ผักคะน้าคละ หรือ ผักคะน้าคัด ? เตรียมวัตถุดิบอย่างไรให้ได้จานเด็ดมัดใจลูกค้า - Amarin Academy

ผักคะน้าคละ หรือ ผักคะน้าคัด ? เตรียมวัตถุดิบอย่างไรให้ได้จานเด็ดมัดใจลูกค้า

ผักคะน้าคละ หรือ ผักคะน้าคัด ?
เตรียมวัตถุดิบอย่างไรให้ได้จานเด็ดมัดใจลูกค้า 

( SOP การเตรียมวัตถุดิบ + Portion Control = Perfect Dish )

ก่อนจะได้อาหารเลิศรสสักหนึ่งจานต้องผ่านกระบวนการต่างๆ มากมาย เริ่มตั้งแต่การซื้อวัตถุดิบ และหากว่าร้านอาหารของคุณต้องใช้ผักคะน้าจำนวนมาก แล้วคุณกำลังหาซื้ออยู่ที่ตลาดไท คุณจะเลือกผักคะน้าคละ หรือผักคะน้าคัดดีล่ะ ?

สมมติว่าราคาผักคะน้าคละ ในตลาดไท ราคากิโลกรัมละ 23 บาท ก่อนจะนำมาปรุงได้ ต้องตัดใบแก่ ใบเหี่ยว ใบเหลืองทิ้ง ไป และตัดส่วนลำต้นที่แข็งออก คุณอาจจะเหลือผักคะน้าที่ใช้จริงแค่เพียง 7 ขีดเท่านั้น เท่ากับว่าต้นทุนจะไม่ใช่ 23 บาทต่อ 1 กิโลกรัมอีกต่อไป แต่จะเป็น 33 บาท ต่อ 1 กิโลกรัม

 

นอกจากนี้คุณยังต้องเสียเวลาไปกับการคัดแยกเอาผักคะน้าสวยๆ ออกจากกองที่คละกันอยู่อีกต่างหาก ทำให้ต้องเสียคนไปด้วยหนึ่งคนกับกระบวนการนี้ และอย่าลืมว่าวัตถุดิบ คน และเวลา ก็คือต้นทุนที่สำคัญทั้งสิ้น

 

แต่หากว่าคุณซื้อผักคะน้าคัดแล้ว ซึ่งตามท้องตลาดขายกันในราคา 30 บาทต่อ 1 กิโลกรัม และคุณสามารถใช้งานเกือบทั้งหมด อาจจะมีส่วนที่เหลือทิ้งเพียง 1 ขีด ซึ่งราคาที่คำนวณแล้วก็อาจจะขยับเป็น 33 บาทต่อ 1 กิโลกรัม เท่าๆ กับผักคะน้าคละ แต่แน่นอนว่าประหยัดคนและเวลามากกว่า แถมยังสามารถทำกระบวนต่อไปในการจัดเตรียมวัตถุดิบตาม SOP ได้เลย

 

แล้ว SOP ในการเตรียมวัตถุดิบคืออะไรล่ะ ? SOP ก็คือเอกสารที่ต้องเขียนขึ้นเพื่อแนะนำวิธีเตรียมวัตถุดิบนั่นเอง เพื่อให้เกิดความถูกต้องและมีทิศทางเดียวกันทั้งหมดนั่นเอง แถมยังทำให้ลดความผิดพลาดในการทำงานได้อีกด้วย

 

สำหรับขั้นตอนใน SOP เพื่อเตรียมผักคะน้าจะบอกว่า (1) ล้างผักคะน้าให้สะอาด และแช่น้ำยาล้างผักเป็นเวลา 10 นาที (2) ตัดใบแก่ ใบเหลือง ใบเหี่ยว และลำต้นที่แข็งทิ้ง (3) หั่นก้านคะน้า โดยหั่นเฉียงเป็นชิ้นเท่าๆ กัน (4) หั่นใบ โดยผ่ากลางออกเป็นสองส่วน แล้วตัดใบเป็นขนาดพอดี (5) จัดใส่ถุงพลาสติกในปริมาณ 200 กรัม (6) แพ็คลงในกล่องพลาสติกและปิดฝาให้มิดชิด (7) เขียนวันและเวลาที่ผลิต และวัน เวลาหมดอายุ (2 วัน) ที่ข้างกล่อง ก่อนแช่ในตู้เย็นอุณหภูมิประมาณ 7-10 องศา

 

นั่นคือตัวอย่างของ SOP การเตรียมวัตถุดิบอย่างผักคะน้าก่อนจะนำมาปรุงอาหารนั่นเอง แต่ถ้าสังเกตให้ดียังมีอีกหนึ่งอย่างที่สำคัญมากซ่อนอยู่ในนั้น นั่นคือ Portion Control หรือการควบคุมน้ำหนักของแต่ละจานให้เท่ากัน โดยผัดคะน้าหมูกรอบ กับข้าวยอดฮิตของทุกจานในร้านคุณจะมีผักคะน้า 200 กรัมเท่ากันอย่างแน่นอน

 

เห็นหรือยังว่าก่อนธุรกิจร้านอาหารจะประสบความสำเร็จ และมีมาตรฐานเป็นของตัวเองได้ ต้องเริ่มตั้งแต่การเลือกซื้อวัตถุดิบ คำนวณต้นทุนที่เสียไป อีกทั้งยังต้องควบคุมแต่ละขั้นตอนและปริมาณวัตถุดิบอย่างละเอียด เพราะทุกสิ่งคือความใส่ใจที่สามารถทำได้เสมอในฐานะเจ้าของธุรกิจที่ดี เพราะฉะนั้นอย่ามองข้ามแม้แต่การจัดเตรียมวัตถุดิบเป็นอันขาด

ผักคะน้าคละ หรือ ผักคะน้าคัด

 

เรื่องแนะนำ

ระบบงานครัว

อย่าปล่อยให้ ระบบงานครัว ทำร้านเจ๊ง ถึงเวลาเจ้าของร้านต้องวางแผน

ระบบงานครัว ที่มีปัญหาอาจส่งผลให้เจ้าของร้านอาหารต้องเสียทั้งค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหา เสียโอกาสในการทำกำไรได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และยังอาจทำให้ร้านเติบโตยากขึ้นอีกด้วย ดังนั้นจึงต้องมีการวางระบบครัวที่ดี แล้วการวางระบบครัวให้ดีนั้นต้องทำอย่างไร?   สัญญาณที่บอกว่า ระบบงานครัว กำลังมีปัญหา ความล่าช้าในการออกอาหาร ขายดี แต่ไม่มีกำไร Food Cost สูง คุณภาพอาหาร รสชาติ และปริมาณไม่คงที่ เสียวัตถุดิบบ่อย วัตถุดิบไม่เพียงพอต่อการใช้งาน อุปกรณ์การใช้งานมีปัญหา ส่งผลต่อการขายในแต่ละวัน การเซตอัพระบบงานครัว มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมมาตรฐานการทำงาน โดยการกำหนดขั้นตอนจัดการงานครัว ทั้งวัตถุดิบและการใช้อุปกรณ์การทำงานที่ถูกต้อง ดังต่อไปนี้   กำหนดขั้นตอนการใช้อุปกรณ์และวัตถุดิบ ตัวอย่าง 1 : ขั้นตอนการใช้อุปกรณ์ การจัดเตรียม การทำความสะอาด Note : กำหนดรายละเอียด และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องให้มากที่สุด เพื่อให้ผู้ที่ได้รับมอบหมาย สามารถรับผิดชอบงานได้ทันที และทำให้เกิดมาตรฐานในการปฏิบัติงาน   ตัวอย่าง 2 : การตรวจสอบ จัดเตรียม จัดเก็บวัตถุดิบ Note : จัดทำรูปภาพการใช้งานจริงเพื่ออ้างอิง สร้างมาตรฐานการจัดการวัตถุดิบ ช่วยควบคุมการใช้วัตถุดิบให้เกิดประโยชน์สูงสุด   […]

เปิดร้านอาหาร

มนุษย์เงินเดือน เปิดร้านอาหาร แบบไม่ต้องลาออกจากงาน

สำหรับคนที่อยากจะเริ่มต้นทำธุรกิจร้านอาหาร แต่ยังต้องทำงานหลักหรืองานประจำอยู่ อาจจะมีปัญหากับการจัดการด้านเวลาอยู่บ้าง และอีกไม่น้อยที่ยังไม่พร้อมจะลงทุนทำหน้าร้านใหญ่โต เพราะยังเป็นมือใหม่ในตลาด

สูตรลับทำร้านอาหารอย่างเป็นระบบ…บริหารง่าย กำไรพุ่ง

สูตรลับที่ 1 :  จัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงาน SOP  (Standard operating procedure) การจัดการร้านอาหารให้มีประสิทธิภาพ จะต้องมีการกำหนดมาตรฐานและจัดทำเอกสารเพื่อควบคุมทุกอย่างให้ดี SOP นั้นมีหลายหัวข้อที่จะต้องกำหนด เช่น หัวข้อการบริการ, การเสิร์ฟอาหาร  , การรับ order ,  การต้อนรับลูกค้า ควรมี SOP สำหรับการจัดการเมนูอาหาร  เพื่อควบคุมมาตรฐานของรสชาติ และการบริหารจัดการวัตถุดิบที่ดี แก้ไขปัญหารสชาติที่ไม่นิ่ง ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะเมื่อคุณกำลังจะขยายสาขา มาตรฐานการปฏิบัติงาน ยังหมายรวมถึง การจัดทำ Job Description ของพนักงาน การกำหนดตำแหน่งงาน หน้าที่ความรับผิดชอบ ซึ่งจะช่วยให้การทำงานเกิดระบบ และสามารถวางแผนเรื่องกำลังคนได้ สุดท้ายคือ ระบบ Point of Sales (POS)  การจัดการด้านแคชเชียร์ ซึ่งในปัจจุบันมีฟังค์ชั่นการใช้งานที่ช่วยสนับสนุนการจัดการร้านอาหารที่ค่อนข้างครอบคลุม โดยเฉพาะการคำนวณต้นทุน การจัดเก็บข้อมูลลูกค้าซึ่งถือเป็นประโยชน์สำหรับการทำการตลาดร้านของคุณอีกด้วย   สูตรลับที่ 2  : ระบบการจัดการในครัว             ร้านอาหารจะไม่มีทางประสบความสำเร็จเลย หากขาดระบบครัวที่มีประสิทธิภาพ […]

ร้านอาหาร ประเภท

ร้านอาหาร ประเภท ไหน เหมาะกับเรามากที่สุด

ร้านอาหารแต่ละประเภทมีลักษณะแตกต่างกัน อย่างนั้นลองมาดูลักษณะของร้านอาหารแต่ละประเภทกันดีกว่า จะได้รู้ว่า ร้านอาหาร ประเภท ไหนเหมาะกับเรามากที่สุด

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.