ดราม่าคนทำร้านกาแฟ "เอสเย็น" มีจริงไหม ? เมนูที่ลูกค้าสั่ง แต่บางร้านไม่เข้าใจ

ดราม่าคนทำร้านกาแฟ “เอสเย็น” มีจริงไหม ? เมนูที่ลูกค้าสั่ง แต่บางร้านไม่เข้าใจ

ดราม่าคนทำร้านกาแฟ
“เอสเย็น” มีจริงไหม ?
เมนูที่ลูกค้าสั่ง แต่บางร้านไม่เข้าใจ

แชร์มุมมองประเด็น “เอสเย็น” โดยคุณนิว นฤพล วงษ์สุข เจ้าของร้าน Nap’s coffee x rama 2

“เอสเย็น” “เอสเพรสโซ่เย็น” มีจริงไหม ? เป็น Topic ที่ถูกพูดถึงกันบ่อยมากในกลุ่มคนทำร้านกาแฟ จนบางทีก็เกิดเป็นดราม่าระหว่างคนทำร้านกาแฟกับลูกค้า และคนทำร้านกาแฟด้วยกันเอง ด้วยเหตุผลที่ว่าเมนูเอสเย็นนี้ไม่ใช่เมนูที่อยู่ในสูตรสากล ผู้ขายกาแฟบางคนก็มีความคาดหวังความเข้าใจของชื่อและสูตรกับลูกค้า ในขณะที่ลูกค้าก็คาดหวังรสชาติที่ถูกใจ ทำให้เกิดความเข้าใจไม่ตรงกัน นำไปสู่ดราม่าบ่อย ๆ

ดังนั้นวันนี้เราลองมาหาคำตอบกันว่าเอสเย็นมีจริงไหม ? ในมุมมองของพี่นิว นฤพล วงษ์สุข เจ้าของร้าน Nap’s coffee x rama 2 กัน!
🔸เคยมีคนสั่งเอสเย็นไหม ?☕️🧊
.
เอสเพรสโซ่ คือ เมนูที่มีแค่กาแฟอย่างเดียวเลย มันคือสารตั้งต้นของทุกเมนู ซึ่งที่ร้านก็มีคนสั่งเมนูเอสเย็นบ่อยเหมือนกัน แต่ก็ไม่ได้เยอะมาก
.
🔸“เอสเย็น” มีจริงไหม ?🤔
.
ณ วันนี้ปัจจุบัน ถ้าย้อนความคำถามคือ ข้าวผัดอเมริกันมันเป็นของคนไทยปะ ? แล้วมาอยู่นี่คืออะไร ข้าวผัดของคนอเมริกันหรอ ? มันเป็นตามยุคตามสมัย ทุกวันนี้เอสเพรสโซ่เย็น มันถูกบรรจุในประเทศไทยแล้ว ว่ามันเป็นกาแฟที่ใส่นมข้นหวาน แต่เราก็ไม่แน่ใจว่ามันเป็นในระดับสากลหรือยังนะ

ตอนนี้บ้านเรามีการแข่งขันเมนูนี้ขึ้นมา เหมือนการชงกาแฟดริป การชงกาแฟต่าง ๆ ซึ่งผลตอบรับก็ค่อนข้างดีกับเมนูเอสเพรสโซ่เย็น ถ้าจะให้ท้าวความถึงที่มาที่ไปจริง ๆ แล้วเอสเพรสโซ่เย็น มันไม่มีอยู่จริงในเมื่อก่อน แต่ ณ ปัจจุบันนี้มันถูกวิวัฒนาการให้มีความร่วมสมัยมากขึ้นจนติดหูเราทุกวันนี้

สั่งเอสเย็นบ้านเราก็ต้องมีนมข้นหวาน นมจืด ถ้าไปสั่งเมืองนอกในสมัยก่อนก็อาจจะเป็น Espresso on ice หรือเอสใส่น้ำแข็ง แต่เอสเย็นมันคือภาษาไทย มันไม่ใช่เอสเย็นแบบทับศัพท์ภาษาอังกฤษ กาแฟมันกำเนิดจากต่างประเทศมันไม่ได้กำเนิดในไทยแต่มันถูก Culture บ้านเราวิวัฒนาการ จนมาถึงทุกวันนี้


🔸Espresso on ice หรือ เอสเย็น🧊
.
Espresso on ice กับ เอสเย็นแบบไทย ๆ มันคนละเมนูกันเลย Espresso on ice ถ้าเราจะนิยามมันคือเอสเพรสโซ่ช็อตที่ไหลผ่านตัวไอซ์ บอม? หรือน้ำแข็งให้มันละลายหรือเจือจาง แต่ถ้าเรานิยามอีกนิยามหนึ่งมันก็เป็นกาแฟดำชนิดหนึ่ง

แต่ถ้าเป็นเอสเย็นก็จะเป็นเอสเพรสโซ่ใส่นมข้นหวาน ใส่นมจืด อารมณ์คล้าย ๆ กับกาแฟเวียดนาม กาแฟโบราณที่ข้างบนเป็นกาแฟดำข้างล่างเป็นนมข้นหวาน แต่กาแฟเวียดนามจะเป็นกาแฟร้อนที่เราเคยเห็น ๆกัน พอมาใส่น้ำแข็งกลายเป็น “เอสเย็น”
.


🔸ทำการค้าเพื่อสิ่งใด ?👥💸
.
อันนี้มันแล้วแต่ร้าน ถ้าร้านยึดติดก็ไม่ผิดก็เหมือนผัดกะเพราไม่ใส่ถั่วฝักยาวก็ไม่ผิดก็เขาขายกะเพราแบบนี้ ร้านนั้นเขาขายแบบนี้จะบอกว่าเขาผิดหรอ มันก็เป็นสิทธิ์ของเขา ผู้ขายกับผู้ซื้อมีความเห็นไม่ตรงกันแล้วอะไรคือความผิด แต่มันคือการที่เราไม่ได้ขายในสิ่งที่ลูกค้าคนนั้นต้องการ

จะเป็นต่อไปมันก็ได้ แต่สำหรับเรามองว่า เห้ยวันนี้เขายังไม่รู้ หรือถ้าวันนึงเขาไปศึกษา ว่าจริง ๆ แล้วเราทำการค้าเพื่อสิ่งใด ถ้าเราทุนเหลือ 80% ก็เป็นตัวเอง แต่ถ้าเราทุนน้อยฟังลูกค้าเยอะ ๆ ลูกค้าอยากได้อะไร เราปรับได้ไหม ขอบเขตของการทำงานมันไม่สามารถทำได้ทุกอย่าง เราอาจไม่สามารถทำได้เหมือนคนที่เก่งที่สุดในประเทศได้ เราก็ทำในขอบเขตที่เราทำได้แต่เราก็มีทิศทาง คือคนนั้นคืออินสไปร์เรา เป็นไอดอลเรานะเราก็อยากจะไปเป็นแบบนั้น แต่วันนี้เราทำได้แบบนี้ก็คือแบบนี้

วันนึงเราเปิดร้านใหม่อาจจะไม่มีแบบนี้ก็ได้ เราอาจจะตั้งโต๊ะเล็ก ๆ ขาย Slow Bar เราทำแบบนี้เราผิดไหมก็ไม่ แล้วมันคลิ๊กได้ไหมกับลูกค้า ถ้าคลิ๊กได้ เช่น ถ้าลูกค้าชอบกินกาแฟใส่นม แต่เราขายกาแฟดำเรา ก็ไม่ใช่จุดยืนเดียวกัน
.
จริง ๆ แล้ว อาจเรียกได้ว่าเมนูเอสเย็นนี้เป็นเมนูที่ดัดแปลงให้เหมาะกับสภาพอากาศ วัฒนธรรมการกินแบบคนไทย ที่อยู่ในเมืองร้อน ด้วยเหตุผลนี้จึงทำให้เกิดความหลากหลายของอาหารในโลก ที่มีการปรับเปลี่ยนวิวัฒนาการไปตามแต่ละพื้นที่ ไม่ได้เหมือนกันไปทั้งหมด

ซึ่งทางออกเพื่อแก้ปัญหาความไม่เข้าใจกันระหว่างลูกค้าและคนขาย อาจใช้การสื่อสารที่ดีเข้ามาช่วย ใช้การทวนเมนูให้เข้าใจว่าลูกค้าต้องการอะไร แล้วเราทำได้ไหม ซึ่งตรงนี้ร้านเองก็ต้องชั่งใจว่าสิ่งที่เรากำลังทำอยู่นี้ เราทำไปเพื่อสิ่งใด เพื่อตอบทั้งตนเองและลูกค้าให้ได้ว่า “จุดยืน” ของคุณนั้น ขายอะไร✨
.

ภาพจากเพจ Nap’s coffee x rama 2
Reference: https://www.facebook.com/groups/259809032544230/posts/464508165407648/

#AmarinAcademy #ร้านอาหาร

เรื่องแนะนำ

เฮียนพหมูปิ้ง

เฮียนพหมูปิ้ง จากกรรมกรสู่ ธุรกิจหมูปิ้งร้อยล้าน

เฮียนพหมูปิ้ง ชายที่ผ่านมาแทบทุกอาชีพไม่ว่าจะเป็น กรรมกร รปภ.คนขับแท็กซี่ แต่เพราะไม่ยอมแพ้กับชีวิตทำให้วันนี้เขามีรายได้มากกว่า 200 ร้อยล้านบาทต่อปี!

Creamery

Creamery boutique ice creams ทำอย่างไร ในวันที่กลุ่มลูกค้าเดิมเปลี่ยนไป?

Creamery boutique ice creams ร้านไอศกรีมโฮมเมด และคุกกี้ลาวา เป็นอีกหนึ่งร้าน ที่เจ้าของเริ่มต้นเปิดร้านจากความรักและความชื่นชอบในการทำขนมมากๆ และกล้าพูดได้ว่าเป็นร้านแรกๆ ที่เริ่มคิดค้นเมนูลาวาจากไข่เค็ม ที่ยังคงเป็นเมนูยอดฮิตจนถึงทุกวันนี้ คุณชมพูนุช จอมสง่าวงษ์ เจ้าของร้านจะมาเผยถึงวิธีคิดเมนูให้เป็นจุดเด่นของร้าน รวมถึงความท้าทายที่ร้านต้องเจอ เมื่อกลุ่มลูกค้าเดิมเปลี่ยนไป จะมีวิธีอย่างไร มาดูกันครับ   Creamery boutique ice creams ร้านที่เริ่มต้นจากความรักในการทำขนม ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 7 ปีที่แล้ว เดิมเราทำงานประจำอยู่ที่โรงแรมโอเรียนเต็ล ทำขนมอยู่ที่นั่น เราชอบทำขนมอยู่แล้ว เลยอยากเปิดร้านขนมทำเป็นงานเสริมก่อน ก็เลยเปิดร้าน Creamery boutique ice creams สาขาแรกแถวสามย่าน ซึ่งก่อนจะเปิดร้านเคยไปกินร้านที่สเปน แล้วชอบช็อกโกแลตที่นั่นมาก อยากกินอีก เลยคิดว่าทำเองดีกว่า เลยลองทำช็อกโกแลตมาใส่คุกกี้ สินค้าตัวแรกของร้านเลยออกมาเป็นช็อกโกแลตลาวา ตัวนี้ทำให้เราเป็นที่น่าจดจำมากขึ้น เพราะความแปลกใหม่ ที่ยังไม่มีใครทำคุกกี้ที่เป็นลาวา รวมถึงพลังของโซเชียลมีเดีย ที่ทำให้คนเห็นเมนูเรามากขึ้น พอเอาไอศกรีมมาวางบนคุกกี้ ลาวาในคุกกี้ก็จะไหลออกมา ลูกค้าก็ว๊าวมาก คนก็ถ่ายแล้วแชร์ ซึ่งเราคิดว่า เราจับเทรนด์นี้ได้ทันพอดี คุกกี้ลาวาไข่เค็มชาโคล […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.