หลักการ บริหารร้านอาหารกับหุ้นส่วน - Amarin Academy

หลักการ บริหารร้านอาหารกับหุ้นส่วน

หลักการ บริหารร้านอาหารกับหุ้นส่วน

ทุกวันนี้มีคนสนใจหันมาลงทุนทำร้านอาหารมากขึ้น ซึ่งหลายคนเลือกเปิดร้านอาหารร่วมกับคนรู้จักหรือเพื่อนๆ จะได้ร่วมกันคิด ตัดสินใจ และกระจายความเสี่ยงในการทำธุรกิจ แต่การจะเริ่มทำธุรกิจร้านอาหารกับใครนั้น ควรมีหลักการบริหารที่ชัดเจน ไม่อย่างนั้นอาจเกิดปัญหาตามมาได้ วันนี้เราจึงมีหลักการ บริหารร้านอาหารกับหุ้นส่วน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหามาฝาก

1.คุยให้เคลียร์ ก่อนลงมือทำ

สาเหตุหลักที่เจ้าของร้านอาหารส่วนใหญ่มีปัญหากับหุ้นส่วนนั้น มักมาจากเรื่อง “การสื่อสาร” ไม่ว่าจะเป็นลงมือทำโดยไม่บอก หรือสื่อสารกันไม่เข้าใจ คนนึงเข้าใจว่าจะทำอย่างนี้ แต่อีกคนเข้าใจว่าอย่างนั้น ทำให้เกิดปัญหาตามมา

ฉะนั้นก่อนจะลงมือทำสิ่งใดก็ตามคุณควรต้องพูดคุย ปรึกษากันเสมอ ไม่ว่าเรื่องนั้นจะเป็นเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ (บางร้านแค่เรื่องการเลือกซื้อถ้วย ชาม ก็ทำให้หุ้นส่วนมีปัญหากันมาแล้ว) และเมื่อคุยกันแล้วก็ควรมีการสรุปประเด็นที่คุยให้เคลียร์ทุกครั้ง เพื่อป้องกันปัญหาด้านการสื่อสารผิดพลาด

2.แบ่งหน้าที่ให้ชัดเจน

อีกข้อที่ควรทำก่อนจะร่วมมือ (และลงเงิน) ทำร้านอาหารคือ ต้องแบ่งหน้าที่กันให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการทำงานที่ทับซ้อน ก้าวก่ายหน้าที่ซึ่งกันและกัน หรือปัญหาที่ว่า งานนี้ไม่มีใครเป็นผู้รับผิดชอบ ร้านอาหารที่ประสบความสำเร็จหลายๆ ร้าน มักใช้วิธีการแบ่งหน้าที่ตามความถนัด เช่น A ดูแลเรื่องการสร้างแบรนด์และการทำการตลาด B ดูแลเรื่องระบบภายในร้าน งานครัว C ดูแลเรื่องการเงิน เอกสารและงานบุคคล เป็นต้น การทำเช่นนี้นอกจากป้องกันปัญหาที่กล่าวไปข้างต้นได้แล้ว ยังทำให้พนักงานภายในร้านไม่สับสน เพราะหากไม่แบ่งหน้าที่ให้ชัด เจ้าของร้านคนนั้นเดินมาสั่งที อีกคนเดินมาสั่งที พนักงานก็ไม่รู้จะทำตามคนไหนกันแน่

3.มีปัญหาต้องรีบเคลียร์

ไม่มีธุรกิจไหนที่ไม่เจอปัญหา ร้านอาหารก็เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องระบบงาน การบริการ พนักงาน คุณภาพอาหาร การจัดการวัตถุดิบ หรือแม้กระทั่งปัญหาระหว่างหุ้นส่วนด้วยกันเอง ที่อาจมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน เจ้าของธุรกิจควรจำไว้เสมอว่า เมื่อคุณเจอปัญหา ไม่ว่าจะเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ คุณต้องรีบแก้ไขโดยเร็วที่สุด ยิ่งเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับหุ้นส่วนด้วยแล้ว ยิ่งต้องรีบเคลียร์ เพราะถ้ามัวเกรงใจกัน คิดว่าเป็นปัญหาเล็กๆ น้อยๆ มองข้ามไปดีกว่า ปัญหาเหล่านั้นอาจลุกลามจนกลายเป็นปัญหาใหญ่ได้

4.รายงานการทำงานอย่างสม่ำเสมอ

การบอกให้หุ้นส่วนรู้ว่างานในส่วนของเราดำเนินไปถึงไหนแล้วเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม (หลายๆ ธุรกิจมีปัญหากันเพราะเรื่องนี้แหละ) เพราะเมื่อแบ่งหน้าที่กันชัดเจน ต่างฝ่ายต่างลงมือทำงานกัน อาจจะไม่มีเวลามานั่งดูว่า งานของอีกคนไปถึงไหนบ้าง ติดขัดอะไรหรือเปล่า หรือเป็นไปตามแผนที่วางไว้ไหม สุดท้ายเมื่อผลงานไม่ได้ตามที่ตกลงกันไว้ (อาจเพราะเงื่อนไขต่างๆ)  หุ้นส่วนอีกคนอาจไม่เข้าใจว่าเพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น จนทำให้เกิดความขัดแย้งตามมาได้

5.เรื่องเงินต้องชัดเจน

เงินทองไม่เข้าใครออกใคร ไม่ว่าสนิทกันแค่ไหนก็ต้องคุยเรื่องเงินให้ชัดเจนว่าจะกำหนดสัดส่วนการลงทุนแต่ละส่วนเท่าไร และเมื่อธุรกิจมีผลกำไรจะแบ่งผลกำไรนั้นอย่างไร เพราะหากไม่มีการคุยกันเรื่องนี้ให้เรียบร้อยตั้งแต่ต้น ย่อมส่งผลเสียตามมาแน่นอน จนอาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของคุณ “ไม่ได้ไปต่อ” ก็ได้

6.งานส่วนงาน เพื่อนส่วนเพื่อน

ส่วนใหญ่คนที่ทำธุรกิจร่วมกัน มักเป็นเพื่อนกันมาก่อน ข้อดีคือไม่ต้องปรับจูนทัศนคติ ความคิดกันมากนัก เพราะสนิทสนม รู้จักและรู้ใจกันอยู่แล้ว แต่ปัญหาที่ตามมาคือ ผู้ประกอบการหลายคนมักไม่แบ่งแยกความสัมพันธ์ระหว่าง “เพื่อน” กับ “เพื่อนร่วมงาน” เช่น เวลานัดประชุม ไม่รักษาเวลา เพราะคิดว่าเพื่อนรอได้ หรือใช้อารมณ์ในการทำงานมากกว่าเหตุผล ซึ่งถ้าเกิดเหตุการณ์นี้ครั้งสองครั้งอาจไม่มีปัญหา แต่ถ้าเกิดขึ้นบ่อยๆ จากเพื่อนรักที่หวังจะร่วมสร้างธุรกิจด้วยกัน อาจกลายเป็นคนไม่รู้จัก มองหน้ากันไม่ติดก็มี ฉะนั้นเรื่องงานกับเรื่องส่วนตัว ต้องแบ่งแยกให้ชัดเจน

นี่คือหลักการเบื้องต้นในการทำธุรกิจร่วมกับหุ้นส่วน หลายคนอ่านแล้วอาจกังวลว่าทำไมปัญหามันเยอะเหลือเกิน จนคิดว่าอย่างนั้นลงทุนเองดีว่า แต่จริงๆ แล้ว ถ้าคุณมีการวางแผนที่ดี คุยและเคลียร์ให้ชัดตั้งแต่ต้น ก็ไม่ต้องกลัวปัญหาเหล่านี้เลย

เรื่องแนะนำ

เจ้าของร้านจิวเวลรี่แชร์ ทำอาหารต้องถอดเครื่องประดับ! แหล่งสะสมเชื้อโรค มาตรฐานที่คนทำอาหารควรให้ความสำคัญ

ถอดบทเรียน เจ้าของร้านจิวเวลรี่แชร์ ทำอาหารอย่าลืมถอดเครื่องประดับ! เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคชั้นดี มาตรฐานความปลอดภัย ที่คนทำอาหารควรให้ความสำคัญ เวลาทำอาหารอย่าลืมถอดเครื่องประดับ!!! รู้หรือไม่ว่าเครื่องประดับที่เราใส่ ๆ กันอยู่ทุกวันเนี่ย เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคชั้นดีเลยนะ วันก่อนแอดได้เห็นโพสต์ที่เจ้าของร้านจิวเวลรีคนหนึ่งได้มาแชร์เป็นอุทาหรณ์ให้กับสมาชิกในกลุ่ม “เบเกอรี่พอเพียง” ถึงเรื่องการใส่เครื่องประดับทำขนมว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ โดยเฉพาะการใส่แหวน เพราะว่ามันสกปรกมาก อีกทั้งยังได้ส่งผลต่อภาพลักษณ์เรื่องความสะอาดของอาหารและร้านนั้น ๆ ด้วย 🔸แหล่งสะสมเชื้อโรค🤢 เจ้าของร้านจิวเวลรี่รายนี้ได้โพสต์ถึงประเด็นนี้ว่า “ว่ากันด้วยเรื่องของการใส่แหวนในการทำเบเกอรี่ ในฐานะของเจ้าของร้านจิวเวลรี่ อยากจะบอกทุกคนว่าให้ถอดก่อนทำเถอะค่ะ เพราะแหวนที่เราเห็นว่าสวยวิบวับเนี่ย ด้านในท้องแหวนหรือตามซอกเตยที่เกาะเพชร มันสกปรกมากเลยนะคะ เวลาเห็นคนที่ไลฟ์สดหรืออาจารย์ที่สอนตามคอร์สออนไลน์ใส่แหวนทำแล้วนี่รู้สึกไม่ดีทุกครั้ง เพราะเจอเวลาลูกค้าส่งแหวนมาทำความสะอาด มันไม่โอเคจริงๆ ค่ะ แล้วถ้าแม่ค้าใส่แหวนด้วยความเคยชินไม่ได้ถอด นึกภาพกันออกมั้ยคะว่าเรากำลังกินเชื้อโรคและสิ่งสกปรกเข้าไปอยู่ แม้มันจะผ่านความร้อนแล้วก็ตาม” พร้อมเสริมว่า “การทำความสะอาดแหวนทุกวันไม่ได้การันตีว่าแหวนเราจะสะอาดหมดจด เพราะตามซอกหลืบเล็กที่แปรงเข้าไม่ถึงยังมีเชื้อโรคที่สะสมอยู่ต้องทำความสะอาดด้วยเครื่องอัลตร้าโซนิค เครื่องใหญ่แบบที่ใช้ในโรงงานเท่านั้น ถึงจะสะอาดจริง ๆ ซึ่งเธอยังได้บอกอีกว่าการมาโพสต์ในครั้งนี้ไม่ได้มีเจตนาโจมตีใคร หากทำให้ท่านใดรู้สึกเห็นต่าง หรือไม่พอใจก็ขออภัย ณ ที่นี้ด้วย 🔸ความเห็นจากชาวเน็ต💬 เมื่อเรื่องนี้ออกไปก็ได้มีสมาชิกกลุ่มเบเกอรี่พอเพียงทั้งคนขายและลูกค้าต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องนี้ โดยส่วนใหญ่เห็นด้วยกับเจ้าของโพสต์ว่าการใส่เครื่องประดับทำอาหารเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ ซึ่งคนทำเบเกอรีหลายคนก็ได้บอกว่าตั้งแต่ทำขนมขายก็ไม่ได้ใส่เครื่องประดับเลย ด้วยเหตุผลต่าง ๆ เช่น ความถนัด ความสะอาด เป็นต้น […]

5 บริการสุดห่วย ที่ทำให้ลูกค้าไม่อยากมาร้านของคุณ

1.การบริการที่ทำให้รู้สึกเหมือน ‘ไม่มีตัวตน’ หนึ่งในประสบการณ์ที่ลูกค้าร้านอาหารยอมรับว่าทำให้รู้สึกแย่ ก็คือ การที่พนักงานของร้านไม่ให้ความสนใจในการบริการโดยเฉพาะอย่างยิ่งการกล่าวต้อนรับ ลองจินตนาการระหว่างร้าน A : ซึ่งมีพนักงานต้อนรับกล่าวคำทักทาย และจัดการที่นั่งอย่างรวดเร็ว กับร้าน B: ที่ปล่อยให้ลูกค้ายืนรอ ไม่กล่าวคำทักทาย จนคุณต้องเดินเข้าไปหาที่นั่งเอง ร้านไหนที่คุณอยากเดินเข้าไปกินมากกว่ากัน การทักทายนั้นมีความสำคัญมากและเป็นด่านแรกในการสร้างความประทับใจ ซึ่งถ้าหากลูกค้ารู้สึกไม่ดีตั้งแต่เริ่มต้นก็มีแนวโน้มที่จะไม่พอใจในเรื่องอื่น ๆ ด้วย   2.พนักงานดูแลเหมือนเพื่อนสนิท…… จนเกินไป           บริการดุจญาติมิตรนั้นอาจดีสำหรับธุรกิจบางประเภท แต่การบริการสำหรับธุรกิจร้านอาหารนั้นลูกค้าส่วนใหญ่มักต้องการเวลาส่วนตัว การที่พนักงานคุยเล่นกันข้ามหัวลูกค้า หรือใช้คำพูดในการบริการที่แสดงความเป็นกันเองกับลูกค้ามากจนเกินไป นอกจากจะทำให้ลูกค้ารู้สึกตะขิดตะขวงใจ ยังแสดงถึงความไม่เป็นมืออาชีพในการให้บริการอีกด้วย     3.พนักงานไม่แม่นข้อมูลอาหาร และการบริการ           ร้านอาหารอร่อยขายได้ แต่ร้านอาหารอร่อยที่ขายดีอยู่ที่พนักงานให้บริการและให้คำแนะนำเมนูต่าง ๆ ได้อย่างมืออาชีพ ลองจินตนการว่า การที่ลูกค้ามีคำถามแล้วพนักงานเสิร์ฟต้องวิ่งไปถามพ่อครัว ถามผู้จัดการ นอกจากจะทำให้การบริการสะดุดแล้ว ลูกค้าย่อมรู้สึกถึงความไม่พร้อมในการให้บริการ หากพนักงานบริการได้อย่างเป็นลำดับขั้นตอน รู้จังหวะในการเข้าถึงลูกค้า การแนะนำเมนูที่เหมาะสมได้อย่างลื่นไหล สิ่งเหล่านี้จะสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้อย่างแน่นอน   4.การบริการที่สร้างความลำบากให้แก่ลูกค้า           ในยุคนี้การอำนวยความสะดวกสำคัญไม่แพ้รสชาติอาหาร เพราะเมื่อไหร่ที่ลูกค้ารู้สึกถึงความยุ่งยากในการบริการจากร้านของคุณ เขาจะตัดสินใจไปร้านอื่นทันที ยกตัวอย่างเช่น […]

บอนชอน

ไขสูตรลับธุรกิจดัง บอนชอน ขายไก่ยังไงให้ได้ 1000 ล้าน!

เพราะอะไรบอนชอนถึงเข้ามาชิงส่วนแบ่งการตลาดของแบรนด์ไก่ทอดชื่อดังอย่าง KFC ได้ แถมยังจุดกระแสให้ทั้งวัยรุ่นและวัยทำงานยอมต่อแถวรอคิวเข้าร้านเป็นชั่วโมง!

การจัดเก็บวัตถุดิบ

เทคนิค การจัดเก็บวัตถุดิบ สำหรับร้านอาหาร เพื่อลดการเสียต้นทุน

         ในช่วงวิกฤตนี้ ประชาชนส่วนใหญ่เลือกที่จะซื้ออาหารและวัตถุดิบต่างๆ ตุนเอาไว้ ส่วนร้านอาหารต่างๆ ก็เน้นการขายแบบเดลิเวอรี่เพิ่มขึ้น ทำให้มีต้องมีการซื้อวัตถุดิบเพื่อรองรับการสั่งซื้อมากขึ้นเช่นกัน ดังนั้น การจัดเก็บวัตถุดิบ จึงเป็นเรื่องที่ทุกคนควรใส่ใจ เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา คงคุณภาพของอาหาร และลดการสูญเสียต้นทุนวัตถุดิบให้น้อยที่สุด           ในส่วนของผู้ประกอบการร้านอาหารควรยึดหลัก First In First Out (FIFO) หรือการใช้วัตถุดิบที่หมดอายุก่อน นอกจากนี้ วัตถุดิบแต่ละประเภทยังมีเทคนิคในการเก็บรักษาที่แตกต่างกันไป บทความนี้จึงขอรวมเทคนิคการยืดอายุวัตถุดิบอาหาร ให้สามารถเก็บได้นานที่สุด  เทคนิค การจัดเก็บวัตถุดิบ สำหรับร้านอาหาร เพื่อลดการเสียต้นทุน   เนื้อสัตว์           วัตถุดิบประเภทเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ ควรจะทำความสะอาด ตัดแต่งเนื้อตามลักษณะที่ต้องการ ซับให้แห้ง หลังจากนั้นอาจจะนำไปหมักกับเครื่องปรุง แล้วแบ่งเป็นสัดส่วนสำหรับใช้ในแต่ละครั้ง บรรจุใส่กล่องสำหรับแช่แข็ง หรือใส่ในถุงซิปล็อคแล้วกดให้แบน เพื่อให้ความเย็นเข้าถึงทั่วกันและจัดเก็บง่าย หรือจะห่อด้วยพลาสติกห่ออาหารก็ได้ หลังจากนั้นจึงนำไปแช่ในช่องแช่แข็ง […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.