ข้อดี/พิจารณา บริการน้ำเปล่า “ตั้งบนโต๊ะ" กับ “ให้ลูกค้าสั่ง” แบบไหนเหมาะร้านคุณ

เทียบ ข้อดี – ข้อพิจารณา บริการน้ำเปล่า “ตั้งน้ำไว้บนโต๊ะให้ลูกค้าหยิบ” กับ “ให้ลูกค้าสั่งกับพนักงาน”

เทียบ ข้อดี – ข้อพิจารณา บริการน้ำเปล่า
“ตั้งน้ำไว้บนโต๊ะให้ลูกค้าหยิบ” กับ “ให้ลูกค้าสั่งกับพนักงาน”
บริการแบบไหนเหมาะกับร้านคุณ!?

เวลาไปร้านอาหารคุณชอบบริการแบบไหนมากกว่ากัน!? ระหว่างร้านที่ “ตั้งน้ำไว้บนโต๊ะให้ลูกค้าหยิบ” กับ “ให้ลูกค้าสั่งกับพนักงาน” ในแง่ของผู้ประกอบการรูปแบบบริการ 2 อย่างข้างต้นต่างก็มีข้อดี ข้อด้อยแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับร้าน แต่แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าแบบไหนเข้ากับร้านเราล่ะ ? ลองมาดูข้อดี ข้อด้อยของบริการน้ำดื่ม 2 รูปแบบนี้เพื่อช่วยในการตัดสินใจนำมาปรับใช้กับร้านคุณสิ!
.
หมายเหตุ: น้ำดื่มที่ยกมาพูดถึง คือ น้ำเปล่า ซึ่งในที่นี้จะขอเรียกสั้น ๆ ว่า “น้ำ”
.
<<ตั้งน้ำไว้บนโต๊ะให้ลูกค้าหยิบ>>
😁ข้อดี
1.แน่นอนว่าวิธีนี้ทำให้ลูกค้าสามารถหยิบน้ำดื่มเติมเองได้ทันที ไม่ต้องรอเรียกพนักงานให้มารับออเดอร์หรือรอพนักงานเดินไปหยิบน้ำมาเสิร์ฟ เรียกได้ว่าเป็นวิธีที่ทันใจลูกค้า
2.เนื่องจากการมีน้ำมาตั้งอยู่ใกล้ ๆ ทำให้ลูกค้ามีแนวโน้มเปิดเครื่องดื่มเพิ่มมากกว่าการต้องสั่งให้พนักงานมาเสิร์ฟ เพราะลูกค้าสามารถตัดสินใจได้เดี๋ยวนั้น จะดื่มก็หยิบเพิ่มเลย ในทางกลับกันถ้าต้องใช้เวลาในการรอ ลูกค้าก็อาจจะเปลี่ยนใจแล้วเลือกที่จะกลับไปกินที่บ้านหรือที่อื่นแทน เพราะเพียงเสี้ยวนาทีก็มีผลต่อการตัดสินใจ
3.เมื่อมีน้ำไว้บริการบนโต๊ะอยู่แล้วทำให้ภาระงานของพนักงานลดลง ข้อนี้อาจเห็นได้ไม่ชัดในการเสิร์ฟรอบแรก เพราะถึงพนักงานไม่ได้มาเสิร์ฟน้ำ แต่ก็อาจมีการเสิร์ฟน้ำแข็ง และต้องเสิร์ฟอาหารอยู่แล้ว แต่เมื่ออาหารออกหมด ลูกค้ารับประทานมาได้สักพักน้ำก็อาจจะหมด ทีนี้เมื่อมีน้ำอยู่บนโต๊ะ ลูกค้าก็ไม่จำเป็นต้องเรียกพนักงานเพื่อมารับออเดอร์ เพราะสามารถหยิบน้ำเติมเองได้เลย ทำให้พนักงานมีภาระงานต่อโต๊ะน้อยลง อีกทั้งสามารถไปทำอย่างอื่นหรือบริการโต๊ะอื่นได้อีก
.
🤨ข้อพิจารณา
1.การตั้งน้ำไว้บนโต๊ะอาจทำให้การจดออเดอร์รวมอาหารและเครื่องดื่มตกหล่น เนื่องจากการจดออเดอร์แบบนี้จะไม่ผ่านหน้าเคาน์เตอร์ แต่จะเป็นการมาเช็คหลังลูกค้ารับประทานอาหารเสร็จ ซึ่งมีโอกาสเช็คออเดอร์ตกหล่นอย่างไม่ตั้งใจได้ เช่น การที่ลูกค้าวางขวดไว้ด้านล่างแล้วลืม พอพนักงานมาเช็คก็ไม่ทันได้สังเกตทำให้ร้านเสียรายได้ส่วนนั้นไป
2.เมื่อตั้งน้ำทิ้งไว้ แม้เวลาจะผ่านไปไม่นานแต่ก็มีโอกาสที่ฝุ่นหรือละอองจะมาเกาะที่ขวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในร้านที่เป็นแบบ outdoor ที่เป็นร้านเปิด ลมก็อาจจะพัดฝุ่นควันเข้าร้านได้มากซึ่งตรงนี้ถ้าไม่หมั่นดูแลรักษาความสะอาดก็จะส่งผลต่อภาพลักษณ์เรื่องความสะอาดของร้านได้ ลองจินตนาการว่าถ้าลูกค้าหยิบขวดน้ำขึ้นมาแล้วมีแต่ฝุ่นเกาะดำปี๋ ก็ดูไม่น่าพิศมัยเท่าไหร่ใช่ไหมล่ะ


<<ให้ลูกค้าสั่งกับพนักงาน>>
😁ข้อดี
1.เมื่อเป็นการหยิบใหม่มาเสิร์ฟ อาจทำให้ลูกค้ามีทางเลือกในการบริโภคเยอะขึ้น เช่น น้ำแบบแช่เย็น เพราะน้ำที่ตั้งอยู่บนโต๊ะไม่เย็นแน่ ๆ อีกทั้งอาจมีน้ำดื่มยี่ห้ออื่นให้เลือก เพราะก็มีผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยที่ชื่นชอบรสชาติของน้ำดื่มยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งเป็นพิเศษทำให้เว้นการดื่มน้ำยี่ห้อที่ไม่ชอบ
2.พนักงานสามารถเช็คสินค้าก่อนจะไปถึงมือลูกค้าได้ เช่น สิ่งแปลกปลอมที่อาจติดไปกับขวด ตำหนิของฝาขวด รวมถึงความสะอาดของขวด ซึ่งถ้าลูกค้าได้รับไปแล้วสังเกตเห็นว่าสินค้าที่ได้ด้อยคุณภาพ ก็ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของร้าน
3.โอกาสที่ออเดอร์จะตกหล่นน้อย เพราะออเดอร์ออกผ่านเคาน์เตอร์ ซึ่งเมื่อพนักงานเสิร์ฟมาสั่ง พนักงานหน้าเคาน์เตอร์ก็จะทำการจดบันทึกทันที อีกทั้งในบางร้านใช้เครื่อง POS ที่สามารถบันทึกรายการสินค้าและตัดสต็อกได้เลย พนักงานไม่ต้องไปรอเช็คออเดอร์รวมตอนเก็บเงิน

🤨ข้อพิจารณา
1.ลูกค้าต้องรอสั่งจากพนักงานเพียงอย่างเดียว ซึ่งถ้าเป็นเวลาปกติหรือในร้านที่มีจำนวนพนักงานเยอะคงไม่มีปัญหา แต่ถ้าอยู่ในชั่วโมงเร่งด่วนแถมร้านยังมีจำนวนพนักงานน้อย อาจทำให้พนักงานให้บริการลูกค้าไม่ทั่วถึง เช่น ลูกค้าต้องการจะสั่งน้ำแต่พนักงานที่ดูแลโต๊ะหายและไม่มีพนักงานคนไหนว่างมารับออเดอร์ก็อาจทำให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกไม่พอใจได้
2.อยากจะเพิ่มยอดขายน้ำ พนักงานต้องพูดให้เป็น ส่วนใหญ่เราจะพบว่าเราจะได้ยอดขายน้ำเพิ่มขึ้น ต่อเมื่อลูกค้าต้องการสั่งเพิ่มด้วยตัวเอง ทั้งนี้ถ้าอยากจะเพิ่มยอดขายน้ำ พนักงานต้องมีทักษะในการพูดและรู้จักจังหวะในการเข้าไปเสนอขายเพิ่มเติม เช่น เข้าไปเสนอขายน้ำเปล่าในขณะที่น้ำขวดเก่าใกล้จะหมด “รับน้ำอีก 1 ขวดเพิ่มไหมครับ”
.
ทั้งนี้การเลือกนำรูปแบบบริการเครื่องดื่มไปใช้ในร้านยังต้องคำนึงถึงเรื่องอื่น ๆ อีก ทั้งจำนวนพนักงาน จำนวนลูกค้า ประเภทร้าน รวมถึงความคาดหวังของลูกค้าที่มีต่องานบริการ อย่างในร้านอาหารที่ราคาสูงลูกค้าก็คาดหวังว่าจะได้รับการบริการจากพนักงานเป็นอย่างดี คุ้มค่ากับเงินที่จ่าย อย่างไรก็ตามทุกคนลองไปเปรียบเทียบกันดูว่าบริการแบบไหนเหมาะกับร้านของคุณมากกว่ากัน แล้วนำไปปรับใช้กันนะคะ
.
#AmarinAcademy #ร้านอาหาร

เรื่องแนะนำ

เลือกทำเล

เลือกทำเล เหมือนเลือกคู่ชีวิต ถ้าเลือกผิดต้องทนอีกนาน

ทุกวันนี้ community mall ตามที่ต่างๆ เริ่มมีพื้นที่ปล่อยว่างมากขึ้น บางคนเก็บเงินทั้งชีวิตเพื่อทำธุรกิจ เลือกทำเล ที่คิดว่าดี แต่มาเจ๊งตั้งแต่ไม่เปิดโครงการ

เทคโนโลยีดิจิตอล ตัวช่วยร้านอาหารยุคใหม่

  ระบบจัดการร้าน POS ระบบบริหารจัดการร้าน  POS ที่เจ้าของร้านอาหารหลายร้านนำมาใช้เพื่อบันทึกยอดขายหน้าร้าน   ซึ่งในปัจจุบันได้พัฒนาให้รองรับการบริหารจัดการร้าน และสนับสนุนในด้านการตลาดด้วยฟังค์ชั่นที่ทำได้มากกว่าการแค่บันทึกยอดขาย หรือการจัดการที่นั่ง นั่นก็คือ การมีระบบหลังบ้านที่ช่วยบันทึกและประมวลผล ซึ่งสามารถดูได้แบบเรียลไทม์ ยกตัวอย่าง เช่น เมนูขายดี ช่วงเวลาขายดี จำนวนการซื้อต่อหัว จำนวนบิล การจัดการโปรโมชั่น และการเชื่อมต่อเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าที่มากขึ้นได้ เช่น เดลิเวอร์รี่ การสั่งเมนูล่วงหน้า ที่เป็นประโยชน์ต่อร้านในการบริหารจัดการเมนู และการตลาด แต่ทราบไหมว่าการใช้ POS ปัจจุบันร้านอาหารหลายร้านยังใช้คุณสมบัติพิเศษของ POS ได้ไม่เต็มที่ เช่น  ความสามารถในด้านการประมวล ข้อมูลด้านต้นทุนต่อเมนู  ที่ POS สามารถบันทึก คำนวณผลกำไร การสูญเสีย รวมถึงสามารถใช้การบริหารวัตถุดิบ เพื่อจัดการสั่งซื้อได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาวัตถุดิบขาด ต้องเสียต้นทุนแฝงในการไปซื้อในกรณีเร่งด่วนได้ ซึ่งหากร้านของคุณมีการจัดทำข้อมูลด้านต้นทุน หรือการทำ Recipe ที่ดีอยู่แล้ว ก็ไม่ควรพลาดโอกาสที่จะใช้คุณสมบัติสำคัญนี้ด้วย ระบบ  POS นับว่าเป็นระบบที่สามารถรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นพื้นฐานต่อการบริหารให้ได้กำไรสูงสุดต่อร้านอาหารในปัจจุบัน เพราะฉะนั้นถ้าคุณเป็นร้านที่ใช้ระบบ POS อยู่แล้วควรให้ความสำคัญกับการใช้ฟีเจอร์ต่าง ๆ ให้เป็นประโยชน์สูงสุด […]

ผู้จัดการร้านอาหารที่ดี

4 คุณสมบัติสำคัญที่ ผู้จัดการร้านอาหารที่ดี ควรมี

ผู้จัดการร้านอาหาร คือคนที่ทำหน้าที่ควบคุมร้านอาหารให้ดำเนินงานไปได้โดยราบรื่น อย่างนั้นมาดูกันสิว่า ผู้จัดการร้านอาหารที่ดี ต้องมีคุณสมบัติใดบ้าง

ถ้าตัดสินใจลุยต่อ! สิ่งที่ต้องทำคืออะไรบ้าง? ในวันที่ขายได้แค่ “ซื้อกลับบ้าน”

ถ้าตัดสินใจลุยต่อ! สิ่งที่ต้องทำคืออะไรบ้าง? ในวันที่ขายได้แค่ “ ซื้อกลับบ้าน ” วิกฤตโรคระบาดครั้งนี้ดูจะไม่หายไปง่าย ๆ ถ้านับจากตอนระบาดใหม่ ๆ ก็กินเวลามาเป็นปี ๆ ทั่วโลกได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างหนัก ทำให้ตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภคหรือผู้ประกอบการก็ต่างอยู่ในจุดที่ต้องกอดเงินที่มีอยู่ไว้ให้แน่น  ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ประกอบการควรมีการวางแผนการเงินในระยะยาวให้ธุรกิจของคุณยังคงไปต่อได้ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจในช่วงวิกฤต ลองมาดูสิ่งที่ต้องทำในวันที่ขายได้แค่ “สั่งกลับบ้าน” 1.ประเมินความพร้อม: จากบทเรียนการระบาดครั้งก่อน ร้านที่ได้ลองทำเดลิเวอรีแล้วก็พอจะเห็นสถิติและพอประเมินได้ว่า ถ้าต้องเปลี่ยนมาขายแบบซื้อกลับเป็นหลัก ร้านจะมีรายได้เท่าไหร่ พอสำหรับจ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมดหรือไม่ ถ้าประเมินแล้วคิดว่ารายได้โอเค สู้ไหว เปิดแล้วทำให้ร้านพอมีรายได้เข้าบ้างก็ไปข้อต่อไป 2.ต่อรองประนอมหนี้: “รายได้ลดลง รายจ่ายเท่าเดิม” สิ่งต่อมาที่ผู้ประกอบการต้องทำ คือ ลดภาระค่าใช้จ่ายต่อเดือนให้ได้มากที่สุด ให้ตัวเบาที่สุด โดยทำการพูดคุยตกลงกับเจ้าของที่เพื่อขอลดค่าเช่า หรือขอแบ่งเบาภาระหนี้สินกับธนาคาร อย่างน้อย 1 – 2 เดือน เพื่อลดรายจ่ายเท่าที่เป็นไปได้ 3.เอายังไงกับพนักงาน: แม้ร้านจะไม่เปิดให้บริการนั่งทานในร้าน แต่การจ่ายค่าจ้างพนักงานยังคงอยู่ ดังนั้นสิ่งที่ผู้ประกอบการทำได้ คือ พยายามลดค่าใช้จ่ายด้านพนักงานให้ลดลง โดยการประเมินงานที่ต้องทำในแต่ละวันก่อนว่าร้านเราน่าจะใช้คนเท่าไหร่ ถ้าใช้คนน้อยให้ลองใช้วิธีแบ่งกะเวลาการทำงาน สลับเวลากันมาทำ แต่ต้องคุยกับพนักงานให้ชัดว่า ช่วงนี้อาจจะให้ค่าตอบแทนได้น้อยลง แต่อย่างน้อยก็มีงานทำอยู่ พร้อมทั้งวางแผนการทำงานให้ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.