นวัตกรรมกับ ธุรกิจผลิตอาหาร ในวันที่ผู้บริโภคต้องการความแตกต่าง - Amarin Academy

นวัตกรรมกับ ธุรกิจผลิตอาหาร ในวันที่ผู้บริโภคต้องการความแตกต่าง

นวัตกรรมกับ ธุรกิจผลิตอาหาร ในวันที่ผู้บริโภคต้องการความแตกต่าง

หลายคนอาจเคยสังเกตว่า เวลาไปเดินซูเปอร์มาร์เก็ตเดี๋ยวนี้ บนชั้นวางสินค้าต่างมีสินค้าให้เลือกมากมาย ทั้งๆ ที่เป็นสินค้าชนิดเดียวกัน แต่ก็มีหลากหลายยี่ห้อเสียจนเลือกหยิบไม่ถูกกันเลยทีเดียว โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพที่มีให้เลือกมากขึ้น จากกระแสรักสุขภาพในช่วงที่ผ่านมา

ไม่เพียงแต่การบริโภคภายในประเทศที่กำลังเติบโตขึ้น แต่ธุรกิจการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารและการเกษตรของไทย ก็เติบโตขึ้นถึงปีละ 4.5 – 6.5% ต่อปี มีมูลค่าการตลาดกว่า 620,000 ล้านบาท ส่งออกมากเป็นอันดับที่ 13 ของโลก และเป็นที่ 3 ของเอเชีย รองจากจีนและอินเดียเท่านั้น โดยเทรนด์การบริโภคอาหารให้เป็นยา อาหารที่ผ่านการปรุงแต่งน้อย จนถึงขั้นเกิดกระแสลดการบริโภคเนื้อสัตว์กำลังเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจผลิตอาหารต้องใส่ใจการบอกข้อมูลทางโภชนาการและส่วนประกอบทุกอย่างของผลิตภัณฑ์บนฉลากสินค้า เพื่อตอบสนองต่อความต้องการเลือกที่มากขึ้นของผู้บริโภค

สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจผลิตอาหารต้องมีการปรับตัว และพยายามสร้างสินค้าของตนเองให้มีเอกลักษณ์แตกต่างจากสินค้าของเจ้าอื่น เพื่อตอบสนองต่อความต้องการสินค้าใหม่ๆ ของผู้บริโภค โดยปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้สินค้าของคุณมีความโดดเด่นและแตกต่างจากคู่แข่งคือ การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในธุรกิจ ซึ่งเป็นประเด็นเดียวกันกับที่ได้รับการพูดถึงใน “เปิดมุมมองใหม่ ไขความสำเร็จธุรกิจผลิตอาหาร” งานสัมมนาที่ธนาคารกสิกรไทยได้ร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และท็อปส์ มาร์เก็ต ได้จัดขึ้นเพื่อให้ความรู้และพัฒนาผู้ประกอบการ โดยเน้นให้เห็นถึงความสำคัญของการใช้งานวิจัยและนวัตกรรมในการเพิ่มศักยภาพธุรกิจ

นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างคุณโจ – ณัฐวุฒิ เผ่าปรีชา ผู้นำนวัตกรรมของทานเล่นเพื่อสุขภาพ แบรนด์
“Wel-B” ที่มียอดขาย 100 ล้านบาทต่อปี และคุณปิ่น – รัชยา จันจิตร ผู้ประกอบการแปรรูปมะขาม แบรนด์
“ปิ่นเพชร” ที่พลิกเอาของเหลือทิ้งอย่างเมล็ดมะขามมาเพิ่มมูลค่า เป็นตัวอย่างของธุรกิจผลิตอาหารที่นำเอางานวิจัยและนวัตกรรมมาเป็นตัวช่วยต่อยอดธุรกิจของตน

เริ่มต้นจากความสงสัยและสังเกตสิ่งรอบตัว

คุณปิ่นบอกว่า เดิมทีทำมะขามแปรรูป มะขามสดขายอยู่แล้ว แต่มีช่วงหนึ่งมีบริษัทจากญี่ปุ่นและอินเดียมารับซื้อเมล็ดมะขามจึงเกิดความสงสัยว่าเขานำไปทำอะไร เลยไปหาข้อมูลจนพบว่าในเมล็ดมะขามมีสารต้านอนุมูลอิสระ มีฤทธิ์ช่วยสมานแผล ช่วยให้ผิวเรียบเนียน จึงติดต่อขอความช่วยเหลือจากสกว.ในการทำวิจัยร่วมกัน จนได้สารสกัดเจลโลสจากแป้งเมล็ดมะขาม ที่สามารถนำไปต่อยอดทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นเยลลี่ ไอศกรีม ซอสผัดไทย เซรั่มบำรุงผิว ฯลฯ

ด้านคุณโจ เล่าว่า “ผมอยากจะทำสินค้าที่ไม่มีใครเลียนแบบได้ นั่นคือสินค้าเกษตรแปรรูป เพราะประเทศไทยมีวัตถุดิบที่เป็นสินค้าเกษตรมาก เลยนั่งหาข้อมูลว่าสินค้าการเกษตรสามารถนำเอาเทคโนโลยีไหนมาใช้แปรรูปได้บ้าง จึงพบข้อมูลว่าการ Freeze – Dried หรือเทคโนโลยีการทำแห้งเยือกแข็งแบบสุญญากาศ ช่วยรักษาคุณค่าทางอาหารที่มีอยู่เดิมได้มากที่สุด ตอบโจทย์คนรักสุขภาพได้อย่างดี” ตามหลักการที่ว่าหาสินค้าอะไรที่ขายให้คนกินแล้วถูกใจให้ได้ จนได้รับเสียงตอบรับดีสามารถวางขายได้ทั้งในและต่างประเทศ

งานวิจัยสร้างความแตกต่าง

ทั้งที่นวัตกรรมมีส่วนช่วยผลักดันให้ธุรกิจก้าวหน้าต่อไปได้ แต่ผู้ประกอบการธุรกิจผลิตอาหารก็ยังไม่ค่อยให้ความสำคัญกับงานวิจัยและนวัตกรรม คุณพีชยา จิระธรรมกิจกุล ผู้จัดการงานอุตสาหกรรมอาหาร เกษตร และสุขภาพ โปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ITAP (สวทช.) เปิดเผยว่าสาเหตุหนึ่งน่าจะมาจาก การนำนวัตกรรมมาใช้กับธุรกิจเป็นสิ่งที่ต้องเกิดการลงทุน ในมุมของผู้ประกอบการอาจมองว่าสินค้ายังขายได้ จึงไม่จำเป็นต้องใช้นวัตกรรมเข้ามาช่วย แต่ผู้ประกอบการควรตระหนักว่าในการแข่งขันทางการตลาดทุกวันนี้ แบรนด์ต้องสร้างความแตกต่างให้ผลิตภัณฑ์ของตน เพื่อให้สอดรับกับความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน ซึ่งนวัตกรรมเข้ามาช่วยสร้างความแตกต่างได้

สร้างงานวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่า

รศ.ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ ผู้อำนวยการฝ่ายอุตสาหกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
เพิ่มเติมว่า เมื่อมีไอเดียแล้วกระบวนการต่อไป คือการนำงานวิจัยมาต่อยอดผลิตภัณฑ์ ยกตัวอย่างแบรนด์ Dairy Home ที่ขายนมอินทรีย์ มาขอความช่วยเหลือเรื่องงานวิจัย จนเกิดเป็น “Bedtime Milk” นมสำหรับดื่มก่อนนอน เพราะในนมมีสารเมลาโทนินที่ช่วยให้นอนหลับสบายขึ้น โดยหน่วยงานอย่างสกว.และสวทช.มีส่วนช่วยให้ทุนสนับสนุน ช่วยต่อยอด และช่วยลดความเสี่ยงในการทำการวิจัยและพัฒนา (R&D) ให้สั้นลง

การเริ่มต้นบางคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องยาก แต่คุณปิ่นบอกว่าเพียงคุณมีไอเดียแล้วลองเข้าไปคุยกับหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนงานวิจัย จะมีทีมที่คอยให้คำปรึกษา “โจทย์ของปิ่นเพชรในการขอทุนสนับสนุนการวิจัยตั้งต้นเลยก็คือ คุณสมบัติของเมล็ดมะขามสามารถใช้ทำอะไรได้บ้าง” นั่นก็เพราะเธออยากทำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จากเมล็ดมะขาม เปลี่ยนขยะเหลือทิ้งปีละกว่า 500 ตันมาเพิ่มมูลค่าให้มันได้

เคล็ดลับสู่ความสำเร็จในธุรกิจด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม

เจ้าของแบรนด์ “ปิ่นเพชร” ยังบอกแนวคิดที่ช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จอย่างทุกวันนี้เพิ่มเติมอีกว่า เธอคิดว่านวัตกรรมอยู่รอบๆ ตัว วัตถุดิบแต่ละอย่างมีประโยชน์และคุณค่าในตัวอยู่แล้ว อยู่ที่ว่าคุณจะนำเอาเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มมูลค่าอย่างไรได้บ้าง เมื่อได้คุณสมบัติที่ต้องการ ก็ลองมาสำรวจว่าตอนนี้ลูกค้าสนใจผลิตภัณฑ์ประมาณไหน ก่อนจะปรับให้เข้ากับกระแสเพื่อทำการตลาดได้ถูกจุด

ส่วนคุณโจจาก “Wel-B” บอกว่ากว่าจะผลิตสินค้าออกมาชิ้นหนึ่งได้ ต้องผ่านการลองผิดลองถูกมาแล้วมากมาย การคิดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เป็นเรื่องง่ายกว่าการทำยังไงให้ขายได้ เพราะสินค้าที่ใหม่เกินไป ราคาสูงเกินไป ผู้บริโภคอาจยังไม่พร้อมรับ จึงทำให้ขายยาก หากคิดของใหม่ขึ้นมา 10 อย่าง แล้วทำสำเร็จได้เพียง 1 อย่าง เพียงเท่านี้เขาก็พอใจแล้ว

“ผมยึดคติที่ว่าดีแล้วต้องดีอีก เพื่อพัฒนาตัวเองต่อไป ไม่ให้หยุดนิ่งอยู่กับที่ เพราะงานวิจัยและพัฒนา
ไม่มีวันจบ ถ้าหากคุณมัวแต่กลัวก็จะไม่ได้ทำอะไรสักที ผมจะคิดถึง 2 สิ่งเสมอเมื่อออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ คือ เงินที่ผู้บริโภคจะต้องจ่ายและคุณค่าที่ผู้บริโภคจะได้รับ หน้าที่ของผมคือทำให้คุณค่าที่เขาได้รับมากกว่าราคาที่จ่ายไป” คุณโจกล่าว

สุดท้ายแล้วทุกอย่างขึ้นอยู่กับประสบการณ์ อย่าเพิ่งล้มเลิกแม้จะผิดหวัง แม้ว่าสินค้าจะออกมาดี รสชาติอร่อย ก็ยังไม่จบ เพราะยังมีเรื่องของการตลาดและองค์ประกอบต่างๆ หลายอย่าง ดังนั้นธุรกิจผลิตอาหารต้องหาจุดแข็งของตัวเองให้เจอ โดยนวัตกรรมถือเป็นตัวติดอาวุธให้ธุรกิจของคุณ ในการสู้กับคู่แข่งในทุกวันนี้

เรื่องแนะนำ

สรุป 4 ความรู้สำคัญจาก AA Sharing ครั้งที่ 1 โดย Amarin Academy

เริ่มแล้ว! สำหรับกิจกรรรมใหม่ AA Sharing ครั้งที่ 1 โดย Amarin Academy กิจกรรมสังสรรค์แบบเป็นกันเอง ของผู้ประกอบการร้านอาหาร เหล่าผู้เชี่ยวชาญในแวดวงธุรกิจอาหาร และงานดีไซน์ รวมถึงตัวแทนจากทีมงาน Amarin Academy ที่พร้อมมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ปรึกษาปัญหากับกูรูอย่างใกล้ชิด แบบ Case by Case ซึ่งสำหรับการจัดในครั้งแรกนั้น ได้รับกระแสตอบรับดีเกินคาด   AA Sharing ครั้งที่1  โดย Amarin Academy AA Sharing  เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ทาง Amarin Academy จัดขึ้น เพื่อต้องการให้ผู้เชี่ยวชาญในแวดวงธุรกิจอาหาร และผู้ประกอบการได้มาพบปะ พูดคุยกัน และรับประทานอาหารร่วมกันในบรรยากาศแบบเป็นกันเอง ซึ่งจะเป็นลักษณะกลุ่มเล็กๆ เพื่อให้เจ้าของร้านอาหารได้มีโอกาสแบ่งปันเรื่องราว ปรึกษาปัญหาที่ร้านกำลังประสบอยู่ รวมถึงขอคำแนะนำจากเหล่ากูรูแบบใกล้ชิด และเจาะลึกมากขึ้น ซึ่งกิจกรรมนี้จะจัดขึ้นเดือนละ 1 ครั้ง และมีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเจ้าของร้านไปในแต่ละครั้ง สำหรับในครั้งแรกนี้จะมีใครมาร่วมโต๊ะกับเราบ้าง และมีเนื้อหาอะไรบ้าง มาดูกันครับ ผู้ร่วมกิจกรรม AA Sharing […]

ธุรกิจอาหาร

20 เทรนด์ ธุรกิจอาหาร ปี 2020 ที่ผู้ประกอบการควรรู้!

20 เทรนด์ ธุรกิจอาหาร ปี 2020 ที่ผู้ประกอบการควรรู้!   1.ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีมากขึ้น เมื่อโลกก้าวไกลเรื่องเทคโนโลยีขึ้นเรื่อยๆ เจ้าของร้านแบรนด์ใหม่ๆ จะเริ่มลงทุนกับการใช้ระบบเทคโนโลยีมากขึ้น และอาจลดแรงงานคนลง ร้านจะให้ลูกค้าบริการตัวเองมากขึ้น เพื่อลดค่าใช้จ่าย ส่วนร้านดั้งเดิมเก่าแก่ ก็จะหันมาใช้ระบบการจัดการใหม่ๆมากขึ้น โดยทายาทรุ่นใหม่ที่เข้ามาบริหารร้านเพื่อควบคุมต้นทุนให้มากที่สุด   2. Social Marketing สำคัญมาก ปฏิเสธไม่ได้ว่ายุคนี้ ถ้าอยากให้ร้านเป็นที่รู้จักมากขึ้น การทำการตลาดบนโลกออนไลน์สำคัญมาก อะไรที่เป็นกระแสใน Social จะส่งผลกระทบรวดเร็ว ทำให้คนอยากลองและตามไปรีวิวมากมาย แต่ที่สำคัญร้านของคุณก็ต้องมีคุณภาพด้วย เพราะอย่าลืมว่าถ้าร้านไม่ดีจริง กระแสมาไวก็ไปไวได้เช่นกัน   3. เดลิเวอรี่ แข่งขันสูง ผู้บริโภคยุคใหม่ต้องการความสะดวกสบายมากขึ้น ทำให้เดลิเวอรี่จึงมาแรงตั้งแต่ปีที่ผ่านมา จนมาถึงปีนี้ และเกิดการแข่งขันกันที่สูงขึ้น ธุรกิจร้านอาหารที่ไม่มีหน้าร้านก็จะเพิ่มขึ้นด้วย ทั้งนี้ก็อยู่ที่ว่าผู้ประกอบการแต่ละรายจะงัดกลยุทธ์ไหนออกมาเพื่อดึงดูดลูกค้าได้มากกว่ากัน   4. มากกว่าการกิน คือการสร้างประสบการณ์ให้ลูกค้า แม้ว่าเรื่องรสชาติจะสำคัญที่สุดในการทำธุรกิจอาหาร แต่ปัจจุบันการสร้างประสบการณ์ใหม่ๆในการทานให้กับลูกค้า เป็นสิ่งที่ทำให้ลูกค้าเกิดความตื่นตาตื่นใจปละประทับใจไม่น้อย เช่น การให้ลูกค้ามีส่วนร่วม หรือแม้แต่การกินอาหารพร้อมโชว์เทคโนโลยี AR   5. […]

เทรนด์ขนม ปี 2017

7 เทรนด์ขนม ปี 2017 เมนูไหนมาแรง ไปดูกัน!

เดินไปที่ไหนก็เห็นขนมวางขายเรียงรายเต็มไปหมด เพื่อตอบสนองความต้องการผู้บริโภค สำหรับใครที่สนใจทำธุรกิตขนม ลองศึกษา เทรนด์ขนม ดูสิว่า ขนมอะไรกำลังเป็นที่นิยม

มาตรการเยียวยา

นายจ้างที่ได้รับความช่วยเหลือมีแค่ 11% ส่องสถิติการเข้าถึง มาตรการเยียวยา จากภาครัฐ

        แม้ว่าวิกฤต COVID-19 จะกระทบต่อประชาชนคนไทยทุกคน แต่ มาตรการเยียวยา ของภาครัฐนั้นเข้าถึงผู้ที่ได้รับผลกระทบทั่วถึงหรือไม่? เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากประชาชน สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จึงได้ทำการสำรวจ ผลกระทบเบื้องต้นจากการใช้มาตรการบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจจาก COVID-19 ผ่านระบบ online ในช่วงวันที่ 9-13 เม.ย. 63 โดยมีผู้เข้าร่วมตอบแบบสอบถาม 8,929 คน จากทั้ง 77 จังหวัดในประเทศไทย  สถิติประชาชน 4 กลุ่มอาชีพ ที่เข้าถึง มาตรการเยียวยา จากภาครัฐ         โดยผู้ตอบแบบสอบถามจะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มอาชีพ ได้แก่ นายจ้าง พนักงาน ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และผู้ว่างงาน ในภาพรวมแล้ว มีคนไทยมากถึง 88% ที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากมาตรการของรัฐ เพราะส่วนใหญ่ “ติดเงื่อนไข” ซึ่งมีทั้งผู้ที่ไม่เข้าข่าย และผู้ที่ควรได้รับสิทธิ์แต่ถูกปฏิเสธ โดยมาตรการที่คนได้รับมากที่สุดเป็นมาตรการของนโยบายการคลัง แต่มาตรการเหล่านี้ก็ไม่เพียงพอที่จะช่วยเหลือประชาชน […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.