสมของ SOP ที่ดี และวิธีทำคู่มือมาตรฐานสำหรับร้าน อย่างง่ายๆใครก็ทำได้! ตามสัญญาจากบทความที่แล้วที่ผมได้พูดถึง เจ้า SOP (Standard Operating Procedure) หรือ “คู่มือร้านอาหาร” ว่ามันมีความสำคัญอย่างไร และ อุปสรรคของเจ้าของร้านคืออะไร .. แล้วควรมีมุมมองยังไงเกี่ยวกับเรื่องนี้กันไปแล้ว  วันนี้ผมขอแนะนำเรื่อง ส่วนผสมที่ดีสำหรับ SOP ว่ามีอะไรบ้าง สำหรับคนที่สนใจทำเจ้าคู่มือนี้ จะได้มี “ตัวชี้วัด” ง่ายๆ ไว้ใช้เป็น Benchmark หรือตัวเปรียบเทียบกันนะครับ…ไปดูกันเลย 1.ต้องสื่อสารอย่างเข้าใจง่าย และ เหมาะกับพนักงานทุกประเภท  เพราะไม่ใช่ทุกร้านที่จะมีโอกาสจ้างทีมงานเรียนจบมาจากสถาบันสอนทำอาหาร หรือมีประสบการณ์การทำงานร้านอาหารมาหลายปีแล้ว มาสมัครร้านเรา ส่วนใหญ่ที่ร้านผมเจอ จะเป็นญาติห่างๆ ของแม่บ้าน ,น้องๆ AEC หรือไม่ก็เป็น พาร์ทไทม์ วัยเรียน ที่อยากจะมาหาประสบการณ์กัน ร้านอาหารหลายๆ ร้านคงจะเข้าใจกับ ประโยคที่ว่า “พนักงานดีๆ หายาก” หรือ “อยู่ไม่ทน” มากที่สุด นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ “คู่มือร้านอาหาร” เหมาะกับ […]

ทำร้านบุฟเฟต์ให้มีกำไร

เคล็ด (ไม่) ลับ ทำร้านบุฟเฟต์ให้มีกำไร

ทุกวันนี้ร้านบุฟเฟต์โตสวนกระแสร้านอาหารประเภทอื่น แต่ขณะเดียวกันกลับมีไม่กี่ร้านที่อยู่รอด วันนี้เลยอยากสรุปเทคนิคการ ทำร้านบุฟเฟต์ให้มีกำไร มาฝากกัน

ข้อผิดพลาดทางการตลาด

5 ข้อผิดพลาดทางการตลาด ที่เจ้าของร้านอาหารต้องรู้!

หากก้าวแรกที่เริ่มเดินก็ผิดเสียแล้ว ก้าวต่อๆ ไปก็ไม่แคล้วผิดตามไปด้วย อย่างนั้นมาดู 5 ข้อผิดพลาดทางการตลาด ที่เจ้าของร้านอาหารควรรู้กันดีกว่า

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.