ถอดบทเรียน MK อดีตร้านห้องแถว ยอดขาย 16,000 ล้าน - Amarin Academy

ถอดบทเรียน MK อดีตร้านห้องแถว ยอดขาย 16,000 ล้าน

ถอดบทเรียน MK อดีตร้านห้องแถว ยอดขาย 16,000 ล้าน

“กินอะไร กินอะไร กินอะไร ไปกิน MK” เชื่อว่าแทบไม่มีใครไม่เคยได้ยินเพลงนี้ เพราะในยุคหนึ่ง ถือเป็นเพลงยอดฮิตติดหูที่ใครๆ ก็ร้องได้ ปัจจุบัน MK สุกี้เปิดมานานกว่า 30 ปี มี 427 สาขาทั่วประเทศไทย ทั้งยังมีสาขาในประเทศญี่ปุ่น เวียดนาม และลาวอีกด้วย ซึ่งในปี 2560 MK มีรายได้รวมกว่า 16,000 บาท! เพราะอะไร ร้านอาหารง่ายๆ อย่างสุกี้ ถึงครองใจคนทั่วประเทศไทยมาได้นานขนาดนี้ แถมยังทำรายได้แตะหลักหมื่นล้าน! เราจะมา ถอดบทเรียน MK ให้ฟัง

1.กล้าคว้าโอกาส

MK เริ่มต้นธุรกิจในปี 2505 โดยคุณป้าทองคำ เมฆโต จากร้านอาหารเล็กๆ เพียง 1 คูหาที่สยามสแควร์ ซึ่งไม่ได้ขายแค่สุกี้เท่านั้น แต่ยังขายอาหารนานาชนิด ไม่ว่าจะเป็นข้าวมันไก่ เนื้อตุ๋น ผัดไท ฯลฯ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก จนในปี 2527 คุณสัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ เครือเซ็นทรัลกรุ๊ปได้ชวนให้เปิดร้านอาหารในเซ็นทรัลลาดพร้าว ซึ่ง MK ก็ตอบรับ

จุดนี้เป็นจุดเปลี่ยนของ MK ก็ว่าได้ เพราะถ้าตอนนั้นไม่รับข้อเสนอ หรือกลัวว่าถ้าไปเปิดในห้างฯ (ซึ่งตอนนั้นถือว่าใหม่มากสำหรับเมืองไทย) แล้วจะบริหารจัดการไม่ได้ กลัวว่าจะไม่ประสบความสำเร็จ ก็อาจจะไม่มี MK ในทุกวันนี้

แต่ความกล้าคว้าโอกาสในที่นี้ ก็ต้องประเมินศักยภาพตัวเองด้วยเช่นกัน ว่าพร้อมที่จะเติบโตแล้วหรือยัง

เคยเห็นไหม ร้านอาหารบางร้านที่เปิดสาขาแรกขายดีมาก คนต่อแถวเพียบ เลยตัดสินใจขยายสาขาหรือขยายแฟรนไชส์อย่างรวดเร็วเพราะคิดว่า “น้ำขึ้นให้รีบตัก” ไม่ขยายตอนนี้ก็ไม่รู้จะไปขยายตอนไหน

สุดท้าย…เจ๊งไม่เป็นท่า เพราะศักยภาพของธุรกิจยังไปไม่ถึง การบริหารจัดการยังไม่ดีพอ เทรนด์พนักงานไม่ทัน ฯลฯ

ดังนั้นความกล้า ต้องมาคู่กับความพร้อมด้วย ถ้าประเมินแล้วธุรกิจของคุณดีพอที่จะเติบโตได้ ถ้ามีโอกาสดีๆ เข้ามา ทำไมคุณไม่ลองคว้ามันดูล่ะ?

2.สร้างฐานลูกค้าประจำ “คุณภาพได้มาตรฐาน บริการไม่มีตก”

คุณภาพอาหาร ถือเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้ธุรกิจอาหารยั่งยืน ข้อนี้เป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้ ร้านอาหารหลายๆ รายเลือกทำโปรโมชั่นที่หวือหวา ลด แลก แจก แถมสารพัด เพื่อดึงดูดคนเข้าร้าน

แต่ลองสังเกตดูว่า MK แทบไม่เคยออกโปรโมชั่นลดราคาเพื่อดึงดูดลูกค้าเลย แต่ก็ยังมีลูกค้าเข้าไปใช้บริการไม่ขาดสาย

ขณะเดียวกันตลอด 30 ปีที่ผ่านมา MK แทบไม่มีข่าวเรื่องสารปนเปื้อนในอาหารที่รุนแรงเลย และยังเป็นเจ้าแรกๆ ในประเทศไทยที่ให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยของอาหาร (Food Safety) มีการนำมาตรฐานด้านการผลิตอาหารระดับสากลมาใช้ควบคุมการทำงาน เช่น GMP และ HACCP เป็นต้น*

อีกข้อที่สำคัญไม่แพ้กันคือเรื่องบริการ อย่าลืมว่าร้านอาหารไม่ได้ขายอาหารเพียงอย่างเดียว แต่เรากำลังขายบริการด้วย ซึ่ง MK ให้ความสำคัญกับเรื่องบริการตั้งแต่การเทรนด์พนักงาน ที่มีศูนย์ฝึกอบรมพนักงานเป็นของตัวเอง การสร้างความประทับใจให้ลูกค้าในทุกๆ จุด (เคยมีร้านอาหารไหนพนักงานเต้นให้ลูกค้าดูบ้าง ?)

2 ข้อนี้ถือเป็นจุดแข็งหลักที่ทำให้ลูกค้าเชื่อใจ ประทับใจและกลับมาใช้บริการซ้ำ

*หมายเหตุ

  • GMP (Good Manufacturing Practice) ข้อกําหนดที่ต้องดําเนินการเพื่อให้ได้อาหารที่เหมาะสมสําหรับมนุษย์บริโภค
  • HACCP (Hazard Analysis Critical Control Point) มาตรฐานการผลิตที่มีมาตรการป้องกันอันตราย ที่ผู้บริโภคอาจได้รับจากการบริโภคอาหาร

3.ค้นหา และพยายามเข้าใจความต้องการผู้บริโภค

ถ้าย้อนกลับไป MK นับเป็นเจ้าแรกๆ ที่มีแบบสำรวจความคิดเห็นและความพึงพอใจมาตั้งที่โต๊ะ ข้อนี้ถือว่าสำคัญมาก เพราะการทำธุรกิจอาหาร ความต้องการของผู้บริโภคต้องมาเป็นอันดับแรก นับเป็นการทำงานแบบ Outside in คือมองจากภายนอก เพื่อนำมาพัฒนาภายใน จะทำให้เราพัฒนาได้ตรงจุดมากกว่านั่งคิดเอาเองว่าลูกค้าชอบหรือไม่ชอบอะไร

นอกจากนี้ยังมีการทำวิจัยผู้บริโภคอย่างสม่ำเสมอ มีการสอบถามความคิดเห็นลูกค้าตลอดเวลา เพื่อนำไปปรับปรุงอาหารและการบริการ

ข้อนี้ถือเป็นสิ่งที่ร้านอาหารอื่นๆ ควรนำไปปรับใช้ เพราะจะทำให้เจ้าของรู้ว่าข้อบกพร่องที่แท้จริงของร้านคืออะไร และสมควรพัฒนาหรือปรับปรุงด้านไหนเป็นพิเศษ เพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจมากที่สุด

4.เทคโนโลยี ช่วยให้ก้าวได้ไกลกว่าคู่แข่ง

ถ้าบอกว่า MK ถือเป็นผู้นำเรื่องการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับร้านอาหารก็ถือว่าไม่ผิดนัก เพราะตั้งแต่ร้านอาหารอื่นๆ ยังใช้จดออร์เดอร์ลงบนกระดาษ แต่ MK นำเครื่อง PDA มาให้พนักงานใช้ซะแล้ว

“เราไปเห็นซุปเปอร์มาร์เก็ตในอเมริกา กำลังใช้เครื่อง PDA (Personal Digital Assistant ) ในการเช็คสต๊อก เราก็มาคิดว่าหากเอา PDA มาใช้รับออร์เดอร์จากลูกค้าแทนการจดลงบิลก็น่าจะดีไม่น้อย พอมาศึกษาโดยละเอียดแล้ว การใช้อุปกรณ์ตัวนี้เข้ามา จะช่วยเพิ่มผลผลิตได้เป็นอย่างมาก เราก็เอามาใช้ ลูกค้าก็ชอบ เพราะบริการได้เร็วขึ้น”

ส่วนหนึ่งของบทสัมภาษณ์ คุณฤทธิ์ ธีระโกเมน ประธานกรรมการและ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป

จนตอนนี้เริ่มให้ลูกค้าใช้ระบบจอสัมผัส ติดอยู่ตามโต๊ะ จะได้สั่งอาหารได้รวดเร็วและสะดวกยิ่งขึ้น ไม่ต้องคอยเรียกพนักงาน ประหยัดทั้งเวลาและกำลังคน

เทคโนโลยีเหล่านี้ไม่ได้ดีต่อธุรกิจในแง่การบริหารจัดการ การเช็คสต๊อก การจัดทำบัญชีรายการต่างๆ เท่านั้น ยังถือเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แบรนด์ด้วย เพราะจะทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าร้านอาหารมีการบริหารจัดการที่ดี ทันสมัย และน่าเชื่อถืออีกด้วย

5.ระบบแข็งแกร่ง ขยายสาขาก็ราบรื่น

ปี 2529 MK เริ่มเปิดบริการร้านสุกกี้ที่ห้างเซ็นทรัล ลาดพร้าว

  • ปี 2538 เปิดครบ 30 สาขา
  • ปี 2543 เปิดครบ 100 สาขา
  • ปี 2548 เปิดครบ 200 สาขา
  • ปี 2552 เปิดครบ 300 สาขา
  • ปี 2556 เปิดครบ 400 สาขา

จะเห็นว่าในช่วงปีให้หลัง MK มีการเติบโตและขยายสาขาแบบก้าวกระโดด ภายในระยะเวลาเพียง 4-5 ปี ขยายได้ถึง 100 สาขา!

การที่ขยายสาขาได้รวดเร็วขนาดนี้ ปัจจัยสำคัญที่สุดคือการวางระบบให้พร้อม ซึ่งปฏิเสธไมได้เลยว่า MK คือหนึ่งในร้านอาหารที่มีระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพสูงมาก ฉะนั้นเมื่อขยายสาขาใหม่ก็แทบไม่จำเป็นต้องวางระบบใดๆ ใหม่เลย เพียงแค่ยกระบบเดิมที่ถูกออกแบบและพัฒนามาแล้ว ไปใช้ในสาขาใหม่ได้ทันที วิธีนี้จะช่วยประหยัดเวลาในการทำงานและลดความผิดพลาดได้มากขึ้นด้วย

และแน่นอนว่า เมื่อขยายสาขาได้มากขึ้น ลูกค้าก็เข้าถึงธุรกิจได้มากขึ้น (ทุกวันนี้ไม่ว่าจะเดินไปที่ห้างฯ ไหน จังหวัดอะไรก็ต้องเจอ MK) ยอดขายก็เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย

6.แตกไลน์ธุรกิจ สร้างการเติบโต

Miyazaki / Hakata Raman / Yayoi / Le Siam / Le petit / ณ สยาม คือแบรนด์ลูกในเครือ MK ทั้งหมด เมื่อดูข้อมูลทางการเงินของ MK พบว่า

  • ปี 2558 มีรายได้ 14,478 ล้านบาท คิดเป็นกำไรสุทธิ 1,856 ล้านบาท
  • ปี 2559 มีรายได้ 15,146 ล้านบาท คิดเป็นกำไรสุทธิ 2,100 ล้านบาท
  • ปี 2560 มีรายได้ 16,073 ล้านบาท คิดเป็นกำไรสุทธิ 2,425 ล้านบาท

ข้อมูลจาก ข้อมูลทางการเงิน MK

จะเห็นได้ว่ามีรายได้เติบโตอย่างต่อเนื่องปีละประมาณ 1000 ล้าน และมีกำไรเพิ่มขึ้นปีละ 300 ล้านบาท! (อย่างเราแค่ล้านเดียวก็จะแย่แล้วจริงไหมครับ 555) นั่นเป็นเพราะเขาไม่ได้หยุดแค่การทำธุรกิจร้านสุกี้ แต่แตกไลน์ธุรกิจไปยังร้านอาหารประเภทอื่นๆ ด้วย

การมองหาโอกาสในการเติบโตอยู่เสมอ ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการทำธุรกิจให้ยั่งยืน

พอจะทราบเหตุผลคร่าวๆ แล้วใช่ไหมครับ ว่าเพราะอะไร MK แบรนด์เก่าแก่ ที่ไม่แก่สมวัย สามารถทำกำไรได้มหาศาล แถมยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ร้านอาหารไหนอยากโตแบบนี้ ลองนำบทเรียนจาก MK ไปปรับใช้กันนะ

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://mkrestaurant.com
http://www.pattanakit.net

เรื่องแนะนำ

ระบบงานครัว

อย่าปล่อยให้ ระบบงานครัว ทำร้านเจ๊ง ถึงเวลาเจ้าของร้านต้องวางแผน

ระบบงานครัว ที่มีปัญหาอาจส่งผลให้เจ้าของร้านอาหารต้องเสียทั้งค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหา เสียโอกาสในการทำกำไรได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และยังอาจทำให้ร้านเติบโตยากขึ้นอีกด้วย ดังนั้นจึงต้องมีการวางระบบครัวที่ดี แล้วการวางระบบครัวให้ดีนั้นต้องทำอย่างไร?   สัญญาณที่บอกว่า ระบบงานครัว กำลังมีปัญหา ความล่าช้าในการออกอาหาร ขายดี แต่ไม่มีกำไร Food Cost สูง คุณภาพอาหาร รสชาติ และปริมาณไม่คงที่ เสียวัตถุดิบบ่อย วัตถุดิบไม่เพียงพอต่อการใช้งาน อุปกรณ์การใช้งานมีปัญหา ส่งผลต่อการขายในแต่ละวัน การเซตอัพระบบงานครัว มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมมาตรฐานการทำงาน โดยการกำหนดขั้นตอนจัดการงานครัว ทั้งวัตถุดิบและการใช้อุปกรณ์การทำงานที่ถูกต้อง ดังต่อไปนี้   กำหนดขั้นตอนการใช้อุปกรณ์และวัตถุดิบ ตัวอย่าง 1 : ขั้นตอนการใช้อุปกรณ์ การจัดเตรียม การทำความสะอาด Note : กำหนดรายละเอียด และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องให้มากที่สุด เพื่อให้ผู้ที่ได้รับมอบหมาย สามารถรับผิดชอบงานได้ทันที และทำให้เกิดมาตรฐานในการปฏิบัติงาน   ตัวอย่าง 2 : การตรวจสอบ จัดเตรียม จัดเก็บวัตถุดิบ Note : จัดทำรูปภาพการใช้งานจริงเพื่ออ้างอิง สร้างมาตรฐานการจัดการวัตถุดิบ ช่วยควบคุมการใช้วัตถุดิบให้เกิดประโยชน์สูงสุด   […]

ทำร้านบุฟเฟต์ให้มีกำไร

เคล็ด (ไม่) ลับ ทำร้านบุฟเฟต์ให้มีกำไร

ทุกวันนี้ร้านบุฟเฟต์โตสวนกระแสร้านอาหารประเภทอื่น แต่ขณะเดียวกันกลับมีไม่กี่ร้านที่อยู่รอด วันนี้เลยอยากสรุปเทคนิคการ ทำร้านบุฟเฟต์ให้มีกำไร มาฝากกัน

บอนชอน

ไขสูตรลับธุรกิจดัง บอนชอน ขายไก่ยังไงให้ได้ 1000 ล้าน!

เพราะอะไรบอนชอนถึงเข้ามาชิงส่วนแบ่งการตลาดของแบรนด์ไก่ทอดชื่อดังอย่าง KFC ได้ แถมยังจุดกระแสให้ทั้งวัยรุ่นและวัยทำงานยอมต่อแถวรอคิวเข้าร้านเป็นชั่วโมง!

“อร่อยไม่ซ้ำ จำสูตรไม่ได้” ประโยคแซวขำๆ ที่ลูกค้าอาจไม่ขำ 3 องค์ประกอบที่ต้องยึด ควบคุมรสชาติอาหาร

“อร่อยไม่ซ้ำ จำสูตรไม่ได้” ประโยคแซวขำๆ ที่ลูกค้าอาจไม่ขำ 3 องค์ประกอบที่ต้องยึด ควบคุมรสชาติอาหาร “อร่อยไม่ซ้ำ จำสูตรไม่ได้” ประโยคที่แซวเล่นกันขำๆ แต่ลูกค้าอาจไม่ขำ และถือเป็นวิธีไล่ลูกค้าวิธีหนึ่งเลยก็ว่าได้ วันก่อนแอดได้มีโอกาสพูดคุยกับเจ้าของร้านคาเฟ่มือใหม่คนหนึ่ง ถึงวิธีการทำร้าน การจัดการต่าง ๆ โดยระหว่างที่คุยกันตอนหนึ่งของบทสนทนาเจ้าของร้านก็ได้เปิดใจกับแอดว่า “ด้วยความที่เขาเป็นมือใหม่ เพิ่งเปิดร้านได้ไม่นาน ทำให้ยังกะส่วนผสมเครื่องดื่มแต่ละแก้วไม่โปรเท่าไหร่ หลายครั้งจึงประสบปัญหาลูกค้าคอมเพลนเรื่องรสชาติ รสชาติไม่เหมือนเดิมบ้าง เข้มไปบ้าง จนบางทีก็ทำให้เขารู้สึกเสียเซล์ฟจนอยากปิดร้านไปเลย” . ต้องยอมรับว่าเรื่อง “มาตรฐานรสชาติ” ถือเป็นเรื่องสำคัญมากอย่างหนึ่งสำหรับร้านอาหาร และร้านเครื่องดื่ม ยิ่งมีหลายสาขา ก็ยิ่งต้องควบคุมมาตรฐานรสชาติให้ดี ให้เหมือนกันในทุก ๆ สาขา เพราะมาตรฐานของรสชาติเป็นสิ่งที่เรากำหนดขึ้นและลูกค้าส่วนใหญ่ก็พอใจและยอมรับในรสชาตินี้ ดังนั้นจึงต้องปรุงให้มีรสชาติที่คงที่ เพื่อรักษาความพึงพอใจของลูกค้า แล้วจะทำให้ทุกจาน ทุกแก้วรสชาติเหมือนกันต้องทำยังไง ? โพสต์นี้มีคำตอบ! . การสร้างมาตรฐานรสชาติ มีองค์ประกอบอยู่ 3 อย่าง วิธีการทำ . ร้านอาหารอาจอาศัยการทำ SOP (Standard Operating Procedure) “คู่มือมาตรฐานเชิงปฏิบัติการ” หรือจะเรียกง่าย […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.