5 ธุรกิจมาแรง เมื่อโลกก้าวสู่ สังคมผู้สูงอายุ - Amarin Academy

5 ธุรกิจมาแรง เมื่อโลกก้าวสู่ สังคมผู้สูงอายุ

5 ธุรกิจมาแรง เมื่อโลกก้าวสู่ สังคมผู้สูงอายุ

โลกกำลังก้าวเข้าสู่ ‘สังคมผู้สูงวัย’ (Aging society) โดยเฉพาะในกลุ่มอาเซียนที่มีประชากรอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไปถึง 36.9 ล้านคน คิดเป็น 5.89 % ของประชากรทั้งหมดในภูมิภาค ขณะที่ประเทศไทยมีประชากรกว่า 66 ล้านคน มีจำนวนผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 65 ปี ราว 6.5 ล้านคน คิดเป็น 9.9% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งไทยเป็นประเทศที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุมากเป็นอันดับสองของอาเซียนรองจากสิงคโปร์ โดยเรากำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มรูปแบบในปี 2564 และจากตัวเลขนี้ทำให้เห็นว่าธุรกิจสำหรับผู้สูงอายุกำลังมาแรง เราจึงขอแนะนำ 5 ธุรกิจมาแรง เมื่อโลกก้าวสู่ สังคมผู้สูงอายุ ดังนี้

1.สินค้าอุปโภคบริโภคและการดูแลสุขภาพ

ธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ กำลังมาแรงมากๆ เพราะไม่ได้เจาะกลุ่มลูกค้าสูงอายุได้เท่านั้น แต่ยังเจาะกลุ่มคนที่รักสุขภาพด้วยเช่นกัน เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารคลีน หรืออาหารไขมันต่ำปราศจากคอเลสเตอรอล เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลน้อยหรือไม่มีเลย เป็นต้น ในช่วงปีที่ผ่านมาเราจะเริ่มเห็นธุรกิจนี้เพิ่มมากขึ้น เช่น ปลูกปั่น ที่จำหน่ายน้ำผัก-ผลไม้ปั่นเพื่อสุขภาพ เป็นต้น

นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์บำรุงสุขภาพ หรืออาหารเสริมที่ช่วยป้องกันหรือลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง เบาหวาน และระบบย่อยอาหาร ก็กำลังเริ่มเป็นที่นิยม โดยส่วนใหญ่มักชูจุดเด่นว่ามาผลิตจากสมุนไพร ไร้ผลข้างเคียง ทั้งนี้ผู้ที่สนใจทำธุรกิจด้านนี้ควรต้องหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ต้องจดทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ให้ถูกต้อง และต้องมั่นใจจริงว่าผลิตภัณฑ์ของคุณดีต่อสุขภาพจริงๆ ด้วย

  1. การท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุ

ปัจจุบันสถานที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่ มีออกแบบและพัฒนาเพื่อรองรับการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุมากขึ้น (รวมทั้งรองรับการเดินทางของผู้พิการด้วย หรือบางคนอาจรู้จักกันในชื่อ Universal Design) ส่งผลให้การท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุสะดวกขึ้นตามไปด้วย จึงเกิดเป็นโมเดลธุรกิจใหม่ นั่นคือ การท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นการเดินทางที่มีกิจกรรมไม่หนักนัก สถานที่ที่ไปมักมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน เช่น รถรับ-ส่ง รถวีลแชร์ หน่วยพยาบาล เป็นต้น และใช้เวลาท่องเที่ยวแต่ละสถานที่ค่อนข้างนาน มีการแวะพักบ่อยครั้งเพื่อเอื้อต่อการเข้าห้องน้ำที่บ่อยขึ้น เป็นต้น และที่ขาดไม่ได้เลยคือ มีสินค้าที่เหมาะกับผู้สูงอายุจำหน่ายระหว่างเส้นทางท่องเที่ยว เพื่อให้ผู้สูงอายุซื้อติดไม้ติดมือกลับบ้าน โดยอาจใช้ชื่อว่า “มุมสุขภาพ” เพื่อให้ผู้ซื้อไม่รู้สึกเขิน

  1. เฟอร์นิเจอร์สำหรับผู้สูงอายุ

เนื่องจากกลุ่มผู้สูงอายุมีข้อจำกัดในการดำเนินชีวิตมากขึ้น เช่น สภาพร่างกายเริ่มเสื่อมถอย ต้องระมัดระวังในการใช้ชีวิตมากขึ้น ดังนั้นผู้ประกอบการในธุรกิจเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ภายในบ้านควรปรับรูปแบบผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมมากขึ้น เช่น เตียงนอนที่สามารถปรับระดับได้และไม่สูงเกินไป ที่นอนยางพาราที่มีความแข็งตัว เก้าอี้ไม้ที่มีพนักพิง และหมอนเพื่อผู้สูงอายุ เป็นต้น เพื่อที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตมากขึ้น

4.อสังหาริมทรัพย์สำหรับผู้สูงอายุ

คือโมเดลธุรกิจรูปแบบใหม่ ที่ออกแบบมาเพื่อผู้สูงอายุโดยเฉพาะ นั่นคือ ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ เช่น การดูแลระหว่างวันแบบไปเช้า-เย็นกลับ และการพักฟื้นระยะยาว  เช่น ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งจะมีกิจกรรมให้ผู้สูงอายุได้ร่วมทำตลอดเวลา เป็นต้น จะเห็นได้ว่าปัจจุบันโรงพยาบาลเริ่มเปิดศูนย์ดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น เนื่องจากโรงพยาบาลมีศักยภาพเพียงพอ ไม่ว่าจะเป็น สถานที่ที่เอื้ออำนวย เครื่องมืออุปกรณ์ และบุคลากรที่เชี่ยวชาญ

นอกจากนี้ยังมีธุรกิจคอนโดมินียมสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งมีบริการครบวงจร เช่น โครงการสวางคนิเวศที่จัดทำโดยสภากาชาดไทย ออกแบบเพื่อให้ผู้สูงอายุ มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน มีหน่วยพยาบาล และที่สำคัญคือมีการคัดสรรผู้พักอาศัยที่มีรสนิยมเดียวกัน สร้างเป็นสังคมระบบพึ่งพา มีการจัดกิจกรรมต่างๆ สม่ำเสมอ ช่วยให้ผู้สูงอายุไม่เหงา และมีความสุขมากขึ้น

5.ปรับบริการเพื่อผู้สูงวัย

นอกจากการสร้างธุรกิจใหม่เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุแล้ว ผู้ประกอบการรายเดิมอาจใช้วิธีปรับรูปแบบธุรกิจของตนเองเพื่อให้เหมาะสมกับการบริการผู้สูงวัยมากขึ้น เช่น ปรับเวลาการเปิดบริการให้เช้าขึ้น เดิมอาจเปิดร้าน 9.00 น. เปลี่ยนเป็น 7.00 น. เนื่องจากกลุ่มผู้สูงอายุจะมีพฤติกรรม ตื่นเช้า นอนเร็ว หรือร้านอาหาร ควรออกแบบทางเดินกว้างขึ้น มีราวจับเพื่อช่วยพยุง มีทางลาดสำหรับวีลแชร์ เก้าอี้ในร้านควรมั่นคงแข็งแรง มีพนักพิง โต๊ะค่อนข้างเตี้ยกว่ามาตรฐาน เพิ่มเมนูสุขภาพ อาหารอ่อนที่ย่อยง่าย เป็นต้น

เมื่อโอกาสวิ่งเข้ามาแล้วผู้ประกอบการอย่างเราต้องรีบคว้าเอาไว้ให้ทัน ใครที่สร้างสรรค์หรือปรับเปลี่ยนธุรกิจได้ดีที่สุด ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้มากที่สุด และที่สำคัญ ทำได้เร็วที่สุด ก็จะประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก

เรื่องแนะนำ

ระบบเรียกคิวไร้สาย

ก้าวข้ามข้อจำกัดเดิมๆ เสริมภาพลักษณ์ของร้านให้ดูทันสมัยด้วย ระบบเรียกคิวไร้สาย

หากคุณอยากจะเริ่มวางแผนบริหารจัดการร้านและลดต้นทุนในการทำธุรกิจ เทคโนโลยีระบบเรียกคิวไร้สายคือ ตัวช่วยสำคัญที่จะเข้ามาช่วยจัดการระบบเรียกคิวในร้านให้ดีขึ้นกว่าเดิม

สร้าง Content ว้าว! จนลูกค้ามาต่อคิว

 ในการทำการตลาดออนไลน์หรือ Digital Marketing ในยุคปัจจุบันนี้ เจ้าของธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มส่วนใหญ่จะไปโฟกัสแต่เครื่องมือ โฟกัสแต่เคล็ดลับเทคนิคต่างๆ ในการซื้อโฆษณา

ปรับตัววิกฤติโควิด-19 สู่การช้อปสินค้าเกษตรอินทรีย์ ผ่านแอปพลิเคชั่น Thai Organic Platform

“เราอยู่ในสังคมเดียวกัน เราก็ต้องช่วยเหลือกันเท่าที่เราทำได้” ไม่มีใครไม่ได้รับผลกระทบในช่วงนี้ เพราะวิกฤติการแพร่ระบาดโรคไวรัสโควิด-19 ทำให้ใครหลายคนต้องอยู่บ้าน พฤติกรรมการบริโภคจึงเปลี่ยนไป ความต้องการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์กลายมาเป็นช่องทางหลัก หลายๆ คนต่างต้องปรับตัวรับมือกับสถานการณ์แบบนี้ให้ได้ เช่นเดียวกับเกษตรกรอินทรีย์ในเครือข่ายสามพรานโมเดลที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตินี้เช่นกัน จากการที่ลูกค้าประจำที่มีทั้งโรงแรม ร้านอาหาร จำเป็นต้องยกเลิกออเดอร์ ทางสามพรานโมเดลจึงได้ริเริ่มนำเครื่องมือ Thai Organic Platform ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ  (สนช.) และ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) มาใช้เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเชื่อมโยงและซื้อขายสินค้าอินทรีย์ตรงจากกลุ่มเกษตรกรได้ผ่านช่องทางออนไลน์ และยังสามารถเข้าถึงข้อมูลแหล่งที่มาของสินค้าได้อย่างเปิดเผย โปร่งใส โดยเริ่มเปิดรับพรีออเดอร์ครั้งแรกไปเมื่อวันที่ 30 มีนาคม ที่ผ่านมา ตัวอย่างหน้าตาแอปพลิเคชั่น   ทางเราไม่รอช้า เมื่อสบโอกาสได้สัมภาษณ์ คุณอรุษ นวราช ผู้บริหารสวนสามพราน และผู้ริเริ่มสามพรานโมเดล จึงอยากจะมาเล่าถึงการปรับตัววิกฤติโควิด-19  และความคืบหน้าการเปิดใช้แอปพลิเคชัน Thai Organic Platform ให้เพื่อนๆ อ่านกันครับ แพลตฟอร์มขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ ร่วมกันฝ่าวิกฤติโควิด-19 “สังคมอินทรีย์เราเน้นเรื่องการเชื่อมโยงห่วงโซ่ ตั้งแต่ผู้ผลิตคือเกษตรกรอินทรีย์ ผู้ประกอบการอย่างโรงแรม ร้านอาหาร และผู้บริโภคคือลูกค้า เหมือนเราเป็นตัวกลางเชื่อมให้ห่วงโซ่ทั้งหมดมาเจอกัน พอมีวิกฤติอย่างนี้เกิดขึ้น เราเป็นสังคมเดียวกัน […]

ผ่านวิกฤติ COVID-19 ไปด้วยกัน กับเทคนิคปรับตัวของร้านอาหารในช่วงวิกฤติ COVID-19 จาก Penguin Eat Shabu

Penguin Eat Shabu ในสถานการณ์ที่อะไรๆ ก็ดูไม่เป็นใจ มองไปทางไหนก็เห็นแต่ความเศร้าปกคลุม จะดีกว่าไหม ถ้าเรามาเติมไฟในตัวให้ลุกโชนด้วยการนั่งดูสาระดีๆ เก็บความรู้ไปต่อยอด สำหรับผู้ประกอบการร้านอาหารผ่าน LIVE บนช่องทาง LINE Official Account : LINE for Business กันดีกว่าครับ เมื่อวันศุกร์ที่ 17 เมษายน ที่ผ่านมา ผมได้นั่งฟัง “คุณต่อ-ธนพงศ์ วงศ์ชินศรี ผู้ร่วมก่อตั้ง Penguin Eat Shabu” พูดคุยถึงเรื่อง ธุรกิจร้านอาหารต้องปรับตัวอย่างไรในช่วง COVID-19? พร้อมคุณโซอี้-ภญ.โสภา พิมพ์สิริพานิชย์ LINE Certified Coach ที่มาให้ความรู้เพิ่มเติมในการใช้ LINE เพื่อให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างน่าสนใจมาก ผมเลยนำประเด็นมาสรุปและเรียบเรียงออกมาให้เพื่อนๆ อ่านกันครับ Penguin Eat Shabu ไม่อร่อย ให้ต่อยเพนกวิ้น ร้านบุฟเฟ่ต์ชาบูขวัญใจทั้งวัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ ที่มาพร้อมกับสโลแกนน่ารักๆ ว่า “ไม่อร่อย ให้ต่อยเพนกวิ้น” […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.