5 สิ่งที่ร้านอาหารต้องปรับ เมื่อเริ่มทำ Food delivery - Amarin Academy

5 สิ่งที่ร้านอาหารต้องปรับ เมื่อเริ่มทำ Food delivery

5 สิ่งที่ร้านอาหารต้องปรับ เมื่อเริ่มทำ Food delivery

ทุกวันนี้มีบริษัทรับขนส่งสินค้าและอาหารเกิดขึ้นมากมาย ทั้ง Lineman Lalamove food panda Uber eats ฯลฯ กลายเป็นโอกาสทองของธุรกิจร้านอาหาร ที่สามารถต่อยอดเป็นบริการ Food Delivery ส่งอาหารตรงถึงที่ให้ผู้บริโภค แต่ปัญหาสำคัญคือ ร้านอาหารหลายๆ ร้านไม่รู้จะเริ่มปรับจากจุดไหน เพื่อให้ไม่กระทบต่อยอดขายหน้าร้าน วันนี้เรามีเทคนิคดีๆ มาฝากครับ

1.ปรับระบบคิว

เมื่อช่องทางการขายเพิ่มขึ้นเป็น 2 ทาง ร้านอาหารส่วนใหญ่ก็มักปรับระบบคิว โดยแยกคิวเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนลูกค้าหน้าร้าน และส่วนลูกค้า Delivery และสลับกันรับออร์เดอร์ เพราะร้านอาหารส่วนใหญ่ที่ไม่แยกคิว มักประสบปัญหาคือ ลูกค้านั่งรอเต็มร้าน แต่เสิร์ฟไม่ได้ซักที เพราะมัวแต่ทำอาหารให้ลูกค้าที่สั่งซื้อกลับบ้าน ลูกค้าในร้านย่อมไม่พอใจ Turn over ก็ลดลง (เพราะลูกค้าต้องนั่งรออาหารในร้านนานขึ้น) ดังนั้นถ้าอยากเพิ่มบริการ Delivery ต้องปรับระบบคิวด้วย

2.ปรับระบบครัว

หลังจากปรับระบบคิวแล้ว ระบบครัวก็ต้องปรับ โดยต้องแยกให้เห็นชัดเจนว่า ออร์เดอร์ไหนเป็นของลูกค้าหน้าร้าน และออร์ไหนเป็นการสั่งกลับบ้าน เพราะไม่อย่างนั้นหากทำผิด นำอาหารใส่กล่อง แทนการใส่จาน ก็ยิ่งเสียเวลาและสิ้นเปลืองต้นทุนเข้าไปใหญ่ และหากมีลูกค้า Delivery มากจริงๆ ก็ควรแยกครัวกันทำงาน เพราะการเสิร์ฟในร้านกับการห่อกลับบ้าน มีรายละเอียดการทำงานต่างกัน ฉะนั้นเพื่อให้การทำงานราบรื่นขึ้น แยกฝ่ายกันทำน่าจะดีที่สุด

3.ปรับเทคโนโลยี

ร้านอาหารสามารถรับออร์เดอร์ Delivery ได้หลากหลายช่องทาง ทั้งจากสื่อกลางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Lineman Wongnai Uber eats ที่รับสั่งอาหารออนไลน์ หรือการรับออร์เดอร์โดยตรงจากลูกค้า จริงๆ แล้วทั้งสองช่องทางสามารถเพิ่มรายได้ที่ดีทั้งคู่ แต่การรับออร์เดอร์จากสื่อกลางจะมีระบบที่ชัดเจนและแม่นยำมากกว่า ไม่ต้องกลัวข้อผิดพลาด ไม่ว่าจะเป็นการจดออร์เดอร์ผิด หรือตกหล่น แถมร้านอาหารไม่ต้องเสียกำลังคนในการรับโทรศัพท์ จดรายการอาหารหรือต้องจัดหารถเพื่อส่งสินค้าอีกด้วย ดังนั้นการประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้ารับออร์เดอร์ผ่านสื่อกลางก็เป็นทางเลือกที่ดีกว่า

4.ปรับหีบห่อ

หากอยากให้อาหารที่เราส่งถึงลูกค้าได้มาตรฐานเหมือนรับประทานที่ร้าน ก็ไม่ควรมองข้ามเรื่องหีบห่อ ร้านอาหารควรปรับปรุงให้เหมาะสมกับการขนส่ง เช่น เดิมอาจจะใส่กล่องโฟมหรือถุงพลาสติก ซึ่งกว่าที่อาหารของเราจะถึงมือลูกค้าอาจแตก บุบ รั่ว หรือหากคุณภาพของหับห่อไม่ดีพออาจทำให้คุณภาพอาหารลดลง ลูกค้าย่อมไม่ประทับใจแน่นอน ดังนั้นลองมองหาบรรจุภัณฑ์รูปแบบที่เหมาะสำหรับการบรรจุอาหารกลับบ้าน ซึ่งทุกวันนี้ก็มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ ราคาไม่สูงนัก แต่ช่วยสร้างมาตรฐานให้ร้านอาหารได้ดีทีเดียว

5.ปรับการขนส่ง

ข้อสุดท้าย คือเรื่องการขนส่ง ร้านอาหารบ้างร้านอาจใช้การขนส่งโดยการเรียกมอเตอร์ไซค์รับจ้างเป็นครั้งคราว หรือบางร้านที่มีลูกค้าสั่งอาหาร Delivery จำนวนมาก อาจจ้างพนักงานส่งอาหารโดยเฉพาะ ซึ่งการทำงานอาจไม่เป็นระบบเท่าที่ควร แถมยังเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างมาก แต่ปัจจุบันมีธุรกิจบริการรับส่งอาหารมากมาย ซึ่งร้านอาหารสามารถติดต่อเพื่อใช้บริการได้โดยตรง ซึ่งอัตราค่าขนส่งนั้นก็ขึ้นอยู่กับระยะทางและการตกลงกันระหว่างธุรกิจ

ร้านอาหารไหนอยากเพิ่มบริการ Delivery อย่าลืมทำตามคำแนะนำเหล่านี้นะครับ หวังว่าจะช่วยให้ธุรกิจของเพื่อนๆ มีประสิทธิภาพและมีมาตรฐานมากขึ้น

เรื่องแนะนำ

FIFO

FIFO เทคนิคการจัดเก็บวัตถุดิบร้านอาหาร ที่ช่วยลดต้นทุนได้

การทำร้านอาหารหนึ่งร้าน ไม่ใช่เรื่องเล็กๆเลยค่ะ เพราะคุณต้องรู้จักวิธีจัดการกับปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาหน้างาน หรือแม้แต่การหาวิธีป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น ไม่เว้นแม้แต่เรื่องในครัว เช่น การจัดการวัตถุดิบต่างๆ ถ้ารู้วิธีจัดการที่ถูกต้อง ก็สามารถช่วยลดต้นทุนให้กับร้านอาหารของคุณได้ด้วย ลองใช้เทคนิคจัดเก็บวัตถุดิบร้านอาหาร หรือ FIFO ดูค่ะ   FIFO เทคนิคการจัดเก็บวัตถุดิบร้านอาหาร อย่างที่กล่าวมาว่า ปัญหาเรื่องการจัดการวัตถุดิบในครัวนั้น เป็นปัญหาที่หลายร้านมักเจอ ไม่ว่าจะเป็น อาหารออกไม่ได้เพราะวัตถุดิบหมดสต๊อกแต่ไม่รู้, ลืมใช้วัตถุดิบจนหมดอายุ ทำให้สูญเสียวัตถุดิบโดยเปล่าประโยชน์, วัตถุดิบหาย และไม่มีใครรับผิดชอบ ซึ่งวัตถุดิบทุกอย่างล้วนเป็นต้นทุนร้านอาหารทั้งสิ้น หากเจ้าของร้านยังปล่อยให้เกิดปัญหาแบบนี้ไปเรื่อยๆ โดยไม่แก้ไข ร้านก็อาจจะถึงขั้นต้องปิดตัวลงได้ ดังนั้น จึงควรนำเทคนิค FIFO มาใช้เพื่อให้การจัดเก็บวัตถุดิบร้านอาหารมีประสิทธิภาพมากขึ้น   FIFO คือ? FIFO ย่อมาจาก First in First out หรือ “มาก่อน ใช้ก่อน” อธิบายง่ายๆ ก็คือ ถ้าวัตถุดิบใดมาส่งก่อน ก็หยิบใช้ก่อน เคล็ดลับง่ายๆ สำหรับการลดต้นทุนร้านอาหาร ซึ่งฟังดูเหมือนจะง่าย แต่บอกเลยว่าอาจจะทำได้ยากค่ะ   […]

ร้านอาหาร SME

วิกฤตระยะยาว ร้านอาหาร SME ต้องปรับตัวอย่างไร? 

         การแพร่ระบาดของไวรัส เป็นสาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจและการลงทุนทั่วโลกกระทบหนักอยู่ในขณะนี้ แน่นอนว่าร้านอาหารต้องเผชิญกับสภาพการแข่งขันในรูปแบบใหม่ และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป หากสถานการณ์นี้ยืดเยื้อต่อไป ผู้ประกอบการ ร้านอาหาร SME จำเป็นต้องหาแนวทางในการรับมือระยะยาวที่จะช่วยให้ธุรกิจไปต่อได้  วิกฤตร้านอาหาร ร้านอาหาร SME ปรับตัวอย่างไร?           ในทุกปัญหามีทางออก แม้ว่าธุรกิจอาหารในช่วงนี้จะไม่สามารถขายทางหน้าร้านได้มากนัก แต่ความต้องการของผู้บริโภคยังคงมีอยู่ ทางออกของการทำร้านอาหารจึงต้องเน้นการขายทางออนไลน์และส่งอาหารเดลิเวอรี่มากขึ้น รวมถึงการปรับตัวในรูปแบบอื่นๆ ได้แก่           ปัญหาที่ต้องแก้เร่งด่วน          ปัญหาที่ทุกร้านอาหารต้องเจอคือรายได้ที่ลดลง แต่ต้นทุนต่างๆ ยังคงต้องเสียอยู่เหมือนเดิม การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เจ้าของร้านควรทำ คือการจัดการต้นทุนต่างๆ ลองพิจารณาต้นทุนที่สามารถตัดได้ เช่น ลองเจรจาขอลดค่าเช่าร้าน ค่าเช่าอุปกรณ์ต่างๆ ค่าเช่าระบบ POS ในร้านอาหาร ค่าวัตถุดิบอาหาร ลดปริมาณหรือความถี่ในกิจกรรมต่างๆ ที่เคยจัด เช่น การทำความสะอาดร้าน การนัดกำจัดแมลง      […]

เทคนิค ปรับร้านรับปีใหม่ เปรี้ยงกว่าเดิมชัวร์

ปีใหม่ทั้งที ร้านอาหารของเราจะทำเหมือนปีที่ผ่านมาได้อย่างไร วันนี้จึงขอแนะนำเทคนิค ปรับร้านรับปีใหม่ เพื่อที่ร้านของเราจะได้ยอดพุ่ง กำไรกระฉูดตลอดทั้งปี

ต้นทุนแฝงร้านอาหาร โฟกัสให้ดี ถ้าไม่อยากผิดพลาด

กำไรที่เกิดขึ้นจากร้านอาหาร จะมากหรือน้อยไม่ได้อยู่ที่ยอดขายเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากความสามารถในการจัดการต้นทุนได้อย่างดีด้วย ต้นทุนที่เรากำหนดไว้อยู่แล้วไม่ว่าจะเป็น วัตถุดิบ ค่าเช่าสถานที่ ค่าบริหารจัดการ หรือต้นทุนทางการตลาดก็ตาม มักจะมี ต้นทุนแฝงร้านอาหาร ที่เกิดขึ้นด้วย หากไม่โฟกัสให้ดีก็ส่งผลให้ร้านสูญเสียค่าใช้จ่าย สูญเสียโอกาสทางธุรกิจโดยไม่จำเป็น    ต้นทุนแฝงร้านอาหาร โฟกัสให้ดี ถ้าไม่อยากผิดพลาด  ต้นทุนจากการสูญเสียวัตถุดิบ           ต้นทุนวัตถุดิบเป็นต้นทุนที่มากที่สุดของร้านอาหารที่เรียกว่า Prime Cost ซึ่งส่งผลต่อค่าใช้จ่ายของร้านมากที่สุด ต้นทุนวัตถุดิบจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของร้านอาหาร โดยเฉลี่ยร้านอาหารทั่วไปจะควบคุมต้นทุนให้ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อรวมกับต้นทุนแรงงานแล้วไม่ควรจะเกิน 45 – 60 % เพื่อควบคุมให้กำไรต่อเดือนเมื่อหักค่าใช้จ่ายภาษีและค่าเสื่อมแล้ว ไม่น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์           การควบคุมต้นทุนวัตถุดิบ อาจจะต้องวิเคราะห์ต้นทุนอาหารแต่ละเมนู ปริมาณการจัดเสิร์ฟ จัดการสต๊อกสินค้าให้ดี โดยเฉพาะการสั่งซื้อสินค้าจากซัพพลายเออร์แต่ละครั้ง ต้องดูความพร้อมในการจัดเก็บวัตถุดิบของร้านด้วย นอกจากวัตถุดิบเสียแล้วการจัดเก็บยังเป็นภาระต้นทุนแฝงที่เกิดขึ้น ซึ่งร้านอาหารใหม่ ๆ ส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักพฤติกรรมของลูกค้าเพียงพอจะสามารถคาดเดายอดขายได้   ต้นทุนค่าจ้างแรงงาน  ต้นทุนแรงงานเป็นต้นทุนที่อยู่ใน Prime Cost เช่นเดียวกัน กระทบต่อค่าใช้จ่ายเป็นอันดับรองลงมาจากต้นทุนวัตถุดิบ ซึ่งควรควบคุมให้ไม่เกิน […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.