3 สิ่งที่ต้องทำ เมื่อ ธุรกิจมีปัญหา - Amarin Academy

3 สิ่งที่ต้องทำ เมื่อ ธุรกิจมีปัญหา

3 สิ่งที่ต้องทำ เมื่อ ธุรกิจมีปัญหา

ขึ้นชื่อว่าเป็นเจ้าของกิจการ คงจะหลีกเลี่ยงปัญหาไปไม่ได้ และบางครั้งอาจเจอปัญหาหนักจนไม่รู้จะแก้อย่างไร หลายคนเมื่อเจอปัญหาหนักๆ อาจจะถึงขั้นล้มเลิกความตั้งใจและเลือกที่จะปิดกิจการ แต่คงไม่มีใครอยากให้วันนั้นมาถึง วันนี้เราจึงมีเทคนิคดีๆ ที่จะช่วยดึงสติ ในยามที่ ธุรกิจมีปัญหา ให้กลับมาดำเนินการได้ตามปกติมาฝาก

1.หยุดมองโลกในแง่ดี และต้องยอมรับความจริง

“ไม่เป็นไร เดี๋ยวทุกอย่างก็ดีขึ้นเอง ได้แค่นี้ก็ดีแล้ว” ประโยคให้กำลังตัวเองเช่นนี้ไม่ใช่ไม่ดี เพียงแต่ว่าหลังจากให้กำลังใจตัวเองแล้ว เราต้องยอมรับความจริงที่เกิดขึ้นด้วย โดยการยอมรับความจริงนี้ เป็นขั้นแรกของการแก้ไขปัญหา เพราะหากคุณเอาแต่คิดว่า ไม่เป็นไร และปล่อยให้ทุกอย่างดำเนินไปเช่นเดิม ปัญหาเหล่านั้นก็จะสั่งสมขึ้นเรื่อยๆ ทับไปทับมา หากคิดจะแก้ไขอีกทีก็อาจจะสายไปเสียแล้ว

เช่น หากคุณพบว่าพนักงานบางคนทำงานไม่เต็มที่ แล้วคุณละเลย เพราะคิดว่าอย่างไรงานโดยภาพรวมก็ยังได้มาตรฐาน ต่อไปพนักงานคนอื่นอาจจะเอาเยี่ยงอย่าง จนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ถูกปลูกฝังไปเรื่อยๆ จนเมื่อคุณคิดจะแก้ไขอีกทีก็กลายเป็นว่าคุณกำลัง “ไล่บี้” ทำให้พนักงานไม่พอใจได้ ฉะนั้น หากทำธุรกิจแล้วพบเจอปัญหาเมื่อไร ควรวางแผนแก้ไขทันที เพื่อให้ปัญหาทุกอย่างคลี่คลายโดยเร็วที่สุด

2.ทำความเข้าใจปัญหาให้ละเอียดและชัดเจนที่สุด

หลังยอมรับว่าธุรกิจมีปัญหาแล้ว คุณต้องทำความเข้าใจปัญหาโดยละเอียดและรอบด้าน ว่าเกิดจากสาเหตุภายใน เช่น การบริหารงาน การจัดการงานที่ไม่เป็นระบบ ลูกน้องทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ หรือเกิดจากปัญหาภายนอก เช่น สภาพเศรษฐกิจไม่ดี คู่แข่งมากขึ้น วัตถุดิบขึ้นราคา เป็นต้น

การทำความเข้าใจปัญหานี้ จะช่วยให้เราวางแผนเพื่อแก้ไขได้อย่างตรงจุด โดยอาจลองหาทางออกไว้หลายๆ ทาง เผื่อแผนหนึ่งแก้ไม่ได้ ก็จะได้ใช้แผนสอง หรือแผนสามแทน

เช่น หากประสบปัญหาเรื่องพนักงานลาออกบ่อย ก็ควรต้องทำความเข้าใจปัญหาว่าเกิดจากสาเหตุใด เกิดจากปัจจัยภายนในหรือภายนอก แล้วค่อยๆ วางแผนในการแก้ปัญหาต่อไป (อ่านเพิ่มเติม: เคล็ด (ไม่) ลับ ขจัดปัญหา พนักงานเปลี่ยนงานบ่อย)

3.ยอมรับความช่วยเหลือ

เมื่อเจอต้นตอของปัญหาแล้ว เจ้าของธุรกิจหลายคนก็พยายามหาทางแก้ไข แต่บางครั้งปัญหาที่เกิดขึ้นก็นับว่าใหญ่เอาการ จนไม่รู้จะแก้ไขด้วยตัวคนเดียวอย่างไร ดังนั้นแทนที่จะมัวลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง คุณคงต้องยอมรับความช่วยเหลือ

ขั้นแรก อาจจะลองศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งปัจจุบันข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการทำธุรกิจก็มีมากมาย และหาได้ง่ายๆ เพียงแค่เสิร์จ Google ก็เจอบทเรียนและวิธีแก้ไขเต็มไปหมด คุณอาจลองนำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจของตัวเองดู แต่หากปัญหาของคุณค่อนข้างเฉพาะเจาะจง อาจจะต้องลองหาเพื่อนทางธุรกิจที่ทำธุรกิจประเภทเดียวกัน แน่นอนว่าเขาย่อมต้องเคยผ่านปัญหาเหล่านี้มาก่อนบ้าง และอาจจะได้รับคำแนะนำดีๆ ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน แต่ถ้าอยากให้ชัวร์ที่สุด และแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด คุณอาจจะต้องลองหาที่ปรึษาทางธุรกิจที่เชี่ยวชาญในธุรกิจดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันก็มีบริษัทรับเป็นที่ปรึกษาให้มากมาย เพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องมัวลองผิดลองถูกเอง แต่ข้อเสียคือคุณต้องเสียค่าใช้จ่ายพอสมควร อย่างไรลองเลือกวิธีแก้ไขตามที่ตนเองถนัดดูนะครับ

เมื่อเจอปัญหา อย่าเอาแต่วิตกกังวลไป ลองค่อยๆ คิดหาวิธีแก้ไขดูนะครับ ทุกปัญหามีทางออกเสมอ

เรื่องแนะนำ

เช็กลิสต์ QSC ระบบ ประเมินมาตรฐาน ที่ร้านอาหารคุณต้องมี!

หนึ่งในระบบเซตอัพร้านอาหารที่สำคัญ ก็คือการออกแบบเครื่องมือในการ ประเมินมาตรฐาน หรือผลการปฏิบัติงานของร้าน ที่เรียกว่า QSC  ถือเป็นคู่มือที่ใช้ควบคุมการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ โดยจะครอบคลุม 3 เรื่องสำคัญ ได้แก่   เช็กลิสต์ QSC ระบบ ประเมินมาตรฐาน ที่ร้านอาหารคุณต้องมี! Q = Quality การประเมินด้านคุณภาพ เริ่มตั้งแต่วัตถุดิบ วิธีการเก็บรักษาวัตถุดิบ วิธีการปรุงอาหารและการเสิร์ฟ ทั้งรสชาติ ปริมาณ หน้าตาอาหาร   S =Service การประเมินด้านการบริการ เริ่มตั้งแต่การต้อนรับลูกค้า การแนะนำรายการสินค้า ความเต็มใจบริการ ความสุภาพของพนักงาน ความถูกต้องในการรับรายการอาหาร   C = Cleanliness การประเมินด้านความสะอาด เริ่มประเมินตั้งแต่ การแต่งกายของพนักงาน ความสะอาดของหน้าร้านและหลังร้าน รวมไปถึงการดูแลรักษาและซ่อมบำรุงอุปกรณ์ครัว   ตัวอย่างการทำ QSC : ร้านกาแฟ มาดูกันว่าการทำ QSC ร้านกาแฟ จะกำหนดให้ควบคุมในเรื่องใดบ้าง ยกตัวอย่างเช็กลิสต์ […]

10 เหตุผลที่ร้านอาหาร ต้องรู้เรื่อง SOP

1. ช่วยในการควบคุมต้นทุนอาหาร             เมื่อพูดถึงการทำ SOP อาหาร เจ้าของร้านอาหารอาจจะนึกถึงการกำหนดขั้นตอนในการทำอาหารแต่ละเมนูเพียงเท่านั้น แต่การทำ SOP ที่เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างมาตรฐานอาหารเพื่อให้อาหารมีรสชาติที่คงที่ และสามารถช่วยควบคุมต้นทุนอาหารได้เป็นอย่างดีนั้น คือการกำหนดมาตฐานในการทำงานตลอดกระบวนการ เริ่มตั้งแต่ วัตถุดิบ อุปกรณ์ที่ใช้ ขั้นตอนปรุง ปริมาณเครื่องปรุง การจัดเสิร์ฟ รวมถึงการจัดเก็บวัตถุดิบเพื่อคงความสดใหม่ ยิ่งร้านของคุณสามารถลงรายละเอียดในขั้นตอนส่วนนี้ได้เท่าไหร่ ก็จะยิ่งทำให้ร้านสร้างกำไรได้มากขึ้นจากต้นทุนวัตถุดิบที่ลดลง   2.ช่วยแก้ปัญหาพนักงานลาออก กระทบต่องานบริการหน้าร้าน             ปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัญหาพนักงานร้านอาหารลาออกสร้างผลกระทบต่อการทำร้านอาหารไม่น้อย และยังเกิดต้นทุนแฝง ทั้งงบประมาณ เวลา บุคคลากร ในการฝึกพนักงานใหม่ การทำ SOP คู่มือพนักงานที่ระบุขั้นตอนการทำงาน สิ่งที่พนักงานควรรู้ ข้อกำหนดและกฏระเบียบ จะช่วยลดเวลาในการดำเนินการนี้ทั้งหมด และยังสามารถทำให้คุณบริหารร้านอาหารได้อย่างต่อเนื่อง   3.ช่วยให้เจ้าของร้านอาหาร เหนื่อยน้อยลง      ไม่ใช่แค่เหนื่อย จากการบริหารร้านอาหารให้สามารถคงอยู่ได้โดยไม่ขาดทุน แต่คำว่าเหนื่อยของการทำร้านอาหาร ยังหมายรวมไปถึง การทุ่มเทแรงกาย แรงใจ และเวลาทั้งหมดไปกับการแก้ปัญหาในแต่ละวัน การลดปัญหาจุกจิกที่สามารถแก้ไขได้โดยทีมงานร้านอาหารโดยที่เจ้าของร้านอาหารไม่ต้องลงมือไปแก้ทุกปัญหาเองเพียงแต่มอนิเตอร์เท่านั้น ก็คือ การสร้างระบบที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมให้การทำงานแต่ละส่วนเกิดปัญหาน้อยที่สุด นั่นก็คือ การวางระบบ […]

สอนพนักงานครัว ให้เป็นงาน ก่อนเปิดร้าน 7 วัน

สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ของการทำร้านอาหารก็คือ ประสิทธิภาพของทีมงานร้านอาหาร โดยเฉพาะทีมงานครัว ที่ถือเป็นกำลังฝ่ายผลิต ที่มีส่วนสำคัญต่อคุณภาพร้านอาหาร จึงต้องมีการฝึกอบรม เพื่อเรียนรู้ขั้นตอนการปฏิบัติงานครัว เพื่อให้ทำงานสอดคล้องกับทีมงานในแต่ละส่วนได้อย่างดี ซึ่งก่อนที่เราจะไปดูว่าเทคนิค สอนพนักงานครัว ให้เป็นงานได้อย่างรวดเร็วภายใน 7 วันนั้น ทำได้อย่างไร เรามาทราบขั้นตอนเบื้องต้นของการฝึกอบรมทีมงานครัวกันก่อนค่ะ   ขั้นตอนเบื้องต้นของการฝึกอบรม สอนพนักงานครัว 1.ปฐมนิเทศพนักงาน ร้านอาหารก็ควรจัดให้มีการปฐมนิเทศพนักงานเช่นเดียวกับการทำธุรกิจอื่น ๆ ทั้งนี้เพื่อให้พนักงานเข้าใจภาพรวมขององค์กร สร้างความเข้าใจโครงสร้างองค์กร เข้าใจการปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และเข้าใจกฏระเบียบต่าง ๆ            ♦ ปฐมนิเทศพนักงานครัวด้วยเรื่องอะไรบ้าง? ข้อมูลบริหารบุคคลที่ต้องรู้ก่อนร่วมงาน เช่น กฏระเบียบการเข้างาน ค่าตอบแทน โบนัส วันเวลาทำงาน วิสัยทัศน์ ความมุ่งหมายของการทำร้านอาหาร แนะนำทีมงานร้าน รู้จักกับเมนูอาหารของร้าน หรือมีการทดลอง การชิมสูตรอาหารในวันนั้นๆ แนะนำ Facility ต่าง ๆ ของห้องครัว แนะนำขั้นตอนการอบรมงานครัวต่าง ๆ   2. แนะนำการปฏิบัติงาน เริ่มการสอนงานด้วยการทำความเข้าใจขั้นตอน […]

9 Checklist

9 Checklist ธุรกิจ ควรทำ ถ้าไม่อยากเจ๊ง!

ทำธุรกิจต้องหมั่นตรวจสอบระบบการทำงานอยู่เสมอ เพื่อเช็คว่าธุรกิจของคุณมีปัญหาอะไร อย่างนั้นมาดูกันดีกว่าว่า Checklist ธุรกิจ ที่เจ้าของธุรกิจควรทำมีอะไรบ้าง

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.