วิเคราะห์ จุดคุ้มทุนร้านอาหาร ขายเท่าไหร่ถึงได้กำไร! - Amarin Academy

วิเคราะห์ จุดคุ้มทุนร้านอาหาร ขายเท่าไหร่ถึงได้กำไร!

        ผู้ที่สนใจจะเปิดร้านอาหารมักจะมีคำถามว่า ต้องขายจนถึงเมื่อไหร่ถึงจะคืนทุน? การลงทุนเปิดร้านอาหารจะคุ้มค่าไหม? แล้วต้องขายเยอะแค่ไหนถึงจะได้กำไร? ร้านอาหารจึงต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ เช่น การพยากรณ์ยอดขายของร้าน และขั้นตอนต่อไปคือ การวิเคราะห์ จุดคุ้มทุนร้านอาหาร ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ควรทำก่อนเปิดร้านอาหารใหม่ เพื่อวางแผนในการบริหารจัดการร้านให้ได้กำไร

วิเคราะห์ จุดคุ้มทุนร้านอาหาร

ขายเท่าไหร่ถึงได้กำไร!

จุดคุ้มทุนร้านอาหาร คืออะไร ?

        จุดคุ้มทุน (Break-Even Point) คือ จุดที่รายได้เท่ากับต้นทุนพอดี หรือมีรายรับ = รายจ่ายนั่นเอง เป็นจุดที่ร้านอาหารขายแล้วไม่ขาดทุนแต่ก็ไม่มีกำไร ซึ่งการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน จะทำให้ทราบว่าร้านอาหารจะต้องมียอดขายเท่าไหร่ถึงจะทำกำไรได้ ควรลดต้นทุนลงหรือไม่อย่างไร นอกจากนี้ ยังใช้เป็นแนวทางการวางแผนธุรกิจให้มีกำไรได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
จุดคุ้มทุนร้านอาหาร

        การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน (Break-even point) ต้องเริ่มจากพิจารณาค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นของร้าน โดยแบ่งค่าใช้จ่ายออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

  • ต้นทุนคงที่ (Fixed cost) คือ ค่าใช้จ่ายคงที่ ไม่แปรผันตามยอดขาย ต่อให้ขายได้มากหรือน้อยก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายส่วนนี้ในจำนวนเท่าเดิม เช่น ค่าเช่าร้าน ค่าแรงพนักงานประจำ ค่าเช่าระบบ ค่าเสื่อม และค่าสาธารณูปโภคต่างๆ 
  • ต้นทุนผันแปร (Variable cost) คือ ค่าใช้จ่ายที่ไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับยอดขายของร้าน เช่น ต้นทุนวัตถุดิบ เครื่องปรุง และบรรจุภัณฑ์ ค่าแรงพนักงานพาร์ทไทม์ ต้นทุนการตลาด ค่าอุปกรณ์สิ้นเปลืองต่างๆ การหาต้นทุนผันแปรเฉลี่ยต่อหน่วย คิดได้จากอัตราส่วนต้นทุนต่อราคาขาย เช่น อาหารในร้านมีราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 50 บาท ต้นทุนผันแปรเฉลี่ย (ทั้งต้นทุนวัตถุดิบและค่าใช้จ่ายอื่นๆ) อยู่ที่ 20 บาทหรือคิดเป็น 40% หรือ 0.4 ของราคาขาย ซึ่งตัวเลข 0.4 นี้จะถูกนำไปคิดหาจุดคุ้มทุนต่อไป

        นอกจากนี้ เจ้าของร้านอาจจะใช้ข้อมูลของต้นทุน หรือราคาขายโดยเฉลี่ยที่ลูกค้ามักจะซื้ออาหารในร้าน สำหรับร้านขนาดเล็ก เช่น ร้านอาหารจานเดียว ลูกค้าหนึ่งคนมักซื้ออาหาร 1 รายการ และเครื่องดื่ม 1 แก้ว ก็สามารถคำนวณโดยดูจากราคาต่อหน่วยได้เลย แต่ถ้าเป็นร้านอาหารขนาดใหญ่ขึ้น ลูกค้ามักจะสั่งอาหารมาทานร่วมกันเป็นกลุ่ม อาจจะต้องคำนวณจากข้อมูลหรือสถิติ ว่าลูกค้ามีค่าใช้จ่ายกี่บาทโดยเฉลี่ยต่อคน

จุดคุ้มทุนร้านอาหาร

ในการคำนวณหา จุดคุ้มทุนร้านอาหาร เราสามารถหาได้โดยใช้สูตรต่อไปนี้

  1. จำนวนลูกค้าที่ต้องขายจึงจะคุ้มทุน = ต้นทุนคงที่ ÷ (ราคาขายต่อหน่วย – ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย)
  2. ยอดขายที่คุ้มทุน = จำนวนลูกค้าที่ต้องขายจึงจะคุ้มทุน x ราคาขาย หรือ
    ยอดขายที่คุ้มทุน = ต้นทุนคงที่ ÷ (1 – ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย)
  3. ระยะเวลาคืนทุน (เดือน) = เงินลงทุนทั้งหมด / กำไรในแต่ละเดือน


ลองมาดูตัวอย่างแบบง่าย ๆ กันครับ ถ้าร้านก๋วยเตี๋ยวเปิดใหม่ มีข้อมูลตัวเลขค่าใช้จ่ายต่างๆ ดังนี้

  • ขายก๋วยเตี๋ยวชามละ 50 บาท
  • ต้นทุนในการทำก๋วยเตี๋ยว เฉลี่ยแล้วอยู่ที่ชามละ 20 บาท
  • ค่าแรงพนักงาน 2 คน คนละ 9,000 บาท และค่าแรงเจ้าของร้านอีก 1 คน รวมเป็น 33,000 บาท
  • ค่าน้ำ, ค่าไฟฟ้า และค่าแก๊ส เฉลี่ยต่อเดือนที่ 5,000 บาท
  • ค่าเช่าที่เดือนละ 7,000 บาท

        หากลองคำนวณหาจุดคุ้มทุนของร้าน จะได้ว่า

ต้นทุนคงที่  33,000 (ค่าแรง) + 5,000 (ค่าน้ำค่าไฟค่าแก๊ส ) + 7,000 (ค่าเช่าที่) = 45,000 บาทต่อเดือน   

ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย  ต้นทุน ÷ ราคาขาย  

= 20 ÷ 50 = 0.4  

จำนวนลูกค้าที่ต้องขายจึงจะคุ้มทุน  ต้นทุนคงที่ ÷ (ราคาขายต่อหน่วย – ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย) 

=  45,000 ÷ (50 – 20) 

= 1,500 คน  

ยอดขายที่คุ้มทุน จำนวนลูกค้าที่ต้องขายจึงจะคุ้มทุน x ราคาขาย 

= 1,500 x 50 

= 75,000 บาท

หรือใช้สูตร ยอดขายที่คุ้มทุน =  ต้นทุนคงที่ ÷ (1 – ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย)

 = 45,000 ÷ (1 – 0.4) 

 = 75,000 บาท 

        ดังนั้น เจ้าของร้านจะต้องขายก๋วยเตี๋ยวอย่างน้อย 1,500 ชามต่อเดือน หรือตกวันละ 50 ชาม และต้องทำยอดขายให้ได้อย่างน้อย 75,000 บาทต่อเดือน จึงจะไม่ขาดทุน 

        หากคำนวณ จุดคุ้มทุนร้านอาหาร แล้ว เป้าหมายยอดขายในแต่ละเดือน ควรบวกเพิ่มจากจุดคุ้มทุนไปอีก 10-20% เพื่อเป็นกำไรของร้าน และควรจะคำนวณเป้าหมายยอดขายรายวันด้วย โดยคำนึงถึงความแตกต่างของยอดขายในแต่ละวัน ว่าทำเลของร้านจะขายได้ดีในช่วงวันจันทร์-ศุกร์ หรือช่วงวันหยุดวันเสาร์-อาทิตย์ เพื่อตั้งเป้ายอดขายรายวันตามความเป็นไปได้ หรือหากลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อส่งเสริมการขายต่อไป

 

เรื่องแนะนำ

เทคโนโลยีดิจิตอล ตัวช่วยร้านอาหารยุคใหม่

  ระบบจัดการร้าน POS ระบบบริหารจัดการร้าน  POS ที่เจ้าของร้านอาหารหลายร้านนำมาใช้เพื่อบันทึกยอดขายหน้าร้าน   ซึ่งในปัจจุบันได้พัฒนาให้รองรับการบริหารจัดการร้าน และสนับสนุนในด้านการตลาดด้วยฟังค์ชั่นที่ทำได้มากกว่าการแค่บันทึกยอดขาย หรือการจัดการที่นั่ง นั่นก็คือ การมีระบบหลังบ้านที่ช่วยบันทึกและประมวลผล ซึ่งสามารถดูได้แบบเรียลไทม์ ยกตัวอย่าง เช่น เมนูขายดี ช่วงเวลาขายดี จำนวนการซื้อต่อหัว จำนวนบิล การจัดการโปรโมชั่น และการเชื่อมต่อเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าที่มากขึ้นได้ เช่น เดลิเวอร์รี่ การสั่งเมนูล่วงหน้า ที่เป็นประโยชน์ต่อร้านในการบริหารจัดการเมนู และการตลาด แต่ทราบไหมว่าการใช้ POS ปัจจุบันร้านอาหารหลายร้านยังใช้คุณสมบัติพิเศษของ POS ได้ไม่เต็มที่ เช่น  ความสามารถในด้านการประมวล ข้อมูลด้านต้นทุนต่อเมนู  ที่ POS สามารถบันทึก คำนวณผลกำไร การสูญเสีย รวมถึงสามารถใช้การบริหารวัตถุดิบ เพื่อจัดการสั่งซื้อได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาวัตถุดิบขาด ต้องเสียต้นทุนแฝงในการไปซื้อในกรณีเร่งด่วนได้ ซึ่งหากร้านของคุณมีการจัดทำข้อมูลด้านต้นทุน หรือการทำ Recipe ที่ดีอยู่แล้ว ก็ไม่ควรพลาดโอกาสที่จะใช้คุณสมบัติสำคัญนี้ด้วย ระบบ  POS นับว่าเป็นระบบที่สามารถรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นพื้นฐานต่อการบริหารให้ได้กำไรสูงสุดต่อร้านอาหารในปัจจุบัน เพราะฉะนั้นถ้าคุณเป็นร้านที่ใช้ระบบ POS อยู่แล้วควรให้ความสำคัญกับการใช้ฟีเจอร์ต่าง ๆ ให้เป็นประโยชน์สูงสุด […]

เจ๊จง หมูทอด

ถอดบทเรียน เจ๊จง หมูทอด ร้อยล้าน !

เจ๊จง หมูทอด เป็นร้านอาหารไม่กี่แห่งที่ขายดีมากอย่างสม่ำเสมอ เมื่อมีโอกาสคุยกับเจ๊จง เลยอดไม่ได้ที่จะชวนคุยถึงข้อคิดที่ทำให้ประสบความสำเร็จอย่างทุกวันนี้

ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร

ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้!

ร้านอาหารที่ประสบความสำเร็จ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความอร่อยหรือการตกแต่งร้านเท่านั้น แต่ต้องอาศัย “ทีมงาน” ที่ดีมีคุณภาพ ช่วยกันสร้างสรรค์ขึ้นมา เจ้าของร้านบางท่านอาจจะคิดว่าให้ทีมแบ่งงานกันทำง่ายๆ ใครว่างก็ไปช่วยคนอื่นทำต่อ แต่ถ้าจะบริหารร้านให้เป็นระบบอย่างมืออาชีพแล้ว ควรจะแบ่งงานกันอย่างไร มาศึกษาการแบ่ง  ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้! ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้! ร้านอาหารแต่ละชนิดก็จะต้องการพนักงานที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันไป โดยเราสามารถแบ่งประเภทพนักงานออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ พนักงานหลังร้าน และพนักงานหน้าร้าน  พนักงานหลังร้าน ความสามารถที่จำเป็นของพนักงานหลังร้านหรือในครัวนั้น ขึ้นอยู่กับประเภทของร้านอาหาร และความซับซ้อนของเมนูในร้าน เช่น ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด พนักงานไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ในครัวมากนัก ก็สามารถประกอบอาหารได้ตามมาตรฐาน แต่ถ้าเป็นร้านอาหารญี่ปุ่น คงต้องการเชฟที่มีประสบการณ์มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นความรู้เกี่ยวกับวัตถุดิบ ความสามารถในการใช้มีด การแล่ปลา การปั้นซูซิและทำอาหารญี่ปุ่นอื่นๆ  ยิ่งเป็นร้านที่พัฒนามากขึ้น ตำแหน่งก็จะยิ่งละเอียด เพื่อความชัดเจนในหน้าที่ ลดความซ้ำซ้อนของงาน และมีโครงสร้างเหมือนกับบริษัทย่อยๆ ที่พนักงานต้องเรียนรู้ขึ้นไปเรื่อยๆ โดยตำแหน่งในครัวแบ่งย่อยได้เป็น  หัวหน้าเชฟ เป็นตำแหน่งสำคัญที่สุดเบื้องหลังร้าน แค่ต้องทำอาหารได้ดียังไม่พอ แต่ต้องสามารถบริการจัดการครัวได้ด้วย ทั้งเรื่องการกระจายงานให้พนักงานในครัว ดูแลการจัดการวัตถุดิบ คำนวนต้นทุนอาหาร วางแผนและพัฒนาเมนูในร้าน   ผู้ช่วยเชฟ  มีหน้าที่ช่วยจัดการงานต่างๆ ของหัวหน้าเชฟ และดูแลครัวในกรณีที่หัวหน้าเชฟไม่อยู่ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.