5 วิธี เปิดเพลงในร้านอาหาร ไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์ - Amarin Academy

5 วิธี เปิดเพลงในร้านอาหาร ไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์

ก่อนหน้านี้เรามักจะได้ยินข่าวอยู่บ่อยๆว่า ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ที่เปิดเพลงต่างๆ ภายในร้านของตัวเอง ถูกดำเนินคดีในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์งานเพลง หรือแม้แต่ข่าวตัวศิลปินเอง ที่นำเพลงมาร้องก็ถูกดำเนินคดีเช่นกัน ต้องบอกเลยว่าในยุคปัจจุบันนี้ ปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์เพลงเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง เพราะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อน และมีรายละเอียดมาก ซึ่งเจ้าของร้านบางราย หรือตัวศิลปินที่นำเพลงมาร้องตามร้านนั้น อาจจะยังไม่เข้าใจถึงข้อกฎหมายในเรื่องลิขสิทธิ์เพลงที่ชัดเจนมากพอ วันนี้ Amarin Academy จะมาอธิบายให้ทราบว่า จะมีวิธี เปิดเพลงในร้านอาหาร อย่างไรไม่ให้ผิดกฎหมาย และหากถูกกล่าวหาว่าละเมิดลิขสิทธิ์งานเพลง ต้องทำอย่างไร มาดูกันค่ะ

 

5 วิธี เปิดเพลงในร้านอาหาร ไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์

  1. ตรวจสอบรายชื่อเพลงที่จะใช้เปิด ว่ามีบริษัทใดจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์บ้าง ตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์กรมทรัพย์สินทางปัญญา www.ipthailand.go.th
  2. เลือกใช้เพลงที่ศิลปินหรือค่ายเพลง ประกาศอนุญาตให้ใช้ได้โดยไม่เสียค่าลิขสิทธิ์
  3. จำกัดการใช้งานเพลงเพื่อลดต้นทุนค่าลิขสิทธิ์ และลดปัญหาการถูกดำเนินคดี
  4. ตรวจสอบความเคลื่อนไหวของรายชื่อเพลงที่แจ้งจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ในเว็บไซต์กรมทรัพย์สินทางปัญญาอย่างต่อเนื่อง
  5. หากเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์เพลง และต้องการจ่ายค่ายอมความจะต้องกระทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจ และระบุรายชื่อเพลง และจำนวนเงินที่ยอมความในบันทึกยอมความไว้เป็นหลักฐานเสมอ

 

สำหรับทั้ง 5 คำแนะนำข้างต้น เจ้าของร้านที่จะ เปิดเพลงในร้านอาหาร ควรจะต้องรีบตรวจสอบเลยค่ะ ว่างานเพลงที่ใช้เปิดอยู่นั้นมีเจ้าของลิขสิทธิ์หรือไม่ และดำเนินการเจรจาค่าลิขสิทธิ์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ตัวเจ้าร้านเองก็จะได้สบายใจ ไม่ต้องกังวลว่าจะถูกดำเนินคดีค่ะ

แต่ถ้าหากพูดถึงอีกหนึ่งกรณี สำหรับบางร้านที่ไม่ได้มีการตรวจสอบตามขั้นตอนที่กล่าวมา แล้วถูกกล่าวหาว่าละเมิดลิขสิทธิ์เพลงขึ้นมานั้น จะต้องทำอย่างไรต่อ ดูตามขั้นตอนดังนี้ค่ะ

 

ถูกกล่าวหาว่าละเมิดลิขสิทธิ์เพลง ต้องทำอย่างไร?

  1. ตรวจสอบหลักฐานการแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน เนื่องจากคดีละเมิดลิขสิทธิ์เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว หรือความผิดอันยอมความได้ เจ้าของลิขสิทธิ์หรือตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจะต้องแจ้งความร้องทุกข์ก่อนดำเนินคดี มิฉะนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจจะไม่มีอำนาจในการจับกุมดำเนินคดี
  2. ตรวจสอบหลักฐานการแสดงความเป็นเจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์ เช่น หลักฐานการเป็นผู้สร้างสรรค์ ผู้รับโอนสิทธิ์ หรือเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้จัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ หรือการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์โดยวิธีอื่น
  3. ตรวจสอบหลักฐานการมอบอำนาจ ให้ตัวแทนมาดำเนินคดี เช่น หนังสือมอบอำนาจหมดอายุหรือไม่ การมอบอำนาจนั้นสามารถมอบอำนาจช่วงได้หรือไม่ การมอบอำนาจช่วงต้องกระทำโดยไม่ขาดสายถึงผู้มอบอำนาจคนแรก และมีอำนาจในการร้องทุกข์ ถอนคำร้องทุกข์ หรือยอมความหรือไม่เป็นต้น
  4. การดำเนินคดี จะต้องมีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาด้วย และผู้ประกอบการอาจขอดูบัตรประจำตัว เจ้าหน้าที่ตำรวจที่เข้าจับกุม
  5. การตรวจค้นในที่รโหฐาน เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องมีหมายศาลมาแสดง ก่อนที่จะทำการตรวจค้น
  6. คดีละเมิดลิขสิทธิ์เพลง สามารถยอมความ (ตกลงค่าเสียหาย) เพื่อยุติคดีด้วยการถอนคำร้องทุกข์ หรือถอนฟ้อง หากต้องการยอมความ ควรทำต่อหน้าพนักงานสอบสวนเท่านั้น และลงบันทึกไว้เป็นหลักฐานว่ายอมความในลิขสิทธิ์เพลงอะไร จำนวนเงินเท่าใด

 

ตรวจสอบลิขสิทธิ์เพลงก่อนใช้

1.เข้าไปที่เว็บไซต์

1.1 ตรวจสอบรายชื่อบริษัท

1.2 ตรวจสอบรายชื่อเพลง ของแต่ละบริษัทจัดเก็บ

 

2. ตรวจสอบว่าเพลงที่ต้องการใช้ มีการจัดเก็บในลิขสิทธิ์ประเภทใด

2.1 ดนตรีกรรม (งานเกี่ยวกับเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อบรรเลงหรือขับร้องไม่ว่าจะมีทำนองและคำร้องหรือมีทำนองอย่างเดียว และหมายความรวมถึงโน้ตเพลงหรือแผนภูมิเพลงที่ได้แยกและเรียบเรียงเสียงประสานแล้ว)

2.2 สิ่งบันทึกเสียง (สิ่งที่ประกอบขึ้นจากเสียงที่ได้บันทึกลงในสื่อเช่น คอมแพคท์ดิสก์, คาสเสทท์, เทป หรืออุปกรณ์อื่นใดที่สามารถบันทึกเสียงได้ หรืออีกนัยหนึ่ง คือต้องเป็นเสียงที่อยู่บนซีดี (ไม่ใช่ตัวแผ่นซีดี) จึงจะถือว่าเป็นสิ่งบันทึกเสียงได้)

 

3. การจ่ายค่าตอบแทนให้กับบริษัทจัดเก็บ

3.1 เพลง รักเอย

ดนตรีกรรม + งานสิ่งบันทึกเสียง

บริษัท ก. อ้างสิทธิจัดเก็บ เท่ากับว่า จ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้กับบริษัท ก. รายเดียว

 

3.2 เพลง รักเอย

ดนตรีกรรม = บริษัทจัดเก็บ ก. อ้างสิทธิจัดเก็บ

สิ่งบันทึกเสียง = บริษัทจัดเก็บ ข. อ้างสิทธิจัดเก็บ

เท่ากับว่า จ่ายค่าลิขสิทธิ์ทั้งบริษัท ก. และ บริษัท ข.

 

3.3 เพลง รักเอย

ดนตรีกรรม = บริษัทจัดเก็บ ก. อ้างสิทธิจัดเก็บ

สิ่งบันทึกเสียง = บริษัทจัดเก็บ ข. อ้างสิทธิจัดเก็บ

ดนตรีกรรม = บริษัทจัดเก็บ ค. อ้างสิทธิจัดเก็บ

เท่ากับว่ามีการอ้างสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมมากกว่าหนึ่งรายการ หลีกเลี่ยงการใช้งานเพลงนี้ เพราะแม้ว่าจะจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้กับบริษัท ก. และบริษัท ข. แล้ว บริษัท ค. อาจอ้างสิทธิ์ในงานดนตรีกรรม เพื่อเรียกเก็บค่าลิขสิทธิ์ หรือดำเนินคดีได้ ดังนั้น กรณีนี้ถือว่าเป็นเพลงที่มีปัญหาความซ้ำซ้อนในการเรียกเก็บค่าลิขสิทธิ์ค่อนข้างมาก ควรหลีกเลี่ยงในการนำมา

 

จะเห็นได้ว่าเรื่องของลิขสิทธิ์งานเพลงนั้นเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน และไม่ควรมองข้ามอย่างยิ่งเลยค่ะ เพราะทุกชิ้นงานมีเจ้าของและหากไม่รอบคอบในส่วนนี้ ก็อาจจะต้องเสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา และเสียชื่อเสียงเพราะต้องถูกดำเนินคดีด้วย เพราะฉะนั้นถ้าจะ เปิดเพลงในร้านอาหาร เจ้าของร้านอาหารควรศึกษาและดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายค่ะ

 

ขอบคุณข้อมูล : กรมทรัพย์สินทางปัญญา

 

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ

เปิดร้านของตัวเอง VS ซื้อแฟรนไชส์ แบบไหนดีกว่ากัน?

How to 10 เทคนิค ถ่ายภาพอาหารให้น่ากิน

วิธีเก็บผัก เก็บอย่างไรให้ถูกต้อง และเก็บได้นาน

วิธี คำนวณต้นทุนร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านต้องรู้! by คุณ ธามม์ ประวัติตรี

อย่าปล่อยให้ ระบบงานครัว ทำร้านเจ๊ง ถึงเวลาเจ้าของร้านต้องวางแผน

วิธีรับมือลูกค้า ที่มีปัญหา รับมืออย่างไรให้เจ๋ง พลิกวิกฤตเป็นโอกาสได้

เรื่องแนะนำ

เรื่องที่ต้องหยุดทำ

เรื่องที่ต้องหยุดทำ หากคุณอยากประสบความสำเร็จ

จากผลการศึกษาของ ทอม คอร์ลีย์ (Tom Corley) นักเขียนและนักพูดเรื่องการสร้างนิสัยเศรษฐี ได้ใช้เวลาในการศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มคนที่ประสบความสำเร็จกว่า 5 ปี จนได้ข้อสรุปว่า พฤติกรรม 8 อย่างนี้เป็น เรื่องที่ต้องหยุดทำ เสียที หากคุณอยากประสบความสำเร็จมากกว่าเดิม

ขายอาหารคลีน

รู้ก่อนขาย! 4 จุดบอด ขายอาหารคลีน แบบนี้มีแต่เจ๊ง!

ในปัจจุบันนี้จะสังเกตได้ว่า เป็นยุคที่คนหันมาใส่ใจในสุขภาพของตัวเองมากขึ้น มีกิจกรรมรณรงค์เรื่องสุขภาพออกมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย หรือแม้แต่การบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ เพราะเรื่องอาหารการกินก็เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้สุขภาพร่างกายดีขึ้น จึงเป็นผลทำให้ทุกวันนี้เราจะเห็นร้านอาหารคลีนใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมายอย่างต่อเนื่อง เราจะเห็นโฆษณาบ่อย ตามช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instargram และช่องทางออนไลน์อื่นๆ เมื่อมีกระแสคนรักสุขภาพมากขึ้น ก็เป็นการเพิ่มช่องทางทำเงินจากธุรกิจอาหารคลีนได้มากขึ้นเช่นกัน แต่การจะ ขายอาหารคลีน ให้รุ่งนั้น ต้องรู้ว่าอะไรควรทำ และอะไรที่เป็นจุดบอดควรหลีกเลี่ยง   ขายอาหารคลีน ควรเลี่ยง 4 จุดบอดนี้!! อาหารคลีน  (Clean Food) คือ อาหารที่ใช้วัตถุดิบสดใหม่ในการปรุงอาหาร ขั้นตอนในการปรุงจะไม่ใช้สารเคมีปรุงแต่งอาหาร หรือผ่านการแปรรูปให้น้อยที่สุด และไม่ผ่านกระบวนการปรุงแต่งรสชาติที่มากเกินไป แต่ยังคงไว้ซึ่งสารอาหารและคุณค่าครบถ้วน รวมถึงมีการคำนวณพลังงานที่ร่างกายจะได้รับในแต่ละมื้ออาหารนั้นไว้ด้วย ดังนั้น อาหารคลีนจึงเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพนั่นเองค่ะ และถึงแม้ว่ากระแสอาหารคลีนยังคงอยู่ และมีผู้ประกอบการที่อยาก ขายอาหารคลีน เกิดขึ้นมากมาย แต่ก็ใช่ว่าทุกร้านจะอยู่รอดนะคะ ขายอาหารคลีน ยังต้องมีองค์ประกอบอีกหลายอย่างที่ต้องรู้ รวมถึง จุดบอดที่ควรเลี่ยงอย่างที่เราได้กล่าวไป ซึ่ง4 จุดบอดนั้นคือ จุดบอดที่ 1 รสชาติไม่อร่อย แน่นอนว่าใครๆ ก็อยากจะบริโภคอาหารที่อร่อยจริงไหมคะ แม้ว่าจะเป็นอาหารคลีนก็ตาม […]

เริ่มต้นเปิดร้านอาหาร

9 ขั้นตอนการ เริ่มต้นเปิดร้านอาหาร อย่างมืออาชีพ

อยากเปิดร้านอาหาร แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี? เรามีขั้นตอน การเริ่มต้นเปิดร้านอาหาร มาฝาก เผื่อจะเป็นแนวทางสำหรับใครที่ยังนึกไม่ออกว่าจะเริ่มต้นอย่างไร

เปิดเพลงในร้านอาหาร

5 วิธี เปิดเพลงในร้านอาหาร ไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์

ก่อนหน้านี้เรามักจะได้ยินข่าวอยู่บ่อยๆว่า ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ที่เปิดเพลงต่างๆ ภายในร้านของตัวเอง ถูกดำเนินคดีในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์งานเพลง หรือแม้แต่ข่าวตัวศิลปินเอง ที่นำเพลงมาร้องก็ถูกดำเนินคดีเช่นกัน ต้องบอกเลยว่าในยุคปัจจุบันนี้ ปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์เพลงเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง เพราะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อน และมีรายละเอียดมาก ซึ่งเจ้าของร้านบางราย หรือตัวศิลปินที่นำเพลงมาร้องตามร้านนั้น อาจจะยังไม่เข้าใจถึงข้อกฎหมายในเรื่องลิขสิทธิ์เพลงที่ชัดเจนมากพอ วันนี้ Amarin Academy จะมาอธิบายให้ทราบว่า จะมีวิธี เปิดเพลงในร้านอาหาร อย่างไรไม่ให้ผิดกฎหมาย และหากถูกกล่าวหาว่าละเมิดลิขสิทธิ์งานเพลง ต้องทำอย่างไร มาดูกันค่ะ   5 วิธี เปิดเพลงในร้านอาหาร ไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์ ตรวจสอบรายชื่อเพลงที่จะใช้เปิด ว่ามีบริษัทใดจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์บ้าง ตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์กรมทรัพย์สินทางปัญญา www.ipthailand.go.th เลือกใช้เพลงที่ศิลปินหรือค่ายเพลง ประกาศอนุญาตให้ใช้ได้โดยไม่เสียค่าลิขสิทธิ์ จำกัดการใช้งานเพลงเพื่อลดต้นทุนค่าลิขสิทธิ์ และลดปัญหาการถูกดำเนินคดี ตรวจสอบความเคลื่อนไหวของรายชื่อเพลงที่แจ้งจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ในเว็บไซต์กรมทรัพย์สินทางปัญญาอย่างต่อเนื่อง หากเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์เพลง และต้องการจ่ายค่ายอมความจะต้องกระทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจ และระบุรายชื่อเพลง และจำนวนเงินที่ยอมความในบันทึกยอมความไว้เป็นหลักฐานเสมอ   สำหรับทั้ง 5 คำแนะนำข้างต้น เจ้าของร้านที่จะ เปิดเพลงในร้านอาหาร ควรจะต้องรีบตรวจสอบเลยค่ะ ว่างานเพลงที่ใช้เปิดอยู่นั้นมีเจ้าของลิขสิทธิ์หรือไม่ และดำเนินการเจรจาค่าลิขสิทธิ์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ตัวเจ้าร้านเองก็จะได้สบายใจ ไม่ต้องกังวลว่าจะถูกดำเนินคดีค่ะ แต่ถ้าหากพูดถึงอีกหนึ่งกรณี […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.