รีวิวร้านอาหารแบบไหนให้เข้าถึงใจสายกิน เรียกลูกค้าเข้าร้านแบบไหลมาเทมา

รีวิวร้านอาหารแบบไหนให้เข้าถึงใจสายกิน !

รีวิวสายจิ้น…สร้างจินตนาการให้มากที่สุด

เมื่อพูดถึงการรีวิวร้านอาหาร หลายคนคงนึกถึงการรีวิวด้วยภาพเป็นอันดับแรก แต่เชื่อไหมว่าคุณสามารถเรียกลูกค้าให้ต่อคิวหน้าร้านได้โดยที่ไม่ได้มีการโพสต์รูปอาหารใด ๆ ด้วยซ้ำ เพียงแค่ทำให้เขาจินตนาการถึงอาหารของคุณ  ยกตัวอย่าง เช่น ร้านของคุณกำลังจะทำเมนูใหม่ซึ่งเป็นเมนูที่ขายรสชาติที่เผ็ดร้อน อาจเลือกใช้ภาพสีหน้าของคนที่เกิดจากการกินอาหารจานนั้น และเลือกใช้ภาพสีหน้าที่บอกระดับความเผ็ดในระดับต่าง ๆ  คนที่ได้เห็นภาพจะเกิดความรู้สึกสนใจ คิดว่าเมนูนี้จะเผ็ดขนาดไหน และต้องการเปรียบเทียบระดับความเผ็ดเมื่อได้กินเมนูนี้ด้วยตัวเอง ยิ่งคุณสามารถสร้างจินตนาการขึ้นในหัวของคนได้มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งสร้างความรู้สึกคาดหวังที่จะสัมผัสของจริงได้มากขึ้นเท่านั้น อีกหนึ่งรูปแบบในการสร้างจินตนการที่นิยมในปัจจุบันก็คือ  Content ประเภทร้านลับ เมนูลับที่ไม่บอกว่าเป็นเมนูอะไร หรือการรีวิวการกินหน้ากล้องของยูทูเบอร์เกาหลี

 

รีวิวสายยั่ว…ยั่วเก่งด้วยภาพ

กูรูด้านการทำตลาดร้านอาหารให้ทรรศนะว่า การทำร้านอาหารให้น่าสนใจไม่ต่างอะไรกับการยั่วให้คนมาจีบ ขั้นตอนแรกก็คือ การสร้างเสน่ห์ให้ร้านอาหารของตัวเองออกไปยั่วลูกค้าให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพอาหารที่น่ากินที่สุด เสียงของอาหารที่แสดงให้เห็นถึงความกรอบ ซึ่งสามารถทำได้ทั้งรูปแบบภาพนิ่งและวิดีโอ  ที่จะสามารถทำให้ลูกค้าเกิดความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นอยากกิน หรือถ้าร้านสวยมาก ๆ มีมุมถ่ายภาพเยอะ ก็ต้องนำเสนอภาพที่ทำให้ลูกค้าต้องการมาถ่ายรูปในจุดที่สวยที่สุดของร้านของคุณ

 

รีวิวสายเล่า…จีบให้ติดด้วยเรื่องเล่า

            ถ้าภาพสวย ๆ คือยั่วให้อยากรู้จัก เรื่องที่เล่าคือการจีบลูกค้าให้ติด  เพราะคนไม่ได้มาร้านอาหารเพียงเพื่อ ‘กิน’ เพียงเท่านั้น แต่หมายถึงประสบการณ์รอบด้านที่จะทำให้ลูกค้าได้รับกลับไป ร้านอาหารที่เก่งในการเล่าเรื่อง นอกจากจะสร้างมูลค่าให้เกิดกับสินค้าที่ขายได้แล้ว ยังทำให้เกิดการติดตามในด้านเนื้อหาอีกด้วย นอกจากจะนำจุดขายของร้านมาสร้างเรื่องเล่าในการรีวิวแล้ว คุณต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายหลักของร้าน เพื่อเลือกรูปแบบของการเล่าที่สอดคล้องกับความสนใจ  นอกจากนี้ควรให้ข้อมูลที่จำเป็นต่าง ๆ สำหรับลูกค้าด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเดินทาง บริการ การจอง ที่จอดรถ ก็เป็นข้อมูลสำหรับลูกค้าที่ต้องการอ่านรีวิวร้านอาหารอยากรู้เช่นกัน

 

รีวิวสายตี…ตีหัวเข้าร้านด้วยช็อตหยุดสายตา

จำไว้เลยว่าคุณมีเวลาเฉลี่ยเพียง 0.3 วินาทีเท่านั้นในการหยุดนิ้วโป้งที่จะเลื่อนหน้าจอผ่านโพสต์ของร้านคุณไป ภาพที่คุณนำมาใช้เพื่อเรียกลูกค้าของคุณจะต้องเป็นช็อตที่ดีที่สุด  คำบรรยายที่ใช้จะต้องสามารถเรียกความสนใจ กระชับและหยุดความสนใจตั้งแต่ประโยคแรก จนทำให้ลูกค้ารู้สึกว่า ฉันอยากจะออกไปกินเดี๋ยวนี้เลย!  เทคนิคในการนำเสนอภาพอาหารให้น่ากินนั้นมีอยู่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้มุมภาพ การตกแต่งบรรยากาศของภาพ การใช้จังหวะของภาพที่น่าสนใจ  โดยอาหารแต่ละเมนูจะมีจุดขายที่เป็นลักษณะเฉพาะของตัวเอง  เช่น ขายชีสต้องยืด ขายเนื้อต้องให้เห็นถึงลายของเนื้อสวย ๆ ขายขนมปังใส่ไส้ต้องให้เห็นไส้ที่ล้นทะลัก แต่จะดีมากยิ่งขึ้น ถ้าร้านของคุณสามารถสร้างสรรค์มุมที่แตกต่างออกไปจากเดิม ที่ไม่มีใครเคยขายภาพในมุมนี้มาก่อน

 

รีวิวสายให้…ให้ประสบการณ์ใหม่ ๆ

ในการทำการตลาดดิจิทัลมีศัพท์ที่น่าสนใจอย่างคำว่า User Generate Content (UGC)  คือการที่ผู้บริโภคสร้างเนื้อหาเกี่ยวกับสินค้าต่าง ๆ ขึ้นมาเอง เป็น content online ที่ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นจากการว่าจ้าง  ซึ่งถือว่ามีมูลค่าการตลาดสูงมาก เทคนิคหนึ่งที่ทำให้เกิด UGC ก็คือ การท้าทายให้เกิดการพิสูจน์ ความสนุกที่เกิดจากการแชร์ประสบการณ์ร่วมกัน เช่น รีวิวการตักสลัดบาร์ให้มากที่สุด รีวิวการเขย่าคุกกี้ให้แตกเป็นรูปทรงต่าง ๆ ก่อนกิน ซึ่งคุณอาจนำมาปรับใช้กับเมนูแนะนำของร้านคุณก็ได้

 

รีวิวสายขู่…ขู่ให้กลัวที่จะพลาด

            เทคนิคการรีวิวอาหารโดยใส่ความกลัวลงไป เป็นหนึ่งในการกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อด้วยอารมณ์   เช่น การกลัวที่จะพลาดโอกาส พลาดประสบการณ์บางอย่าง กลัวสินค้าหมด เพื่อให้เกิดการตัดสินใจซื้อทันทีในตอนนั้น เช่น การรีวิวร่วมกับการจัดทำโปรโมชั่น ยกตัวอย่าง มีสินค้าขายในจำนวนจำกัด จองในระยะเวลาที่กำหนดเท่านั้น เป็นต้น

สมัครเลยถ้าคุณไม่อยากพลาดหลักสูตรที่จะช่วยแก้ทุกปัญหาให้กับคุณ   คลิก

เรื่องแนะนำ

6 ปัญหาที่ต้องระวัง  ในการนำ ร้านอาหารเข้าระบบเดลิเวอรี

6 ปัญหาที่ต้องระวัง เมื่อนำ ร้านอาหารเข้าระบบเดลิเวอรี

        การจะนำ ร้านอาหารเข้าระบบเดลิเวอรี เป็นทางเลือกกึ่งบังคับของผู้ประกอบการหลายๆท่าน ในช่วงที่มีการ Shutdown กรุงเทพฯ รวมถึงอีกหลายจังหวัดจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 การปรับตัวเข้าสู่ระบบเดลิเวอรี จึงเป็นการเพิ่มโอกาสทำยอดขายทางออนไลน์ เพื่อชดเชยกับยอดขายหน้าร้านที่ลดลง รวมถึงเป็นการเพิ่มช่องทางในการขายใหม่ๆให้กับลูกค้า แต่ระบบนี้ก็ไม่ได้มีแต่ข้อดีเสมอไป ลองมาดูปัญหาที่ผู้ประกอบการควรระวังเพื่อไม่ให้ร้านขาดทุน!! หากต้องนำร้านอาหารเข้าร่วมให้บริการเดลิเวอรี 6 ปัญหาที่ต้องระวัง  เมื่อนำ ร้านอาหารเข้าระบบเดลิเวอรี 1. ไม่สามารถรักษาคุณภาพและรสชาติของอาหารได้         การส่งอาหารผ่านระบบเดลิเวอรี จะต้องมีการควบคุมมาตรฐานของอาหาร โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่าอาหารจะต้องปรุงสุกใหม่ เนื้อสัตว์ควรผ่านกระบวนการทำอาหารที่อุณหภูมิมากกว่า 70 องศาเซลเซียส และหลีกเลี่ยงการจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุกเพื่อป้องกันการปนเปื้อนในอาหาร         นอกจากนี้ ผู้ประกอบการอาจจะต้องเจอกับปัญหารสชาติและคุณภาพของอาหารที่ด้อยลง ซึ่งมีสาเหตุได้จากหลายปัจจัย เช่น เกิดจากระยะเวลาในการจัดส่งที่ล่าช้า หรือการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสมกับชนิดของอาหาร เช่น อาหารทอด เมื่อนำบรรจุลงกล่องที่ปิดมิดชิด จะทำให้เกิดไอน้ำควบแน่นอยู่ที่ฝากล่อง และเกิดความชื้นทำให้อาหารนั้นไม่กรอบ รสชาติและสัมผัสของอาหารจึงไม่เหมือนเดิม ทางร้านควรมีแนวทางการแก้ไข โดยอาจจะเลือกใช้กล่องที่มีรูระบายความร้อน […]

FIFO

FIFO เทคนิคการจัดเก็บวัตถุดิบร้านอาหาร ที่ช่วยลดต้นทุนได้

การทำร้านอาหารหนึ่งร้าน ไม่ใช่เรื่องเล็กๆเลยค่ะ เพราะคุณต้องรู้จักวิธีจัดการกับปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาหน้างาน หรือแม้แต่การหาวิธีป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น ไม่เว้นแม้แต่เรื่องในครัว เช่น การจัดการวัตถุดิบต่างๆ ถ้ารู้วิธีจัดการที่ถูกต้อง ก็สามารถช่วยลดต้นทุนให้กับร้านอาหารของคุณได้ด้วย ลองใช้เทคนิคจัดเก็บวัตถุดิบร้านอาหาร หรือ FIFO ดูค่ะ   FIFO เทคนิคการจัดเก็บวัตถุดิบร้านอาหาร อย่างที่กล่าวมาว่า ปัญหาเรื่องการจัดการวัตถุดิบในครัวนั้น เป็นปัญหาที่หลายร้านมักเจอ ไม่ว่าจะเป็น อาหารออกไม่ได้เพราะวัตถุดิบหมดสต๊อกแต่ไม่รู้, ลืมใช้วัตถุดิบจนหมดอายุ ทำให้สูญเสียวัตถุดิบโดยเปล่าประโยชน์, วัตถุดิบหาย และไม่มีใครรับผิดชอบ ซึ่งวัตถุดิบทุกอย่างล้วนเป็นต้นทุนร้านอาหารทั้งสิ้น หากเจ้าของร้านยังปล่อยให้เกิดปัญหาแบบนี้ไปเรื่อยๆ โดยไม่แก้ไข ร้านก็อาจจะถึงขั้นต้องปิดตัวลงได้ ดังนั้น จึงควรนำเทคนิค FIFO มาใช้เพื่อให้การจัดเก็บวัตถุดิบร้านอาหารมีประสิทธิภาพมากขึ้น   FIFO คือ? FIFO ย่อมาจาก First in First out หรือ “มาก่อน ใช้ก่อน” อธิบายง่ายๆ ก็คือ ถ้าวัตถุดิบใดมาส่งก่อน ก็หยิบใช้ก่อน เคล็ดลับง่ายๆ สำหรับการลดต้นทุนร้านอาหาร ซึ่งฟังดูเหมือนจะง่าย แต่บอกเลยว่าอาจจะทำได้ยากค่ะ   […]

จดทะเบียนบริษัท

จดทะเบียนบริษัท ร้านอาหารต้องรู้อะไรบ้าง ?

ขายดีมาก ยอดขายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ภาษีที่ต้องเสียก็พุ่งสูงตาม! อย่างนี้ร้านอาหารควรทำธุรกิจในนามบุคคลแบบนี้ต่อไป หรือ จดทะเบียนบริษัท ดี?

ลด แลก แจก แถม โปรโมชั่น ไหนถูกใจลูกค้า

ร้านอาหารที่เพิ่งเปิดตัวใหม่ ๆ หรืออยู่ในช่วงที่ร้านซบเซา หลายร้านก็เลือกที่จะจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด หรือ โปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม เป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อตามที่ต้องการแล้ว เจ้าของร้านอาหารควรคำนึงถึงเรื่องใดบ้างเพื่อให้ร้านประสบความสำเร็จในการนำกลยุทธ์เหล่านี้มาใช้ โดยเฉพาะในยุคที่เทคโนโลยีมีส่วนช่วยในการผลักดันแคมเปญทางการตลาดให้กับร้านได้อย่างน่าสนใจ   ลด แลก แจก แถม โปรโมชั่น ไหนถูกใจลูกค้า   ลด ทำอย่างไรถึงจะขายได้เพิ่มมากขึ้นในช่วง Off Peak ? กลยุทธ์ในการลดสินค้านั้น สามารถทำได้หลายรูปแบบ และตอบสนองวัตถุประสงค์ทางการตลาดที่แตกต่างกัน เช่น การแนะนำสินค้าใหม่ การเพิ่มยอดขายให้กับบางเมนูที่ลูกค้าไม่เคยสนใจมาก่อน  หรือลดเพื่อให้สั่งเมนูอื่น ๆ ในร้านมากขึ้นก็ตาม  ข้อสังเกตก็คือ ร้านค้าที่สามารถจับอินไซต์ลูกค้าของตัวเองได้เก่ง ก็จะได้รับการตอบรับจากลูกค้าได้ดี เช่น ร้านอาหารร้านหนึ่งตั้งอยู่ในย่าน Office ทำให้ร้านสามารถมี peak time แค่ช่วงเวลากลางวัน แต่ขายไม่ได้เลยในช่วงเวลา Off Peak  ร้านจะสังเกตได้ว่า ช่วงเวลาสักบ่ายสามพนักงานออฟฟิศอยากสั่งของทานเล่นกันมาก จึงเลือกนำเมนูทานเล่นพร้อมเซตเครื่องดื่มมาจัดโปรโมชั่นแทนที่จะเลือกเมนูหนักมาจัดทำโปรโมชั่น การกำหนดกลยุทธ์โดย Consumer Centric เช่นนี้ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.