เทคนิค หาพนักงานร้านอาหาร ชั้นเซียน ก่อนเปิดร้าน! - Amarin Academy

เทคนิค หาพนักงานร้านอาหาร ชั้นเซียน ก่อนเปิดร้าน!

หาพนักงานร้านอาหาร จนท้อ แถมทำงานได้ไม่ถึงเดือนก็ลาออก ต้องหาพนักงานมาแทนกันให้วุ่น ลดปัญหาน่าปวดหัวเรื่องพนักงาน ด้วยเทคนิคการหาคนให้ตรงใจตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อลดผลกระทบที่เกิดกับร้านของคุณให้มากที่สุดกันดีกว่า

 

เทคนิค หาพนักงานร้านอาหาร ก่อนเปิดร้าน!

WHAT  หาอะไร

ประเภทของร้านอาหารแต่ละแบบ ต้องการพนักงานที่ต่างประสบการณ์กัน  รวมถึงจำนวนที่เหมาะสมก็ต่างกันด้วย เพื่อให้สอดคล้องกับการวางโครงสร้างต้นทุนร้านอาหารที่เหมาะสม ทีมงานร้านอาหารแบ่งเป็น 2 ทีมงานหลัก ๆ  คือ ทีมงานหลังบ้าน เช่น เชฟ ผู้ช่วยเชฟ คนปรุงอาหาร คนแพ็คอาหาร พนักงานล้างจาน และทีมงานหน้าบ้าน เช่น  ผู้จัดการร้าน ผู้ช่วยผู้จัดการ พนักงานต้อนรับ แคชเชียร์พนักงานรับออร์เดอร์  ซึ่งแต่ละตำแหน่งมีหน้าที่การทำงานที่ชัดเจน จำนวนการจ้างงานก็ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของร้าน เช่น ถ้าคุณทำร้านอาหาร Quick Service  เน้นพนักงานแคชเชียร์รับ Order ลูกค้า ไม่ต้องจ้าง Food Runner  ก็ได้  หรือร้านขนาดเล็ก ผู้จัดการคนเดียว โดยไม่ต้องมีผู้ช่วยก็สามารถดำเนินงานได้

Tips : ต้นทุนแรงงานเป็น Fix Cost ไม่ควรเกิน 20 % ของต้นทุนทั้งหมด และอย่าลืมกำหนดต้นทุนพนักงานพาร์ทไทม์ไว้ในโครงสร้างต้นทุนด้วย เพื่อให้แผนการคืนทุนร้านอาหารมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

WHERE หาที่ไหน

            แต่ก่อนเจ้าของร้านอาหารมักใช้วิธีติดสื่อหน้าร้าน หรือกรณีเช่าพื้นที่ห้าง อาจใช้พื้นที่ส่วนกลาง แต่อาจไม่มีประสิทธิภาพในยุคปัจจุบัน พนักงานส่วนครัวเชฟ มักจะหาลูกทีมมาด้วยอยู่แล้ว แต่สำหรับพนักงานหน้าร้านปัจจุบันสามารถใช้ช่องทางออนไลน์ให้เป็นประโยชน์ โดยการเข้ากลุ่มคนหางานร้านอาหาร วิธีนี้จะทำให้เราเห็นข้อมูลค่าจ้างแรงงานด้วย  นอกจากนั้นอย่าลืมใช้ช่องทางสื่อโปรโมทเพจ เฟสบุ๊กของร้านเอง หรือสามารถใช้บริการจัดจ้างงาน ซึ่งก็ต้องเผื่อค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไว้ด้วย

Tips :  ลองใช้สื่อเฟสบุ๊คของตนเอง แล้วยิงแอดโฆษณาที่สามารถกำหนด Target ให้สอดคล้องกับความต้องการของคุณได้ เช่น เลือกกำหนดโลเคชั่น เพื่อสรรหาพนักงานที่อยู่ในโลเคชั่นร้าน ลดอัตราการมาสายของพนักงาน  

 

HOW หาอย่างไร

            ขั้นตอนสำคัญคือการสัมภาษณ์คน  ร้านอาหารเป็นธุรกิจขายบริการ เพราะฉะนั้นนอกจากประสบการณ์ ความสามารถการทำงานที่ตรงกับรูปแบบร้านอาหารของคุณแล้ว ทัศนคติของทีมงานก็สำคัญไม่แพ้กัน เจ้าของร้านควรให้ความสำคัญกับการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อวัดทัศนคติในการทำงานด้วย โดยอาจใช้วิธีสร้างบทบาทสมมติ กำหนดสถานการณ์ เพื่อดูวิธีการแก้ปัญหาก็ได้

Tips : การที่เจ้าของร้านเป็นคนสัมภาษณ์ผู้สมัครเอง จะทำให้ได้คุณสมบัติลูกจ้างตามที่ต้องการ แต่ถ้าไม่มีเวลามากพอสามารถให้ผู้จัดการร้านสัมภาษณ์แทนได้ โดยอาจเป็นการสัมภาษณ์ร่วมกันในช่วงแรกเพื่อให้ทราบถึงแนวทางในการคัดเลือกคนที่อยากได้ก่อน รวมถึงควรนัดคนสัมภาษณ์ให้มากกว่าจำนวนที่อยากได้ประมาณ 80% เพราะโดยธรรมชาติของธุรกิจนี้ ผู้สมัครมักจะเปลี่ยนใจไม่มาสัมภาษณ์ตามนัด ทำให้เสียเวลาได้

 

WHEN หาเมื่อไหร่

            ตำแหน่งที่ควรจะจ้างเป็นอันแรกคือ เชฟ   เพราะมีส่วนร่วมในการกำหนดคอนเซปต์อาหาร เชฟยังมีบทบาทในการเลือกอุปกรณ์ครัวที่ต้องใช้ ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์ที่ไม่ได้ใช้งาน การวางระบบครัว การใช้พื้นที่ที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์หรือจัดการพื้นที่ใช้งานที่ไม่เหมาะสมได้  ร้านควรจะสรรหาเชฟไม่น้อยกว่า 2 เดือน หลังจากนั้นถึงจะเป็นในส่วนของพนักงานร้านอาหาร ผู้จัดการร้าน พนักงานเสิร์ฟเพื่อเทรนการทำงาน และพนักงานส่วนอื่น ๆ สามารถจ้างได้ก่อนร้านเปิดเพียงไม่กี่วันก็ได้ เช่น พนักงานล้างจาน ขับรถ หรือพนักงานต้อนรับ เป็นต้น

Tips :  เลือกหัวหน้างานที่ดี เพื่อสามารถดูแลทีมงานให้กับคุณได้แทนคุณ และควรกำหนดให้มีการทำการ Test Run เพื่อทดสอบการทำงาน และแก้ไขจุดบกพร่องก่อนเปิดร้าน สัก 1 สัปดาห์

 

 WHO คนที่ใช่ รักษาอย่างไร

            คุณต้องใช้ระยะเวลาในการประเมินว่า คนที่มีอยู่เป็นคนที่ใช่หรือไม่ ร้านอาหารทั่วไปไม่ได้ประสบความสำเร็จจากการจ้างพนักงานชุดแรก อาจจะต้องเปลี่ยนทีมหลายครั้ง ซึ่งส่งผลต่อมาตรฐาน การบริหารการจัดการหน้าร้าน  ทั้งนี้ร้านสามารถแก้ไขปัญหานี้ด้วยการเทรนงาน และกำหนดการทำงานหน้าร้านให้มีระบบ เพื่อให้พนักงานชุดใหม่หรือพนักงานพาร์ทไทม์ สามารถเริ่มงานต่อโดยทันที เจ้าของร้านต้องดูแลพนักงานให้ดีเพื่อให้เขาสามารถดูแลลูกค้าของเราให้ดี โดยกำหนดแรงจูงใจในการผลักดันพนักงานเพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Tips  : รักษาระดับการบริการ ไปพร้อมกับการเพิ่มยอดขาย ด้วยการมีการปรับลดเงินเดือนตามความสามารถ ให้รางวัลโบนัสระยะสั้น รวมถึงการให้ส่วนแบ่งเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดที่ขึ้นหน้าร้าน เช่น ทุกยอดขายน้ำดื่มที่เพิ่มขึ้น 100 แก้ว พนักงานได้รับ 500 บาทเป็นต้น

 

เพราะคนคือหัวใจของร้านอาหาร การบริหารการจัดการร้านที่ดี คุณภาพของอาหารและบริการ ขึ้นอยู่กับพนักงานทั้งหลังบ้านและหน้าบ้านทั้งสิ้น คนจึงเป็นหัวใจของร้านอาหาร ร้านของคุณจะทำกำไรหรือขาดทุนก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณให้ความสำคัญ และมีกึ๋นแค่ไหนในการบริหารงาน และบริหารคน

 


 

                     การทำร้านอาหาร ยังมีอีกหลายเรื่องราว หลายขั้นตอนที่เจ้าของร้านควรรู้ ดังนั้น ไม่ควรพลาดอย่างยิ่ง กับงานใหญ่ส่งท้ายปี  Amarin Academy 3rd Anniversary : Food Trend Connect  งานครบรอบ 3 ปีของ Amarin Academy กับการรวมตัวของเหล่าผู้ประกอบการร้านอาหารกว่า 150 ร้าน พร้อมโอกาสการสร้าง Connection กับร้านชื่อดังต่างๆมากมาย อีกทั้งยังรวบรวมผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายแขนงที่จะมาอัพเดทเทรนด์ตลอดทั้งปี ไม่ว่าจะเป็น วิเคราะห์พฤติกรรมการบริโภคของลูกค้า / งานดีไซน์ร้านสุดเจ๋ง / กลยุทธ์เรียกลูกค้าเข้าร้านสไตส์ Influencer ชื่อดัง ปิดท้ายด้วยปาร์ตี้สุดเอ็กซ์คลูซีฟ ร่วมพูดคุยกับเหล่ากูรูและเจ้าของร้านผู้มากประสบการณ์ในบรรยากาศเป็นกันเอง ซึ่งงานจะจัดขึ้นในวันอังคารที่ 17 ธันวาคม 2562

 

สมัครเข้าร่วมงาน Amarin Academy 3rd Anniversary : Food Trend Connect  คลิก!!

Amarin Academy

 

เรื่องแนะนำ

หุ้นกับเพื่อนเปิดร้านอาหารดี….แต่ต้องคุยเรื่องนี้กันก่อน

คนที่มีความฝันเหมือนกัน ตกลงจับมือร่วมกันทำธุรกิจร้านอาหาร แต่เมื่อลงขันร่วมกันแล้ว กลับขัดแย้งกันในทุกเรื่อง ก็ไม่สามารถทำร้านอาหารให้ประสบความสำเร็จได้   เมื่อต้องลงเรือลำเดียวกัน เป้าหมายในการทำร้านอาหาร และทัศนคติในการทำธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทำความรู้จักหุ้นส่วนให้มากพอ นอกจากนี้การเลือกหุ้นส่วนที่มีความถนัดที่แตกต่างกันจะช่วยส่งเสริมในส่วนที่อีกฝ่ายหนึ่งขาด และควรมอบสิทธิ์ขาดในการตัดสินใจในเรื่องที่แต่ละคนถนัดดูแล ก็เป็นอีกแนวทางในการสรุปข้อขัดแย้งที่เกิดจากการคิดเห็นที่ไม่ตรงกันได้   ลงทุนกับลงแรง การลงทุนทำร้านอาหารกับเพื่อนมักเป็นลักษณะลงทั้งทุนและแรงด้วยกัน เมื่อมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดต้องทำมากกว่า หรือได้รับค่าตอบแทนน้อยกว่า จะนำไปสู่ข้อขัดแย้งได้มากที่สุด เพราะฉะนั้นต้องแบ่งเรื่องงานและเรื่องเงินให้ลงตัว ถ้าลงแรงด้วยควรกำหนดค่าตอบแทนเงินเดือนให้อยู่ในค่าใช้จ่าย ในขณะเดียวกันควรมีระบบตรวจสอบที่โปร่งใส และสัดส่วนต้องเป็นไปตามเงินลงทุนตามหุ้นที่กำหนดไว้ตั้งแต่แรก   ไม่มีสัญญาใจ ในโลกของการทำธุรกิจ อย่าทำสัญญาปากเปล่าแม้ว่าจะเป็นเพื่อนสนิทหรือคนรัก ถึงจะเป็นแค่ร้านอาหาร หรือร้านกาแฟเล็ก ๆ ที่เริ่มต้นลงทุนไม่กี่บาทก็ตาม การเขียนข้อสัญญาร่วมกันมีผลทางด้านกฎหมาย ซึ่งจะต้องกำหนดบทบาทหน้าที่รับผิดชอบ เงินลงทุน จำนวนหุ้น  การคิดเงินปันผลและระยะเวลาในการคืนผลกำไร ยังเป็นหลักฐานการจ่ายเงิน ที่ยืนยันการร่วมลงทุนระหว่างคุณและหุ้นส่วน ซึ่งหากสุดท้ายเกิดปัญหาจนไปต่อไม่ได้ ข้อกำหนดที่ทำร่วมกันยังเป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายในการหาข้อสรุปข้อขัดแย้งร่วมกันด้วย   อย่าอะไรก็ได้….แผนธุรกิจต้องชัดเจน ช่วงเริ่มต้นอะไรก็ดี เพราะไม่มีใครมองเห็นถึงปัญหา และมักจะตกม้าตายด้วยความคิดที่ว่าคนกันเองไม่โกงแน่นอน แผนธุรกิจจะช่วยให้การทำกิจการร้านอาหารเป็นไปอย่างมีทิศทาง ทั้งงบประมาณในการลงทุน การทำการตลาด การพัฒนาสินค้าและบริการ เป้าหมายธุรกิจ รวมถึงระยะเวลาในการลงทุนเพิ่ม ควรเลือกที่จะทะเลาะกันตั้งแต่มันอยู่ในกระดาษ ก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติงานจริงที่เป็นการตกลงแล้วของทุกฝ่ายเท่านั้น    อย่ามองข้าม…เรื่องเล็กที่กลายเป็นเรื่องใหญ่ ไม่ใช่เพียงแค่ผลประโยชน์ที่ทำให้หุ้นส่วนร้านขัดแย้งกันเสมอไป […]

กรณีศึกษา แค่การสั่งเมนู อาจทำให้ลูกค้ารู้สึก “เสียหน้า” เพราะความเข้าใจไม่ตรงกันกับร้าน

กรณีศึกษา แค่การสั่งเมนู อาจทำให้ลูกค้ารู้สึก “เสียหน้า” เพราะความเข้าใจไม่ตรงกันกับร้าน แชร์ประสบการณ์โดยสมาชิกกลุ่ม “คนบ้ากาแฟ” พร้อมรวมคำแนะนำต่าง ๆ ที่น่าสนใจ แอดได้ไปเจอ Topic หนึ่งในกลุ่ม “คนบ้ากาแฟ” แล้วเห็นว่าน่าสนใจมาก ๆ นั่นก็คือเรื่อง ความเข้าใจของลูกค้า กับคนขายกาแฟ ที่บางครั้งอาจจะต่างกัน ทำให้เกิดความสับสนหรือเข้าใจผิด นำไปสู่การทำเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แบบที่ลูกค้าสั่ง หรือไม่ตรงกับที่ลูกค้าอยากได้ แต่เจ้าของร้านจะสื่อสารอย่างไร ไม่ให้ลูกค้ารู้สึก “เสียหน้า” ล่ะ ? ซึ่งสำหรับปัญหาความเข้าใจของลูกค้ากับคนขายกาแฟที่บางครั้งอาจจะต่างกันนั้น ได้มีผู้ประกอบการร้านกาแฟท่านหนึ่งได้มาแสดงความคิดเห็นเชิงแนะนำได้อย่างน่าสนใจว่า “ความเข้าใจของลูกค้ากับคนขายกาแฟมักจะต่างกัน แต่หากลูกค้าเอื้อนเอ่ยออเดอร์ใด ที่เราคิดว่าชื่อไม่ถูก เราแค่ทวนออเดอร์และส่วนผสมก็พอ อย่าทำให้ลูกค้ารู้สึกเสียหน้า ลูกค้าบางท่านอาจจำชื่อมาแค่นั้น หรือไม่ได้เข้าร้านกาแฟบ่อยๆ และเขาไม่ต้องการให้เราสอนเขา 1.ถ้าลูกค้าสั่งเครื่องดื่มไม่หวาน เราแค่ทวนว่าไม่หวานเลยหรือใส่นิดหน่อย 2.ถ้าลูกค้าสั่งเอสเพรสโซ่ร้อนใส่น้ำเยอะ ๆ ถ้าเขาไม่ได้เรียกอเมริกาโน่ ก็ไม่เป็นไร ทำให้เขานะ มันเหมือนกัน 3.คาปูชิโน่ไม่ใส่ฟองนม ไม่ใส่ช็อคโกเลต ก็แค่ตอบว่า ค่ะ แล้วถามว่า “หวานปกติไหมคะ” ตอนวัยรุ่นเคยสั่งชาเขียวปั่นร้านหนึ่ง เขาบอกไม่มีค่ะ มีแต่ […]

เทคนิค ปรับร้านรับปีใหม่ เปรี้ยงกว่าเดิมชัวร์

ปีใหม่ทั้งที ร้านอาหารของเราจะทำเหมือนปีที่ผ่านมาได้อย่างไร วันนี้จึงขอแนะนำเทคนิค ปรับร้านรับปีใหม่ เพื่อที่ร้านของเราจะได้ยอดพุ่ง กำไรกระฉูดตลอดทั้งปี

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.