"น้ำแข็ง" วัตถุดิบเล็กๆ ที่ร้านอาหารหลายร้านมักมองข้าม - Amarin Academy

“น้ำแข็ง” วัตถุดิบเล็กๆ ที่ร้านอาหารหลายร้านมักมองข้าม

        เครื่องดื่มอร่อยๆ ก็ต้องคู่กับ น้ำแข็ง เย็นๆ ชื่นใจ แต่ใครจะไปคิดว่าน้ำแข็งแต่ละรูปทรงก็ส่งผลต่อรสชาติของเครื่องดื่มได้อย่างไม่น่าเชื่อ น้ำแข็งทุกก้อนมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน อย่าปล่อยให้รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ นี้ทำให้ร้านอาหารของคุณต้องมีเครื่องดื่มที่ไม่ได้คุณภาพ!

        แต่ก่อนอื่นต้องบอกก่อนเลยว่า น้ำแข็ง เป็นน้ำที่นำมาผ่านกรรมวิธีทำให้เยือกแข็ง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ตามกรรมวิธีการผลิตดังนี้

  1.  น้ำแข็งชนิดซอง เป็นน้ำแข็งที่ผลิตโดยวิธีการแช่แข็งในบ่อน้ำเกลือ มี 2 ชนิด คือ

  น้ำแข็งที่รับประทานได้ จะต้องใช้น้ำที่ผ่านขั้นตอนการปรับคุณภาพ แล้วนำไปผลิตเป็นน้ำแข็งก้อนใหญ่ จะมีขั้นตอนการเป่าลมเพื่อให้น้ำแข็งทั้งก้อนใส

  น้ำแข็งที่รับประทานไม่ได้ นิยมใช้ในทางการประมงเพื่อแช่อาหารทะเล แต่กรรมวิธีจะไม่มีขั้นตอนการเป่าลม ทำให้ก้อนน้ำแข็งมีสีขาวขุ่น

  1.  น้ำแข็งชนิดก้อนเล็ก เป็นน้ำแข็งที่ทำด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ มีลักษณะเป็นก้อน, หลอด หรือเกล็ด โดยทั่วไปมักจะเรียกว่า น้ำแข็งหลอด ซึ่งจะนำน้ำที่ผ่านขั้นตอนการปรับคุณภาพแล้ว เข้าเครื่องทำน้ำแข็งอัตโนมัติ

น้ำแข็ง


น้ำแข็ง ประเภทไหน เหมาะกับเครื่องดื่มอะไรบ้าง?

        อย่างที่บอกไปว่าน้ำแข็งทุกก้อนมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ถ้าอยากให้เครื่องดื่มรสชาติดีก็ต้องเลือกน้ำแข็งให้ถูกประเภท ฉะนั้นมาดูกันว่าน้ำแข็งแต่ละประเภทเป็นแบบไหนกันบ้าง?

  • น้ำแข็งสี่เหลี่ยม (Cube)
  • น้ำแข็งเกล็ดกรอบ (Nugget)
  • น้ำแข็งถ้วย (Gourmet )
  • น้ำแข็งแผ่น (Flake)

น้ำแข็ง

น้ำแข็งสี่เหลี่ยม (Cube)

        น้ำแข็งยอดนิยม มีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีให้เลือก 2 รูปแบบ คือ Full Cubes และ Half Cubes มีคุณสมบัติการละลายช้ากว่าน้ำแข็งประเภทอื่นๆ เนื่องจากมีความหนาแน่นสูง สามารถรักษาอุณหภูมิความเย็นไว้ได้นาน แม้จะอยู่ในภาชนะขนาดใหญ่ก็เอาอยู่ มีความเย็นต่อเนื่องหลายชั่วโมง อีกทั้งตัวน้ำแข็งมีความสวยงาม ทำให้เครื่องดื่มดูน่ารับประทานมากขึ้น

เหมาะสำหรับ: เครื่องดื่มที่ไม่ต้องการให้น้ำแข็งทำลายรสชาติของเครื่องดื่ม เช่น ค็อกเทล, กาแฟเย็น,  น้ำหวานชงดื่มชนิดต่างๆ

สถานที่นิยมใช้:  บาร์, ร้านขายเครื่องดื่ม, ร้านขนม, ร้านอาหารทั่วไป และมีขายในร้านสะดวกซื้อ

เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ: Dice Ice หรือ Square Cube

 

น้ำแข็ง

น้ำแข็งเกล็ดกรอบ (Nugget)

        ไม่มีใครไม่เคยทานน้ำแข็งประเภทนี้ น้ำแข็งแบบบดละเอียด ด้วยรูปทรงที่คล้ายกับนักเก็ต เป็นรูปทรงที่เรามักเห็นบ่อยๆ ในเซเว่น อีเลฟเว่น มีขนาดเล็ก ไม่แข็งมาก ถือว่าเป็นน้ำแข็งที่เคี้ยวง่ายที่สุด กรุบกรอบ เคี้ยวเพลิน แต่จะมีการละลายที่ค่อนข้างเร็ว นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้น้ำแข็งประเภทนี้เหมาะกับร้านอาหารที่ต้องการให้เครื่องดื่มมีอุณหภูมิที่เย็นเร็ว

เหมาะสำหรับ: เครื่องดื่มทุกชนิด เช่น น้ำอัดลม, น้ำหวาน, ชา, กาแฟ และเครื่องดื่มปั่น เช่น สมูทตี้, ค็อกเทลปั่น หรือน้ำแข็งใส

สถานที่นิยมใช้:  บาร์, ร้านขายเครื่องดื่ม, ร้านขนม, ร้านอาหารทั่วไป, สถานพยาบาล, โรงเรียน และมีขายในร้านสะดวกซื้อ

เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ: Tubular Nugget Ice, Pebble Ice, Pellet Ice หรือ Sonic Ice

 น้ำแข็ง


น้ำแข็งถ้วย
(Gourmet)

        น้ำแข็ง ทรงสวยดูแปลกตา วิบวับเหมือนคริสตัล ลักษณะเป็นถ้วยรูปทรงกระบอกขนาด 2 ซม. ลักษณะคล้ายๆ หมวก มีรูปทรงและขนาดที่แน่นอน เพราะผลิตจากบล็อคน้ำแข็งที่ได้มาตรฐาน ไม่มีรูตรงกลางเหมือนน้ำแข็งทั่วไป จึงเป็นคุณสมบัติพิเศษทำให้น้ำแข็งละลายช้า ไม่ทำให้รสชาติของเครื่องดื่มเปลี่ยน บวกกับความที่ก้อนน้ำแข็งมีขนาดใหญ่และหนา มีความแวววาว สวยงาม ผู้คนจึงนิยมใส่น้ำแข็งถ้วยในเครื่องดื่มที่ดูดีมีระดับ เลิศหรู ราคาแพง

เหมาะสำหรับ: เครื่องดื่มระดับ High-end เช่น Whisky on the rocks, บรั่นดี หรือ ค็อกเทล Old Fashioned

สถานที่นิยมใช้: ภัตตาคารหรู, โรงแรมหรู, งานอีเว้นท์ หรือบาร์

เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ: Top Hat Ice หรือ Octagon Shaped Ice

 น้ำแข็ง

น้ำแข็งแผ่น (Flake)

         หลายๆ คนอาจสับสนระหว่างน้ำแข็งแผ่น (Flake) กับน้ำแข็งเกล็ดกรอบ (Nugget) ด้วยลักษณะและคุณสมบัติที่คล้ายกัน คือความกรุบกรอบ มีความหนาแน่นของน้ำประมาณ 70% ให้ความเย็นเร็ว แต่มีอณูไม่หนาแน่น จึงละลายได้เร็ว มีความแตกต่างกันตรงที่ลักษณะเป็นแผ่นและบางกว่า เลยอาจทำให้คนไทยเรียกถูกเรียกผิด ใช้น้ำแข็งสลับประเภทกันไปหมด ความจริงแล้วในต่างประเทศ ไม่นิยมนำมาบริโภค แต่จะใช้แช่อาหารสดมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นการจัดโชว์หน้าร้าน หรือแช่อาหารทะเลอยู่ตามไลน์บุฟเฟ่ต์

เหมาะสำหรับ: ใช้แช่ของสด อาหารทะเล เนื้อสัตว์ ผักและผลไม้

สถานที่นิยมใช้: กลุ่มร้านค้า, ร้านอาหารบุฟเฟ่ต์, ร้านอาหารทะเล, ตลาดสด, อุตสาหกรรมผลิตอาหาร หรือห้องเย็นแช่อาหารสด 

 

         เพราะทุกความใส่ใจในรายละเอียดเป็นเรื่องสำคัญ แม้ว่า น้ำแข็ง จะเป็นเพียบวัตถุดิบเล็กๆ แต่ก็อาจส่งผลให้ภาพลักษณ์ธุรกิจร้านอาหารของคุณเปลี่ยนไปได้ ฉะนั้นการมอบสิ่งดีๆ ให้กับลูกค้า สร้างความเชื่อมั่นในเรื่องความสะอาด จะเป็นตัวเพิ่มมูลค่าให้กับร้านนั่นเอง

         ว่าแต่อากาศร้อนๆ แบบนี้จัดเครื่องดื่มเย็นๆ ดับกระหายน้ำสักแก้วหน่อยไหม?

เรื่องแนะนำ

อยากเปิดร้านอาหาร ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

เปิดร้านอาหารสักร้านไม่ว่าจะเปิดในห้าง หรือ นอกห้าง ต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ที่เป็นค่าใช้จ่ายสำคัญ ๆ เพื่อให้ทุกท่านที่กำลังจะเปิดร้านได้เตรียมความพร้อม

ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร

ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้!

ร้านอาหารที่ประสบความสำเร็จ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความอร่อยหรือการตกแต่งร้านเท่านั้น แต่ต้องอาศัย “ทีมงาน” ที่ดีมีคุณภาพ ช่วยกันสร้างสรรค์ขึ้นมา เจ้าของร้านบางท่านอาจจะคิดว่าให้ทีมแบ่งงานกันทำง่ายๆ ใครว่างก็ไปช่วยคนอื่นทำต่อ แต่ถ้าจะบริหารร้านให้เป็นระบบอย่างมืออาชีพแล้ว ควรจะแบ่งงานกันอย่างไร มาศึกษาการแบ่ง  ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้! ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้! ร้านอาหารแต่ละชนิดก็จะต้องการพนักงานที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันไป โดยเราสามารถแบ่งประเภทพนักงานออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ พนักงานหลังร้าน และพนักงานหน้าร้าน  พนักงานหลังร้าน ความสามารถที่จำเป็นของพนักงานหลังร้านหรือในครัวนั้น ขึ้นอยู่กับประเภทของร้านอาหาร และความซับซ้อนของเมนูในร้าน เช่น ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด พนักงานไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ในครัวมากนัก ก็สามารถประกอบอาหารได้ตามมาตรฐาน แต่ถ้าเป็นร้านอาหารญี่ปุ่น คงต้องการเชฟที่มีประสบการณ์มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นความรู้เกี่ยวกับวัตถุดิบ ความสามารถในการใช้มีด การแล่ปลา การปั้นซูซิและทำอาหารญี่ปุ่นอื่นๆ  ยิ่งเป็นร้านที่พัฒนามากขึ้น ตำแหน่งก็จะยิ่งละเอียด เพื่อความชัดเจนในหน้าที่ ลดความซ้ำซ้อนของงาน และมีโครงสร้างเหมือนกับบริษัทย่อยๆ ที่พนักงานต้องเรียนรู้ขึ้นไปเรื่อยๆ โดยตำแหน่งในครัวแบ่งย่อยได้เป็น  หัวหน้าเชฟ เป็นตำแหน่งสำคัญที่สุดเบื้องหลังร้าน แค่ต้องทำอาหารได้ดียังไม่พอ แต่ต้องสามารถบริการจัดการครัวได้ด้วย ทั้งเรื่องการกระจายงานให้พนักงานในครัว ดูแลการจัดการวัตถุดิบ คำนวนต้นทุนอาหาร วางแผนและพัฒนาเมนูในร้าน   ผู้ช่วยเชฟ  มีหน้าที่ช่วยจัดการงานต่างๆ ของหัวหน้าเชฟ และดูแลครัวในกรณีที่หัวหน้าเชฟไม่อยู่ […]

ระบบงานครัว

อย่าปล่อยให้ ระบบงานครัว ทำร้านเจ๊ง ถึงเวลาเจ้าของร้านต้องวางแผน

ระบบงานครัว ที่มีปัญหาอาจส่งผลให้เจ้าของร้านอาหารต้องเสียทั้งค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหา เสียโอกาสในการทำกำไรได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และยังอาจทำให้ร้านเติบโตยากขึ้นอีกด้วย ดังนั้นจึงต้องมีการวางระบบครัวที่ดี แล้วการวางระบบครัวให้ดีนั้นต้องทำอย่างไร?   สัญญาณที่บอกว่า ระบบงานครัว กำลังมีปัญหา ความล่าช้าในการออกอาหาร ขายดี แต่ไม่มีกำไร Food Cost สูง คุณภาพอาหาร รสชาติ และปริมาณไม่คงที่ เสียวัตถุดิบบ่อย วัตถุดิบไม่เพียงพอต่อการใช้งาน อุปกรณ์การใช้งานมีปัญหา ส่งผลต่อการขายในแต่ละวัน การเซตอัพระบบงานครัว มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมมาตรฐานการทำงาน โดยการกำหนดขั้นตอนจัดการงานครัว ทั้งวัตถุดิบและการใช้อุปกรณ์การทำงานที่ถูกต้อง ดังต่อไปนี้   กำหนดขั้นตอนการใช้อุปกรณ์และวัตถุดิบ ตัวอย่าง 1 : ขั้นตอนการใช้อุปกรณ์ การจัดเตรียม การทำความสะอาด Note : กำหนดรายละเอียด และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องให้มากที่สุด เพื่อให้ผู้ที่ได้รับมอบหมาย สามารถรับผิดชอบงานได้ทันที และทำให้เกิดมาตรฐานในการปฏิบัติงาน   ตัวอย่าง 2 : การตรวจสอบ จัดเตรียม จัดเก็บวัตถุดิบ Note : จัดทำรูปภาพการใช้งานจริงเพื่ออ้างอิง สร้างมาตรฐานการจัดการวัตถุดิบ ช่วยควบคุมการใช้วัตถุดิบให้เกิดประโยชน์สูงสุด   […]

เปิดร้านอาหารวันแรก

เปิดร้านอาหารวันแรก ต้องเจอปัญหาอะไรบ้าง

เปิดร้านอาหารวันแรก หลายคนคงตื่นเต้นและดีใจที่ความฝันของตัวเองสำเร็จสักที แต่อย่าเพิ่งดีใจจนเกินไป เพราะบางครั้งวันแรกก็ไม่ได้ราบรื่นอย่างที่คิด

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.