5 แนวทาง "ลดต้นทุนวัตถุดิบ" วิกฤตของแพง จะให้ขายแบบเดิมคงไม่ไหว

5 แนวทางลดต้นทุนวัตถุดิบ ในวันที่อะไรๆ ก็ขึ้นราคา วิกฤตของแพง จะให้ขายแบบเดิมคงไม่ไหว

5 แนวทาง “ลดต้นทุนวัตถุดิบ”

ในวันที่อะไรๆ ก็ขึ้นราคา

วิกฤตของแพง จะให้ขายแบบเดิมคงไม่ไหว

เมื่อเกิดวิกฤตของแพง วัตถุดิบขึ้นราคา จนบางทีทำให้ทุกคนรู้สึกว่าจะแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้นไม่ไหวแล้ว แต่จะปรับราคาก็กลัวลูกค้าไม่ซื้ออีก เรียกได้ว่าเป็นสถานการณ์ที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกของคนทำร้านอาหารมาก ๆ แต่ทั้งนี้ก็ใช่ว่าจะไม่มีวิธีรับมือกับวิกฤตนี้เลย เพราะฉะนั้นลองมาดูแนวทางในการบริหารจัดการร้านเพื่อ ลดต้นทุนวัตถุดิบ รับ “วิกฤตของแพง” แล้วนำไปปรับใช้กัน!
1.ลองทานเมนูนี้ไหมคะ ?👩🏻‍🍳
.
หนึ่งในวิธีที่สามารถช่วยลดต้นทุนได้ ในวิกฤติที่ของแพงนั้นก็คือ การเชียร์ขายเมนูอื่นแทนเมนูที่มีส่วนประกอบของวัตถุดิบที่มีราคาแพง อย่างเช่นในกรณีที่หมูแพง เมื่อลูกค้ามาสั่งอาหาร เราอาจใช้วิธีการเสนอขายเมนูอื่น ๆ ให้ลูกค้าเกิดความสนใจ และอยากจะสั่งเมนูอื่นมากกว่าเมนูที่ทำจากหมู โดยอาจทำการเสนอขายในแง่ของเมนูแนะนำ เช่น เมนูแนะนำของร้านเราจะเป็นปลาทอดน้ำปลา แกงส้มแป๊ะซะ ไก่ทอดกระเทียม หรืออาจเป็นการทำโปรโมชั่นกับเมนูนั้น ๆ เช่น การจัดเป็นเซ็ต แถมน้ำ เป็นต้น
.
2.ของใหม่จากของเดิม🥗
.
ลองย้อนกลับมาดูว่าวัตถุดิบที่เรามีอยู่หรือวัตถุดิบที่ลูกค้าไม่ค่อยสั่งอันไหนบ้าง ที่สามารถจับมารังสรรค์เป็นเมนูใหม่ได้บ้าง เช่น ปลาทูน่า แทนที่เราจะเสิร์ฟแค่สลัดทูน่าเพียงอย่างเดียว ก็ลองคิดเมนูใหม่ ๆ เพิ่มเติม เช่น ยำทูน่า สเต็กทูน่า หรือขนมปังหน้าทูน่าน้ำพริกเผา เพื่อให้ลูกค้ามีทางเลือกในการรับประทานที่มากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการช่วยให้เราสามารถบริหารการใช้วัตถุดิบได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่เกิด Waste และเพิ่มความแปลกใหม่ทำให้ลูกค้ารู้สึกไม่จำเจอีกด้วย
.
3.ควบคุมให้ดี✨
.
ตรวจสอบวัตถุดิบที่มาส่งที่ร้านทุกครั้ง เพื่อเป็นการควบคุมวัตถุดิบให้ดีตั้งแต่ต้นทาง เช่น การตรวจสอบสี ลักษณะ ความสดใหม่ของผักที่มาส่งว่าได้มาตรฐานตามที่ร้านต้องการหรือไม่ ช้ำไหม ตัดแต่งแล้วจะได้เท่าไหร่ เพื่อลดโอกาสที่จะมีวัตถุดิบที่ใช้ไม่ได้หรือเหลือทิ้งให้น้อยที่สุด ลดทั้งต้นทุนเวลาและเงินที่อาจเสียไปอย่างเปล่าประโยชน์
.
4.หลีกเลี่ยงความคิดที่ว่า “เหลือ ดีกว่าขาด”💸
.
คนส่วนใหญ่มักคิดว่าซื้อของมาเผื่อไว้ก่อน เพราะหากของหมดขึ้นมาจะเกิดปัญหาตามมามากมาย แต่จริง ๆ แล้วทั้งสองกรณีไม่ได้ดีกว่ากันเลย แน่นอนว่าหากวัตถุดิบหมด ร้านย่อมเสียโอกาสในการสร้างรายได้ แต่ขณะเดียวกันหากวัตถุดิบมีมากเกินจำเป็น ยิ่งเป็นของสดที่เก็บรักษาได้ไม่นาน เท่ากับว่าเรากำลังโยนเงินจากน้ำพักน้ำแรงของตัวเองลงถังขยะไปฟรี ๆ
ยิ่งช่วงนี้ของราคาแพง ไม่ใช่แค่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ แต่ผู้บริโภคก็กระทบด้วยเหมือนกัน เมื่อเป็นเช่นนี้จึงมีโอกาสที่ผู้บริโภคจะลดการใช้จ่ายลง และรัดเข็มขัดมากขึ้น ดังนั้นผู้ประกอบการร้านอาหารควรมีการวิเคราะห์ และบริหารการจัดการสต็อกให้ดี เพื่อรับมือกับวิกฤตวัตถุดิบแพงและลดการสูญเสียต้นทุนให้ได้มากที่สุด
.
5.เปลี่ยนวัตถุดิบไปเลย🐔
.
ตัวเลือกสุดท้ายในเมื่อต้นทุนวัตถุดิบที่เราใช้อยู่มันแพงนัก ก็เปลี่ยนวัตถุดิบมันไปซะเลย โดยอาจใช้การเปลี่ยนไปขายเมนูที่มีส่วนประกอบของวัตถุดิบที่มีราคาถูกกว่าหรือเปลี่ยนไปขายเมนูอื่นเลย ยกตัวอย่างร้านที่ใช้วิธีนี้ เช่น ตอนนี้หมูแพง ร้านคอหมูพระราม 5 ก็ได้มีการเปลี่ยนวัตถุดิบในการประกอบอาหารมาเป็น “ไก่” แทน เช่น ข้าวไก่ย่าง ยำไก่ซอสหมาล่า และซุปไก่ หรือร้านหมูทอดเจ๊จงที่ได้มีการเพิ่มเมนูข้าวปลาแกะเข้ามาขายในร้านด้วย เป็นต้น
.
ทั้งนี้ก็เป็นทางเลือกหนึ่งให้กับผู้ประกอบการที่ต้องการลดต้นทุนวัตถุดิบให้ได้มากที่สุด ในยามที่อะไร ๆ ก็แพง เศรษฐกิจก็ไม่ค่อยจะดีแบบนี้ หวังว่าทุกคนจะผ่านมันไปได้ และราคาวัตถุดิบเหล่านี้จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติโดยเร็ว เพื่อที่จะไม่ต้องมีใครแบกรับหรือได้รับผลกระทบไปมากกว่านี้ เราขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจให้กับทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคทุก ๆ คนด้วยนะคะ💖
.

เรื่องแนะนำ

ทำธุรกิจให้สำเร็จ

ทำธุรกิจให้สำเร็จ มาจากการติดกระดุมเม็ดแรกถูก!

ถ้าคุณเลือกทำเลผิดหรือลงทุนมากไป จะย้อนกลับไปแก้ไขไม่ได้เลย เหมือนการติดกระดุมเม็ดแรกผิด เม็ดต่อไปก็ผิดหมด ผมจะมาบอกเคล็ดลับ ทำธุรกิจให้สำเร็จ ให้ทราบกัน

ธุรกิจ ขายดี

ธุรกิจ ขายดี ที่สุด ไม่จำเป็นต้องราคาถูกที่สุด

เคยสงสัยไหมว่า ทำไมบาง ธุรกิจ ขายดี มาก ทั้งๆ ที่ราคาสูงกว่าเจ้า นั่นเป็นเพราะเขาไม่ได้ขายแค่สินค้าหรือบริการ แต่ขายประสบการณ์ให้ลูกค้าด้วย

จ้างเชฟ

4 สิ่งที่ควรเช็ค ก่อนตัดสินใจ จ้างเชฟ

ก่อนเปิดร้านสิ่งที่เราต้องคิดให้หนัก คือการ จ้างเชฟ เพราะตำแหน่งนี้คือ คนสำคัญที่จะสร้างมาตรฐาน ให้ร้านอาหาร มาดูกันดีกว่าว่า ก่อนจ้างเชฟเราต้องเช็คอะไรบ้าง

รู้เทคนิค คิดราคาขาย …ร้านไม่เสี่ยงขาดทุน

สำหรับเจ้าของร้านมือใหม่ มีหลายคนถามเข้ามาหลายเรื่องในการเริ่มต้นเปิดร้านอาหาร หรือเครื่องดื่ม ซึ่งหนึ่งในคำถามนั้นก็คือ การคิดราคาขาย ต้องคิดอย่างไร คำนวณจากอะไร ต้องเริ่มอย่างไรดี วันนี้เรามีเทคนิคการ คิดราคาขาย ให้กับร้าน ว่าต้องคำนวณจากอะไร และมีสูตรอย่างไรบ้าง สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนจะ คิดราคาขาย 1 เมนู 1. ต้นทุนอาหาร การตั้งราคาอาหารต่อ 1 เมนู ให้อยู่ประมาณ 3 เท่า ของต้นทุนทั้งหมด ทั้งวัตถุดิบ ค่าจัดส่ง ค่าน้ำ ค่าไฟ  เป็นวิธีที่ร้านส่วนมากนิยมใช้ แต่วิธีนี้อาจไม่ละเอียดและไม่แม่นยำมากพอ โดยเฉพาะต้นทุนวัตถุดิบที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ ค่าความสูญเสีย รวมถึงค่าวัตถุดิบที่ใช้งานจริง และในส่วนของ Yield (การหาค่าเฉลี่ยของวัตถุดิบ 1 หน่วยที่ผ่านการตัดตกแต่ง หรือหักส่วนที่สูญเสียออกเรียบร้อยแล้ว) ที่ร้านส่วนใหญ่มักไม่ได้นำมาคำนวณด้วย   2. คู่แข่ง กลยุทธ์การตั้งราคา โดยดูจากคู่แข่งของร้านอาหารประเภทเดียวกันกับคุณ จะช่วยคาดเดาได้ว่า ลูกค้ามีกำลังพร้อมจ่ายอยู่ที่เท่าไหร่ แต่โดยส่วนมากจะนำมาใช้กับร้านอาหารที่สามารถแข่งขันด้านราคาได้โดยไม่กระทบต่อต้นทุนวัตถุดิบ และคุณภาพที่ลูกค้าจะได้รับ เช่น ร้านอาหารบุฟเฟต์ ร้านอาหารตามสั่งที่มีเมนูไม่มาก การตั้งราคาโดยคำนึงถึงคู่แข่งจึงต้องทำร่วมกับการคำนวณต้นทุนด้านอื่น ๆ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.