เจาะ 5 พฤติกรรมผู้บริโภค ในยุคดิจิทัล ที่เจ้าของร้านควรรู้ - Amarin Academy

เจาะ 5 พฤติกรรมผู้บริโภค ในยุคดิจิทัล

ยุคนี้ผู้บริโภคเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในวงกว้างและส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต ที่”ผู้ประกอบการร้านอาหาร” ต้องทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทุกด้านของผู้บริโภค ถ้าไม่อยากปล่อยให้ร้านของคุณเจ๊ง มาเจาะ พฤติกรรมผู้บริโภค ในยุคดิจิทัลกัน

พฤติกรรมผู้บริโภค คืออะไร?

เปลี่ยนแปลงไป..อย่างไร ในยุคดิจิทัล

พฤติกรรมผู้บริโภค คือ พฤติกรรมของคนเราที่อยู่ในสังคมขณะนั้นๆ กระบวนการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่บุคคลเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง ลักษณะนิสัย วิถีชีวิต และการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันของบุคคลทั่วไป หรือกลุ่มคนส่วนใหญ่ในสังคม การเลือก การซื้อ การใช้ การประเมินผล ในแง่มุมของการจับจ่ายใช้สอย ดำเนินชีวิตประจำวัน ผ่านการใช้สินค้าและบริการต่างๆ เพื่อสนองความต้องการและความปรารถนาอยากได้ เพื่อให้ได้รับความพอใจ

     

พฤติกรรมของผู้บริโภค ในปัจจุบันแตกต่างอย่างไรกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในอดีต

นับจากปี 2015 “กรุ๊ปเอ็ม” เริ่มทำวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคที่เรียกว่าเป็นผู้ใช้อินเทอร์เน็ต “หน้าใหม่”  (The New Internet Users) ทั่วประเทศ ที่ใช้อินเทอร์เน็ตครั้งแรกผ่านมือถือ หลังจากปี 2017 ถึงปัจจุบันที่ประชากรไทยเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสัดส่วนกว่า 80% ต้องเรียกว่าวันนี้พฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตแต่ละกลุ่มมีความเชี่ยวชาญมากขึ้น การสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตปี 2019  ทั่วประเทศ พบว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตและดิจิทัลแพลตฟอร์ม เรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิต อีกทั้ง ดิจิทัลแพลตฟอร์ม ได้กลายเป็นช่องทางปกติของการติดต่อสื่อสารไปแล้ว

เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าใจและปรับตัวในยุคที่มือถือและอินเตอร์เน็ตเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตที่ขาดไม่ได้ เราจึงต้องมาศึกษา และเจาะพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในยุคนี้ ว่ามีอะไรบ้าง

 

5 พฤติกรรมผู้บริโภค ในยุคดิจิทัล

1. พฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ที่สูงขึ้น

ในปัจจุบัน ถ้าลองสังเกตการใช้ชีวิตประจำวันของตัวเอง หรือ คนรอบข้าง จะหันซ้าย หันขวา หรือแม้แต่ตัวเอง การสั่งซื้อสินค้า หรือชำระเงินเพื่อให้ได้สินค้าที่ตัวเองต้องการผ่านช่องทางออนไลน์มีเพิ่มมากขึ้น พฤติกรรมผู้บริโภคนั้นเปลี่ยนไปแล้วอย่างสิ้นเชิง แม้กระทั่งสินค้าอุปโภค บริโภค อาหาร ขนมหวาน เครื่องดื่ม ก็สามารถสั่งมาส่งให้ถึงที่ได้ง่ายๆ ในการดำเนินกิจกรรมแบบนี้บนโลกออนไลน์สามารถบอกได้เลยว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่นั้น เกิดพฤติกรรมการสั่งซื้อและชำระสินค้าออนไลน์เป็นจำนวนที่สูงขึ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้น หากคุณเป็นผู้ประกอบการร้านอาหารและยังไม่เริ่มต้นที่จะให้บริการ หรือ มีระบบชำระเงินสั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ระวัง!! ร้านของคุณอาจจะไปไม่สวยก็ได้

 

2. พฤติกรรมการชำระสินค้าด้วยเงินดิจิทัล

ลองสังเกตไหมว่า ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยเริ่มทยอยปิดสาขาลง เพราะอะไร? ลองดูในมือถือของเราดูสิ แอปพลิเคชันของธนาคาร สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้ง่ายแสนง่าย นั่นหมายความว่า ธุรกรรมการเงินส่วนใหญ่ สามารถทำได้ผ่านมือถือของตัวเอง และสามารถใช้งานได้ทันทีตลอด 24 ชั่วโมง โดยที่ไม่จำเป็นต้องออกไปนอกบ้าน ฝ่าฟันรถติดหรือปัญหาการจราจร หรือ ฝนตกก็ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป

พฤติกรรมนี้ยังส่งผลไปถึงเรื่องของการจับจ่ายใช้สอย หรือสั่งซื้ออาหารในโลกออนไลน์อีกด้วย ร้านอาหารของคุณควรมีเว็บไซต์รองรับระบบ Ecommerce การชำระเงินด้วยบัตรเครดิตผ่านการเลือกสินค้าเข้าตะกร้าในรูปแบบที่เว็บไซต์ใหญ่ๆทำกัน รวมทั้งการชำระเงินผ่านช่องทางออนไลน์ได้ทันที โดยการโอนเงินในรูปแบบออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นธนาคารต่างๆ หรือระบบพร้อมเพย์ แม้กระทั่ง Application และระบบต่างๆที่เอกชนนำเสนอกันอยู่ทุกวันนี้ เช่น True wallet หรือ LINE pay รวมทั้ง Application ที่บุกตลาดเข้ามาในประเทศไทยบ้านเราอย่าง App ของจีน เช่น WeChat pay หรือ Alipay

 

3. พฤติกรรมการให้คำติชมหรือร้องเรียนผ่านสังคมออนไลน์

Pantip , Wongnai หรือ Social Media ทุกวันนี้ลูกค้าหรือผู้บริโภคล้วนแต่เป็นเจ้าของสื่อกันทุกคน มือถือสมาร์ทโฟน+อินเทอร์เน็ต ทำให้กลายเป็นเจ้าของสื่อได้โดยอัตโนมัติ เพราะไม่ว่าเรื่องราวส่วนตัวของชีวิตหรือการเป็นผู้บริโภคในการช้อปปิ้งเลือกซื้อสินค้า ลูกค้าสามารถให้คำติชมหรือร้องเรียนเรื่องราวต่างๆ บนโลกออนไลน์ได้ทันที หากไม่พอใจในสินค้าหรือร้านอาหารร้านใดร้านหนึ่ง หรือประทับใจทั้งอาหารและการบริการ ลูกค้าสามารถใช้สื่อออนไลน์บอกต่อประชาสัมพันธ์ อาจจะเป็น comment ดีๆ การให้คะแนนผ่านโซเชียลมีเดีย ลองสังเกตง่ายๆว่า หากต้องการไปทานอาหารสักร้าน ตัวอย่าง เช่น ร้านอาหารเกาหลี ถ้าเข้าไปใน Google คุณก็จะเจอ “รีวิว” แล้วคุณก็จะได้พบกับ เนื้อหาหรือ Content มากมาย ที่บางส่วนเป็นลูกค้าที่มาใช้บริการเป็นผู้สร้างขึ้นมาเอง (User Generated Content) รีวิวเองโดยตรง หรือเป็นการนำเสนอและโฆษณาประชาสัมพันธ์จากร้านอาหารนั้นโดยตรง (Brand’s content)

ในอีกด้านหนึ่ง สำหรับตัวผู้ประกอบการเอง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินกิจการอย่างบริสุทธิ์จริงใจและเปิดเผยได้อย่างโปร่งใส เพราะเมื่อใดก็ตาม ที่การดำเนินกิจการของคุณมีปัญหา หรือ ไม่จริงใจต่อผู้บริโภค ร้านอาหารของคุณอาจจะถูกบอก ปากต่อปาก ในทางที่ไม่ดี และนั่นจะยิ่งทำให้ร้านอาหารของคุณเจ๊งได้

พฤติกรรมผู้บริโภค

4. พฤติกรรมในการเกาะกระแสสังคม

ร้านอาหารในยุคนี้ บางร้านอาจจะไม่ได้มีอะไรพิเศษมากมายนัก แต่เป็นกระแสทำให้ผู้บริโภคหรือลูกค้าต้องการอยากไปรับประทาน หลายคนที่กำลังคิดว่ามีพฤติกรรมแบบนี้เกิดขึ้นจริงหรือ ในเมื่ออาหารก็ไม่ได้อร่อยเลิศอะไร หาทานที่ไหนก็ได้ แตได้รับความนิยมหรือเป็นกระแสจนถึงขนาดลูกค้าต้องมารอต่อคิวเพื่อให้ได้ทานกันเลยทีเดียว ร้านอาหารที่เป็นกระแสแล้ว ก็จะทำให้มีลูกค้าไปกินหรือได้เข้าไปถ่ายรูปเพื่อบอกกับสังคมออนไลน์ว่าได้มาลองแล้ว แม้ว่าลูกค้าหรือผู้บริโภคเหล่านั้นยังไม่เคยแม้แต่ได้รับรู้รสชาติหรือฟังคำรีวิวต่างๆ แค่ขอให้ได้เป็นส่วนหนึ่งของกระแสที่เกิดขึ้นก็พอใจแล้ว

พฤติกรรมผู้บริโภคในลักษณะนี้เกิดขึ้นมาแล้วยาวนาน แต่ว่าเริ่มเห็นชัดเจนมากขึ้นเมื่อมีสื่อออนไลน์เข้ามา ขอให้ได้ตามกระแส ไม่ตกยุค หรือเป็นกลุ่มคนแรกๆ ที่ได้ไปทาน ก็จะยิ่งน่าภาคภูมิใจ พฤติกรรมนี้ ผู้ประกอบการร้านอาหารสามารถหยิบจับมาใช้เป็น กลยุทธ์ทางการตลาดในรูปแบบออนไลน์ได้อย่างไม่ยาก แต่ต้องวางแผนและเข้าใจถึงกลุ่มผู้บริโภคให้เหมาะสมกับร้านของคุณ รับรองว่าคุณสามารถใช้ประโยชน์ หรือ หาจุดเด่นจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในข้อนี้ได้อย่างแน่นอน

 

 5. พฤติกรรมลดความภักดีต่อแบรนด์

หนึ่งในข้อสรุปที่ได้จากรายงานครั้งล่าสุดของนีลเส็น ในการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคโดยผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกว่า 3 หมื่นคน ในภูมิภาคต่างๆ จาก 64 ประเทศทั่วโลก เผยถึงระดับของความ ไม่ จงรักภักดีต่อแบรนด์ ที่เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ โดยพบว่า มีเพียง 8% ของผู้บริโภคทั่วโลกเท่านั้น ที่เชื่อว่าตัวเองเป็นผู้ที่ภักดีต่อแบรนด์ นักการตลาดและที่ปรึกษาการตลาดส่วนใหญ่ ต้องพูดกันว่า ปัจจุบันผู้บริโภคหรือลูกค้าไม่มีความจงรักภักดีต่อแบรนด์สินค้าอีกต่อไป สาเหตุที่ว่าทำไมลูกค้าถึงลดความภักดีต่อแบรนด์สินค้าลงไปมาก หลักๆเนื่องมาจาก ปัจจุบันผู้บริโภคมีทางเลือกในการจับจ่ายใช้สอยหรือเลือกไปร้านอาหารร้านใหม่ๆ ที่ต้องการได้อย่างง่ายผ่านสื่อโฆษณาบน Social Media ที่มีอิทธิพลต่อผู้บริโภคมากขึ้น

ดังนั้น ผู้บริโภคจึงมีช่องทางหลากหลายมากมายในการรับสื่อ ไม่จำเป็นต้องใช้สื่อหลักอย่างโทรทัศน์และวิทยุอีกต่อไปแล้ว การมีอินเทอร์เน็ตทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสื่อในหลากหลายรูปแบบ สำหรับผู้บริโภคไทย ก็จะมีสื่อช่องทางออนไลน์ที่เป็นกระแสหลักๆ อย่าง เช่น Facebook YouTube LINE หรือ Twitter ช่องทางเหล่านี้ แม้จะดูเป็นแค่ Application ที่ใช้ในการติดตามเรื่องราวของเพื่อนๆหรือชาวบ้าน แต่ก็ยังเป็นสื่อที่ผู้ประกอบการร้านอาหารสามารถส่งโฆษณา หรือสร้างการรับรู้ของร้านอาหารของตัวเองได้

ในฐานะผู้ประกอบการร้านอาหาร จะสามารถใช้ประโยชน์จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปนี้ได้อย่างไร? ที่ต้องทำก็คือสำรวจตลาด วิเคราะห์ วิจัยผู้บริโภค แล้วหาช่องว่างเหล่านั้น เพื่อเติมเต็มตลาดที่ยังว่างอยู่ และ หวังว่าคุณจะสามารถใช้ประโยชน์จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปนี้กลายมาเป็นประโยชน์อย่างสูงสุดให้กับธุรกิจร้านอาหารของคุณได้

 


           กลับมาอีกครั้งกับหลักสูตร HR for Food Business บริหารคน สำหรับธุรกิจอาหาร รุ่นที่ 3 หลักสูตรที่จะทำให้ผู้ประกอบการเรียนรู้การบริหารบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ ไขข้อข้องใจปัญหาเรื่องพนักงานลาออกบ่อย ขาด ลา มาสาย ทะเลาะกัน การหาพนักงานที่ดี โครงสร้างเงินเดือน สัญญาจ้างงาน รวมถึงกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานต่างๆ ที่ต้องรู้ โดยวิทยากร คือ อาจารย์ พีรพัฒน์ กองทอง ผู้มีประสบการณ์จากธุรกิจอาหารเชนใหญ่อย่าง แมคโดนัลด์ ประเทศไทย ที่จะมาพร้อมแขก สุดพิเศษ ร่วมแชร์ประสบการณ์การบริหารจัดการพนักงานในร้าน งานนี้จะจัดขั้นในวันอังคารที่ 31 มีนาคม – วันพุธที่ 1 เมษายน 2563  เวลา 9.00-17.00 น. 

 

คลิกสมัครด่วน! หลักสูตร HR for Food Business บริหารคน สำหรับธุรกิจอาหาร รุ่นที่ 3

HR for Food Business บริหารคน สำหรับธุรกิจอาหาร รุ่นที่ 3

                    

เรื่องแนะนำ

เช็กลิสต์ QSC ระบบ ประเมินมาตรฐาน ที่ร้านอาหารคุณต้องมี!

หนึ่งในระบบเซตอัพร้านอาหารที่สำคัญ ก็คือการออกแบบเครื่องมือในการ ประเมินมาตรฐาน หรือผลการปฏิบัติงานของร้าน ที่เรียกว่า QSC  ถือเป็นคู่มือที่ใช้ควบคุมการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ โดยจะครอบคลุม 3 เรื่องสำคัญ ได้แก่   เช็กลิสต์ QSC ระบบ ประเมินมาตรฐาน ที่ร้านอาหารคุณต้องมี! Q = Quality การประเมินด้านคุณภาพ เริ่มตั้งแต่วัตถุดิบ วิธีการเก็บรักษาวัตถุดิบ วิธีการปรุงอาหารและการเสิร์ฟ ทั้งรสชาติ ปริมาณ หน้าตาอาหาร   S =Service การประเมินด้านการบริการ เริ่มตั้งแต่การต้อนรับลูกค้า การแนะนำรายการสินค้า ความเต็มใจบริการ ความสุภาพของพนักงาน ความถูกต้องในการรับรายการอาหาร   C = Cleanliness การประเมินด้านความสะอาด เริ่มประเมินตั้งแต่ การแต่งกายของพนักงาน ความสะอาดของหน้าร้านและหลังร้าน รวมไปถึงการดูแลรักษาและซ่อมบำรุงอุปกรณ์ครัว   ตัวอย่างการทำ QSC : ร้านกาแฟ มาดูกันว่าการทำ QSC ร้านกาแฟ จะกำหนดให้ควบคุมในเรื่องใดบ้าง ยกตัวอย่างเช็กลิสต์ […]

อยากขายแอลกอฮอล์ต้องรู้! ขั้นตอนขอใบอนุญาตจำหน่ายสุราสำหรับร้านอาหาร

กลางวันเปิดคาเฟ่ กลางคืนอยากเปิดบาร์ เจ้าของร้านกาแฟถาม อยากขายแอลกอฮอล์กลางคืน แชร์ขั้นตอนขอใบอนุญาตจำหน่าย สุรา สำหรับร้านอาหาร เพิ่มรายได้ร้าน ตอนเช้าเป็นร้านกาแฟ ตอนเย็นเป็นร้านนั่งชิลล์ดีปะ ? วันก่อนแอดได้ไปเห็นโพสต์หนึ่งในกลุ่ม “คนบ้ากาแฟ” ที่เจ้าของร้านกาแฟร้านหนึ่งได้มาโพสต์ขอคำแนะนำ เนื่องจากเขาทำร้านกาแฟอยู่และต้องการเปิด ขายสุรา ในช่วงเย็นด้วย ในกรณีนี้ต้องทำอย่างไรบ้าง? โพสต์นี้มีคำตอบ! การขายสุรา ใบอนุญาตมี 2 ประเภท คือ ประเภทที่ 1 ขายส่งสุราทุกชนิด ครั้งละสิบลิตรขึ้นไป ประเภทที่ 2 ขายปลีกสุราทุกชนิด ครั้งละต่ำกว่าสิบลิตร (สำหรับร้านอาหาร คือ ประเภทที่ 2) ซึ่งสำหรับการขออนุญาตขายสุราทาง “คลินิกภาษี กระทรวงการคลัง” ได้เคยให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า ขอใบอนุญาตได้จากไหน ผู้ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตขายสุรา สามารถติดต่อขอใบอนุญาต ณ สำนักงานสรรพสามิต พื้นที่สาขาแห่งท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ โดยเปิดทำการในเวลาราชการ การขอใบอนุญาตสุราผ่านอินเตอร์เน็ต ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.excise.go.th/…/LIQUOR-TOBACCO…/index.htm ต้องใช้อะไรบ้าง ผู้ขอรับใบอนุญาตรายใหม่ นำเอกสารฉบับจริง ดังต่อไปนี้ไปแสดง 1.บัตรประจำตัวประชาชน […]

กรณีศึกษา PRODUCT IS KING ขายดีได้ ไม่ต้องแข่งที่ “ราคา”

กรณีศึกษา PRODUCT IS KING ขายดีได้ ไม่ต้องแข่งที่ “ราคา” ร้านก๋วยเตี๋ยวเรือพรีเมียม ที่เลือกจะไม่แข่งขันเรื่องราคา แต่กลับทำให้ขายดีได้   เคยสงสัยไหม ? ทำไมร้านอาหารประเภทเดียว ๆ กัน บางร้านขายราคาค่อนข้างสูงเลย แต่ขายดีมาก นั่นเป็นเพราะ ลูกค้าไม่ได้โฟกัสแค่ราคาขายของสินค้า แต่ยังให้ความสำคัญกับความรู้สึกคุ้มค่าที่จะได้รับจากราคาที่จ่ายไปด้วย ซึ่งเมื่อพูดถึงประเด็นนี้แล้ว ก็ทำให้นึกถึงโพสต์หนึ่งของคุณหนุ่ย การตลาดวันละตอน ที่ได้พูดถึงราคาขนมถ้วยของร้านทองสมิทธิ์ ร้านก๋วยเตี๋ยวเรือสุดพรีเมียม ของคุณปลา อัจฉรา เจ้าของ iberry Group เครือร้านอาหารที่มีกว่า 50 สาขา PRODUCT IS KING โดยคุณหนุ่ยได้กล่าวประมาณว่า แม้ขนมถ้วยของทองสมิทธ์ จะมีราคาขายต่อถ้วยอยู่ที่คู่ละ 29 บาท ซึ่งดูแล้วก็อาจจะเทียบเท่าราคาขนมถ้วย 1 กล่องที่ขายกันตามท้องตลาด แต่ถึงอย่างนั้นผู้บริโภคหลาย ๆ คนก็ต่างบอกว่าขนมถ้วย และกล้วยทอดของทองสมิทธิ์อร่อยมาก จนบางคนไปเพื่อซื้อขนมของทองสมิทธิ์โดยเฉพาะ หรืออย่างเช่นร้าน Copper ที่ได้แตกไลน์ร้านอาหารใหม่ออกมาเป็น “เตี๋ยวคอปเปอร์” ที่ได้นำเมนูก๋วยเตี๋ยวเรือยอดนิยมในร้าน […]

พนักงานบริการผิดพลาด

วิธีรับมือเมื่อ พนักงานบริการผิดพลาด

เราไม่ได้กำลังทำธุรกิจอาหาร แต่เรากำลังทำธุรกิจบริการผ่านอาหาร ซึ่งจะหลีกเลี่ยงการปะทะกับลูกค้าไม่ได้เลย เราจึงมี วิธีรับมือเมื่อ พนักงานบริการผิดพลาด มาฝาก

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.