ทำไมเปิด "คาเฟ่" แล้วไม่รุ่ง? แชร์เหตุผลที่ทำให้ไม่สำเร็จจากผู้ประกอบการตัวจริง

ทำไมเปิด “คาเฟ่” แล้วไม่รุ่ง? เจ้าของร้านกาแฟ พร้อมสมาชิกกลุ่ม “คนบ้ากาแฟ” แชร์เหตุผลทำไมไม่สำเร็จ

ถอดบทเรียน เจ้าของร้านกาแฟแชร์เหตุผล
ทำไมเปิด ” คาเฟ่ ” แล้วไม่รุ่ง?
สมาชิกกลุ่ม “คนบ้ากาแฟ” ร่วมแสดงความเห็น
และปัจจัยอื่น ๆ ที่ไม่ประสบความสำเร็จ

 

เพราะเหตุผลนี้ทำให้เปิด คาเฟ่ ไม่รุ่ง! เจ้าของร้านกาแฟดังแชร์ปัจจัยที่เป็นต้นเหตุให้การทำร้าน คาเฟ่ ได้รับการตอบรับที่ไม่ดีเท่าที่ควร ในกลุ่มคนบ้ากาแฟ โดยมีเจ้าของร้านกาแฟ คาเฟ่ คนอื่นๆ ร่วมแสดงความคิดเห็นถึงเรื่องนี้ด้วย
.
เจ้าของร้านรายนี้ได้สรุปเหตุผลที่ทำให้การทำคาเฟ่ไม่รุ่งไว้ว่า
“ เหตุผลที่คนทำ cafe ไม่รุ่ง
1. ไม่มีความรู้เรื่องผลิตภัณฑ์ และธุรกิจ ของตัวเอง
(ไม่กินกาแฟ อยากทำร้านกาแฟได้มั้ยคะ 55555 )
2. ไม่รู้ต้นทุนตัวเอง ต้นทุนต่อแก้ว /ค่าเช่า /ค่าพนักงาน/ ต้นทุนแฝง ฯลฯ
3. เลือกทำเลไม่เป็น ไม่รู้จักช่องทางขาย
(เลือกทำเลราคาถูก แต่ไม่มีลูกค้า )
4. สนองความต้องการตัวเองจนลืมเหตุและผล
(ของมันต้องมี) ทำเอาหน้า ลืมเอาเงิน 5555
5. ไม่รู้จัก supplier ดีๆ ที่ไม่ได้หลอกแต่จะขายของ…..
*** จริงๆ มันมีเหตุผลเยอะมากกว่านี้ เดี๋ยวค่อยๆเอาประสบการณ์มาเล่าให้ฟังนะคะ 55555 ”
.
ซึ่งเมื่อโพสต์นี้ออกไปก็ได้มีเจ้าของร้านกาแฟ คนทำกาแฟคนอื่น ๆ รวมถึงผู้บริโภคต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็น และยกตัวอย่างปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น

 

 

🔸รสชาติ😋

“ทำร้านกาแฟ สุดท้ายแม้จะ decoration ดียังไง พื้นฐานต้องอยู่ที่ตัวกาแฟ ถ้ากาแฟรสชาติไม่ได้มันก็ไปต่อไม่ได้ ในขณะที่บางเจ้าเน้นรสชาติมากไป ก็อาจจะล่มจมได้เหมือนกัน”

“ที่สำคัญที่สุดผมคิดว่า ถ้าไม่รู้รสชาติกาแฟของร้านตัวเองนี่หนักเลยครับ น่าจะไปต่อยากสุด ถ้าทำเลไม่ดี แต่กาแฟอร่อยมีลูกค้าประจำ ก็ยังพออยู่ได้ครับ ปรับให้ถูกปากคนในพื้นที่ครับ”

“ระดับความหวานก็สำคัญนะคับ ควรแยกระหว่างคำว่า “หวานน้อย”กับ”ไม่หวานเลย”ออกจากกัน ลูกค้าสั่งไม่หวาน ไม่ต้องกลัวว่าลูกค้าจะกินไม่ได้ ลูกค้าสั่งแบบไหนก็ทำให้ลูกค้าแบบนั้น ทำให้เป็นมาตรฐานของทุกร้าน สั่งไม่หวานได้หวานน้อย คอกาแฟอยากจะร้องไห้”


🔸Passion✨

“ผมว่าต้องมี passion เป็นไฟหลัก ประกอบกับถ้าเป็นคนที่กินกาแฟมาก่อน ฝึกชงเองกินเองมาก่อน ผมว่าไปรอด ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ไม่รอด ถ้าคิดจะทำแต่ไม่มีภาพในหัว ก็เสียเวลาเปล่า”

🔸ราคา💸

“ราคาสำคัญมากๆ ค่ะ จะรอดไม่รอดราคาตัวชี้วัด”
“อย่าคิดว่าร้านกาแฟเป็นเรื่องง่าย เพราะรายละเอียดเยอะ อย่าคิดว่าลูกค้าทุกคนจะชอบรสชาติอาหารร้านเรา ต้องถามความต้องการของลูกค้าทุกครั้ง เช่น ชอบหวานมากหรือหวานน้อย อย่าคิดว่าลูกค้าเป็นลูกค้า แต่ให้คิดว่าลูกค้า คือ คนในครอบครัวเราคนหนึ่ง เมื่อเกิดปัญหา ต้องพลิกปัญหาให้เป็นเรื่องตลก ให้ลูกค้าคลายความโมโห เช่น ส่งอาหารช้า ส่งอาหารผิดโต๊ะ รักพนักงานให้เหมือนพี่น้องเพราะพนักงานไม่ใช่คนใช้ โปรโมทร้านสม่ำเสมอ ให้คนทุกคนคุ้นหูและชินตา ถึงแม้อาหารร้านเราจะอร่อยมากแค่ไหน ถ้าไม่มีลูกค้ามาทานใครจะรู้ เราต้องดึงดูดลูกค้าเข้ามาให้ได้ เจ้าของร้านต้องทำได้ทุกหน้าที่ ตั้งแต่ทำอาหารยังทำความสะอาดร้าน เพราะถ้าแม่ครัว พนักงานชงกาแฟหยุดร้านจะเปิดขายไม่ได้”

🔸ทำเล📍

“ควรรู้จัก positioning ของตัวเอง และรู้จักกลุ่มลูกค้าของตัวเองด้วย คนกินกาแฟมีหลายกลุ่ม หลายประเภท ฯลฯ จะปัองกันปัญหาการอยู่ผิดที่ผิดทาง ฯลฯ ได้”
“ตอนนี้ทำเล​ เป็นเรื่องเล็ก ๆ มากครับ​ คาเฟ่ลับเพียบ​ อยู่ได้มาหลายปีก็มีครับ”

🔸ทักษะ ความรู้ หลักการ📕

“ความรู้ด้านกาแฟแบบครบวงจรสำคัญค่ะ ทั้งการเลือกสรรเมล็ด กระบวนการชง ความชำนาญในการใช้เครื่องชง การเลือกใช้สูตรที่ประกอบด้วยวัตถุดิบคุณภาพ มันคือพื้นฐานหลักที่บาริสต้าต้องศึกษา เพราะหากคนทำไม่รู้จักกาแฟที่ดี ไม่รู้อะไรสักอย่าง แต่อยากจะนำเสนอให้ลูกค้าซื้อ มันก็เหมือนการหลอกลวงอยู่กลายๆ นะ คือขายเพราะคิดว่าอยากได้เงิน แต่คนขายยังไม่ลอง ยังไม่รู้อะไรเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของตัวเอง แล้วคนซื้อจะเชื่อถือได้มั้ย ?

โดยส่วนตัวในฐานะคอกาแฟ หากคนทำรู้ไม่จริง ก็ยากนะคะที่จะเลือกเดินเข้าร้านนั้น แม้ว่าทำเลจะดีแค่ไหนก็ตาม ก็มันไม่อร่อย ถ้าแนะนำได้ก็จะบอกว่า ควรไปศึกษามาใหม่ แต่หากคุยไม่ได้ก็ครั้งเดียว จบ เสียดายตังค์ค่ะ โดยส่วนตัวคิดแบบนี้จริงๆ นะคะ ไม่ว่าคาเฟ่นั้นจะเล็กหรือใหญ่ ขายราคาแพง ราคาถูก หรือว่าราคาสมน้ำสมเนื้อก็ตาม ส่วนทำเล และบรรยากาศ นั่นคือ แนวคิดทางการตลาดที่ผู้ลงทุนต้องวิเคราะห์และตีโจทย์ในลำดับถัดไป”

“อาจจะต้องเข้าใจหลัก 4P ด้วยนะครับ Product, Price ,Place, Promotion จะช่วยวิเคราะห์สถานการณ์ได้เยอะเลยครับ”

“ต้องรู้จัก​ Product ของตัวเองก่อนค่ะก่อนขาย ต่อด้วย​ Price ว่าควรตั้งเท่าไหร่ ขายใคร​ ต้นทุน/กำไร​ จุดคุ้มทุน​ แล้ว​ Place ที่หมายถึง​ ทำเล​/สถานที่​ จะตามมา​ พอมาต่อยอดด้วย​ Promotion ทุกอย่างจะเริ่มรันตามสเต็ป​ ทำครบลูป โอกาสรอด​ 80-90%เลยทีเดียว​ พื้นฐานก่อนลงทุนที่ควรทราบ​ ส่วนอย่างอื่นถ้าศึกษาเยอะจะช่วยธุรกิจได้ดีมากๆ”

 

 

🔸ปัจจัยอื่น ๆ✨

“ธุรกิจขายฝัน หลายๆ คนพอเริ่มทำเป็นก็อยากเปิดกัน​ บางครั้งไม่ศึกษาให้ดีก่อน​​ บางที่เน้นถ่ายรูปมากกว่ารสชาติก็จะอยู่ได้ช่วงแรกๆ​ หลังๆ ก็เงียบเหงา​ ต้องดูพื้นที่ที่ขาย, ลูกค้าแบบไหน, ราคาที่ขาย, ส่วนใหญ่ลูกค้าชอบกาแฟแบบไหนบ้าง, กาแฟแต่ละตัวที่ขายรสชาติเป็นแบบไหน​ การคุยกับลูกค้าทุกคนที่เข้ามาก็สำคัญ​​ อย่าเอาตัวเราชอบเป็นที่ตั้งว่ากาแฟต้องแบบนี้​ ถ้าตอบโจทย์ได้ลูกค้าก็จะกลับมาหาเราอีกเรื่อยๆ​”
“เจ้าของร้านอินดี้ ไม่ง้อลูกค้า หน้าหักหน้างอ อยากเปิด-ปิด ไม่เป็นเวลา” เป็นต้น
.
แล้วคุณล่ะคิดว่าการเปิดคาเฟ่ให้รุ่ง ต้องมีปัจจัยอะไรบ้าง? มาแชร์กัน
.

#AmarinAcademy #ร้านอาหาร

เรื่องแนะนำ

Specialty Coffee คืออะไร ? แตกต่างจากคาเฟ่ทั่วไปอย่างไร ?

Specialty Coffee คืออะไร ? แตกต่างจากคาเฟ่ทั่วไปอย่างไร ? แชร์มุมมองโดย คุณมิน เจ้าของร้าน Gorilla Coffee&Bakery ทุกวันนี้มีร้านกาแฟให้เราได้เลือกกินอยู่เต็มไปหมด ซึ่งก็มีทั้งร้านที่เป็นรูปแบบคาเฟ่ ร้านกาแฟทั่วไป รวมถึงร้านแบบ Specialty ที่หลายคนให้คำจำกัดความร้านรูปแบบนี้ว่าเป็นร้านกาแฟที่มี “ความพิเศษ” ที่ต่างออกไปจากร้านกาแฟแบบอื่น ๆ ว่าแต่มันพิเศษยังไงล่ะ ? ลองมาดูมุมมองต่อความเป็นร้านกาแฟ Specialty ของคุณมิน ธมลวรรณ เจ้าของร้าน Gorilla Coffee&Bakery ร้านกาแฟ Specialty ย่านลาดกระบังกัน! . นิยามของ Specialty . ในมุมมองของเรา Specialty Coffee คือ กาแฟที่พิเศษแตกต่างจากกาแฟทั่ว ๆ ไป เพราะเราให้ความใส่ใจ สนใจตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ตั้งแต่การเลือกสายพันธ์ุกาแฟ ประเทศที่ปลูก การชง คาแรกเตอร์ของกาแฟแต่ละแบบ เอามาให้ผู้บริโภคเลือกมากกว่าร้านที่ขายกาแฟแบบปกติ เพราะคาแรกเตอร์แต่ละประเทศก็จะแตกต่างกัน เมื่อก่อนคนกินกาแฟ ก็อาจจะดูจากเรื่องความขม ให้ความกระปรี้กระเปร่า แต่เดี๋ยวนี้คนให้ความสนใจกับรสชาติ […]

jamies-burgers

“เพราะคุณหมอไม่สามารถออกมาซื้ออาหารได้” Jamie’s Burgers อาสาร่วมทำอาหารแจกฟรีให้บุคลากรทางการแพทย์

“คุณรู้หรือไม่ว่า ตอนนี้คุณหมอที่โรงพยาบาล จะผลัดกันทำงาน คือ ทำงาน 14 วัน แล้วไปกักตัวอีก 14 วัน โดยต้องกักตัวอยู่ในหอพักโรงพยาบาล ไม่สามารถออกมาซื้ออาหารได้แบบคนทั่วไป และมีบางครั้งที่ถูกปฏิเสธ เมื่อต้องการให้มาส่งอาหารที่โรงพยาบาล”  คำบอกเล่าจาก เชฟเจมส์ แห่งร้าน Jamie’s Burgers ที่บอกต่อเรื่องราวนี้กับทีมงาน Amarin Academy ฟังแล้วบอกตรงๆว่า รู้สึกเห็นใจเหล่าคุณหมอและบุคลากรทางแพทย์ทุกท่าน ที่ต้องเสียสละอย่างมาก ในช่วงที่ต้องต่อสู้กับไวรัส COVID-19 ด้วยเหตุนี้ ทำให้เชฟเจมส์อยากที่จะช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์เหล่านี้ให้มากขึ้น จึงอยากบอกสิ่งดีๆที่เชฟเจมส์กำลังจะทำ นั่นคือ การทำอาหารแจกฟรีให้กับบุคลากรทางการแพทย์   เชฟเจมส์ Jamie’s Burgers ร่วมอาสา ทำอาหารแจกฟรีให้บุคลากรทางการแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ เป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่ต้องต่อสู้กับไวรัสร้าย เพื่อให้ผู้ป่วยรอดชีวิต ก็ไม่ต่างอะไรกับธุรกิจร้านอาหารที่ก็ต้องต่อสู้เพื่อต่อลมหายใจให้กับธุรกิจและอีกหลายชีวิตที่อาจต้องตกงาน ก่อนที่จะมาทำอาหารแจกให้กับคุณหมอ เชฟเจมส์ เจ้าของร้าน Jamie’s Burgers บอกกับเราว่า ที่มานั้น เริ่มมาจากการขายข้าวกล่อง 30 บาท เพื่อให้ร้านอยู่ได้ในวิกฤต COVID-19   ข้าวกล่อง […]

หม้อเบ้อเร่อ

ถอดบทเรียน “ หม้อเบ้อเร่อ “ พลิกวิกฤติร้านเกือบเจ๊ง ให้กลับมาอยู่รอดอีกครั้ง

หลายคนทำร้านอาหารตามกระแส เห็นร้านอื่นขายดี ก็เลยอยากจะขายบ้าง แต่บอกเลยว่าการทำร้านอาหารหนึ่งร้านนั้น ใช่ว่าทุกคนจะประสบความสำเร็จ ร้าน หม้อเบ้อเร่อ เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างร้านชาบูบุฟเฟต์ที่น่าสนใจ ที่ผ่านทุกช่วงมาแล้ว ตั้งแต่เริ่มขายรายได้หลักแสน จนเข้าขั้นวิกฤติขาดทุนวันละหมื่น แล้วฟื้นตัวกลับมาขายดีมีลูกค้าต่อเนื่องอีกครั้ง หม้อเบ้อเร่อ พลิกธุรกิจที่เกือบเจ๊ง ให้กลับมาปังอีกครั้งได้อย่างไร มาฟังคำตอบจาก คุณป๊อป ฐิติพงศ์ เนตรพ่วง เจ้าของร้านกันครับ >> หม้อเบ้อเร่อ เปิดใหม่กระแสดี ยอดขายหลักแสนต่อวัน ช่วงแรกที่เปิด หม้อเบ้อเร่อ เป็นกระแสดีมาก เป็นชาบูถาดใหญ่ จานใหญ่ๆ ยังไม่เคยมีใครทำ และอยู่ต่างจังหวัดด้วย คนยังไม่เคยเห็นแบบนี้ เรียกว่าใหม่มาก แปลก ออกสื่อเยอะ ลูกค้าจองเป็นเดือน ตอนนั้นเราเลยคิดว่าเรามาถูกทางแล้ว เราขายดีอยู่เป็นปีครับ แต่หลังจากนั้นพอกระแสมันหมด นี่คือชีวิตจริงแล้ว ทีนี้เราต้องมองให้ออกว่า อะไรคือกระแส อะไรคือของจริง วันที่เราแย่สุดๆ เคยขายได้วันละแสนขึ้น ลงมาเหลือสี่พัน แย่สุดๆเลย อยู่แบบนั้นประมาณ 3-4 เดือนจนเราคิดว่ามันลงถึงจุดที่ต่ำสุดแล้ว ถึงขั้นขาดทุนวันละหมื่น คิดว่าอยู่แบบนี้ไม่ไหวแล้ว ทั้งค่าพนักงาน ค่าเช่า ถ้าปล่อยไปแบบนี้ไม่รอด วิกฤติมาก […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.