เคล็ดลับ การจัดการร้านอาหาร  ผู้จัดการมือใหม่ ต้องรู้ - Amarin Academy

เคล็ดลับการจัดการร้านอาหาร  ผู้จัดการมือใหม่ ต้องรู้!

เคล็ดลับการจัดการร้านอาหาร ผู้จัดการมือใหม่ ต้องรู้!

การจัดการร้านอาหารเป็นเรื่องที่ซับซ้อน ผู้ประกอบบางรายเลือกที่จะดูแลทุกอย่างด้วยตัวเอง หรือบางรายก็จ้างผู้จัดการร้านเพื่อแบ่งเบาภาระต่างๆ แม้ว่าเงินเดือนของผู้จัดการร้านจะค่อนข้างสูง แต่ก็มาพร้อมกับหน้าที่ความรับผิดชอบและความคาดหวังที่สูงตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็น

  • การควบคุมต้นทุน ยอดขายและกำไรของร้านอาหารให้เป็นไปตามเป้าหมาย
  • วางแผนสั่งวัตถุดิบเข้าร้านให้เหมาะสมกับยอดขาย
  • คอยดูแลมาตรฐานการทำงานของพนักงาน จัดตำแหน่งงานและตารางเวลาให้เหมาะสม
  • ดูแลความเรียบร้อยภายในร้าน แก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจ
  • จัดประชุมวางแผนงาน แผนการตลาด และประสานงานกับฝ่ายต่างๆ   
  • สรุปข้อมูลการขาย รายงานปัญหาต่างๆ แก่ผู้บริหาร 
  • รวมถึงหน้าที่อื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าของร้าน

จะเห็นได้ว่าบทบาทหน้าที่ของ ผู้จัดการร้าน นั้นสำคัญมาก หากคุณเป็นผู้ประกอบการร้านอาหาร หรือผู้จัดการร้านอาหาร เคล็ดลับเหล่านี้อาจจะช่วยพัฒนาทักษะการบริหารจัดการร้านของคุณได้ คือ

 

มีความหนักแน่น 

ปัญหาในร้านอาหารมีได้ทุกวันโดยไม่ซ้ำอย่าง สิ่งที่ผู้จัดการสามารถทำได้ในสถานการณ์เฉพาะหน้าคือ การใช้ความหนักแน่นในการคิดหาวิธีแก้ปัญหา โดยต้องคำนึงถึงในเรื่องต่างๆดังนี้

  • จะพูดคุยสื่อสารอย่างไร
  • ทำอย่างไรจึงจะรักษากฎของร้านไว้
  • ผลลัพธ์ที่คาดหวังคืออะไร

ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านลูกค้าหรือพนักงาน คุณจะต้องคิดแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างรอบคอบ สื่อสารอย่างมีเหตุผลและเหมาะสม เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในฐานะผู้จัดการ และได้รับการยอมรับจากทีมงาน ทำให้พนักงานทำงานที่มีความกดดันสูงในร้านอาหารได้โดยไม่ลาออกง่ายๆ 

ผู้จัดการมือใหม่

การจัดการเชิงรุก

ในธุรกิจร้านอาหารที่มีการแข่งขันสูง และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การคิดล่วงหน้าและจัดการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ย่อมดีกว่าการตามแก้ปัญหาในภายหลัง ดังนั้น การวางแผนงานในร้านจะต้องไม่มองแค่ในปัจจุบัน แต่ควรมองให้ไกลกว่าเดิม และจัดการไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคต ตัวอย่างเช่น

  • ความต้องการรับพนักงาน
  • การปรับปรุงและพัฒนาเมนูอาหาร
  • แผนการตลาด
  • การจัดการสต๊อกวัตถุดิบ
  • ศึกษาแนวโน้มของผู้บริโภค
  • เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ซึ่งหากคุณไม่เป็นฝ่ายรุกเข้าจัดการปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น อาจจะทำให้เกิดความเสียหายให้กับร้านได้

 

รักษาพนักงานที่ดีไว้กับร้าน

ปัญหาใหญ่ของร้านอาหาร คือเรื่องของ “พนักงาน”  ไม่ว่าจะเป็นพนักงานลาออก หาพนักงานทดแทนไม่ได้ หรือต้องเทรนพนักงานใหม่ ในฐานะผู้จัดการ หรือผู้ประกอบการเอง คุณจะต้องเป็นคนรับผิดชอบงานฝ่ายบุคคล (HR) ที่ต้องแก้ปัญหาเหล่านี้ 

 ดังนั้น ร้านควรจะต้องรักษาพนักงานที่ดีไว้กับร้านให้ได้ เพราะการหาพนักงานใหม่มาแทนคนเก่าเรื่อยๆ ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และงานในร้านติดขัด โดยทางผู้จัดการควรจะเปิดใจรับฟังความคิดใหม่ๆ ของทีมงาน ดูแลและให้เกียรติเพื่อให้พวกเขารู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของร้าน ไม่ใช่แค่คนที่ถูกจ้างมาใช้แรงงาน และจำนวนพนักงานจะต้องเหมาะสม เพื่อไม่ให้งานหนักจนเกินไป อย่าลืมว่าพนักงานคือปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ร้านอาหารดำเนินงานต่อไปได้

 

ทำให้ลูกค้าพึงพอใจ

การทำให้ลูกค้าประทับใจไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะธุรกิจร้านอาหาร ซึ่งเกี่ยวข้องกับคุณภาพของอาหาร ความรวดเร็วในการทำงาน หรือการบริการจากพนักงาน หากมีปัญหาเกิดขึ้น สิ่งที่ต้องทำอย่างแรกคือการทำให้ลูกค้าใจเย็นลง และทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจให้ได้มากที่สุด และที่สำคัญต้องแก้ปัญหาตั้งแต่ลูกค้าอยู่ในร้าน เพราะคุณไม่รู้ว่า ลูกค้าจะพูดถึงร้านคุณอย่างไรเมื่อออกไปนอกร้านแล้ว 

 

ยกระดับประสบการณ์ของลูกค้า

ลูกค้ามาที่ร้านอาหารไม่ใช่แค่เพื่อทานอาหาร ลูกค้าส่วนใหญ่ยอมจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่อประสบการณ์ใหม่ ๆ และน่าประทับใจ ไม่ว่าจะเป็นเมนูอาหารที่มีเอกลักษณ์ การบริการรูปแบบใหม่ที่ตื่นตา บรรยากาศร้านที่สวยงามและสะอาด ในฐานะผู้จัดการควรจะมองภาพรวมของร้าน ปรับปรุงจุดด้อยและพัฒนาจุดแข็งของร้านต่อไป

ผู้จัดการมือใหม่

เรียนรู้กระบวนการทำงานด้วยตัวเอง

ในฐานะผู้จัดการร้านอาหาร ยิ่งมีประสบการณ์จริงมากเท่าไหร่ คุณก็จะเข้าใจและจัดการกับปัญหาได้ดีขึ้น ลองพูดคุยกับพนักงานถึงวิธีทำงานและการแก้ปัญหาต่างๆ คุณจะได้รับทั้งความเคารพจากพนักงานของคุณ รวมถึงข้อมูลหรือความรู้บางอย่าง ที่นำมาปรับปรุงการจัดการภายในร้านได้มากกว่าที่คิด

 

ให้ความสำคัญกับกลยุทธ์การบอกต่อ

วิธีที่ลูกค้านิยมเลือกร้านอาหารมากที่สุด คือ การบอกต่อจากเพื่อน และรีวิวจากโซเชียลมีเดียต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณอาจจะควบคุมไม่ได้โดยตรง แต่หากคุณสามารถสร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจให้ลูกค้าในร้านได้ ลูกค้าก็จะเต็มใจบอกต่อร้านของคุณด้วยตัวเอง หรือจะแชร์ผ่านทางสื่อออนไลน์เพื่ออวดเพื่อนๆ ของพวกเขา สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ อย่าลืมตรวจดูสิ่งที่ลูกค้ารีวิวร้านอาหารของคุณ นำคำชมไปเป็นกำลังใจให้กับพนักงาน และนำคำวิจารณ์ด้านลบมาเป็นแนวทางในการปรับปรุงร้านให้ดีขึ้น 

 

ลงทุนกับการตลาด

ในตลาดที่มีการแข่งขันสูง หรือเพิ่งเปิดร้านอาหารใหม่ การตลาดแบบปากต่อปากอาจจะยังไม่เพียงพอ คงจะน่าเสียดายถ้าลงทุนเปิดร้านแต่ไม่มีคนเข้า เพราะขาดช่องทางการโปรโมทที่ดี ดังนั้น คุณควรจะต้องมีแผนการตลาดสำหรับโฆษณาออนไลน์ ซึ่งการกำหนดงบประมาณสำหรับการโฆษณา จะต้องคำนวณจากข้อมูลที่เหมาะสมกับร้านของคุณ เช่น

  • กลุ่มลูกค้าของร้าน เช่น ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บริเวณไหน อยู่ในช่วงอายุเท่าไหร่
  • ข้อมูลการขาย เช่น ช่วงเวลาที่ขายดีที่สุดในแต่ละวัน หรือในแต่ละเดือน
  • เทรนด์อาหารที่กำลังนิยม

รวมถึงข้อมูลอื่นๆ ที่จะมีประโยชน์สำหรับการตัดสินใจ และจำเป็นต่อการกำหนดโฆษณาที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของร้านอาหาร  

 

ดูแลสุขภาพของคุณ

สิ่งที่มักจะถูกลืมมากที่สุดคือ การดูแลตัวเอง การจัดงานร้านอาหารเป็นงานหนัก นอกเหนือจากความเหนื่อยล้าทางร่างกายแล้ว อาจจะทำให้คุณมีความเหนื่อยล้าทางอารมณ์และจิตใจ ซึ่งจะทำให้งานของคุณยากยิ่งขึ้นไปอีก อย่าลืมดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อให้คุณสามารถเป็นจุดศูนย์กลางของร้านต่อไปได้

 

หาความรู้เพิ่มเติม

การเป็น ผู้จัดการมือใหม่ ควรจะมีการศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอ หรือศึกษาจากผู้ที่มีประสบการณ์จริงในธุรกิจร้านอาหาร เพื่อนำมาปรับใช้และพัฒนาร้าน หาก ผู้จัดการร้าน เผชิญกับปัญหาที่ไม่สามารถแก้ได้ด้วยตัวเอง อีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยได้คือ การหาที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญมาให้ความช่วยเหลือ

 

ทั้งหมดนี้ คือสิ่งพื้นฐานที่ ผู้จัดการร้านมือใหม่ ควรทำและพัฒนาต่อไป เพื่อก้าวสู่การเป็น ผู้จัดการร้านมืออาชีพ ลูกน้องให้ความเคารพ และเป็นที่ไว้ใจของผู้บริหาร หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้จัดการมือใหม่ทุกท่านนะครับ

 


เพราะเรื่อง “คน” เป็นเรื่องสำคัญในการทำธุรกิจอาหาร หลีกสูตรนี้จึงกลับมาอีกครั้ง HR for Food Business บริหารคน สำหรับธุรกิจอาหาร รุ่นที่ 3 หลักสูตรที่จะทำให้ผู้ประกอบการเรียนรู้การบริหารบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ ไขข้อข้องใจปัญหาเรื่องพนักงานลาออกบ่อย ขาด ลา มาสาย ทะเลาะกัน การหาพนักงานที่ดี โครงสร้างเงินเดือน สัญญาจ้างงาน รวมถึงกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานต่างๆ ที่ต้องรู้ โดยวิทยากร คือ อาจารย์ พีรพัฒน์ กองทอง ผู้มีประสบการณ์จากธุรกิจอาหารเชนใหญ่อย่าง แมคโดนัลด์ ประเทศไทย ที่จะมาพร้อมแขก สุดพิเศษ ร่วมแชร์ประสบการณ์การบริหารจัดการพนักงานในร้าน งานนี้จะจัดขั้นในวันอังคารที่ 31 มีนาคม – วันพุธที่ 1 เมษายน 2563  เวลา 9.00-17.00 น. 

 

คลิกสมัครด่วน! หลักสูตร HR for Food Business บริหารคน สำหรับธุรกิจอาหาร รุ่นที่ 3

HR for Food Business บริหารคน สำหรับธุรกิจอาหาร รุ่นที่ 3

 

 

เรื่องแนะนำ

4 สัญญาณเตือนที่บอกว่า คุณกำลังมี ปัญหากับหุ้นส่วน

“ถ้าไม่อยากเสียเพื่อนอย่าริทำธุรกิจกับเพื่อน” เมื่อการทำธุรกิจกับเพื่อนไม่ได้เป็นไปอย่างที่คิด แล้วอะไรคือสัญญาณเตือนว่าคุณเองกำลังมี ปัญหากับหุ้นส่วน

วิธีคำนวณต้นทุนร้านอาหาร

วิธี คำนวณต้นทุนร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านต้องรู้! by คุณ ธามม์ ประวัติตรี

การคำนวณต้นทุนร้านอาหาร ถ้ามองให้เป็นเรื่องใกล้ตัว พูดง่ายๆ ก็เหมือนเรามีเงินเดือน แล้วเราต้องรู้ว่าในแต่ละเดือนนั้น ต้องมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ และมีเงินเหลือเก็บหรือไม่ เช่นเดียวกับการ คำนวณต้นทุนร้านอาหาร ที่ต้องทำอย่างเป็นระบบ มาดูคำแนะนำจาก คุณ ธามม์ ประวัติตรี Managing Director, Wow Thai Food Holding ประเทศเนเธอร์แลนด์   “ คำนวณต้นทุนร้านอาหาร ไม่ใช่การเดา แต่ต้องทำให้เป็นระบบ แล้วผลประกอบการก็จะดีขึ้น ” เจ้าของธุรกิจบางรายมักใช้ความรู้สึก ในการวัดผลการดำเนินงาน เช่น วันที่ลูกค้าเต็มร้าน คาดว่าน่าจะมีรายได้มาก และน่าจะมีเงินหมุนเวียนในธุรกิจมากตามไปด้วย แต่คำว่ามากนั้น คงไม่เพียงพอที่จะบอกได้ว่าธุรกิจของคุณเป็นไปด้วยดีจริงหรือไม่ ทั้งนี้เจ้าของร้านจะต้องสามารถระบุได้ว่ามาตรฐานของร้าน หรือระดับรายได้ที่ควรจะได้คือเท่าไหร่ หรือมากกว่าคู่แข่งเท่าไหร่ หรือบางร้านอาจจะมีการจดบันทึกที่ละเอียดขึ้น คือมีการบันทึกรายรับ-รายจ่ายเป็นเงินสด ว่าวันนี้ขายได้กี่จาน จานละกี่บาท ก็จะบันทึกเป็นยอดขาย เพื่อนำมาคำนวณ ต่อวันจะขายได้เท่าไหร่ ต่อเดือนจะขายได้เท่าไหร่ แต่ความจริงแล้ว การคาดการณ์ที่กล่าวมาอาจไม่เพียงพอเท่าที่ควร และอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจในระยะยาวได้ เพราะเจ้าของร้านต้องไม่ลืมว่ารายรับนั้น ยังไม่ได้หักต้นทุนใด ๆ เลย ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างพนักงาน ค่าล่วงเวลาของพนักงาน […]

สร้างเสน่ห์ร้านอาหาร ให้ลูกค้าไหลมาเทมา

ร้านอาหารบางร้าน ตั้งอยู่ในทำเลที่ไม่สะดวกต่อการเดินทางไปที่ร้าน แต่ก็ยังมีลูกค้าพยายามไปตามหาเพื่อไปกินให้ได้ หรือมีลูกค้าไปนั่งรอกินเป็นวันๆได้ นั่นเป็นเพราะร้านอาหารเหล่านี้มีเสน่ห์ดึงดูด ที่สามารถเรียกความสนใจลูกค้าได้มากพอ ซึ่งร้านของคุณก็สามารถทำได้เช่นกัน มาดูกันว่าจะมีวิธีใดบ้างที่จะช่วย สร้างเสน่ห์ร้านอาหาร ของคุณให้มีลูกค้าหลั่งไหลเข้ามา   สร้างเสน่ห์ร้านอาหาร ให้ลูกค้าไหลมาเทมา ‘จุดเด่น’ ที่มีแค่คุณเท่านั้นที่ให้ลูกค้าได้             เมนูซิกเนเจอร์ ไม่ใช่เมนูอะไรก็ได้ที่ร้านของคุณทำอร่อย แต่ต้องเป็นเมนูที่โดดเด่นพอที่ลูกค้าจะต้องสั่งทุกโต๊ะ หรือดั้นด้นมากิน เพราะฉะนั้นถ้าคุณขายแซลมอน แล้วเมนูซิกเนเจอร์เป็นแซลมอนคุณภาพดี อาจจะทำให้ร้านของคุณไม่ได้แตกต่างเมื่อเทียบกับร้านอาหารญี่ปุ่นเหมือนกัน วิธีสร้างจุดเด่นก็คือ สร้างเสน่ห์ให้กับเมนูนั้น ไม่ว่าจะเป็นการคิดค้นเมนูที่แปลกใหม่ รูปแบบการจัดจาน รูปแบบการเสิร์ฟ ชื่อของเมนู รวมถึงเรื่องราวที่คุณเล่าเกี่ยวกับเมนูนั้น ๆ เช่น กรณีแซลมอนที่เคยเสิร์ฟวางเป็นชิ้น ๆ อาจจัดวางเป็นทรงสูง ตกแต่งด้วยอุปกรณ์เพิ่มเติมเป็นภูเขาไฟ เสิร์ฟมาพร้อมกับควันของภูเขาไฟ แล้วตั้งชื่อว่า ฟูจิซังแซลมอน เป็นต้น ข้อคำนึงอีกประการก็คือ โดยปกติลูกค้าโดยทั่วไปจะมีค่ามาตรฐานในใจอยู่แล้ว เช่น ถ้าพูดถึงเป็ด คนจะนึกถึงเป็ดย่าง MK เพราะฉะนั้นถ้าร้านอาหารของคุณมีซิกเนเจอร์เป็นเป็ด ก็ควรจะต้องมีมาตรฐานไม่ต่ำกว่า หรือดีกว่าไปเลย หากไม่สามารถทำได้ก็ใช้เทคนิคในการสร้างความโดดเด่นอย่างที่กล่าวมาแล้ว อีกตัวอย่างที่น่าสนใจ  คือ ร้าน After You […]

พฤติกรรมพนักงานบริการ

เช็ค 10 พฤติกรรมพนักงานบริการ ที่ร้านอาหารควรปรับปรุง

พนักงานบริการถือว่ามีความสำคัญต่อร้านอาหารมาก ฉะนั้นทางที่ดีมาเช็ค พฤติกรรมพนักงานบริการ ของร้านเราดีกว่า ว่าเข้าข่ายต้องรีบปรับปรุงหรือเปล่า

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.