4 วิธี จัดการเงินในร้านอาหาร ให้อยู่หมัด! - Amarin Academy

4 วิธี จัดการเงินในร้านอาหาร ให้อยู่หมัด!

 4 วิธี จัดการเงินในร้านอาหาร ให้อยู่หมัด!

ว่ากันว่าการเปิดร้านอาหาร เป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง ตามสถิติ ร้านอาหาร 2 ใน 3 ร้าน จะปิดตัวลงภายใน 1 ปีแรก และ 3 ใน 4 ร้าน จะปิดตัวลงภายใน 2 ปีแรก ถือเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงจนน่าใจหาย แต่รู้ไหมว่า ต้นเหตุของปัญหานี้ส่วนใหญ่มาจากการที่เจ้าของร้าน ไม่รู้วิธีการ จัดการเงินในร้านอาหาร ที่ถูกต้อง ทำให้เงินรั่วไหล ได้กำไรไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย หนักเข้าก็ถึงขั้นปิดกิจการ เมื่อทราบอย่างนี้ มาดู 4 วิธีง่ายๆ ในการบริหารจัดการเงินกัน

1.ตรวจสอบรายรับ-รายจ่ายทุกวัน

วิธีนี้คือวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการป้องกันเงินรั่วไหลออกจากร้านโดยไม่ทราบสาเหตุ เรียกง่ายๆ ว่าเหมือนเราทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายในแต่ละวัน ที่เราจะได้เห็นภาพรวมว่า ร้านอาหารของเราหมดเงินไปกับอะไรมากที่สุด แล้วเงินที่ได้รับกลับมาคุ้มค่าหรือไม่

รายงานการเงินเป็นรายวันนี้จะช่วยให้เจ้าของร้าน หรือผู้จัดการร้านวิเคราะห์ได้ว่า ควรปรับลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นส่วนใด เช่น วัตถุดิบที่สั่งมามากเกินไปจนหมดอายุ พนักงานที่มากเกินจำเป็นในบางช่วงเวลา เป็นต้น นอกจากนี้รายงานการเงินยังช่วยให้คุณคาดการณ์ยอดขายในอนาคต เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการทำโปรโมชั่น การจ้างพนักงาน หรือการออกเมนูพิเศษเพื่อกระตุ้นยอดขายได้อีกด้วย

2.ทำความเข้าใจกับคำว่า กระแสเงินสด

กระแสเงินสด หรือ Cash flow จำนวนเงินที่ได้รับ หักลบกับจำนวนเงินที่ต้องจ่ายในแต่ละวัน สัปดาห์หรือเดือน ถ้าหากคุณไม่เข้าใจการจัดการกระแสเงินสด บอกได้เลยว่าสถานการณ์การเงินของคุณกำลังอยู่ในขั้น “เสี่ยง”

ไม่ว่าคุณจะประกอบธุรกิจใดก็ตาม กระแสเงินสดถือเป็นสิ่งสำคัญ ที่ช่วยให้คุณดำเนินกิจการได้อย่างราบรื่น เพราะหากคุณไม่มีเงินสำรองในมือเลย หากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น เช่น วัตถุดิบหมดกะทันหัน ตู้เย็นเสีย เตาไฟใช้งานไม่ได้ ธุรกิจของคุณต้องหยุดชะงัก รายได้หดหาย รายจ่ายเท่าเดิม (หรืออาจเพิ่มขึ้น)

ฉะนั้นสิ่งสำคัญที่สุดในการจัดการกระแสเงินสดของร้านอาหารคือ การจัดสรรงบประมาณให้เหมาะสม สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น เช่น ค่าเช่าอาคาร ค่าสาธารณูปโภค ค่าวัตถุดิบ ค่าพนักงาน เป็นต้น และอย่าลืมเผื่อเงินสำรองสำหรับกรณีฉุกเฉินต่างๆ ด้วย เมื่อประมาณการณ์ได้ว่าใน 1 เดือน คุณต้องจ่ายเงินเป็นจำนวน “เท่าไร” แล้ว อย่าลืมคำนึงด้วยว่า คุณต้องจ่ายเงินเหล่านี้ “เมื่อไร” ด้วย

วิธีที่ดีที่สุด คือ พยายามบริหารจัดการให้เงินอยู่ในมือคุณให้นานที่สุด โดยการขอเครดิตจาก Supplier อย่างน้อย 1 สัปดาห์ ถึงแม้ถ้าจ่ายสดจะได้ส่วนลดคุณก็ควรขอเครดิต เพื่อที่ว่าหากมีเหตุการณ์ใด ๆ ขึ้น คุณจะได้มีเงินสำรองจ่าย

3.ควบคุมจำนวนเรื่องพนักงานให้เหมาะสม

นอกเหนือจากการควบคุมกระแสเงินสดและรายรับรายจ่ายในแต่ละวันแล้ว การควบคุม ดูแลพนักงานให้ปฏิบัติตามหน้าที่ก็เป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้เช่นกัน สิ่งที่คุณควรตรวจดูอย่างใกล้ชิด คือ ร้านอาหารของคุณต้องมีพนักงานเพียงพอในการบริการลูกค้าให้ดีที่สุด แต่ต้องไม่มากจนเกินไป

ทั้งนี้ข้อเสียของการมีพนักงานในร้านมากเกินไปมี 2 ข้อใหญ่ๆ คือ คุณต้องจ่ายมากเกินจำเป็น และเงินทิปสำหรับพนักงานแต่ละคนก็น้อยลง ฉะนั้น ย้อนกลับไปเรื่องการตรวจสอบรายรับรายจ่ายในแต่ละวัน สิ่งนี้จะช่วยในการวิเคราะห์ได้ว่า คุณควรจ้างพนักงานมากน้อยแค่ไหน

4.เริ่มประหยัดจากเรื่องเล็กๆ

เมื่อพูดถึงการประหยัดค่าใช้จ่ายในร้านอาหาร หลายคนอาจคิดถึงเรื่องใหญ่ๆ เช่น การปรับเปลี่ยนระบบเครื่องใช้ไฟฟ้าใหม่ทั้งหมด เพื่อให้ประหยัดพลังงาน หรือแม้แต่การปรับปรุงร้านใหม่ ให้สว่างสดใส เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หากคุณมีเงินทุนมากพอ คุณก็ทำได้

แต่สำหรับร้านอาหารส่วนใหญ่แล้ว เงินทุนถือเป็นสิ่งที่เรามีอยู่จำกัด ฉะนั้นเริ่มประหยัดจากเรื่องง่ายๆ  และเรื่องเล็กๆ จะดีกว่า เช่น การเปลี่ยนหลอดไปให้ประหยัดพลังงาน ปิดแอร์บางส่วนของร้านในช่วงบ่ายที่คนน้อย การปรับลดเมนูที่ไม่เป็นที่นิยม (วิธีนี้ช่วยลดต้นทุนด้านวัตถุดิบได้มากพอสมควร) เป็นต้น

(อ่านเพิ่มเติม 8 วิธี ประหยัดค่าใช้จ่าย ภายในร้าน)

ลองทำตาม 4 ข้อง่ายๆ นี้ คุณจะจัดการเงินในร้านอาหารได้อยู่หมัดแน่นอน!

 

เรื่องแนะนำ

Business Plan

สรุปขั้นตอนง่ายๆ เขียน Business Plan ให้เป๊ะ

Business Plan คือสิ่งสำคัญในการเริ่มต้นทำร้านอาหาร โดยประโยชน์หลักๆ มี 2 ข้อ คือ เพื่อใช้แสดงต่อสถาบันการเงิน และให้เจ้าของร้านเห็นภาพรวมในธุรกิจของตัวเอง

เผยสูตรคำนวณ ต้นทุนร้านอาหาร คุมค่าใช้จ่ายให้เป๊ะก่อนเปิดร้าน

เพราะการทำร้านอาหารจะกำไรหรือขาดทุน ขึ้นอยู่กับว่าเจ้าของร้านอาหารควบคุม ต้นทุนร้านอาหาร ได้ดีขนาดไหน การกำหนดโครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร จะช่วยทำให้ตั้งราคาขาย และกำหนดยอดขายในแต่ละวันได้อย่างเหมาะสม  ที่สำคัญยังช่วยให้ป้องกันปัญหาต้นทุนพุ่งจนกระทบยอดรายได้  เพราะสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้อย่างเหมาะสม   โครงสร้าง ต้นทุนร้านอาหาร ที่สำคัญมีอะไรบ้าง คำนวณอย่างไรไม่ขาดทุน   1.ต้นทุนอาหาร (วัตถุดิบ) ต้นทุนวัตถุดิบอาหาร หมายรวมถึงวัตถุดิบที่ใช้ปรุง การตกแต่งจาน รวมถึงบรรจุภัณฑ์ต่างๆ โดยทั่วไปแล้ว ต้นทุนวัตถุดิบที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 25-30 เปอร์เซ็นต์ นอกจากร้านอาหารประเภทบุฟเฟต์ จะมีต้นทุนวัตถุดิบอยู่ประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์ การทราบต้นทุนอาหาร ช่วยให้กำหนดราคาขายต่อเมนูได้อย่างแม่นยำ สูตรการคิดคำนวณต้นทุนอาหาร ต้องคำนวณจาก Yield หรือวัตถุดิบที่ใช้ได้จริง เป็นหลัก เพราะฉะนั้นร้านอาหารจะต้องหา Yield ของวัตถุดิบทุกชนิด โดยขั้นตอนก็คือ การชั่งน้ำหนักวัตถุดิบ และทำการเตรียมวัตถุดิบพร้อมสำหรับการปรุง เช่น เนื้อปลา เมื่อหั่นให้ได้ขนาดชิ้นตามสูตร SOP ที่กำหนดแล้ว ให้นำเนื้อปลาหลังตัดแต่ง และเนื้อปลาส่วนที่ตัดทิ้ง มาชั่งน้ำหนักเปรียบเทียบเพื่อคำนวณ   ค่าเปอร์เซ็นต์ Yield =  ปริมาณหลังตัดแต่ง […]

เทคนิค ลดต้นทุน เพิ่มกำไร

5 เทคนิค ลดต้นทุน เพิ่มกำไร แต่มาตรฐานเท่าเดิม!

ปัญหาส่วนใหญ่ที่ร้านอาหารมักเจอคือ แม้จะขายอาหารได้มาก แต่กำไรกลับน้อยจนน่าใจหาย วันนี้เราจึงมี เทคนิค ลดต้นทุน เพิ่มกำไร มาฝากครับ

ขายดีจนเจ๊ง

จัดการเงินทุนหมุนเวียน ป้องกันอาการ ขายดีจนเจ๊ง

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า ขายดีจนเจ๊ง กันมาบ้างแล้ว อาการอย่างนี้มักเกิดกับธุรกิจที่ไม่ได้มีการวางแผนเรื่องการจัดการเงินทุนหมุนเวียน แล้วจะทำอย่างไรให้ธุรกิจของคุณไม่ตกอยู่ในสภาวะเสี่ยงที่จะขาดสภาพคล่อง ลองมาติดตามกันครับ

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.