โครงสร้าง ต้นทุนร้านอาหาร รู้ไว้...ไม่มีเจ๊ง - Amarin Academy

โครงสร้าง ต้นทุนร้านอาหาร รู้ไว้…ไม่มีเจ๊ง

โครงสร้าง ต้นทุนร้านอาหาร รู้ไว้…ไม่มีเจ๊ง

อยากเปิดร้านอาหาร ควรลงทุนเท่าไร ตั้งราคาอาหารเท่าไรดี ถ้าราคาต้นทุนวัตถุดิบเท่านี้ ควรบวกเพิ่มกี่เปอร์เซ็นต์ถึงจะได้กำไร และไม่ขาดทุน คำถามเหล่านี้มีเพื่อนๆ ผู้ประกอบการถามเข้ามาเยอะมาก ซึ่งจริงๆ แล้วทุกคำถาม สามารถตอบได้ด้วย โครงสร้าง ต้นทุนร้านอาหาร ที่จะเป็นตัวชี้แนะแนวทางว่า ถ้าคุณจะเปิดร้านอาหารสัก 1 ร้าน ควรลงทุนกับสิ่งใดเท่าไรบ้าง และถ้าลงทุนเท่านี้ กี่ปีถึงจะคืนทุน

เบื้องต้น เราสามารถกำหนดโครงสร้างต้นทุนร้านอาหารได้เป็น 4 ส่วนหลักๆ ได้แก่

1.ต้นทุนวัตถุดิบ

ควรมีสัดส่วนไม่เกิน 25-30% ของยอดขาย (สมมติคุณขายอาหารจานละ 100 บาท ต้นทุนวัตถุดิบไม่ควรเกิน 30 บาททั้งนี้คำว่าวัตถุดิบ ไม่ได้หมายถึง แค่เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ที่นำมาปรุงอาหารเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ที่ใช้บรรจุอาหารสำหรับเสิร์ฟด้วย

แต่ร้านอาหารบางประเภท อาจมีสัดส่วนของต้นทุนวัตถุดิบคลาดเคลื่อนไปบ้าง เช่น ร้านอาหารประเภทบุฟเฟ่ต์ อาจมีต้นทุนวัตถุดิบสูงจนแตะ 50% ซึ่งไม่ถือว่าผิด แต่ร้านอาหารประเภทนี้จะต้องไปลดค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ ลง เพื่อให้สามารถทำกำไรได้ เช่น ลดค่าใช้จ่ายเรื่องพนักงานเสิร์ฟ เพราะให้ลูกค้าเดินไปตักอาหารเอง เป็นต้น

2.ค่าแรงพนักงาน

ควรมีสัดส่วนอยู่ที่ 20 – 25 % ของยอดขาย โดยค่าแรงพนักงานนี้เจ้าของร้านอาหารอย่าลืมบวกสวัดิการต่างๆ ที่เราให้พนักงาน รวมทั้งค่าแรงของตัวเองเข้าไปด้วย (เจ้าของร้านส่วนใหญ่มักลืมบวกค่าแรงตัวเอง สุดท้าย ต้องเอากำไรของร้านมาใช้ แล้ววันต่อไป จะเอาเงินที่ไหนไปซื้อวัตถุดิบ ?)

พนักงานร้านอาหาร Copper
พนักงานร้าน Copper Buffet @ The Sense ปิ่นเกล้า

3.ค่าเช่าสถานที่

ควรมีสัดส่วนไม่เกิน 20% ของยอดขาย โดยค่าเช่าพื้นที่นี้เป็นค่าใช้จ่ายคงที่ที่ต้องจ่ายในทุกๆ เดือน ฉะนั้นยิ่งค่าเช่าสถานที่สูงเท่าไร คุณก็ต้องทำยอดขายให้สูงขึ้นตามไปด้วย

4.ค่าดำเนินการต่างๆ

ควรมีสัดส่วนไม่เกิน 10 % ค่าดำเนินการเหล่านี้ประกอบไปด้วย ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าแก๊ส ค่าเดินทางค่าวัสดุสิ้นเปลือง เช่น ทิชชู่ กระดาษรองจาน ค่าลิขสิทธิ์เพลง ค่าระบบ POS ฯลฯ ควรควบคุมไม่ให้เกิน 10% ของยอดขาย

สุดท้ายแล้วถ้าคุณควบคุมต้นทุนให้เป็นไปตามสัดส่วนที่กำหนดได้ สุดท้ายจะเหลือกำไรประมาณ 15 – 20% ของยอดขาย ซึ่งถ้าทำได้ จะถือว่าดีเยี่ยม แต่ถ้าทำได้ไม่ถึง 15% หรือได้ประมาณ 10 % ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่พอรับได้ แต่คุณต้องลองชั่งน้ำหนักดูว่า คุ้มค่าต่อการลงทุนหรือไม่

อธิบายอย่างนี้อาจจะยังไม่เห็นภาพ เราจะลองมายกตัวเองการลงทุนในร้านอาหารตามสัดส่วนดังกล่าวให้ฟัง

สมมติว่าคุณกำลังจะเปิดร้านอาหาร 1 ร้าน โดยภายในร้านมี 60 ที่นั่ง โดยประเมินได้ว่า ร้านอาหารของเราจะขายอาหารเฉลี่ยอยู่ที่จานละ 100 บาท

ทั้งนี้ช่วงเวลาที่คาดว่าจะมีลูกค้าเต็มทุกที่นั่งคือ กลางวันและเย็น เท่ากับว่า ใน 1 วัน เราจะรองรับลูกค้าได้ 120 คน เมื่อคูณ 100 บาท เท่ากับวันหนึ่งเราจะมียอดขาย 12,000 บาท ต่อวัน หรือ 360,000 บาท ต่อเดือน

เมื่อนำตัวเลขมาคำนวณพร้อมกับสัดส่วนต้นทุนข้างต้น เราจะรู้ว่าเราควรลงทุนกับต้นทุนใด เท่าไรบ้าง

ร้านคุ้มกะตังค์
ร้านคุ้มกะตังค์ โดยอาจารย์มัลลิกา

1.ต้นทุนวัตถุดิบ > ไม่ควรเกิน 30% ของยอดขาย ดังนั้น ถ้ายอดขาย 360,000 บาท ต่อเดือน ต้นทุนวัตถุดิบต่อวันก็ไม่ควรเกิน 108,000 บาท

2.ค่าแรงพนักงาน > ไม่ควรเกิน 20% ของยอดขาย ดังนั้น ต้นทุนพนักงาน ไม่ควรเกิน 72,000 บาท

3.ค่าเช่าสถานที่ > ไม่ควรเกิน 20% ของยอดขาย ดังนั้น ค่าเช่าสถานที่ ไม่ควรเกิน 72,000 บาท

4.ค่าดำเนินการต่างๆ > ไม่ควรเกิน 10% ของยอดขาย ดังนั้น ค่าเช่าสถานที่ ไม่ควรเกิน 36,000 บาท

สุดท้ายแล้ว ถ้าเราสามาถควบคุมต้นทุนทุกอย่างให้เป็นไปตามสัดส่วนที่กำหนด สิ้นเดือน เราจะได้กำไรทั้งหมด 72,000 บาท

ถ้าเราลงทุนสร้างร้านไป 1 ล้านบาท เท่ากับว่า จะคืนทุนภายใน 1 ปี 2 เดือน (1,000,000 / 72,000 = 13.9)

นี่คือหลักการเบื้องต้นของการคำนวณต้นทุนร้านอาหารอย่างคร่าวๆ เท่านั้น แต่จริงๆ แล้วการทำร้านอาหาร ยังมีรายละเอียดที่ต้องคำนึงถึงอีกมาก พบกันได้ในหลักสูตร Operation Setup วางระบบร้านอาหาร อย่างมืออาชีพ!

รายละเอียด คลิกเลย! http://amarinacademy.com/3714/course/operation-set-restaurant/ (เต็มทุกที่นั่ง)

หรือถ้าคุณกำลังจะเริ่มทำร้านอาหาร แล้วอยากทราบว่า ควรลงทุนในงบการก่อสร้าง อุปกรณ์ครัว ค่ามัดจำพื้นที่ ค่าแอร์ ค่าตกแต่งสถานที่ ค่าถ้วยชาม จานหม้อ ช้อนส้อม ฯลฯ เท่าไร เพื่อที่งบจะได้ไม่บานปลาย และคืนทุนภายในระยะเวลาที่กำหนด

พบกันได้ในหลักสูตร เปิดร้านอาหาร…ไม่ให้เจ๊ง (Restaurant Feasibility Study) รุ่นที่ 5

รายละเอียด คลิกเลย! http://amarinacademy.com/2578/course/restaurant-feasibility-study-2/

เรื่องแนะนำ

ธุรกิจอาหารขายดี

รวม ธุรกิจอาหารขายดี ในศูนย์การค้า ที่น่าจับตามอง

แม้ว่าในปัจจุบันการเปิดร้านอาหารที่ขายแบบออนไลน์จะกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค แต่ก็ยังมีกลุ่มผู้บริโภคอีกไม่น้อย ที่ยังคงชอบการไปรับประทานอาหารที่ร้านโดยตรง เพราะได้อิ่มเอมกับบรรยากาศภายในร้านด้วย ซึ่งร้านอาหารในศูนย์การค้า ก็นับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ผู้บริโภคมักมาใช้บริการกันเป็นจำนวนมาก ทั้งกลุ่มครอบครัว คู่รัก วัยรุ่น เพราะภายในศูนย์การค้านั้น มีตัวเลือกร้านอาหารจำนวนมาก เรียกว่าเป็นแหล่งรวมร้านอาหารไว้ในที่เดียวก็ว่าได้ จนนึกสงสัยขึ้นมาว่า ร้านอาหารมากขนาดนี้แล้ว ธุรกิจอาหารขายดี ในศูนย์การค้าจะเป็นธุรกิจอาหารประเภทใดบ้าง  คุณประภา จิตวิวัฒน์พร Leasing Manager Business Development Group ศูนย์การค้า Seacon Square ได้ให้ข้อมูลกับเรามาดังนี้   รวม ธุรกิจอาหารขายดี ในศูนย์การค้า ที่น่าจับตามอง อย่างที่ทราบกันว่า ภายในศูนย์การค้านั้น เป็นแหล่งรวมร้านอาหารไว้อย่างมากมาย ซึ่งมีตั้งแต่ร้านที่เป็นเชนใหญ่ ที่หลายคนรู้จัก รวมถึงร้านทั่วไป ที่กำลังเป็นที่นิยมเป็นกระแสบ้าง หรือแม้แต่ร้านที่คุณอาจไม่เคยรู้จักมาก่อน แต่ก็สามารถเข้ามาสู่ศูนย์การค้าได้ จะเห็นได้ว่ามีความหลากหลายมาก ซึ่ง ธุรกิจอาหารขายดี และเป็นที่นิยมในศูนย์การค้า มีดังนี้   ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด ส่วนใหญ่ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดที่เป็นที่นิยมนั้น มักจะเป็นร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดเชนใหญ่ ที่เราคุ้นตากันดี การที่ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดเป็นร้านอาหารที่ขายดี และเป็นที่นิยมของผู้บริโภค อาจเป็นเพราะเป็นอาหารที่ทานง่าย […]

วิธีคำนวณต้นทุนร้านอาหาร

วิธี คำนวณต้นทุนร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านต้องรู้! by คุณ ธามม์ ประวัติตรี

การคำนวณต้นทุนร้านอาหาร ถ้ามองให้เป็นเรื่องใกล้ตัว พูดง่ายๆ ก็เหมือนเรามีเงินเดือน แล้วเราต้องรู้ว่าในแต่ละเดือนนั้น ต้องมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ และมีเงินเหลือเก็บหรือไม่ เช่นเดียวกับการ คำนวณต้นทุนร้านอาหาร ที่ต้องทำอย่างเป็นระบบ มาดูคำแนะนำจาก คุณ ธามม์ ประวัติตรี Managing Director, Wow Thai Food Holding ประเทศเนเธอร์แลนด์   “ คำนวณต้นทุนร้านอาหาร ไม่ใช่การเดา แต่ต้องทำให้เป็นระบบ แล้วผลประกอบการก็จะดีขึ้น ” เจ้าของธุรกิจบางรายมักใช้ความรู้สึก ในการวัดผลการดำเนินงาน เช่น วันที่ลูกค้าเต็มร้าน คาดว่าน่าจะมีรายได้มาก และน่าจะมีเงินหมุนเวียนในธุรกิจมากตามไปด้วย แต่คำว่ามากนั้น คงไม่เพียงพอที่จะบอกได้ว่าธุรกิจของคุณเป็นไปด้วยดีจริงหรือไม่ ทั้งนี้เจ้าของร้านจะต้องสามารถระบุได้ว่ามาตรฐานของร้าน หรือระดับรายได้ที่ควรจะได้คือเท่าไหร่ หรือมากกว่าคู่แข่งเท่าไหร่ หรือบางร้านอาจจะมีการจดบันทึกที่ละเอียดขึ้น คือมีการบันทึกรายรับ-รายจ่ายเป็นเงินสด ว่าวันนี้ขายได้กี่จาน จานละกี่บาท ก็จะบันทึกเป็นยอดขาย เพื่อนำมาคำนวณ ต่อวันจะขายได้เท่าไหร่ ต่อเดือนจะขายได้เท่าไหร่ แต่ความจริงแล้ว การคาดการณ์ที่กล่าวมาอาจไม่เพียงพอเท่าที่ควร และอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจในระยะยาวได้ เพราะเจ้าของร้านต้องไม่ลืมว่ารายรับนั้น ยังไม่ได้หักต้นทุนใด ๆ เลย ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างพนักงาน ค่าล่วงเวลาของพนักงาน […]

สูตรลับทำร้านอาหารอย่างเป็นระบบ…บริหารง่าย กำไรพุ่ง

สูตรลับที่ 1 :  จัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงาน SOP  (Standard operating procedure) การจัดการร้านอาหารให้มีประสิทธิภาพ จะต้องมีการกำหนดมาตรฐานและจัดทำเอกสารเพื่อควบคุมทุกอย่างให้ดี SOP นั้นมีหลายหัวข้อที่จะต้องกำหนด เช่น หัวข้อการบริการ, การเสิร์ฟอาหาร  , การรับ order ,  การต้อนรับลูกค้า ควรมี SOP สำหรับการจัดการเมนูอาหาร  เพื่อควบคุมมาตรฐานของรสชาติ และการบริหารจัดการวัตถุดิบที่ดี แก้ไขปัญหารสชาติที่ไม่นิ่ง ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะเมื่อคุณกำลังจะขยายสาขา มาตรฐานการปฏิบัติงาน ยังหมายรวมถึง การจัดทำ Job Description ของพนักงาน การกำหนดตำแหน่งงาน หน้าที่ความรับผิดชอบ ซึ่งจะช่วยให้การทำงานเกิดระบบ และสามารถวางแผนเรื่องกำลังคนได้ สุดท้ายคือ ระบบ Point of Sales (POS)  การจัดการด้านแคชเชียร์ ซึ่งในปัจจุบันมีฟังค์ชั่นการใช้งานที่ช่วยสนับสนุนการจัดการร้านอาหารที่ค่อนข้างครอบคลุม โดยเฉพาะการคำนวณต้นทุน การจัดเก็บข้อมูลลูกค้าซึ่งถือเป็นประโยชน์สำหรับการทำการตลาดร้านของคุณอีกด้วย   สูตรลับที่ 2  : ระบบการจัดการในครัว             ร้านอาหารจะไม่มีทางประสบความสำเร็จเลย หากขาดระบบครัวที่มีประสิทธิภาพ […]

พีคไทม์ ออเดอร์แน่น! ร้านอาหารรับมืออย่างไร?

Host จัดคิว ให้เหมาะสมกับที่นั่ง การทำยอดขายขึ้นอยู่กับการจัดที่นั่ง การจัดการด้านที่นั่งให้เพียงพอกับลูกค้าตามจำนวนที่คาดการณ์ การจัดสรรที่นั่ง และรับออเดอร์ได้อย่างรวดเร็ว จะช่วยลดระยะเวลาในการบริการหน้าร้าน ส่งผลให้ร้านสามารถทำรอบได้สูง ในช่วงเวลาพีคไทม์ ร้านอาหารหลายแห่งจะมีการจ้าง Host ในการรับหน้าที่ต้อนรับลูกค้า พาลูกค้าไปยังที่นั่ง แต่หากร้านของคุณเป็นร้านเล็ก ๆ ก็สามารมอบหน้าที่ให้กับหัวหน้าพนักงานเสิร์ฟ หรือผู้จัดการร้านอาหารในการดูแล โดยจะต้องมีทักษะในการวางแผนจัดการที่นั่ง การสื่อสารกับลูกค้า  รวมถึงประสานกับพนักงานส่วนบริการเพื่อรับหน้าที่ต่อได้เป็นอย่างดี   อุปกรณ์ วางแผนให้เหมาะกับ Turn ถ้าหากอุปกรณ์ไม่เพียงพอต่อจำนวนลูกค้า อาจส่งผลโดยตรงกับประสบการณ์ในการรับบริการ การเตรียมความพร้อมด้านอุปกรณ์จึงเป็นเรื่องสำคัญ คุณอาจจะคาดการณ์ได้จากจำนวนลูกค้าที่สูงสุดที่รับในช่วงพีคไทม์ ว่าจะใช้ได้กี่รอบ ยกตัวอย่าง ร้านอาหาร 40 ที่นั่ง คาดการณ์ว่าจะรับลูกค้าได้ 2 รอบในช่วงพีคไทม์ อุปกรณ์สำหรับลูกค้าจะต้องมี 80 ชุด  และคุณอาจจะบวกจำนวนเพิ่มขึ้นมากกว่านั้นสัก 1 เปอร์เซนต์ โดยคำนวณให้เพียงพอ ไม่ควรเผื่อการนำอุปกรณ์ที่มีอยู่ไปล้างเพื่อใช้ในช่วงเวลานี้   เตรียมอาหารให้พร้อม มีคนรอซื้อแต่ไม่มีของขาย มีขายแต่ขายช้า ลูกค้าต้องรอเป็นระยะเวลานานๆ ทำให้รับลูกค้าได้น้อยรอบ  รวมถึงประสบการณ์ยอดแย่อันดับต้น ๆ ที่ลูกค้าร้านอาหารเจอและทำให้ไม่กลับไปกินร้านอาหารนั้น ๆ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.