อาหารเหนือแมสน้อยกว่าภาคอื่น? ปัจจัยต่อ "ความนิยมและรสชาติของอาหารเหนือ"

อาหารเหนือแมสน้อยกว่าภาคอื่น? ปัจจัยต่อ “ความนิยมและรสชาติของอาหารเหนือ”

ทำไม อาหารเหนือ แมสน้อยกว่าอาหารภาคอื่น?
ผู้ใช้ทวิตเตอร์แชร์ความเห็นเพราะ รสชาติจืด ไม่ถูกปาก
ปัจจัยที่มีผลต่อ “ความนิยมและรสชาติของ อาหารเหนือ”

อาหารเหนือ แมสน้อยกว่าอาหารภาคอื่น? ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งได้แชร์ความคิดเห็นเชิงตั้งคำถามจากประสบการณ์ส่วนตัว ประมาณว่าเขารู้สึกว่า อาหารเหนือ ได้รับความนิยมน้อยกว่าอาหารภาคอื่นๆ โดยเขายังได้แสดงความเห็นเพิ่มเติมอีกว่า ตนเองก็รู้สึกว่ารสชาติ อาหารเหนือ ถูกปากน้อยกว่าอาหารภาคอื่น
.


1- ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายนี้แชร์ว่า “ทำไมอาหารเหนือถึงไม่แมสเท่าอาหารอีสาน หรืออาหารใต้นะ แต่ส่วนตัวก็รู้สึกว่าอาหารเหนือรสชาติถูกปากน้อยกว่าอาหารใต้จริงๆ”
.
2- ซึ่งเมื่อทวีตนี้ออกไปก็ได้มีผู้ใช้ทวิตเตอร์ต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันอย่างล้นหลาม โดยหลายคนที่เห็นด้วยกับเจ้าของโพสต์นี้ ล้วนให้เหตุผลว่าอาหารเหนือรสชาติจืดและไม่ค่อยถูกปากเท่าไหร่ เช่น

“ถ้าเป็นอาหารเหนือแบบรสชาติเหนือแท้ๆ ส่วนตัวรู้สึกว่าจืดมากกกก จืดๆ เผ็ดๆ ไม่อร่อยเลย ส่วนมากที่เขาว่าอร่อยๆ จะเป็นอาหารเหนือที่เขาเอามาดัดแปลงรสชาติให้ออกมากลางๆ เช่น ร้านหนึ่งที่คนเจียงใหม่แต๊ๆ ไปกินจะไม่ถูกปากเลย”

“รสชาติมันต๊ะต่อนยอน ไม่จัดจ้านเหมือนอาหารใต้ จริงๆ ส่วนผสมอาหารเหนือแต๊ๆ มันเป็นอะไรที่ exotic มากๆ คนกินได้ก็กินได้ ไม่ได้ก็คืออ้วกเลย รสมันแปร่งๆ ไม่คุ้นปาก”

3- ในขณะที่คนอื่น ๆ ก็ได้มาแก้ต่างว่าจริง ๆ แล้วอาหารเหนือแท้ ๆ ไม่จืดนะ เช่น

“นี่เป็นคนเหนืออาหารเหนือที่กินอยู่จะรสจัดมาก เผ็ด เค็ม นำมาเลยและไม่หวาน ไม่เคยตำน้ำพริก, แกงหรือผัดใส่น้ำตาลเลย แกงใส่กระทิแทบไม่มี”

“เราก็คนเหนือนะ แล้วเราก็กินเผ็ดมาตลอด เรางงว่าทำไมถึงมีคนบอกว่าอาหารเหนือมันจืด เพราะจริงๆแล้วมันเผ็ดนะ หรือเอาจริงๆ แล้วคนที่เลือกหรือสั่งเมนู สั่งแต่เมนูไม่เผ็ด เพราะอาหารเหนือก็เหมือนอาหารภาคอื่น มีแกงเผ็ด มีแกงจืด”

“ผมมาอยู่เชียงใหม่เกือบ 10 ปี ต้องยอมรับว่า รสชาติทางนี้เค้ามีความเฉพาะตัวค่อนข้างสูง อาหารเหนือไม่ได้จืดนะ ก็มีเค็ม มีเผ็ด แต่มันไม่แซ่บครบรส”

“เราว่าเพราะเวลาคนไปเที่ยวเหนือชอบไปกินร้านที่มันปรับรสชาติให้คนภาคกลางกินได้ เห็นหลายคนบอกว่าอาหารเหนือจืด เราคนเหนือแท้ๆ โตมาด้วยอาหารพื้นเมืองจะบอกเลยว่าความจริงมันเผ็ด ยิ่งพวกแกงผักพื้นเมือง ถ้าตำน้ำพริกเองคือไม่มีทางจะจืดเลย เลยงงคนที่บอกว่าอาหารมันจืด”

4- บ้างก็ได้มาแสดงความคิดเห็นถึงปัจจัยที่มีผลต่อ “ความนิยมและรสชาติของอาหารเหนือ” โดยสรุปได้เป็นปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

🔸ถูกปรับรสชาติ👅

“ส่วนมากที่บอกว่าไม่อร่อยคือไปกินกับร้านที่เขาปรับรสชาติแล้ว​ อาหารรสชาติเหนือดั้งเดิมคือหายากมากๆ แล้วค่ะ ถ้าลองไปกินตามบ้านจะอร่อยมากแต่ละบ้านก็จะมีสูตรเฉพาะบ้านด้วย”

“ใครกินอาหารเหนือร้านในกรุงเทพ แล้วมาบอกว่าอาหารเหนือไม่อร่อยคือไปพัก อาหารเหนือที่กรุงเทพรสชาติไม่ได้จริง ซื้อมากี่ร้านกินสองสามคำเททิ้งแบบไม่เสียดาย อาหารเหนือที่คนเหนือกินกันไม่มีทางรสชาติแบบนี้ แต่คนไม่ชอบกินยังไงก็จะบอกไม่อร่อยอยู่ดี”

“อาหารเหนือต้องกินแบบสูตรคนเหนือจริงๆ ค่ะ สูตรที่คนภาคอื่นเอาไปปรับมักจะเพิ่มน้ำตาลเพิ่มเค็มตามความคุ้นลิ้นจนมันไม่ใช่ ที่สำคัญคืออาหารบางอย่างไม่ควรมีน้ำตาลก็อย่าฝืนใส่ อย่างน้ำพริกอ่องงี้ เคยเจอตักเข้าปากถุยทิ้งแทบไม่ทัน”

“อาหารเหนือที่ทำขายทุกวันนี้รสชาติมันถูกปรับให้กับคนภาคอื่นกิน รสชาติมันเลยเพี้ยนแม้แต่เราเองที่เป็นคนเหนือพูดเลยว่าไม่อร่อย ถ้าจะกินให้อร่อยคือต้องทำกินเองเท่านั้นเลย แม้แต่เส้นข้าวซอยมีที่ อ.แม่สะเรียง เท่านั้นที่เส้นอร่อย”

🔸คนไทยติดรสชาติ👅

“เรามองว่าด้วยความที่ไทยชอบทานรสจัดถึงเครื่องถึงรส​ แล้วอาหารใต้กับอีสานเน้นไปทางนั้น​ แต่อาหารเหนือเน้นไปที่กลิ่น​ เครื่องในการปรุง​ อย่างประโยคที่บอกว่า​ ‘กินกลิ่น’”

“คนไปเที่ยวเหนือเยอะมาก แต่อาหารกลับไม่เป็นที่นิยมเพราะส่วนใหญ่คุ้นชินกับอาหารอีสาน อาหารใต้มากกว่า เพราะมีขายเยอะคนก็เลยติดรสชาตินี้มากกว่า”

🔸ทำยาก ใช้วัตถุดิบตามฤดูกาล🍴

“อาหารเหนือแท้ทำยากครับ เครื่องปรุงตามฤดูกาล เฉพาะถิ่นเยอะ คนเหนือก็กินอาหารแบบไคเซกิเลย กินตามฤดูกาล แถมแต่ละจังหวัดมีอาหารที่มีเอกลักษณ์ แถมมีชนเผ่าด้วย ถ้าใครเก็บครบตามที่บอกคือเก่งมาก แบบแกงกระด้างหรือยำหนังหลายคนไม่รู้จักเลยทั้งที่เป็นอาหารพื้นฐาน”

“คนเหนือกินอาหารตามฤดูกาล อาจจะด้วยสภาพแวดล้อมที่มีภูเขา ทำให้มีผักเยอะ แต่ละจังหวัดก็จะมีอัตลักษณ์ของอาหารที่แตกต่างกันไป อาหารที่ทำออกมาค่อนข้างพิถีพิถัน อย่างแกงฮังเล แกงกระด้าง กว่าจะได้กินรอไปจ๊ะ”

“เครื่องเทศเยอะค่ะ ให้อร่อยจริงเครื่องเทศต้องสดใหม่ คั่วใหม่ถึงจะหอมฟุ้ง ใส่น้อยก็ไม่อร่อย ใส่เยอะไปก็ฉุน ต้องรู้มือด้วย ปั่นก็ไม่ได้ต้องตำอย่างเดียว เครื่องถึงจะเข้ากัน นี่ยังไม่นับยี่ห้อกะปิปลาร้าถั่วเน่าอีก โอ้ยยย..เยอะ ทำอร่อยเลยยากหน่อย”

“อาหารเหนือจริงๆ หลากหลาย​วัตถุดิบและเครื่องเทศเฉพาะถิ่นเยอะมาก​ ขั้นตอนทำก็เยอะ​วุ่นวาย​การทำแบบต้นตำรับเลยยากพอไปแบบดัดแปลงมันก็เลยเพื้ยนๆ ไม่อร่อยความนิยมเลยไม่แพร่หลาย​”

🔸กลิ่นแรง👃

“ถ้าใครไม่ชอบเครื่องเทศก็คงไม่ชอบไปเลย เครื่องแกงส่วนผสมเยอะขาดไม่ได้เลยคือเครื่องเทศกับมะแขว่นต้องใส่ แต่กลิ่นจะฉุนมีเอกลักษณ์ คิดว่าคนส่วนใหญ่พอได้กลิ่นก็เลยทำให้ไม่ชอบมากกว่าค่ะ”

“ความที่รสชาติมีความแตกต่างกันด้วยการใส่เครื่องเทศเยอะ อาหารจะกลิ่นแรง คนชอบก็จะชอบ คนไม่ชอบแทบกินไม่ได้เลย”

🔸คนเหนือไม่ค่อยย้ายถิ่น🏠

“ส่วนตัวคิดว่าสมัยก่อนคนเหนือส่วนใหญ่การออกจากถิ่นฐานบ้านเกิดมาอยู่ต่างจังหวัดน้อยมาก วัฒนธรรมการกินอาหารเหนือก็น้อยตามแทบจะไม่มีเลยก็ว่าได้ คนส่วนใหญ่จึงไม่รู้จักและคุ้นชินกับอาหารเหนือเลยทำให้อาหารเหนือไม่แพร่หลาย ปัจจุบันคนเหนือมาอยู่ต่างถิ่นเยอะขึ้นอาหารเหนือก็มีขายมากขึ้น”
.
ทั้งนี้ความถูกปากหรือไม่ถูกปากนั้น เป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลมาก ๆ เรื่องของรสชาติจึงขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน แล้วคุณล่ะคิดเห็นกับเรื่องนี้อย่างไร ?
.
Reference: https://twitter.com/bongtao/status/1493844942916972546?s=21
ติดตามความรู้และข่าวสารเกี่ยวกับธุรกิจอาหารอีกมากมายได้ที่ www.Amarinacademy.com
#AmarinAcademy #ร้านอาหาร

เรื่องแนะนำ

sushi shin

Sushi Shin เผยเคล็ดลับ รักษาลูกค้าเดิมให้อยู่หมัด!

แม้ปัจจุบันธุรกิจอาหารญี่ปุ่นจะไม่ได้อยู่ในช่วงขาขึ้น แต่ Sushi Shin กลับยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง เคล็ดลับสำคัญคืออะไร ไปติดตามกัน

Specialty Coffee คืออะไร ? แตกต่างจากคาเฟ่ทั่วไปอย่างไร ?

Specialty Coffee คืออะไร ? แตกต่างจากคาเฟ่ทั่วไปอย่างไร ? แชร์มุมมองโดย คุณมิน เจ้าของร้าน Gorilla Coffee&Bakery ทุกวันนี้มีร้านกาแฟให้เราได้เลือกกินอยู่เต็มไปหมด ซึ่งก็มีทั้งร้านที่เป็นรูปแบบคาเฟ่ ร้านกาแฟทั่วไป รวมถึงร้านแบบ Specialty ที่หลายคนให้คำจำกัดความร้านรูปแบบนี้ว่าเป็นร้านกาแฟที่มี “ความพิเศษ” ที่ต่างออกไปจากร้านกาแฟแบบอื่น ๆ ว่าแต่มันพิเศษยังไงล่ะ ? ลองมาดูมุมมองต่อความเป็นร้านกาแฟ Specialty ของคุณมิน ธมลวรรณ เจ้าของร้าน Gorilla Coffee&Bakery ร้านกาแฟ Specialty ย่านลาดกระบังกัน! . นิยามของ Specialty . ในมุมมองของเรา Specialty Coffee คือ กาแฟที่พิเศษแตกต่างจากกาแฟทั่ว ๆ ไป เพราะเราให้ความใส่ใจ สนใจตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ตั้งแต่การเลือกสายพันธ์ุกาแฟ ประเทศที่ปลูก การชง คาแรกเตอร์ของกาแฟแต่ละแบบ เอามาให้ผู้บริโภคเลือกมากกว่าร้านที่ขายกาแฟแบบปกติ เพราะคาแรกเตอร์แต่ละประเทศก็จะแตกต่างกัน เมื่อก่อนคนกินกาแฟ ก็อาจจะดูจากเรื่องความขม ให้ความกระปรี้กระเปร่า แต่เดี๋ยวนี้คนให้ความสนใจกับรสชาติ […]

วัวนู้ด

วัวนู้ด เผยแนวคิด การบริหารร้านอาหารแบบคนรุ่นใหม่

วัวนู้ด แบรนด์ก๋วยเตี๋ยวเนื้อที่เปิดมานานกว่า 3 ปี ทำยอดขายสูงสุดได้วันละ 50,000 บาท! ใช้หลักการบริหารแบบคนรุ่นใหม่ เปลี่ยนปัญหาให้เป็นระบบจนประสบความสำเร็จ

Phoenix lava

Phoenix Lava เผยวิธีบริหาร 4 ช่วงธุรกิจ เริ่ม รุ่ง ร่วง จนสำเร็จ!

Phoenix Lava แบรนด์ซาลาเปาไซส์ SME ที่สร้างความแตกต่างด้วยกลยุทธ์ “กฎ 10 เท่า”  ทำให้ธุรกิจที่เคยถูกมองว่ากำลังจะ “ตกกระแส” กลายเป็นธุรกิจที่ยั่งยืน

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.