“อร่อยไม่ซ้ำ จำสูตรไม่ได้” ประโยคขำๆ ที่ลูกค้าไม่ขำ 3 สิ่งต้องยึดคุมรสชาติอาหาร

“อร่อยไม่ซ้ำ จำสูตรไม่ได้” ประโยคแซวขำๆ ที่ลูกค้าอาจไม่ขำ 3 องค์ประกอบที่ต้องยึด ควบคุมรสชาติอาหาร

“อร่อยไม่ซ้ำ จำสูตรไม่ได้”
ประโยคแซวขำๆ ที่ลูกค้าอาจไม่ขำ
3 องค์ประกอบที่ต้องยึด ควบคุมรสชาติอาหาร

“อร่อยไม่ซ้ำ จำสูตรไม่ได้” ประโยคที่แซวเล่นกันขำๆ แต่ลูกค้าอาจไม่ขำ และถือเป็นวิธีไล่ลูกค้าวิธีหนึ่งเลยก็ว่าได้ วันก่อนแอดได้มีโอกาสพูดคุยกับเจ้าของร้านคาเฟ่มือใหม่คนหนึ่ง ถึงวิธีการทำร้าน การจัดการต่าง ๆ โดยระหว่างที่คุยกันตอนหนึ่งของบทสนทนาเจ้าของร้านก็ได้เปิดใจกับแอดว่า “ด้วยความที่เขาเป็นมือใหม่ เพิ่งเปิดร้านได้ไม่นาน ทำให้ยังกะส่วนผสมเครื่องดื่มแต่ละแก้วไม่โปรเท่าไหร่ หลายครั้งจึงประสบปัญหาลูกค้าคอมเพลนเรื่องรสชาติ รสชาติไม่เหมือนเดิมบ้าง เข้มไปบ้าง จนบางทีก็ทำให้เขารู้สึกเสียเซล์ฟจนอยากปิดร้านไปเลย”
.
ต้องยอมรับว่าเรื่อง “มาตรฐานรสชาติ” ถือเป็นเรื่องสำคัญมากอย่างหนึ่งสำหรับร้านอาหาร และร้านเครื่องดื่ม ยิ่งมีหลายสาขา ก็ยิ่งต้องควบคุมมาตรฐานรสชาติให้ดี ให้เหมือนกันในทุก ๆ สาขา เพราะมาตรฐานของรสชาติเป็นสิ่งที่เรากำหนดขึ้นและลูกค้าส่วนใหญ่ก็พอใจและยอมรับในรสชาตินี้ ดังนั้นจึงต้องปรุงให้มีรสชาติที่คงที่ เพื่อรักษาความพึงพอใจของลูกค้า แล้วจะทำให้ทุกจาน ทุกแก้วรสชาติเหมือนกันต้องทำยังไง ? โพสต์นี้มีคำตอบ!
.
การสร้างมาตรฐานรสชาติ มีองค์ประกอบอยู่ 3 อย่าง


🔸วิธีการทำ🥣
.
ร้านอาหารอาจอาศัยการทำ SOP (Standard Operating Procedure) “คู่มือมาตรฐานเชิงปฏิบัติการ” หรือจะเรียกง่าย ๆ ว่า “คู่มือร้านอาหาร” ก็ได้ ซึ่ง SOP คือคู่มือที่ใช้บันทึกข้อมูลการทำงานในทุก ๆ ตำแหน่งในร้านอาหาร

เป็นตัวช่วยในการควบคุมมาตรฐานของร้านอาหารให้คงที่ ทั้งรสชาติ หน้าตาอาหาร รูปแบบการบริการและอื่น ๆ ในกรณีที่เรามีหลายสาขา แล้วต้องจ้างคนมาทำ การมี SOP ก็จะทำให้การเทรนพนักงานเป็นเรื่องง่าย เพราะเราได้บันทึกสูตรและขั้นตอนการทำที่ชัดเจนไว้แล้ว

ตรงกันข้ามถ้าร้านไม่มี SOP และปล่อยให้การทำอาหารเป็นไปตามคนปรุง พนักงานบางคนใส่น้ำตาล 4 ช้อน บางคนใส่ 3 ก็ส่งผลต่อรสชาติที่ลูกค้าได้รับแล้ว


🔸วัตถุดิบ🥩🥬
.
ใช้วัตถุดิบแบบไหนให้ซื้อแบบเดิม เช่น ใช้พริกแบบไหน ข่าแบบไหน หรือเนื้อเกรดไหนในเมนูอาหารของร้าน ไม่ใช่สักแต่ว่าเห็นของลดราคาแล้วเปลี่ยนไปซื้อ แต่ของคุณภาพไม่เท่ากัน รสไม่เหมือนกัน ก็มีผลต่อรสชาติ รสสัมผัสของเมนูอาหารจานนั้น ๆ ด้วยเหมือนกัน


🔸เครื่องมือ🍴
.
เมื่อต้องการควบคุมมาตรฐานสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ เครื่องมือในการชั่ง ตวง วัด เพราะถ้าไม่ทำ แล้วใช้การกะ การประมาณหรือความเคยชิน โอกาสที่รสชาติจะเพี้ยนก็มีสูง ดังนั้นควรมีการสร้างมาตรฐานสูตร (Standard Recipe) ไว้เลยว่าจานนี้ แก้วนี้ต้องใส่อะไรเท่าไหร่ รสชาติ หน้าตายังไง เช่น การกำหนดมาตรฐานของเมนูคอหมูย่าง ในหนึ่งจานต้องมี 20 ชิ้น สีของคอหมูต้องเป็นสีน้ำตาลทอง และต้องเป็นคอหมูที่มีมันหมู 60% เท่านั้น เป็นต้น
.
นอกจากนี้เมื่ออาหารของเรามีมาตรฐานรสชาติแล้ว ก็ยังต้องมีการกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบ เพื่อเช็คว่ารสชาตินี้โอเคหรือยังด้วย โดยอาจใช้การชิมเอง สังเกตจากสีหน้าลูกค้าเมื่อทานเข้าไปแล้ว หรือดูว่าลูกค้ากินหมดไหม ไปจนถึงถามลูกค้า ถ้าทำทุกอย่างได้ตรงตามมาตรฐาน 100% ทีนี้ก็ลดโอกาสที่จะเกิดปัญหารสชาติไม่คงที่ได้แล้ว คนชงไม่เสียเซล์ฟ ที่สำคัญลูกค้าแฮปปี้🥰
.
#AmarinAcademy #ร้านอาหาร

เรื่องแนะนำ

ถอดบทเรียน MK

ถอดบทเรียน MK อดีตร้านห้องแถว ยอดขาย 16,000 ล้าน

ในปี 2560 MK มีรายได้รวมกว่า 16,000 บาท! เพราะอะไร ร้านอาหารง่ายๆ ถึงครองใจคนไทยมาได้นานขนาดนี้ แถมยังทำรายได้แตะหลักหมื่นล้าน! เราจะมา ถอดบทเรียน MK ให้ฟัง

เจาะกลุ่มลูกค้า

เจาะกลุ่มลูกค้า ร้านอาหาร บริการให้ตรงใจ ❤︎

ในยุคที่ธุรกิจร้านอาหารมีการแข่งขันสูง ทางร้านย่อมจะต้องหาวิธีดึงดูดและจูงใจลูกค้าให้เข้ามาใช้บริการ แต่ผู้บริโภคแต่ละกลุ่มมีความต้องการที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น การทำความเข้าใจลูกค้าแต่ละกลุ่มจึงเป็นเรื่องสำคัญ ที่จะช่วยให้พนักงานบริการลูกค้าที่ต่างกันอย่างเหมาะสม ทำให้ได้รับประสบการณ์ที่ดีจากร้าน ในบทความนี้เราจึง เจาะกลุ่มลูกค้า แต่ละแบบในร้านอาหาร เพื่อแนะนำแนวทางในการบริการให้เหมาะสม และเพิ่มโอกาสในการขายของร้านอาหารครับ เจาะกลุ่มลูกค้า ในร้านอาหาร บริการให้ตรงใจ 1. ลูกค้าที่มาเป็นคู่ ลูกค้าที่มากันสองคนหรือเป็นคู่รัก มักจะต้องการใช้เวลาด้วยกันมากกว่าต้องการให้พนักงานบริการเพิ่มเติม ดังนั้น พนักงานควรจะเลือกที่นั่งที่ให้ความรู้สึกค่อนข้างส่วนตัว เช่น โต๊ะที่อยู่ด้านในของร้าน หรือโต๊ะที่ห่างออกไปจากกลุ่มลูกค้าที่มาด้วยกัน เพื่อลดเสียงรบกวน หลังจากลูกค้าสั่งอาหารแล้วก็คอยสังเกตห่างๆ ว่าลูกค้าต้องการบริการใดเพิ่มเติมแล้วค่อยเข้าไปบริการ โดยเมื่อลูกค้ารับประทานอาหารหลักใกล้เสร็จ อาจจะขออนุญาตเข้าไปเก็บจานที่ไม่ใช้แล้ว พร้อมกับแนะนำเมนูของหวานเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มยอดขายให้กับร้านอาหารได้ 2. กลุ่มคนทำงาน พนักงานออฟฟิศ สำหรับร้านที่อยู่บริเวณที่ทำงานในเมือง พนักงานออฟฟิศคงเป็นกลุ่มลูกค้าหลักในร้าน  ส่วนใหญ่จะมาในเวลาพักกลางวัน หรือหลังเลิกงานในตอนเย็น จากเวลาพักที่ใกล้เคียงกันของพนักงานออฟฟิศ ทำให้ร้านอาหารต้องบริหารจัดการโต๊ะให้ดีเพื่อเพิ่มจำนวนลูกค้าต่อวันให้มากขึ้น และหาวิธีทำงานที่รวดเร็วขึ้น เช่น อาจจะปรุงวัตถุดิบบางส่วนล่วงหน้าไว้ เพื่อลดระยะเวลาการทำอาหาร หรือมีกระดาษให้เลือกเมนูอยู่ที่โต๊ะเพื่อลดภาระของพนักงาน ลูกค้ากลุ่มนี้มักจะมาเป็นกลุ่มย่อยๆ ประมาณ 3-4 คน โดยสั่งอาหารจานหลักคนละจาน และอาจจะสั่งเมนูอื่นๆ มาแชร์กัน พนักงานอาจจะแนะนำเมนูทานเล่นอื่นๆ ที่มีขายภายในร้านนอกเหนือจากอาหารจานหลัก เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าอยากสั่ง […]

Operation Setup วางระบบร้านอาหารไม่ยากอย่างที่คิด

รู้ว่ากำลังทำร้านอาหารประเภทไหน             ร้านอาหารแต่ละประเภท มีลักษณะที่ต่างกัน การวางระบบก็มีความแตกต่างกันด้วย ก่อนที่จะเริ่มต้นวางระบบร้านอาหารจึงต้องรู้ว่าร้านอาหารของเรามีรูปแบบการบริการแบบไหน ยกตัวอย่าง ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดไม่เน้นการบริการ แต่เน้นที่ความรวดเร็ว ร้านอาหารภัตตาคารเน้นการบริการที่มีมาตรฐานแบบ Table Service ประเภทของร้านอาหารจะสัมพันธ์กับการวางโครงสร้างต้นทุน โครงสร้างทีมงานร้านอาหาร และระบบงานครัว อย่างไรก็ดี ร้านอาหารลักษณะเดียวกันก็ไม่จำเป็นต้องมีระบบร้านที่เหมือนกันเสมอไป ขึ้นอยู่กับว่า เป้าหมายและจุดขายที่แตกต่างกันของแต่ละร้านด้วย คลิกอ่าน เทคนิควางระบบร้านอาหาร 5 ประเภท Click link การวางโครงสร้างงาน             ลำดับต่อมา คือการวางโครงสร้างงานร้านอาหาร ซึ่งจะเป็นการวางรูปแบบการทำงานของทีมงานร้านอาหาร ที่สามารถแบ่งง่าย ๆ เป็น 3 ส่วน คือทีมงานบริหาร มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายทิศทาง ซึ่งประกอบไปด้วย เป็นเจ้าของ หุ้นส่วน ลูกจ้างบริหารระดับสูง  ทีมงานเบื้องหน้า ได้แก่ทีมที่ให้บริการหน้าร้าน ตั้งแต่ ฝ่ายต้อนรับ ผู้จัดการร้าน พนักงานเสิร์ฟ ทีมงานเบื้องหลัง ได้แก่ ทีมงานการผลิต ทีมครัว และทีมสนับสนุนดูแลระบบ เป็นต้น การวางโครงสร้างงานเป็นการกำหนดกำลังคน ขอบเขตในการทำงาน […]

บางทีลูกค้าก็ให้โอกาสเราแค่ครั้งเดียว! ปัจจัยที่ต้องทำ ถ้าอยากมี “ลูกค้าประจำ”

ถอดบทเรียน บางทีลูกค้าก็ให้โอกาสเราแค่ครั้งเดียว ร้านตั้งข้อสังเกต ลูกค้าไม่กลับมาอีก เพราะร้านไม่พร้อม ปัจจัยที่ต้องให้ความสำคัญถ้าอยากมี “ลูกค้าประจำ” บางทีลูกค้าก็ให้โอกาสเราแค่ครั้งเดียว… เจ้าของร้านกาแฟร้านหนึ่งได้มาโพสต์เล่าเรื่องราวในกลุ่ม “คนบ้ากาแฟ” เมื่อเขาสังเกตเห็นว่าลูกค้าที่เคยมาใช้บริการ ไม่กลับมาใช้บริการอีก โดยเขาได้ตั้งขอสงสัยว่าอาจเป็นเพราะว่าวันที่ลูกค้ากลุ่มนั้นมาใช้บริการ ทางร้านมีโต๊ะไว้บริการไม่เพียงพอ ทำให้ลูกค้าไม่ประทับใจ ไม่ตอบโจทย์จึงไม่กลับมาใช้บริการอีก โดยเขาโพสต์ว่า “บางทีลูกค้าก็ไม่ได้มีให้โอกาสเราแก้ตัวนะครับ มาครั้งแรกวันที่โต๊ะไม่พอกันนั่ง หลังจากวันนั้น ผมซื้อโต๊ะใหม่เลย ลูกค้ากลุ่มนี้ก็ไม่ได้มาอีกเลยครับ แต่ก็ขอบคุณมากๆ ครับ ที่มาในครั้งนั้น ทำให้รู้ว่าเรายังมีส่วนไหนที่ต้องปรับ ถ้าเป็นไปได้ ก็อยากให้มาอีกนะครับ เพราะตอนนี้ร้านเงียบมาก โล่งสุด พ่อค้านั่งตบยุงรอครับ ”   🔸ความเห็นจากชาวเน็ต💬 ซึ่งหลังจากโพสต์นี้ออกไปก็ได้มีเจ้าของร้านกาแฟรวมถึงลูกค้าต่างเข้ามาคอมเมนต์ให้กำลังใจเจ้าของร้านรายนี้กันอย่างล้นหลาม บ้างก็ตั้งข้อสังเกตว่าลูกค้ากลุ่มนั้นอาจจะเป็นลูกค้าขาจร ที่อาจจะผ่านและแวะเข้ามาใช้บริการ เช่น “เขาอาจจะแค่แวะมาแบบขาจรแล้ววันนั้นร้านคุณสวยเลยมาบรรจบที่ร้านคุณ เรื่องที่นั่งไม่แปลกหรอกค่ะ ร้านเปิดแรก ๆ ไม่มีอะไรเพอร์เฟค ใส่ใจเรื่องรสชาติของสินค้าในร้านดีกว่าค่ะ ต่อให้ไม่มีที่นั่ง ถ้าของอร่อยลูกค้าก็มาซื้อค่ะ แต่ก็ดีแล้วที่ใส่ใจปัญหาที่เกิดขึ้นและนำมาแก้ไข สู้ ๆ นะคะ ” “บางทีเป็นขาจรมาแวะค่ะ อย่าหมดหวัง ถ้าเขาผ่านมา เชื่อว่าเขาแวะแน่นอนค่ะ” […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.