อยากขายแอลกอฮอล์ต้องรู้! ขั้นตอนขอใบอนุญาตจำหน่ายสุราสำหรับร้านอาหาร

อยากขายแอลกอฮอล์ต้องรู้! ขั้นตอนขอใบอนุญาตจำหน่ายสุราสำหรับร้านอาหาร

กลางวันเปิดคาเฟ่ กลางคืนอยากเปิดบาร์
เจ้าของร้านกาแฟถาม อยากขายแอลกอฮอล์กลางคืน

แชร์ขั้นตอนขอใบอนุญาตจำหน่าย สุรา สำหรับร้านอาหาร

เพิ่มรายได้ร้าน ตอนเช้าเป็นร้านกาแฟ ตอนเย็นเป็นร้านนั่งชิลล์ดีปะ ? วันก่อนแอดได้ไปเห็นโพสต์หนึ่งในกลุ่ม “คนบ้ากาแฟ” ที่เจ้าของร้านกาแฟร้านหนึ่งได้มาโพสต์ขอคำแนะนำ เนื่องจากเขาทำร้านกาแฟอยู่และต้องการเปิด ขายสุรา ในช่วงเย็นด้วย ในกรณีนี้ต้องทำอย่างไรบ้าง? โพสต์นี้มีคำตอบ!

  • การขายสุรา

ใบอนุญาตมี 2 ประเภท คือ
ประเภทที่ 1 ขายส่งสุราทุกชนิด ครั้งละสิบลิตรขึ้นไป
ประเภทที่ 2 ขายปลีกสุราทุกชนิด ครั้งละต่ำกว่าสิบลิตร (สำหรับร้านอาหาร คือ ประเภทที่ 2)

ซึ่งสำหรับการขออนุญาตขายสุราทาง “คลินิกภาษี กระทรวงการคลัง” ได้เคยให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า

  • ขอใบอนุญาตได้จากไหน

ผู้ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตขายสุรา สามารถติดต่อขอใบอนุญาต ณ สำนักงานสรรพสามิต พื้นที่สาขาแห่งท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ โดยเปิดทำการในเวลาราชการ

การขอใบอนุญาตสุราผ่านอินเตอร์เน็ต ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.excise.go.th/…/LIQUOR-TOBACCO…/index.htm

  • ต้องใช้อะไรบ้าง

ผู้ขอรับใบอนุญาตรายใหม่ นำเอกสารฉบับจริง ดังต่อไปนี้ไปแสดง

1.บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการที่ทางราชการออกให้ซึ่งมีภาพถ่ายของเจ้าของบัตร
2.สำเนาทะเบียนบ้านของสถานที่ประกอบการค้า ในกรณีผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้เช่า ต้องมีสัญญาเช่า สำเนาบัตรประชาชนผู้เช่าและผู้ให้เช่า และหนังสือแสดงความยินยอมของผู้ให้เช่าด้วย
3.ใบทะเบียนพาณิชย์ (ถ้ามี)
4.ในกรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลต้องนำหนังสือรับรองการจดทะเบียนของกระทรวงพาณิชย์ไปแสดงด้วย

**ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตนำสำเนาเอกสารข้างต้น ซึ่งลงลายมือชื่อรับรองแล้วมายื่นต่อเจ้า พนักงานสรรพสามิตด้วย**

-กรณีผู้ขอรับใบอนุญาตจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ให้ผู้มีอำนาจลงนามลงลายมือชื่อและประทับตรานิติบุคคลในแบบคำขออนุญาต สยพ.1 ในช่องผู้ขออนุญาต

-ในกรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตไม่สามารถมาดำเนินการขอรับใบอนุญาตได้ด้วยตนเอง ให้จัดทำหนังสือ มอบอำนาจและติดอากรแสตมป์จำนวน 10 บาท (กรณีขอใบอนุญาตประเภทใดประเภทหนึ่ง) และ 30 บาท (กรณีขอใบอนุญาตมากกว่าหนึ่งประเภท ) พร้อมนำสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจมาด้วย

  • ข้อกำหนดในการออกใบอนุญาตขายปลีกสุรา

-สถานที่ขายสุราต้องไม่ตั้งอยู่ในบริเวณสถานศึกษาหรือศาสนาสถาน รวมทั้งบริเวณต่อเนื่องติดกับสถานศึกษาหรือศาสนาสถาน

-สถานที่ขายสุราต้องไม่ตั้งอยู่ในบริเวณสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงรวมทั้งบริเวณต่อเนื่องติดกับสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง

-สถานที่ขายสุราต้องไม่ตั้งอยู่ในบริเวณสถานที่ที่เคยถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตขายสุรา เว้นแต่เวลาได้ล่วงพ้นมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี

-สถานที่ขายสุราต้องไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตขายสุราเว้นแต่เวลาได้ล่วงพ้นมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี ทั้งนี้ในกรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตขายสุราเป็นห้างหุ้นส่วนหรือนิติบุคคล ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือผู้แทนของนิติบุคคลต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังกล่าว หรือไม่เคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือผู้แทนของนิติบุคคลต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังกล่าว

และเว็บไซต์กรมสรรพสามิต เคยได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการขออนุญาตขายสุราไว้ ดังนี้

  • ค่าธรรมเนียมขอใบอนุญาต

ประเภทที่ 2 ขายปลีกสุราทุกชนิด ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ชำระ 2,200 บาท

ประเภทที่ 2 ขายปลีกสุราทุกชนิด ผู้ประกอบการไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ชำระ 330 บาท

  • ข้อปฏิบัติ

ใบอนุญาตขายสุรา มีอายุ 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับอนุญาต ฝ่าฝืนขายสุราโดยไม่มีใบอนุญาต/ไม่แสดงใบอนุญาตไว้ใน ที่เปิดเผย/ใช้ใบอนุญาตไม่ตรงกับสถานที่ระบุ มีความผิด ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท (ม.196,ม.205)

โดยสามารถยื่นต่อใบอนุญาตปีต่อไปได้ตั้งแต่ตุลาคม – ธันวาคม ก่อนที่ใบอนุญาตจะหมดอายุในวันสิ้นปี วันที่ 31 ธันวาคม

References: http://taxclinic.mof.go.th/…/9F0F99F7_1A0E_E7C2_7A55…, https://www.excise.go.th/…/mzk4/~edisp/uatucm398343.pdf, https://www.excise.go.th/…/mzax/~edisp/uatucm301252.pdf, https://excise.go.th/cs/idcplg?IdcService=GET_FILE…, https://www.facebook.com/groups/259809032544230/permalink/542710997587364/

เรื่องแนะนำ

4 ขั้นตอนที่มือใหม่ควรรู้ เริ่มต้น เปิดร้านอาหาร ให้รุ่ง!

เปิดร้านอาหาร เป็นหนึ่งในอาชีพแรกๆ ที่คนจะนึกถึงในช่วงเศรษฐกิจไม่ดี เพราะสามารถเริ่มลงทุนได้ด้วยเงินจำนวนไม่มาก จึงไม่แปลกที่ในช่วงโควิด จะมีการขายของกินออนไลน์กันอย่างคึกคัก บางคนที่เริ่มทำเป็นรายได้เสริม อาจจะทำรายได้ดีกว่ารายได้หลักเสียอีก  ถ้าในอนาคตจะเปิดเป็นหน้าร้าน หรืออยากขยายกิจการต่อไป จะต้องทำอย่างไรต่อไป ลองมาดู 4 ขั้นตอนสำหรับการเริ่มต้น เปิดร้านอาหาร ที่สรุปมาเพื่อให้ร้านของคุณโตได้โดยไม่ต้องเจ็บตัว และเป็นก้าวแรกที่มั่นคงของธุรกิจครับ  4 ขั้นตอนที่มือใหม่ควรรู้ เริ่มต้น เปิดร้านอาหาร ให้รุ่ง!   1.วางรูปแบบร้านให้ชัดเจน การวางรูปแบบของร้านอาหารให้ชัดเจน จะช่วยให้ลูกค้าจดจำได้ง่าย เกิดความน่าสนใจมากกว่าร้านทั่วไป และเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างแบรนด์  เริ่มตั้งแต่การตั้งชื่อร้าน ควรเป็นชื่อที่มีเอกลักษณ์และจำง่าย เข้ากับประเภทของร้านอาหาร เมนูอาหารในร้าน รวมถึงสไตล์การตกแต่งภายใน ควรจะเป็นไปในแนวทางเดียวกัน และตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย  ขอยกตัวอย่างร้านกาแฟ ที่มีความหลากหลายมากในปัจจุบัน นอกจากรสชาติที่ดีของกาแฟแล้ว แต่ละร้านก็จะมีจุดขายที่แตกต่างกัน บางร้านก็ใช้การตกแต่งร้านและสวนให้สวยงาม เพื่อให้ลูกค้าได้มาถ่ายรูปเช็คอินลงในโซเซียลมีเดีย บางร้านก็เปิดเป็นคาเฟ่แมว เพื่อให้ลูกค้าได้ผ่อนคลายกับน้องๆ ในร้าน หรือแม้แต่การคิดเมนูที่สร้างสรรค์ต่างๆ ก็เป็นแนวทางในการสร้างจุดเด่น ที่ทำให้ลูกค้าจะเลือกมาที่ร้านของเรา และได้รับประสบการณ์ที่น่าประทับใจกลับไป 2.เลือกทำเลที่เหมาะสม เพราะทำเลเป็นปัจจัยสำคัญต่อผลประกอบการของร้าน การเลือกทำเลตั้งร้านอาหารจะต้องคำนึงถึงกลุ่มฐานลูกค้าเป้าหมาย คู่แข่งในละแวกเดียวกัน ที่จอดรถของร้าน ความสะดวกต่อการเข้าถึง และความสะดุดตาของร้าน […]

5 คุณสมบัติที่ ผู้จัดการร้าน ต้องมี แล้วร้านคุณจะไม่มีวันเจ๊ง

ผู้จัดการร้าน เปรียบเสมือนตัวแทนของเจ้าของร้านอาหาร  ถ้าผู้จัดการร้านทำหน้าที่ได้อย่างดี เจ้าของร้านอาหารแทบจะไม่ต้องแก้ปัญหาจุกจิกใด ๆ เลย และยังมีส่วนสำคัญให้ร้านของคุณเติบโตได้ตามเป้าหมายอีกด้วย   5 คุณสมบัติที่ ผู้จัดการร้าน ต้องมี แล้วร้านคุณจะไม่มีวันเจ๊ง เก่งคน             การจัดสรรหน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงานให้เหมาะสม  ให้คำแนะนำในการทำงานแก่พนักงาน  ผู้จัดการที่ดีจะต้องเป็นตัวแทนในการคัดเลือก ฝึกอบรม จ้างพนักงาน รักษาพนักงานที่ดี และคัดพนักงานที่เป็นปัญหาออก รวมถึงการสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานอีกด้วย ถ้าผู้จัดการร้านไม่สามารถจัดการทีมงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะถ้าเกิดปัญหาหน้างานขึ้นมาแล้วก็เหมือนงูกินหาง ทำให้ร้านล้มเหลวไม่เป็นท่าในที่สุด   เก่งลูกค้า             ผู้จัดการร้านอาหารจะต้องมีหน้าที่ตรวจสอบความพึงพอใจของลูกค้า ควบคุมและพัฒนาการบริการของพนักงานเพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจ   และฝึกให้สามารถรับมือกับลูกค้าเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี เพราะหากลูกค้าไม่พอใจด่านสำคัญที่จะต้องตัดสินใจแก้ปัญหาคือ ผู้จัดการร้าน  นอกจากกำหนดนโยบายในการรับมือถ้าหากลูกค้าไม่พอใจแล้ว เจ้าของร้านควรให้บทบาทที่เหมาะสมในการตัดสินใจแก่ผู้จัดการร้านไว้เป็นกิจจะลักษณะ เช่น สิทธิในการให้ส่วนลดเพื่อชดเชยความไม่พอใจแก่ลูกค้า   เก่งวางแผน             หน้าที่ในการตรวจเช็คของใช้ต่าง ๆ ที่จำเป็น ตั้งแต่ของเล็กน้อย อย่างกระดาษเช็ดปาก ที่รองจาน อุปกรณ์ตกแต่ง ของใช้จำเป็นอื่น ๆ รวมถึงอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อมในการใช้งาน การจัดทำสต็อกสินค้าเพื่อจัดซื้อตามรอบ ในบางร้านอาจต้องประสานกับทีมครัวเพื่อจัดซื้อวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์ เพราะฉะนั้นความละเอียดรอบคอบ และความสามารถในการคาดการณ์จำนวนให้เพียงพอต่อการใช้งานจึงเป็นสิ่งจำเป็น […]

6 ปัญหาที่ต้องระวัง  ในการนำ ร้านอาหารเข้าระบบเดลิเวอรี

6 ปัญหาที่ต้องระวัง เมื่อนำ ร้านอาหารเข้าระบบเดลิเวอรี

        การจะนำ ร้านอาหารเข้าระบบเดลิเวอรี เป็นทางเลือกกึ่งบังคับของผู้ประกอบการหลายๆท่าน ในช่วงที่มีการ Shutdown กรุงเทพฯ รวมถึงอีกหลายจังหวัดจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 การปรับตัวเข้าสู่ระบบเดลิเวอรี จึงเป็นการเพิ่มโอกาสทำยอดขายทางออนไลน์ เพื่อชดเชยกับยอดขายหน้าร้านที่ลดลง รวมถึงเป็นการเพิ่มช่องทางในการขายใหม่ๆให้กับลูกค้า แต่ระบบนี้ก็ไม่ได้มีแต่ข้อดีเสมอไป ลองมาดูปัญหาที่ผู้ประกอบการควรระวังเพื่อไม่ให้ร้านขาดทุน!! หากต้องนำร้านอาหารเข้าร่วมให้บริการเดลิเวอรี 6 ปัญหาที่ต้องระวัง  เมื่อนำ ร้านอาหารเข้าระบบเดลิเวอรี 1. ไม่สามารถรักษาคุณภาพและรสชาติของอาหารได้         การส่งอาหารผ่านระบบเดลิเวอรี จะต้องมีการควบคุมมาตรฐานของอาหาร โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่าอาหารจะต้องปรุงสุกใหม่ เนื้อสัตว์ควรผ่านกระบวนการทำอาหารที่อุณหภูมิมากกว่า 70 องศาเซลเซียส และหลีกเลี่ยงการจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุกเพื่อป้องกันการปนเปื้อนในอาหาร         นอกจากนี้ ผู้ประกอบการอาจจะต้องเจอกับปัญหารสชาติและคุณภาพของอาหารที่ด้อยลง ซึ่งมีสาเหตุได้จากหลายปัจจัย เช่น เกิดจากระยะเวลาในการจัดส่งที่ล่าช้า หรือการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสมกับชนิดของอาหาร เช่น อาหารทอด เมื่อนำบรรจุลงกล่องที่ปิดมิดชิด จะทำให้เกิดไอน้ำควบแน่นอยู่ที่ฝากล่อง และเกิดความชื้นทำให้อาหารนั้นไม่กรอบ รสชาติและสัมผัสของอาหารจึงไม่เหมือนเดิม ทางร้านควรมีแนวทางการแก้ไข โดยอาจจะเลือกใช้กล่องที่มีรูระบายความร้อน […]

เริ่มต้นทำธุรกิจ

7 สิ่งที่ห้ามทำ! เมื่อ เริ่มต้นทำธุรกิจ

กระแสการเริ่มต้นธุรกิจด้วยตัวเองกำลังมาแรง เราจึงขอแนะนำ 8 สิ่งที่ห้ามทำ! เมื่อ เริ่มต้นทำธุรกิจ มาฝาก เผื่อเป็นแนวคิดให้ Start up ทุกคนประสบความสำเร็จ!

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.