อยากโตในระบบอุตสาหกรรม ต้องทำอย่างไร ? - Amarin Academy

อยากโตในระบบอุตสาหกรรม ต้องทำอย่างไร ?

ช่องทางการเติบโตของธุรกิจมีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการขยายสาขา การแตกไลน์ผลิตภัณฑ์ การหาพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ ฯลฯ แต่ช่องทางที่น่าจับตามากที่สุดตอนนี้คือ การเติบโตแบบระบบอุตสาหกรรม เพราะถ้ามีการบริหารจัดการที่ดีพอ จะถือเป็นช่องทางที่ทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด แต่ปัญหาคือ ตอนนี้เราเป็น SME ขนาดเล็ก จะก้าวสู่การเติบโตแบบระบบอุตสาหกรรมได้อย่างไร เรามีขั้นตอนการเตรียมตัวในเบื้องต้นมาฝาก!

1. วางแผนธุรกิจให้ชัดเจน

เชื่อว่าผู้ประกอบการทุกคนที่ลงมือทำธุรกิจ ต้องมีการวางแผนธุรกิจกันบ้าง ซึ่งมีทั้งระบุแผนการโดยละเอียด และแบบร่างแผนการไว้คร่าว ๆ แต่หากคุณต้องการเติบโตในระบบอุตสาหกรรม บอกเลยว่าแผนธุรกิจของคุณต้องชัดเจนอย่างมาก เริ่มแรกต้องกำหนดเป้าหมาย อาจแบ่งเป็นระยะสั้น กลางและยาว กำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน กำหนดจุดแข็งของธุรกิจ วิเคราะห์ตลาดและคู่แข่งโดยละเอียด ฯลฯ เพื่อจะได้สามารถวางแผนการดำเนินงานได้เหมาะสม ยิ่งคุณมีการวางแผนที่ละเอียดและชัดเจนมากเท่าไร ก็ยิ่งทำให้การดำเนินงานราบรื่นขึ้นเท่านั้น

2. ทำสินค้าให้ได้มาตรฐาน

สำหรับธุรกิจในระบบอุตสาหกรรม มาตรฐานของสินค้าคือสิ่งที่สำคัญมาก (ไม่ว่าผู้บริโภคจะซื้อสินค้าจากที่ไหน ก็ได้รับสินค้าที่มีคุณภาพเท่าเทียมกัน) ดังนั้นเจ้าของธุรกิจจึงต้องสร้างมาตรฐานในการผลิต พร้อมทั้งศึกษาข้อกำหนดต่าง ๆ ว่าสินค้าของเราจำเป็นต้องได้รับการตรวจหรือรับรองมาตรฐานจากองค์กรหรือสถาบันใดบ้าง เพื่อให้สินค้าที่ผลิตออกมาเป็นที่ยอมรับ ทั้งจากคู่ค้าและผู้บริโภค

แต่ปัญหาสำคัญคือ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักไม่ทราบว่าควรวางระบบหรือกระบวนการผลิตอย่างไร เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานที่องค์กรหรือสถาบันต่าง ๆ กำหนด เพราะการที่สินค้าของเราจะได้รับการรับรองมาตรฐานใด ๆ นั้น จำเป็นต้องมีการตรวจประเมินสถานที่ผลิตจากเจ้าของมาตรฐานและ/หรือตัวแทนที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ผลิตมีการดำเนินการตามข้อกำหนดในมาตรฐานนั้น ๆ อย่างครบถ้วน

ดังนั้นเจ้าของธุรกิจจึงต้องเตรียมตัวให้พร้อม ศึกษารายละเอียดต่าง ๆ ให้ชัดเจน หรือสอบถามจากกูรูผู้เชี่ยวชาญในสายงานนั้น ๆ เพื่อให้การตรวจรับรองมาตรฐานเป็นไปโดยราบรื่นมากที่สุด

3. มีระบบการทำงานที่ชัดเจน

อีกหนึ่งข้อที่ควรทำคือ การวางระบบงานให้ชัดเจน เพราะการทำงานในระบบอุตสาหกรรมคือการผลิตสินค้าคราวละมาก ๆ หากไม่มีการวางระบบการทำงาน หรือไม่มีการตรวจสอบการทำงานโดยละเอียด อาจส่งผลให้เกิดข้อผิดพลาดร้ายแรงตามมาได้ เช่น ผลิตสินค้าผิดพลาด ทั้งในแง่จำนวนการผลิตและคุณภาพ หรือพนักงานทำงานซ้ำซ้อน เพราะไม่ทราบขอบเขตการทำงานที่แน่ชัด ส่งผลให้เกิดความเสียหายในแง่ต้นทุนและแรงงาน เป็นต้น

ทั้งนี้ก่อนจะวางระบบการทำงานแบบอุตสาหกรรม สิ่งที่เจ้าของธุรกิจควรคำนึงถึงคือ ต้องผลิตให้ได้มากที่สุด โดยใช้ทรัพยากรที่น้อยที่สุด มีของเสียเหลือน้อยที่สุด เพื่อให้ได้ต้นทุนต่อหน่วยถูกที่สุด แม้จะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก แต่หากมีการวางระบบการทำงานที่ดี หรือมีกูรูผู้เชี่ยวชาญในด้านการผลิตคอยให้คำแนะนำ ก็จะช่วยให้เราสามารถดำเนินการตามเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ได้

4.การเงิน / บัญชีต้องเป๊ะ

หากต้องการก้าวสู่การทำงานในระบบอุตสาหกรรม นอกจากต้องใส่ใจในเรื่องกระบวนการผลิต การควบคุมต้นทุน การบริหารงานระบบต่าง ๆ แล้ว ยังต้องให้ความสำคัญเรื่องระบบการเงิน ซึ่งเปรียบเสมือนเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงธุรกิจให้อยู่รอดด้วย เนื่องจากธุรกิจในระบบอุตสาหกรรมจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก หากการเงินขาดสภาพคล่อง อาจส่งผลให้ธุรกิจหยุดชะงัก ไม่สามารถดำเนินงานต่อได้ ดังนั้นเจ้าของธุรกิจจึงจำเป็นต้องวิเคราะห์และประเมินสถานะทางการเงินของธุรกิจตลอดเวลา เพื่อจะได้วางแผนการทำธุรกิจได้อย่างเหมาะสม และทางที่ดีควรมีการวางแผนสำรอง เพื่อรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นด้วย

5. มีที่ปรึกษาที่ดี

ธุรกิจในระบบอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มักมีที่ปรึกษาในการทำธุรกิจ เพื่อช่วยชี้แนะแนวทางการดำเนินงานที่ถูกต้องและเหมาะสม โดยสาเหตุที่ธุรกิจควรมีที่ปรึกษา เนื่องจากหากคุณเพิ่งเริ่มเข้ามาในธุรกิจอุตสาหกรรม อาจยังไม่ทราบว่าขั้นตอนการทำงานที่เหมาะสมควรเป็นอย่างไร ควรรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นในรูปแบบไหน หรือหากคุณดำเนินงานมาสักพัก อาจมองข้ามปัญหาบางประการที่อาจเป็นปัญหาเล็ก ๆ แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้อาจส่งผลเสียมหาศาล อาจไม่ทราบว่าจุดอ่อนของธุรกิจคืออะไร หรือบางครั้งอาจโฟกัสแต่ธุรกิจของตัวเอง จนลืมมองคู่แข่งหรือตลาด ทำให้ตามเกมการแข่งขันไม่ทัน

ที่ปรึกษาธุรกิจที่มีความเชี่ยวชาญ ก็จะเข้ามาช่วยในส่วนนี้ โดยจะช่วยวิเคราะห์การทำงานและคาดการณ์ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น พร้อมเสนอทางออกที่เหมาะสม ก็จะช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้อย่างมั่นคงมากขึ้น

สำหรับธุรกิจใดที่กำลังวางแผนจะเติบโตในระบบอุตสาหกรรม อย่าลืมเตรียมตัวตามขั้นตอนนี้ เพื่อให้การขยายธุรกิจของคุณประสบความสำเร็จ แต่หากใครยังไม่มั่นใจว่าควรจะเริ่มต้นวางแผนอย่างไร หรือควรต้องเติบโตในทิศทางไหน

ตอนนี้ SCB SME มีกูรูด้านการทำธุรกิจในระบบอุตสาหกรรม คือดร.ภัทธาวุธ สกุนตนิยม ที่เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาองค์กรอุตสาหกรรม มาตรฐานคุณภาพอุตสาหกรรม การบริหารต้นทุนการผลิต และการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม ที่จะมาช่วยชี้แนะทางรอด อุดรอยรั่วในการทำธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้อย่างยั่งยืน

สนใจนัดคิวขอรับคำปรึกษาฟรีได้ที่ SCB Business Center เบอร์ติดต่อ 064-265-3402
รายละเอียดเพิ่มเติม https://businesscenter.scb.co.th หรือติดตามข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวของ SCB SME ได้ที่ https://facebook.com/groups/scbsme

เรื่องแนะนำ

ทำเลไม่ดี

เจ้าของร้านอ่านเลย! แชร์ 7 วิธี ทำเลไม่ดี ทำอย่างไรให้ขายดี

การจะเปิดร้านอาหาร ใครๆ ก็คงอยากจะได้ทำเลที่ดี หรือทำเลทองจริงไหมครับ เพราะหากเลือกทำเลในการเปิดร้านได้ดี ร้านของคุณก็มีโอกาสที่จะขายได้ หรือเป็นที่รู้จักของลูกค้ามากกว่า แต่ก็ใช่ว่าทุกร้านจะได้ทำเลดีที่ต้องการเสมอไป ด้วยปัจจัยหลายๆอย่าง ที่ทำให้ร้านของคุณต้องไปอยู่ในทำเลที่ไม่ดี แต่ก็ไม่ใช่ว่าอยู่ในทำเลไม่ดีแล้วคุณจะไม่มีทางออก มีเจ้าของร้านหลายรายที่ประสบความสำเร็จได้แม้จะอยู่ในทำเลที่ไม่ดี วันนี้เราเลยขอแชร์ 7 วิธี ทำเลไม่ดี ทำอย่างไรให้ขายดี มาดูกันครับ แชร์ 7 วิธี ทำเลไม่ดี ทำอย่างไรให้ขายดี วิธีที่ 1 ทำป้ายโฆษณาให้คนรู้จัก แม้วิธีนี้จะดูเป็นวิธีที่ค่อนข้างเก่า ดั้งเดิม แต่ก็ยังคงใช้ได้อยู่ เพราะหากร้านคุณอยู่ในทำเลที่ไม่ดี ไม่มีคนเดินผ่าน ก็ทำให้ไม่มีใครเห็นร้านคุณ อย่างน้อยก็ควรมีป้ายโฆษณาเพื่อบอกว่าพิกัดร้านคุณอยู่ที่ไหน อาจจะทำป้ายแนะนำร้านแล้วนำไปวางไว้ในจุดที่มีผู้คนสัญจรไปมา เพื่อให้ลูกค้ามีโอกาสที่จะเดินทางเข้ามาที่ร้านได้อย่างง่ายขึ้น และเริ่มรู้จักร้านของคุณ แต่การใช้วิธีนี้ เจ้าของร้านอาจจะต้องวางแผนในการทำป้ายโฆษณาด้วย ไม่ว่าจะเป็นใบปลิว แผ่นพับ หรือป้ายโฆษณา เพื่อช่วยควบคุมเรื่องต้นทุนค่าใช้จ่าย   วิธีที่ 2 กระตุ้นยอดขาย ด้วยโปรโมชั่น การจัดโปรโมชั่นในกรณีนี้ หวังผลให้ลูกค้าได้เห็นและได้รู้จักทำเลที่ตั้งของร้าน โดยอาจใช้ส่วนลดเป็นแรงจูงใจในการเข้ามาที่ร้าน แต่ทั้งนี้การจัดโปรโมชั่นกระตุ้นยอดขาย เพื่อดึงลูกค้าไม่ควรใช้บ่อยจนเกินไป เพราะจะเป็นการลดทอนคุณค่าร้านของคุณ และทำให้ลูกค้าสนใจร้านคุณแค่ช่วงมีโปรโมชั่นเท่านั้น แต่แนะนำให้ใช้วิธีนี้เป็นใบเบิกทางไปสู่วิธีการอื่น ๆ ให้คนได้รู้จักร้านของคุณมากขึ้น […]

3 ขั้นตอน ทำให้ร้านอาหารโดดเด่น กว่าร้านอื่น

ทุกวันนี้ร้านอาหารแข่งขันกันสูงมาก เราจึงขอนำเสนอ 3 ขั้นตอน ทำให้ร้านอาหารโดดเด่น เพื่อช่วยให้ร้านของคุณอยู่รอดและทำกำไรได้ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงเช่นนี้

วิธีตั้งชื่อแบรนด์ แบบอูน DIAMOND GRAINS เจ้าแม่อาหารสุขภาพร้อยล้าน

ถอดบทเรียน การตั้งชื่อแบรนด์ คุณอูน DIAMOND GRAINS เจ้าแม่อาหารเพื่อสุขภาพร้อยล้าน ผู้ไม่เคยหยุดพัฒนา กับแนวคิดการสร้างแบรนด์และการตั้งชื่อแบรนด์ต่างๆ เชื่อว่าหลาย ๆ คนจะต้องรู้จักนักธุรกิจสาวไฟแรงคนนี้ “คุณอูน ชนิสรา วงศ์ดีประสิทธิ์” หรือที่ใคร ๆ รู้จักกันในชื่อ อูน Diamond Grains ต้นแบบและแรงบันดาลใจในการใช้ชีผูวิตหรือทำธุรกิจของใครหลาย ๆ คน แต่ทุกคนรู้ไหมว่าคุณอูนไม่ได้ทำแค่แบรนด์ Diamond Grains อย่างเดียวนะ แต่ยังทำแบรนด์อื่น ๆ อีกถึง 6 แบรนด์!!! ซึ่งวันก่อนแอดก็ได้มีโอกาสดูคลิปที่คุณอูนได้มาแชร์ถึงวิธีการตั้งชื่อแบรนด์ของตัวเอง ที่ต้องบอกว่าแต่ละชื่อมีเอกลักษณ์และบ่งบอกถึงตัวตนของแบรนด์มาก ๆ ว่าแต่วิธีของคุณอูน จะมีอะไรบ้าง ? เราลองมาถอดบทเรียนการตั้งชื่อแบรนด์ในแบบของ คุณอูน Diamond Grains กัน! เล่ากระบวนการ ในที่นี้คุณอูนเล่าที่มาของการตั้งชื่อแบรนด์ผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพจากกราโนล่าและธัญพืช Diamond Grains ว่าเกิดมาจากการที่สามี คุณแพค วุฒิกานต์ กำลังดูการ์ตูนเรื่อง One Piece ทำให้รู้สึกว่า กว่าที่ธัญพืชจะผ่านกระบวนการต่าง […]

สร้าง Content ว้าว! จนลูกค้ามาต่อคิว

 ในการทำการตลาดออนไลน์หรือ Digital Marketing ในยุคปัจจุบันนี้ เจ้าของธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มส่วนใหญ่จะไปโฟกัสแต่เครื่องมือ โฟกัสแต่เคล็ดลับเทคนิคต่างๆ ในการซื้อโฆษณา

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2023 Amarin Corporations Public Company Limited.