ไวรัสโคโรน่า กระทบหนัก! ร้านอาหารปรับตัวอย่างไรในวิกฤตนี้ - Amarin Academy

ไวรัสโคโรน่า (COVID-19) กระทบหนัก! ร้านอาหารปรับตัวอย่างไรในวิกฤตนี้

จากข่าวการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของ ไวรัสโคโรน่า หรือ COVID-19 โรคติดต่ออันตรายที่กำลังแพร่ระบาดไปยังหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในหลายๆประเทศ ที่มีผู้ป่วยติดเชื้อ รวมถึงผู้ที่เข้าเกณฑ์ต้องเฝ้าระวังที่ผ่านมานับพันราย และได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ COVID-19 เป็นโรคติดต่ออันตรายแล้ว จากเหตุการณ์นี้แน่นอนว่าย่อมส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการหลายรายในประเทศ รวมถึงผู้ประกอบการร้านอาหารก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน แล้วร้านอาหารต้องปรับตัวอย่างไรกับสถานการณ์นี้ 

 

ไวรัสโคโรน่า (COVID-19) กระทบหนัก!

ร้านอาหารปรับตัวอย่างไรในวิกฤตนี้

ไวรัสกระทบร้านอาหาร เสียรายได้หลักหมื่นล้านบาท

นักท่องเที่ยวที่น้อยลงส่งผลกระทบต่อร้านอาหารตั้งแต่ SME รายย่อยไปจนถึงรายใหญ่ ซึ่งข้อมูลจากศูนย์วิจัยธนาคารออมสินคาดการณ์ว่า หากประเทศไทยควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสได้ภายใน 3 เดือน ธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มในประเทศจะสูญเสียรายได้ไปแล้วประมาณ 16,000 ล้านบาท แต่หากสถานการณ์การแพร่ระบาดลากยาวไปจนถึง 6 เดือน อาจจะสูญเสียรายได้มากถึง 34,000 ล้านบาท 

 

พฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง

จำนวนลูกค้าต่างชาติที่ลดลงส่งผลอย่างมากต่อร้านอาหารในจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว เช่น กรุงเทพฯ ชลบุรี  รวมถึงร้านอาหารริมทางหรือ Street Food ที่กระจายอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ นอกจากนี้ ลูกค้าคนไทยเองก็มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ได้แก่

  • หลีกเลี่ยงการออกไปในที่สาธารณะ และใช้เวลาที่บ้านมากขึ้น
  • สั่งอาหารเดลิเวอรี่มากขึ้น
  • เลือกทานอาหารในร้านที่คนไม่แออัด
  • ซื้ออาหารสำเร็จรูปกลับไปทานที่บ้านแทน

พฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนไปนี้ค่อนข้างเป็นผลเสียต่อยอดขายของร้านอาหารส่วนใหญ่ ทำให้ผู้ประกอบการมีรายได้และกำไรลดลง และยังส่งผลกระทบถึงพนักงานในร้านอีกด้วย ถ้าขั้นรายแรงก้อาจทำให้บางร้านไม่สามารถอยู่รอด อาจจะต้องปิดกิจการไปได้ 

 

♦ ข้อแนะนำในการปรับตัวของร้านอาหาร เพื่อให้ร้านอยู่รอดและสูญเสียรายได้น้อยที่สุด

  • สร้างความเชื่อมั่นในความสะอาด และสุขอนามัยของร้านให้แก่ลูกค้า เช่น มีการฆ่าเชื้อด้วยน้ำยาทำความสะอาด หรือสเปรย์แอลกอฮอล์ ในบริเวณที่มีการสัมผัสร่วมกันบ่อยครั้ง เช่น โต๊ะทานอาหาร ลูกบิดประตูของร้าน จัดหาเจลแอลกอฮอล์ล้างมือไว้ให้บริการในจุดที่ลูกค้าเข้าถึงได้ง่าย นอกจากนี้ พนักงานภายในร้านก็ควรสวมหน้ากากอนามัย รวมถึงใส่ถุงมือเพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับอาหารโดยตรง เป็นการป้องกันการติดเชื้อ และแสดงถึงความใส่ใจของร้าน

ไวรัสโคโรน่า

  • จัดพื้นที่ในร้านให้ดูไม่แออัด หากภายในร้านมีจำนวนที่นั่งมากเกินไป เวลามีลูกค้าเข้ามาใช้บริการอาจจะรู้สึกอึดอัด ลองลดจำนวนที่นั่งที่ไม่ค่อยได้ใช้ออก หรือวางผังที่นั่งใหม่ เพื่อให้ลูกค้าที่มองเข้ามาในร้านจะรู้สึกได้ถึงความโปร่งสบายมากขึ้น
  • ปรับตัวตามพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของลูกค้า โดยเพิ่มรายการอาหารที่ลูกค้าสามารถสั่งซื้อกลับบ้านได้ทันที นอกจากนี้อาจจะทำเป็นอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ซึ่งเหมาะกับช่วงนี้ที่ลูกค้าใส่ใจสุขภาพเป็นพิเศษ
  • ติดตามข่าวสารที่อาจจะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ เช่น ธนาคารออมสิน มีมาตรการผ่อนปรนการชำระเงินกู้สำหรับร้านอาหารที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไวรัสแพร่ระบาด โดยลดอัตราดอกเบี้ย พักชำระเงินต้น และขยายระยะเวลาชำระหนี้ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ 
  • เพิ่มช่องทางบริการลูกค้าโดยให้ลูกค้าสั่งอาหารผ่าน Food Delivery เพราะลูกค้าเริ่มมีพฤติกรรมที่ออกจากบ้านน้อยลงและสั่งอาหารผ่าน Food Delivery มากยิ่งขึ้น ดังนั้นการเพิ่มช่องทางนี้ก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางออกที่น่าสนใจ แต่อาจจะต้องคำนวณในเรื่องของต้นทุนด้วย เพราะมีเรื่องของค่าบรรจุภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงอาจจะต้องวางระบบการทำงานหน้าร้านให้ดี เพื่อไม่ให้ออเดอร์อาหารกระทบกับลูกค้าที่มาใช้บริการหน้าร้าน

ไวรัสโคโรน่า

 

แม้ว่าในตอนนี้ผลกระทบต่อธุรกิจร้านอาหารจะยังไม่แย่ถึงที่สุด แต่ก็สร้างแรงกดดันอย่างมากแก่ผู้ประกอบการร้านอาหารในปัจจุบัน รวมไปถึงกลุ่มผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่กำลังสนใจจะเปิดร้านอาหาร ว่าจะมีกลยุทธ์ในการปรับตัวอย่างไรเพื่อให้สามารถเปิดร้านต่อไปได้ หากสถานการณ์ไวรัสยังคงแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง

สิ่งที่จะทำให้ร้านอาหารสามารถอยู่รอดได้ในระยะยาว เราควรจะต้องมีความยืดหยุ่น และมีประสิทธิภาพในการปรับตัวต่อสถานการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งวิกฤตในระยะนี้อาจเป็นช่วงเวลาที่ดีในการขยายตลาดเข้ามาทำตลาดออนไลน์ให้มากขึ้น ในประเทศจีนเองก็มีการสั่งอาหารออนไลน์เพิ่มมากขึ้นถึง 154% ซึ่งทำให้ธุรกิจเดลิเวอรี่เติบโตขึ้นมาก ทางบริษัทก็มีการปรับตัวโดยจะจัดส่งอาหารไว้ในสถานที่ที่นัดแนะกันไว้ เพื่อให้ลูกค้าไม่ต้องเจอกับผู้ส่งอาหารโดยตรง ซึ่งเป็นทั้งโอกาสของธุรกิจและยังได้รับความชื่นชมจากลูกค้าในสถานการณ์ที่ยากลำบากแบบนี้อีกด้วย

 

ขอบคุณภาพ : Christopher PB / xinhua.net

 

เรื่องแนะนำ

5 เรื่องพลาดที่คุณต้องรู้! ก่อน วางระบบร้านอาหาร เจ๊ง

เจ้าของร้านอาหารหลายแห่งประสบกับปัญหาการดำเนินงานร้านอาหาร สุดท้ายพาร้านอาหารเจ๊งไปได้ไม่รอด เมื่อวิเคราะห์ดูแล้วพบว่าเกิดจากการ วางระบบร้านอาหาร  ที่ผิดพลาด และมองข้ามเรื่องเล็ก ๆ ที่อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้ในที่สุด 1. พลาด…เพราะวางระบบไม่ตอบโจทย์ร้าน ร้านอาหารรูปแบบต่างกัน ก็มีระบบการทำงานที่ต่างกันด้วย ก่อนวางระบบร้านอาหาร จึงต้องรู้ว่าร้านของคุณเป็นร้านประเภทไหน เสิร์ฟอาหารแบบไหน เน้นการบริการรูปแบบใด การเซตอัพที่เหมาะสมกับประเภทของร้าน จะช่วยให้เกิดแผนงานที่มีประสิทธิภาพแล้ว ยังช่วยให้การวางแผนต้นทุนต่าง ๆ เป็นไปอย่างรัดกุม มีค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมในการลงทุนไปกับสิ่งที่จำเป็น จัดการต้นทุนได้ ส่งผลต่อระยะเวลาในการคืนทุนของร้าน ในทางกลับกันหากระบบที่วางไม่สอดคล้องกับการดำเนินงานร้านอาหารก็ทำให้เกิดผลตรงกันข้าม 2. พลาด…เพราะไม่เคยคำนึงเรื่องพื้นที่ ในการวางระบบงานครัว ทราบไหมว่า ปัญหาการเสิร์ฟอาหารช้าอาจแก้ได้แค่การเปลี่ยนผังครัว ? แต่ร้านอาหารหลายร้านอาจไม่เคยนึกถึงก่อนวางระบบ เมื่อเจอกับปัญหาการเสิร์ฟอาหารช้า ล้มเหลวในการบริหารจัดการเวลาพีคไทม์ มักไปแก้ด้วยวิธีการเปลี่ยนสูตรหรือการลดขั้นตอนบางอย่างที่ต้องใช้เวลา ซึ่งส่งผลต่อรสชาติอาหาร ปัญหาความล่าช้า อาจต้องวิเคราะห์ว่าพนักงานเสียเวลาไปกับอะไรบ้าง ซึ่งต้องคำนึงถึงพื้นที่ในการทำงาน การจัดวางอุปกรณ์ให้เหมาะสมด้วย ร้านที่มีผังครัวที่ดี ทำให้พนักงานเคลื่อนไหวน้อยลง มีการจัดเรียงวัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ง่ายต่อการใช้งาน จะช่วยกระชับเวลาในการจัดทำอาหารได้ไม่น้อยเลย 3. พลาด… เพราะขาดระบบสอนงานที่ดี แม้ว่าจะวางระบบร้านอาหารไว้อย่างดีแล้ว แต่หากขาดการวางโครงสร้างงานที่ดี ขาดระบบในการฝึกอบรมงาน ก็มีส่วนทำให้ระบบงานที่วางไว้ไม่สามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะธุรกิจอาหารที่มีอัตราการเข้าออกสูง ขาดระบบการฝึกงานพนักงานใหม่ นอกจากจะทำให้เสียต้นทุนเวลา ต้นทุนค่าจ้างแล้ว […]

ธุรกิจผลิตอาหาร

นวัตกรรมกับ ธุรกิจผลิตอาหาร ในวันที่ผู้บริโภคต้องการความแตกต่าง

แม้ว่าสินค้าจะออกมาดี รสชาติอร่อย ก็ยังไม่จบ เพราะยังมีเรื่องของการตลาดและองค์ประกอบต่างๆ หลายอย่าง ดังนั้นธุรกิจผลิตอาหารต้องหาจุดแข็งของตัวเองให้เจอ โดยนวัตกรรมถือเป็นตัวติดอาวุธให้ธุรกิจของคุณ ในการสู้กับคู่แข่งในทุกวันนี้

ดังกิ้น

ดังกิ้น โดนัท ทุ่ม 10 ล้าน ลุย Food Truck เข้าหาลูกค้าถึงที่

การรอให้ลูกค้าเข้ามาหาอย่างเดียวนั้น คงจะใช้ไม่ได้แล้วในยุคนี้ ยุคที่มีการแข่งขันกันสูงมาก ไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจอาหารในบ้านเรา ที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ มีผู้ประกอบการหน้าใหม่เกิดขึ้นมากมาย เหล่าธุรกิจอาหารแบรนด์ใหญ่ ก็ใช่ว่าจะอยู่นิ่ง  ต้องวิ่งตามผู้บริโภคให้ทันอย่างเช่นแบรนด์โดนัทชื่อดัง ดังกิ้น โดนัท   ดังกิ้น โดนัท ทุ่ม 10 ล้าน ลุย Food Truck เข้าหาลูกค้าถึงที่ ล่าสุดดังกิ้น โดนัท แบรนด์โดนัทชื่อดังที่เราคุ้นเคย ก็ลุกขึ้นมาลุยทำการตลาดที่เข้าหาผู้บริโภคมากขึ้น และดังกิ้น เลือกที่จะทำ Food Truck หรือหน่วยรถขายโดนัท พร้อมเครื่องดื่ม ที่เปิดให้บริการนอกสถานที่ โดยรถคันนี้จะเข้าหาลูกถึงที่แบบใกล้ชิด เน้นเจาะตามชุมชนต่างๆ เช่น สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล และคอมมูนิตี้มอลล์ ปัจจุบันเริ่มเปิดให้บริการแล้ว 2 สาขา คือ สาขาอิมแพค เมืองทองธานี และสาขาเดอะซีน ทาวน์อินทาวน์ การทำ Food Truck ในครั้งนี้ ของดังกิ้น ใช้งบลงทุนโดยเฉลี่ย ประมาณ 1 ล้านบาท […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.