สถานการณ์ ร้านสตรีทฟู้ด อยู่รอดอย่างไรในวิกฤต? - Amarin academy

สถานการณ์ ร้านสตรีทฟู้ด อยู่รอดอย่างไรในวิกฤต?

         ร้านสตรีทฟู้ด (Street food) หรือร้านอาหารริมทาง ถือเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ของประเทศไทย โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพ ฯ ที่เรียกได้ว่าเป็น “เมืองหลวงของสตรีทฟู้ด” เพราะสามารถหาซื้ออาหารรสชาติดี ราคาไม่แพงได้ในทุกพื้นที่ทั่วไป อีกทั้งยังสะดวกรวดเร็วไม่แพ้ฟาสฟู้ดต่างๆ 

         ซึ่งร้านอาหารแบบนี้เป็นที่นิยมเนื่องจากต้นทุนที่ไม่สูงมากนัก ใช้อุปกรณ์ไม่มาก และเริ่มต้นธุรกิจได้ง่าย รวมทั้งยังมีหลายรูปแบบ ทั้งร้านแบบรถเข็นเล็กๆ แผงลอย รถขายอาหาร (Food Truck) แบรนด์ร้านอาหารใหญ่ ๆ ก็สนใจที่จะลงมามีบทบาทในตลาดสตรีทฟู้ดมากขึ้น หรือแม้แต่คนทั่วไปก็หันมาขายอาหารข้างทาง เพื่อหารายได้ชดเชยงานที่หายไปจากวิกฤตไวรัสอีกด้วย 

สถานการณ์ ร้านสตรีทฟู้ด
อยู่รอดอย่างไรในวิกฤต?

ร้านสตรีทฟู้ด

วิกฤตโควิด-19 มีผลกระทบอย่างไรต่อตลาดสตรีทฟู้ด? 

         แน่นอนว่า ร้านสตรีทฟู้ด ที่อยู่ในแหล่งท่องเที่ยว ย่อมได้รับผลกระทบจากนักท่องเที่ยวที่หายไป ทำให้ยอดขายลดลงอย่างมาก การประกาศเคอร์ฟิวทำให้ร้านอาหารต้องปรับเวลาเปิดปิดร้านใหม่ตามกำหนดเวลา และการสั่งปิดร้านตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินที่ทำให้สามารถขายได้แค่แบบซื้อกลับบ้าน ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของร้าน และต้องมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างหน้าที่ของพนักงานบางส่วน ในมุมพนักงานก็มีทั้งโดนลดค่าแรง จนไปถึงโดนเลิกจ้างงาน

         แต่สำหรับร้านสตรีทฟู้ดที่อยู่ในแหล่งชุมชน ไม่ใช่สถานที่ท่องเที่ยว และมีกลุ่มเป้าหมายหลักเป็นลูกค้าในชุมชน จะได้รับผลกระทบน้อยกว่า เพราะมีค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงนัก และค่าเช่าที่อาจจะไม่มาก หรือไม่มีต้นทุนในส่วนนี้เลย รวมถึงเดิมทีร้านอาหารเหล่านี้ก็ไม่มีหน้าร้านสำหรับให้ลูกค้านั่งทานอาหารมากนักอยู่แล้ว ซึ่งการปิดเมืองทำให้คนที่ทำงานอยู่ที่บ้านก็สามารถออกมาซื้ออาหารในแหล่งที่อยู่อาศัย เพื่อนำกลับไปทานที่บ้านได้โดยไม่ต้องรอนาน ไม่ต้องเข้าคิวแออัดกับใคร ไม่ต้องเสียค่าส่งอาหารเพิ่ม และได้ออกมาผ่อนคลายความเบื่อจากการอยู่แต่ในบ้าน

         ในแหล่งที่อยู่อาศัยช่วงตอนเย็น จะเห็นลูกค้าออกมาซื้ออาหารจากร้านข้างทาง ขายดีกันพอสมควร รายได้อาจจะลดลงบ้างแต่ร้านยังคงอยู่ได้ หรือบางร้านอาจจะขายดีขึ้นด้วยซ้ำ เพราะลูกค้าซื้อจำนวนมากขึ้นเพื่อนำกลับไปฝากครอบครัวที่อยู่แต่ในบ้าน

 

จุดขายของร้านสตรีทฟู้ดและการปรับตัว 

         จุดเด่นของร้านสตรีทฟู้ด คืออาหารรสชาติอร่อยในราคาที่จ่ายได้สบายๆ เมนูอาหารมีหลากหลายและคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว ทำให้ร้านสตรีทฟู้ดไม่ต้องเสียค่าการตลาดสูงๆ ในการประชาสัมพันธ์ร้าน แม้จะอยู่ในภาวะเศรษฐกิจไม่ดีนัก ผู้บริโภคก็ยังสามารถซื้อซ้ำได้เรื่อยๆ ในชีวิตประจำวัน โดยไม่ต้องลังเล หรือรอโอกาสพิเศษเหมือนอาหารราคาสูงจากร้านอาหารแบรนด์ใหญ่ๆ 

ร้านสตรีทฟู้ด
         ร้านสตรีทฟู้ดยังมีการปรับตัวเข้าสู่ระบบเดลิเวอรีมากขึ้น จากสถิติการสั่งอาหารออนไลน์ของคนไทยในเดือนมีนาคม 2563 โดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) พบว่าอาหารสตรีทฟู้ดบางชนิด ได้แก่ อาหารตามสั่ง ก๋วยเตี๋ยวและอาหารประเภทเส้น เป็นอาหารยอดนิยมอันดับ 2 และอันดับ 3 ในการสั่งเดลิเวอรี รองมาจากอาหารฟาสฟู้ดในอันดับที่ 1 ซึ่งสถิตินี้แสดงให้เห็นความสามารถในการปรับตัวของธุรกิจร้านสตรีทฟู้ดได้เป็นอย่างดี หรือในแอปพลิเคชันเองก็มีการโปรโมทร้านสตรีทฟู้ดต่างๆ เช่นกัน

         นอกจากนี้ การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการปักหมุดโลเคชั่นของร้าน ก็ช่วยให้ลูกค้าสะดวกต่อการค้นหาร้านสตรีทฟู้ดได้สะดวกมากขึ้น หรือการเพิ่มช่องทางติดต่อออนไลน์ ช่องทางการจ่ายเงินอื่นๆ ก็ช่วยให้ร้านรับออร์เดอร์จากลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว

 

อย่าลืมสิ่งที่ร้านสตรีทฟู้ดต้องระวัง! 

         การระบาดของไวรัสทำให้ลูกค้าใส่ใจความสะอาดของอาหารมากขึ้น สิ่งสำคัญที่เจ้าของร้านสตรีทฟู้ดต้องให้ความสำคัญ คือสร้างความเชื่อมั่นในสุขอนามัยของร้านให้แก่ลูกค้า เพราะร้านอาหารริมทางไม่ได้มีครัวแยกเหมือนกับร้านอาหารใหญ่ๆ  

ร้านสตรีทฟู้ด

         ดังนั้น ลูกค้าจะสามารถเห็นตั้งแต่การจัดวางวัตถุดิบต่างๆ ความสะอาดของอุปกรณ์ครัว และขั้นตอนระหว่างการทำอาหาร เจ้าของร้านจึงควรจัดวางสิ่งของวัตถุดิบให้สะอาดเรียบร้อย มีภาชนะปิดมิดชิด รวมถึงการแต่งตัวของพนักงานก็ต้องดูสะอาด มีการใช้หน้ากากอนามัย ใส่ถุงมือระหว่างให้บริการ และใช้บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ลูกค้ามั่นใจในการซื้ออาหารมากขึ้น

         อีกปัญหาที่ต้องระวัง คือการบริหารต้นทุนให้ได้กำไรหลังจากหักค่าใช้จ่ายต่างๆ  ด้วยราคาอาหารที่ไม่สูงนัก หากนำร้านเข้าสู่แอปพลิเคชันเดลิเวอรีต่างๆ จะมีค่า GP เป็นต้นทุนหลักที่เพิ่มขึ้นมาอีก พ่อค้าแม่ค้าก็ต้องบริหารจัดการกันให้ดี และปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 

 

         อย่าลืมว่าธุรกิจร้านอาหารมีความท้าทายอยู่เสมอ ไม่ว่าที่ร้านจะขายเมนูอะไร ผ่านทางหน้าร้านหรือช่องทางออนไลน์ ก็ต้องคิดวางแผนพัฒนาอยู่เสมอ เพราะคนที่ไม่มีรายได้จากวิกฤตก็อาจจะหันมาทำอาหารแข่งในแบบเดียวกัน จะต้องทำอย่างไรให้ร้านสตรีทฟู้ดของเราอร่อยที่สุดในละแวกนี้ เป็นจุดเด่นที่เมื่อพูดถึงเมนูนี้ทุกคนจะต้องนึกถึงร้านเรา เป็นเรื่องที่เจ้าของร้านต้องคิดหาอัตลักษณ์ และสร้างความโดดเด่นที่พอเพียงในแบบของตัวเองให้ได้ เพื่อโอกาสในการเติบโตที่มากขึ้นต่อไป

เรื่องแนะนำ

ไวรัสโคโรน่า

ไวรัสโคโรน่า (COVID-19) กระทบหนัก! ร้านอาหารปรับตัวอย่างไรในวิกฤตนี้

จากข่าวการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของ ไวรัสโคโรน่า หรือ COVID-19 โรคติดต่ออันตรายที่กำลังแพร่ระบาดไปยังหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในหลายๆประเทศ ที่มีผู้ป่วยติดเชื้อ รวมถึงผู้ที่เข้าเกณฑ์ต้องเฝ้าระวังที่ผ่านมานับพันราย และได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ COVID-19 เป็นโรคติดต่ออันตรายแล้ว จากเหตุการณ์นี้แน่นอนว่าย่อมส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการหลายรายในประเทศ รวมถึงผู้ประกอบการร้านอาหารก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน แล้วร้านอาหารต้องปรับตัวอย่างไรกับสถานการณ์นี้    ไวรัสโคโรน่า (COVID-19) กระทบหนัก! ร้านอาหารปรับตัวอย่างไรในวิกฤตนี้ ไวรัสกระทบร้านอาหาร เสียรายได้หลักหมื่นล้านบาท นักท่องเที่ยวที่น้อยลงส่งผลกระทบต่อร้านอาหารตั้งแต่ SME รายย่อยไปจนถึงรายใหญ่ ซึ่งข้อมูลจากศูนย์วิจัยธนาคารออมสินคาดการณ์ว่า หากประเทศไทยควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสได้ภายใน 3 เดือน ธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มในประเทศจะสูญเสียรายได้ไปแล้วประมาณ 16,000 ล้านบาท แต่หากสถานการณ์การแพร่ระบาดลากยาวไปจนถึง 6 เดือน อาจจะสูญเสียรายได้มากถึง 34,000 ล้านบาท    พฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง จำนวนลูกค้าต่างชาติที่ลดลงส่งผลอย่างมากต่อร้านอาหารในจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว เช่น กรุงเทพฯ ชลบุรี  รวมถึงร้านอาหารริมทางหรือ Street Food ที่กระจายอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ นอกจากนี้ ลูกค้าคนไทยเองก็มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ได้แก่ หลีกเลี่ยงการออกไปในที่สาธารณะ และใช้เวลาที่บ้านมากขึ้น สั่งอาหารเดลิเวอรี่มากขึ้น เลือกทานอาหารในร้านที่คนไม่แออัด ซื้ออาหารสำเร็จรูปกลับไปทานที่บ้านแทน […]

สไปร์ท

สไปร์ท เปลี่ยนขวดสี เป็นขวดใส ผลักดันการรีไซเคิลพลาสติกครั้งสำคัญ

เชื่อว่าเครื่องดื่ม สไปร์ท ขวดสีเขียว เป็นเอกลักษณ์และภาพจำที่คุ้นเคยของคนทั่วโลก แต่ด้วยกระแสการหันมาใส่ใจเรื่องการใช้พลาสติกมากขึ้น หลายองค์กรเริ่มให้ความสำคัญและตื่นตัวกับเรื่องนี้ ล่าสุดบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง โคคา-โคล่า ได้มีการประกาศเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ใหม่ของ “ สไปรท์ ” โดยเปลี่ยนมาใช้ขวดพลาสติกแบบใส แทนการใช้ขวดสีเขียวแบบเดิม ในภูมิภาคอาเซียน โดยการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้ก็เพื่อให้สอดคล้องกับเทรนด์ของโลก ที่พยายามผลักดันในการตามเก็บและรีไซเคิลขวดพลาสติกพีอีที (Circular Economy)   สไปร์ท เปลี่ยนขวดสี เป็นขวดใส เครื่องดื่มสไปรท์จำหน่ายในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยบรรจุภัณฑ์ขวดพลาสติกสีเขียวที่ผู้บริโภครู้จักดีมาตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรกในฟิลิปปินส์เมื่อปี พ.ศ. 2511 และเพิ่งมีการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ เนื่องด้วย The Coca-Cola Company ต้องการเดินหน้าโปรเจ็คตามวิสัยทัศน์ World Without Waste สานต่อความมุ่งมั่นเดินหน้าผลักดันการรีไซเคิลขวดพลาสติกเพื่อให้สามารถนำขวดพลาสติกเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ง่ายขึ้น และนำกลับมาใช้ใหม่ได้ต่อไป  ซึ่งก่อนหน้านี้กลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่าในยุโรป ประสบความสำเร็จในการยกเลิกใช้ขวดพลาสติกสีเขียวสำหรับสไปรท์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต่อไปก็จะเป็นการเดินหน้าในโซนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้เริ่มเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์เป็นขวดพลาสติกใสในประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในเดือนพฤศจิกายนนี้ ส่วนประเทศอื่นๆ จะทยอยเปลี่ยนในปี 2563 สไปร์ท เปลี่ยนสีขวด ช่วยให้เกิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน การเปลี่ยนมาใช้ขวดพลาสติกพีอีทีแบบใส แทนการใช้ขวดพลาสติกสีแบบเดิม ยังเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคได้เป็นอย่างมาก เพราะสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างไม่รู้จบ และเกิดเป็นระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งการยกเลิกใช้บรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มชนิดพลาสติกพีอีทีแบบสี คือข้อเสนอแนะสำคัญในรายงานการเร่งสร้างแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนจากบรรจุภัณฑ์ขวดพีอีทีหลังการบริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ฉบับใหม่ อีกด้วย   […]

ลดใช้พลาสติก

ฟู้ดแพชชั่น ผนึก 3 พันธมิตร ลดใช้พลาสติก Single-use plastic

เรียกว่าเป็นปีที่หลายองค์กรใหญ่ ในธุรกิจอาหาร เริ่มตื่นตัวและให้ความสำคัญในการรณรงค์เรื่องการ ลดใช้พลาสติก แบบใช้แล้วทิ้ง ( single-use Plastic ) มากขึ้น ด้วยการใช้วัสดุที่ย่อยสลายง่าย หรือบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ เพื่อลดจำนวนขยะพลาสติกที่จะเกิดขึ้น ล่าสุดบริษัท ฟู้ดแพชชั่น จำกัด เจ้าของเชนร้านอาหาร บาร์บีคิว พลาซ่า, จุ่มแซบฮัท, สเปซ คิว, ฌานา และ เรดซัน ก็เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่ประกาศเปลี่ยนมาใช้กล่องชานอ้อย ในการส่งอาหารเดลิเวอรี่ ของร้านในเครือ   ฟู้ดแพชชั่น เดินหน้า ลดใช้พลาสติก Single-use Plastic ในขณะที่ธุรกิจอาหารแบบเดลิเวอรี่กำลังเป็นที่นิยมอย่างสูงในปัจจุบัน ผู้ประกอบการร้านอาหารหลายร้านให้หันมาเสิร์ฟเดลิเวอรี่กันมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่ แต่รู้หรือไม่ว่า การเติบโตของธุรกิจเดลิเวอรี่ ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่เป็นการเพิ่มการใช้พลาสติกมากขึ้นเช่นกัน การสั่งอาหารเดลิเวอรี่ 1 ครั้ง แน่นอนว่าจะต้องมีพลาสติกเข้ามาเกี่ยวข้องในส่วนของบรรจุภัณฑ์หรืออุปกรณ์ในการทานอาหาร ใน 1 ออเดอร์ สร้างขยะถึง 4 ชิ้น คือ กล่อง ช้อนส้อม ถุงน้ำจิ้ม และถุงใส่ของ อ้างอิงข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินตลาดเดลิเวอรี่ไทยปี 2562 มีมูลค่าอยู่ที่ 35,000 […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.