MOU ปล่อยเงินกู้ให้ แฟรนไชส์ ใช้กิจการเป็นหลักประกันค้ำธุรกิจ - Amarin Academy

MOU ปล่อยเงินกู้ให้ แฟรนไชส์ ใช้กิจการเป็นหลักประกันค้ำธุรกิจ

MOU ปล่อยเงินกู้ให้ แฟรนไชส์ ใช้กิจการเป็นหลักประกันค้ำธุรกิจ

กระทรวงพาณิชย์ ลงนาม MOU ร่วมกับ SME Development Bank และธุรกิจแฟรนไชส์ปล่อยสินเชื่ออัดฉีดเงินลงทุนให้แฟรนไชส์ซอร์ขยายธุรกิจ และผลักดันคนรุ่นใหม่ Start Up เป็นผู้ประกอบการแฟรนไชส์ซีจับจ่ายซื้อธุรกิจได้อย่างมั่นใจ พร้อมคัดมาให้แล้วทั้งธุรกิจการศึกษา ค้าปลีก บริการ อาหารและเครื่องดื่ม รวม 12 ธุรกิจ อีกทั้งเปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของประเทศใช้ ‘กิจการค้ำเป็นหลักประกัน’ ตอบโจทย์ SMEs เข้าถึงเงินทุนได้ง่ายๆ ตามนโยบายยกระดับ Local Economy ในชุมชนต่างจังหวัด

เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2560 นางสาวบรรจงจิตต์ อังศุสิงห์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ และ นายมงคล  ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว. หรือ SME Development Bank) ร่วมเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือภายใต้ “โครงการสินเชื่อสนับสนุนธุรกิจท่องเที่ยวและผู้ประกอบการท่องเที่ยวชุมชน” ระหว่าง 3 หน่วยงาน ได้แก่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ธพว. และธุรกิจแฟรนไชส์ โดยมีวัตถุประสงค์หลักที่จะร่วมมือกันพัฒนาศักยภาพ SMEs ไทย ใน ‘ธุรกิจแฟรนไชส์’ ให้เข้าถึงเงินทุนเพื่อใช้หมุนเวียนในกิจการไม่ว่าจะเป็นการต่อยอดธุรกิจ การพัฒนาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมตลอดจนการส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์

การดำเนินงานภายใต้โครงการดังกล่าวในช่วงที่ผ่านมา ได้จัดตั้งคณะทำงานร่วมกันคัดเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่อยู่ในการส่งเสริมและพัฒนาของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อเป็นธุรกิจนำร่องสำหรับปล่อยสินเชื่อให้กับผู้สนใจลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchisee) โดยจะต้องเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchisor) ที่มีค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์และการลงทุนไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท และมีคุณสมบัติต่างๆ ตรงตามที่ SME Development Bank กำหนด โดยได้คัดเลือกแฟรนไชส์นำร่อง จำนวน 12 ราย แบ่งเป็น 4 ประเภทคือ

ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม 7 ธุรกิจได้แก่ N&B Pancake/ กาแฟดอยช้าง/ FUJIYAMA GOGO/ Billion Coffee/ ยูนนาน/แซ่บ Classic by ส.ขอนแก่น/ โชคดีติ่มซำ และ Hokkaido Milk

ธุรกิจบริการ 3 ธุรกิจ ได้แก่ OTTERI Wash & Dry/ โมลีแคร์ และ PD House

ธุรกิจการศึกษา 1 ธุรกิจได้แก่ โรงเรียนกวดวิชาและภาษาบ้านวิชากร

ธุรกิจค้าปลีก 1 ธุรกิจ ได้แก่ Teddy House

“ธุรกิจแฟรนไชส์ในข้างต้นได้ผ่านการพิจารณาแล้วว่าเป็นธุรกิจที่มีแผนธุรกิจชัดเจน และประสบผลสำเร็จในการดำเนินธุรกิจที่ผ่านมาเป็นอย่างดี ดังนั้นแฟรนไชส์ซีที่สนใจเลือกซื้อธุรกิจนี้จึงมั่นใจได้ว่าจะสามารถพาเงินทุนของท่านไปสู่ความสำเร็จได้ ลดความเสี่ยงในการลงทุนด้วยตนเอง และมีที่ปรึกษาช่วยวางแผนธุรกิจแบบมืออาชีพ และที่สำคัญจะได้รับการพิจารณาจากโครงการฯ ปล่อยสินเชื่อสำหรับนำมาลงทุนซื้อแฟรนไชส์ 12 ธุรกิจดังกล่าว โดยมีแผนการใช้ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ซื้อมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันซึ่งแฟรนไชส์

นับเป็นธุรกิจแรกที่จะใช้หลักประกันทางธุรกิจประเภทกิจการมาค้ำประกันสินเชื่อตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 นอกจากนี้ภายหลังการได้รับสินเชื่อแล้วกรมฯ และ SME Development Bank จะมีการประเมินติดตามการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และเป็นพี่เลี้ยงธุรกิจคอยให้คำปรึกษาทั้งด้านการเงิน การบัญชี และการขยายกิจการพร้อมเชื่อมโยงเครือข่ายให้เกิดความเข้มแข็งแก่ธุรกิจต่อไปและหลังจากนี้จะพิจารณาแฟรนไชส์ขนาดเล็ก เพื่อให้ผู้สนใจในระดับท้องถิ่นที่ต้องการมีอาชีพเป็นของตนเอง สามารถลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ได้อย่างมั่นใจและง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นการดันเศรษฐกิจฐานรากให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของไทยให้เติบโตแบบก้าวกระโดดด้วยโมเดลธุรกิจแฟรนไชส์” อธิบดี กล่าวทิ้งท้าย

นายมงคล ลีลาธรรม กล่าวว่า ธนาคารได้ออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อยกระดับผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ ภายใต้โครงการ “สินเชื่อเพื่อสนับสนุนธุรกิจท่องเที่ยวและผู้ประกอบการท่องเที่ยวชุมชน” วงเงิน 7,500 ล้านบาท  เพื่อสร้างโอกาสให้คนรุ่นใหม่ หรือกลุ่ม Start Up ที่ต้องการทำธุรกิจแฟรนไชส์ สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนนำไปเริ่มต้นธุรกิจในชุมชนแหล่งท่องเที่ยว หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (CIV) หรือภูมิลำเนา กระตุ้นให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ตามนโยบาย Local  Economy ของรัฐบาล

สำหรับสินเชื่อเพื่อสนับสนุนธุรกิจท่องเที่ยวและผู้ประกอบการท่องเที่ยวชุมชน ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา วงเงินสินเชื่อต่อรายไม่เกิน 2 ล้านบาท กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) วงเงินต่อรายไม่เกิน 5 ล้านบาท นิติบุคคลสูงสุดต่อรายไม่เกิน 15 ล้านบาท โดยวงเงิน 5 ล้านบาทแรกไม่ต้องใช้หลักประกันสามารถใช้ บสย. ค้ำประกัน ซึ่งจะได้รับการชดเชยค่าธรรมเนียม บสย. ใน 4  ปีแรก ระยะเวลาการกู้ยืมรวม 7 ปี กรณีใช้หลักประกันตามเกณฑ์ธนาคาร คิดอัตราดอกเบี้ย   ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ยร้อยละ MLR – 1.5 ต่อปี  ปีที่ 2 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ยร้อยละ MLR – 1.0 ต่อปี กรณีใช้หลักประกัน บสย. คิดอัตราดอกเบี้ย MLR ต่อปี ลูกค้าจะได้รับการช่วยเหลือค่าธรรมเนียม บสย. ฟรี 4 ปี ปีละ 1.75% รวม 7% โดยรัฐบาลช่วยเหลือ 4% และอีก 3% เป็นการช่วยเหลือจากธนาคาร ทั้งนี้ ต้องเป็นผู้ประกอบการที่ชำระหนี้ปกติตามเกณฑ์ของธนาคาร

ข้อมูล ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2560 มีธุรกิจเอสเอ็มอียื่นคำขอจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจรวม 154,622 คำขอ มูลค่าทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกัน 2,986,331 ล้านบาท โดยสิทธิเรียกร้องประเภทบัญชีเงินฝากธนาคารเป็นทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกันมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 60.39 (มูลค่า 1,802,725 ล้านบาท) รองลงมาคือ สังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ เช่น สินค้าคงคลัง วัตถุดิบ เครื่องจักร รถยนต์ เรือ คิดเป็นร้อยละ 19.35 (มูลค่า 577,508 ล้านบาท) และสิทธิเรียกร้องประเภทอื่นๆ เช่น ลูกหนี้การค้า สัญญาจ้าง สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่าซื้อ คิดเป็นร้อยละ 20.24 (มูลค่า 604,123 ล้านบาท) ทรัพย์สินทางปัญญา คิดเป็นร้อยละ 0.07 (มูลค่า 1,975 ล้านบาท) ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าหลักทรัพย์ที่เป็นกิจการยังไม่เคยมีการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจเลย ดังนั้น หาก SME Development Bank ได้ดำเนินการปล่อยสินเชื่อให้แก่ธุรกิจแฟรนไชส์โดยใช้กิจการเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน ธุรกิจ  แฟรนไชส์จะเป็นธุรกิจแรกที่ใช้หลักประกันทางธุรกิจประเภทกิจการมาค้ำประกันสินเชื่อ

ที่มา: กองส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

เรื่องแนะนำ

พาณิชย์ฯ ประกาศรางวัลการประกวด Thailand Franchise Award 2023 จัดพิธีมอบสุดยิ่งใหญ่เป็นปีที่ 4

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ประกาศรางวัลสุดยอดแฟรนไชส์ การประกวด Thailand Franchise Award 2023 : TFA 2023 จัดพิธีมอบโล่เชิดชูเกียรติสุดยิ่งใหญ่กับความสำเร็จอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 กับรางวัลแห่งเกียรติยศ 5 ประเภท 13 รางวัล เพื่อเชิดชูธุรกิจ แฟรนไชส์ที่มีศักยภาพและมีระบบการบริหารจัดการที่ได้มาตรฐาน พัฒนาและส่งเสริมธุรกิจแฟรนไชส์ให้มีภาพลักษณ์ที่ดี น่าเชื่อถือ ก้าวสู่ความเป็นผู้นำในธุรกิจแฟรนไชส์ และเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ และนักลงทุน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ การจัดประกวดรางวัลธุรกิจแฟรนไชส์ไทย (Thailand Franchise Award) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ไทย สร้างการรับรู้ ภาพลักษณ์ที่ดี และเผยแพร่ธุรกิจแฟรนไชส์ผ่านการจัดงานประกวดธุรกิจแฟรนไชส์ โดยปีนี้มีธุรกิจแฟรนไชส์สนใจสมัครเข้าร่วมจำนวน 54 แบรนด์ ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกอย่างเข้มข้น เพื่อที่จะได้รับโล่รางวัลพร้อมประกาศเกียรติคุณในฐานะต้นแบบธุรกิจแฟรนไชส์ไทยในวันนี้ (10 กรกฎาคม 2566) ซึ่งรางวัลในการประกวดแบ่งออกเป็น 5 ประเภท 13 รางวัล โดยแฟรนไชส์ที่ได้รับรางวัลในปีนี้ ได้แก่ ประเภทที่ 1 รางวัลแฟรนไชส์ไทยยอดเยี่ยมตามขนาด รวม 3 รางวัล […]

สตาร์ทอัพ

SCG Bangkok Business Challenge at Sasin 2020 เปิดโอกาสนักศึกษาไทยสาย สตาร์ทอัพ

เป็นอีกหนึ่งเวทีระดับโลกที่เปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษาไทย มาร่วมแข่งขันประกวดแผนธุรกิจ สตาร์ทอัพ ระดับโลก SCG Bangkok Business Challenge at Sasin 2020 เพราะโอกาสทางธุรกิจนั้นเปิดกว้างมากขึ้น นักศึกษาไทยจำนวนมาก ก็มีความสามารถที่ก้าวไกลในการวางแผนธุรกิจสตาร์ทอัพได้ดีเช่นกัน ซึ่งปีนี้ได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีได้เข้าร่วมการแข่งขันด้วย จากเดิมที่เป็นการแข่งขันเฉพาะนักศึกษาระดับปริญญาโทเท่านั้น   SCG Bangkok Business Challenge at Sasin 2020 โดยการประกวดในปีนี้ จัดขึ้นในหัวข้อ Sustainability (ความยั่งยืน) สำหรับนิสิต นักศึกษาปริญญาตรีและโทภาคภาษาอังกฤษ  ชิงชนะเลิศถ้วยรางวัล พร้อมทั้งรางวัลเงินสดรวมมูลค่ากว่า 1,800,000 บาท  การแข่งขันแผนธุรกิจ สตาร์ทอัพ SCG Bangkok Business Challenge at Sasin 2020 เป็นการแข่งขันที่สนับสนุนให้นักศึกษามีความเป็นผู้ประกอบการ กระตุ้นให้เกิดธุรกิจใหม่ๆ เชื่อมโยง นวัตกรรม การวิจัย การสร้างสังคมและเครือข่ายที่เข้มแข็งระหว่างประเทศ และเป็นแพลทฟอร์มที่ให้นักลงทุนค้นพบธุรกิจใหม่ที่น่าสนใจ และทีมงานที่มีคุณภาพสามารถนำไปต่อยอดทางธุรกิจหรือลงทุนสร้างธุรกิจใหม่ได้แบบยั่งยืน เป็นโอกาสที่นักศึกษาสามารถพบเจอกับนักลงทุนที่มีคุณภาพ และสามารถช่วยกันผลักดันจากไอเดียดีๆ ให้กลายเป็นธุรกิจที่แท้จริงได้ ก่อนหน้านี้ช่วงปี 2002 […]

Digital Delicious

Digital Delicious เทรนด์ใหม่รูปแบบนำเสนออาหารสุดล้ำ เปิดประสบการณ์ผู้บริโภค

ในยุคนี้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามามีบทบาทกับทุกๆสิ่ง ไม่เว้นแม้แต่แวดวงอาหาร ซึ่งปัจจุบันการเลือกรับประทานอาหารของผู้บริโภคไม่ได้หยุดเพียงแค่ รสชาติอร่อย หน้าตาอาหารสวยงาม หรือแม้แต่การบริการที่ดีเท่านั้น แต่สิ่งที่จะดึงดูดผู้บริโภคในยุคนี้ได้ก็คือ ประสบการณ์อันน่าตื่นเต้นและแปลกใหม่ในการรับประทานอาหารนั่นเอง เพื่อให้เกิดการจดจำ สร้างความประทับใจ และเป็นที่พูดถึง เรากำลังพูดถึง Digital Delicious ที่นำอาหารและดิจิทัลอาร์ต มารวมไว้ด้วยกัน กับรูปแบบการนำเสนอสุดล้ำที่ชวนว๊าว   เปิดประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้บริโภคด้วย Digital Delicious  ปัจจุบันนี้แวดวงอาหารบ้านเรา ก็มีวิวัฒนาการที่น่าสนใจมากขึ้นทุกวัน อย่างเช่นล่าสุดที่บอกไปว่ามีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาในการพรีเซ้นท์อาหาร เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภค นั่นก็คือโปรเจคDigital Delicious ที่ริเริ่มโดยบริษัท Doozy Digilab ผู้นําด้านการสร้างสรรค์ประสบการณ์ดิจิทัลรูปแบบใหม่ ได้นำอาหารและดิจิทัลอาร์ตมารวมไว้ด้วยกัน ในรูปแบบของอาหาร Fine Dining โดยเชฟชื่อดัง เช่น เชฟเอริก ไวด์มันน์ ผู้คว้าตำแหน่งเชฟกระทะเหล็ก Iron Chef Thailand จาก Oriental Residence Bangkok, เชฟแพม-พิชญา อุทารธรรม, เชฟแต-จันทร์ชนก สุนทรญาณกิจ ศิลปินเชฟขนมอบชื่อดัง และเค-อานนท์ ฮุนตระกูล […]

จัดการร้านอาหารได้ดั่งใจด้วยตัวช่วยในยุคดิจิทัล

วิทยากรทั้ง 3 ท่านซึ่งเป็นเจ้าของร้านอาหารที่มากประสบการณ์และมาแบ่งปันความรู้ในงานเสวนา ร้านอาหารยุคใหม่ ปรับอย่างไร ให้ทันยุคดิจิทัล จัดขึ้นที่ K ONLINESHOP SPACE ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 5

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.