ทำไมเปิด "คาเฟ่" แล้วไม่รุ่ง? แชร์เหตุผลที่ทำให้ไม่สำเร็จจากผู้ประกอบการตัวจริง

ทำไมเปิด “คาเฟ่” แล้วไม่รุ่ง? เจ้าของร้านกาแฟ พร้อมสมาชิกกลุ่ม “คนบ้ากาแฟ” แชร์เหตุผลทำไมไม่สำเร็จ

ถอดบทเรียน เจ้าของร้านกาแฟแชร์เหตุผล
ทำไมเปิด ” คาเฟ่ ” แล้วไม่รุ่ง?
สมาชิกกลุ่ม “คนบ้ากาแฟ” ร่วมแสดงความเห็น
และปัจจัยอื่น ๆ ที่ไม่ประสบความสำเร็จ

 

เพราะเหตุผลนี้ทำให้เปิด คาเฟ่ ไม่รุ่ง! เจ้าของร้านกาแฟดังแชร์ปัจจัยที่เป็นต้นเหตุให้การทำร้าน คาเฟ่ ได้รับการตอบรับที่ไม่ดีเท่าที่ควร ในกลุ่มคนบ้ากาแฟ โดยมีเจ้าของร้านกาแฟ คาเฟ่ คนอื่นๆ ร่วมแสดงความคิดเห็นถึงเรื่องนี้ด้วย
.
เจ้าของร้านรายนี้ได้สรุปเหตุผลที่ทำให้การทำคาเฟ่ไม่รุ่งไว้ว่า
“ เหตุผลที่คนทำ cafe ไม่รุ่ง
1. ไม่มีความรู้เรื่องผลิตภัณฑ์ และธุรกิจ ของตัวเอง
(ไม่กินกาแฟ อยากทำร้านกาแฟได้มั้ยคะ 55555 )
2. ไม่รู้ต้นทุนตัวเอง ต้นทุนต่อแก้ว /ค่าเช่า /ค่าพนักงาน/ ต้นทุนแฝง ฯลฯ
3. เลือกทำเลไม่เป็น ไม่รู้จักช่องทางขาย
(เลือกทำเลราคาถูก แต่ไม่มีลูกค้า )
4. สนองความต้องการตัวเองจนลืมเหตุและผล
(ของมันต้องมี) ทำเอาหน้า ลืมเอาเงิน 5555
5. ไม่รู้จัก supplier ดีๆ ที่ไม่ได้หลอกแต่จะขายของ…..
*** จริงๆ มันมีเหตุผลเยอะมากกว่านี้ เดี๋ยวค่อยๆเอาประสบการณ์มาเล่าให้ฟังนะคะ 55555 ”
.
ซึ่งเมื่อโพสต์นี้ออกไปก็ได้มีเจ้าของร้านกาแฟ คนทำกาแฟคนอื่น ๆ รวมถึงผู้บริโภคต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็น และยกตัวอย่างปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น

 

 

🔸รสชาติ😋

“ทำร้านกาแฟ สุดท้ายแม้จะ decoration ดียังไง พื้นฐานต้องอยู่ที่ตัวกาแฟ ถ้ากาแฟรสชาติไม่ได้มันก็ไปต่อไม่ได้ ในขณะที่บางเจ้าเน้นรสชาติมากไป ก็อาจจะล่มจมได้เหมือนกัน”

“ที่สำคัญที่สุดผมคิดว่า ถ้าไม่รู้รสชาติกาแฟของร้านตัวเองนี่หนักเลยครับ น่าจะไปต่อยากสุด ถ้าทำเลไม่ดี แต่กาแฟอร่อยมีลูกค้าประจำ ก็ยังพออยู่ได้ครับ ปรับให้ถูกปากคนในพื้นที่ครับ”

“ระดับความหวานก็สำคัญนะคับ ควรแยกระหว่างคำว่า “หวานน้อย”กับ”ไม่หวานเลย”ออกจากกัน ลูกค้าสั่งไม่หวาน ไม่ต้องกลัวว่าลูกค้าจะกินไม่ได้ ลูกค้าสั่งแบบไหนก็ทำให้ลูกค้าแบบนั้น ทำให้เป็นมาตรฐานของทุกร้าน สั่งไม่หวานได้หวานน้อย คอกาแฟอยากจะร้องไห้”


🔸Passion✨

“ผมว่าต้องมี passion เป็นไฟหลัก ประกอบกับถ้าเป็นคนที่กินกาแฟมาก่อน ฝึกชงเองกินเองมาก่อน ผมว่าไปรอด ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ไม่รอด ถ้าคิดจะทำแต่ไม่มีภาพในหัว ก็เสียเวลาเปล่า”

🔸ราคา💸

“ราคาสำคัญมากๆ ค่ะ จะรอดไม่รอดราคาตัวชี้วัด”
“อย่าคิดว่าร้านกาแฟเป็นเรื่องง่าย เพราะรายละเอียดเยอะ อย่าคิดว่าลูกค้าทุกคนจะชอบรสชาติอาหารร้านเรา ต้องถามความต้องการของลูกค้าทุกครั้ง เช่น ชอบหวานมากหรือหวานน้อย อย่าคิดว่าลูกค้าเป็นลูกค้า แต่ให้คิดว่าลูกค้า คือ คนในครอบครัวเราคนหนึ่ง เมื่อเกิดปัญหา ต้องพลิกปัญหาให้เป็นเรื่องตลก ให้ลูกค้าคลายความโมโห เช่น ส่งอาหารช้า ส่งอาหารผิดโต๊ะ รักพนักงานให้เหมือนพี่น้องเพราะพนักงานไม่ใช่คนใช้ โปรโมทร้านสม่ำเสมอ ให้คนทุกคนคุ้นหูและชินตา ถึงแม้อาหารร้านเราจะอร่อยมากแค่ไหน ถ้าไม่มีลูกค้ามาทานใครจะรู้ เราต้องดึงดูดลูกค้าเข้ามาให้ได้ เจ้าของร้านต้องทำได้ทุกหน้าที่ ตั้งแต่ทำอาหารยังทำความสะอาดร้าน เพราะถ้าแม่ครัว พนักงานชงกาแฟหยุดร้านจะเปิดขายไม่ได้”

🔸ทำเล📍

“ควรรู้จัก positioning ของตัวเอง และรู้จักกลุ่มลูกค้าของตัวเองด้วย คนกินกาแฟมีหลายกลุ่ม หลายประเภท ฯลฯ จะปัองกันปัญหาการอยู่ผิดที่ผิดทาง ฯลฯ ได้”
“ตอนนี้ทำเล​ เป็นเรื่องเล็ก ๆ มากครับ​ คาเฟ่ลับเพียบ​ อยู่ได้มาหลายปีก็มีครับ”

🔸ทักษะ ความรู้ หลักการ📕

“ความรู้ด้านกาแฟแบบครบวงจรสำคัญค่ะ ทั้งการเลือกสรรเมล็ด กระบวนการชง ความชำนาญในการใช้เครื่องชง การเลือกใช้สูตรที่ประกอบด้วยวัตถุดิบคุณภาพ มันคือพื้นฐานหลักที่บาริสต้าต้องศึกษา เพราะหากคนทำไม่รู้จักกาแฟที่ดี ไม่รู้อะไรสักอย่าง แต่อยากจะนำเสนอให้ลูกค้าซื้อ มันก็เหมือนการหลอกลวงอยู่กลายๆ นะ คือขายเพราะคิดว่าอยากได้เงิน แต่คนขายยังไม่ลอง ยังไม่รู้อะไรเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของตัวเอง แล้วคนซื้อจะเชื่อถือได้มั้ย ?

โดยส่วนตัวในฐานะคอกาแฟ หากคนทำรู้ไม่จริง ก็ยากนะคะที่จะเลือกเดินเข้าร้านนั้น แม้ว่าทำเลจะดีแค่ไหนก็ตาม ก็มันไม่อร่อย ถ้าแนะนำได้ก็จะบอกว่า ควรไปศึกษามาใหม่ แต่หากคุยไม่ได้ก็ครั้งเดียว จบ เสียดายตังค์ค่ะ โดยส่วนตัวคิดแบบนี้จริงๆ นะคะ ไม่ว่าคาเฟ่นั้นจะเล็กหรือใหญ่ ขายราคาแพง ราคาถูก หรือว่าราคาสมน้ำสมเนื้อก็ตาม ส่วนทำเล และบรรยากาศ นั่นคือ แนวคิดทางการตลาดที่ผู้ลงทุนต้องวิเคราะห์และตีโจทย์ในลำดับถัดไป”

“อาจจะต้องเข้าใจหลัก 4P ด้วยนะครับ Product, Price ,Place, Promotion จะช่วยวิเคราะห์สถานการณ์ได้เยอะเลยครับ”

“ต้องรู้จัก​ Product ของตัวเองก่อนค่ะก่อนขาย ต่อด้วย​ Price ว่าควรตั้งเท่าไหร่ ขายใคร​ ต้นทุน/กำไร​ จุดคุ้มทุน​ แล้ว​ Place ที่หมายถึง​ ทำเล​/สถานที่​ จะตามมา​ พอมาต่อยอดด้วย​ Promotion ทุกอย่างจะเริ่มรันตามสเต็ป​ ทำครบลูป โอกาสรอด​ 80-90%เลยทีเดียว​ พื้นฐานก่อนลงทุนที่ควรทราบ​ ส่วนอย่างอื่นถ้าศึกษาเยอะจะช่วยธุรกิจได้ดีมากๆ”

 

 

🔸ปัจจัยอื่น ๆ✨

“ธุรกิจขายฝัน หลายๆ คนพอเริ่มทำเป็นก็อยากเปิดกัน​ บางครั้งไม่ศึกษาให้ดีก่อน​​ บางที่เน้นถ่ายรูปมากกว่ารสชาติก็จะอยู่ได้ช่วงแรกๆ​ หลังๆ ก็เงียบเหงา​ ต้องดูพื้นที่ที่ขาย, ลูกค้าแบบไหน, ราคาที่ขาย, ส่วนใหญ่ลูกค้าชอบกาแฟแบบไหนบ้าง, กาแฟแต่ละตัวที่ขายรสชาติเป็นแบบไหน​ การคุยกับลูกค้าทุกคนที่เข้ามาก็สำคัญ​​ อย่าเอาตัวเราชอบเป็นที่ตั้งว่ากาแฟต้องแบบนี้​ ถ้าตอบโจทย์ได้ลูกค้าก็จะกลับมาหาเราอีกเรื่อยๆ​”
“เจ้าของร้านอินดี้ ไม่ง้อลูกค้า หน้าหักหน้างอ อยากเปิด-ปิด ไม่เป็นเวลา” เป็นต้น
.
แล้วคุณล่ะคิดว่าการเปิดคาเฟ่ให้รุ่ง ต้องมีปัจจัยอะไรบ้าง? มาแชร์กัน
.

#AmarinAcademy #ร้านอาหาร

เรื่องแนะนำ

Mee OK

ต่อยอดโรงงานบะหมี่ สู่ธุรกิจร้านอาหาร Mee OK (หมี่ โอเค)

ไม่ใช่เรื่องง่ายของการทำธุรกิจที่จะเปลี่ยนแปลงจากสิ่งที่มีอยู่เดิม ให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม หรือหาโอกาสใหม่ๆ ให้กับธุรกิจได้ “Mee OK” หนึ่งตัวอย่างความสำเร็จของ ธุรกิจร้านอาหาร ที่ต่อยอดมาจากโรงงานผลิตเส้นบะหมี่ (ส่งร้านสุกี้ชื่อดัง) และแป้งที่มีประสบการณ์มากกว่า 80 ปี  จากประสบการณ์ผลิตบะหมี่กว่า 80 ปี สู่ธุรกิจร้านอาหาร Mee OK (หมี่ โอเค)  “อยากให้เพื่อนได้กินบะหมี่ของตัวเอง” จุดเริ่มต้นง่ายๆ ของคุณม้ง – ปรมะ ห่อทองพูน เจ้าของร้าน Mee OK และเจ้าของบริษัทผู้ผลิตเส้นบะหมี่ให้ร้านดัง ที่คิดอยากจะทำแบรนด์ร้านอาหารของตัวเอง  แบรนด์มันคือสิ่งสำคัญที่ทำให้คนรู้จักเรา ธุรกิจโรงงานของเราเริ่มมาตั้งแต่รุ่นอากง จากทำเส้นบะหมี่ขายในชุมชนและย่านใกล้ๆ มาถึงรุ่นพ่อก็เริ่มขยับขยาย ขายให้ภัตตาคารหรือร้านอาหารในเยาวราช ธุรกิจเริ่มใหญ่ขึ้น มีลูกค้าเยอะขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เราจะได้ลูกค้าที่บอกกันปากต่อปาก ทีนี้พอมาถึงรุ่นผม ก็เลยตัดสินใจที่จะเปิดโรงงานผลิตเส้นบะหมี่และแป้ง เพื่อสร้างมาตรฐาน คุณภาพ และความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจ จนได้กลุ่มลูกค้าเพิ่มเป็นธุรกิจร้านอาหาร และธุรกิจส่งออกไปต่างประเทศ อยากทำแบรนด์ของตัวเอง  เหตุผลหลักๆ เลย ก็คือตอนที่เราทำโรงงานอย่างเดียว เหมือนเราต้องพึ่งลูกค้าเป็นหลักในการขาย เพราะเราเป็นโรงงาน ไม่มีหน้าร้านหรือแบรนด์แบบเค้า ยกเลิกออเดอร์ทีเราก็เสียกำไรตรงนั้นไป […]

The Yard Hostel

The Yard Hostel โฮสเทลกลางอารีย์ อบอุ่นเหมือนนอนบ้านญาติ

หลักในการเป็นเจ้าของกิจการที่ดี คือเราให้ความสำคัญกับทุกๆ คน ไม่ใช่เพียงแค่แขกที่เข้าพัก แต่ยังรวมไปถึงพนักงานที่ทำงานร่วมกับเรา

Laemgate Infinite

Laemgate Infinite ยอดขาย 100 ล้านต่อปี!

Laemgate Infinite สามารถสร้างยอดขายได้ 100 ล้านบาทต่อปี! เพราะอะไรร้านอาหารทะเลเล็กๆ จึงสามารถสร้างตัวตนและความแตกต่างได้มากถึงเพียงนี้ ไปติดตามกัน

ขายอาหารในศูนย์การค้า

10 ขั้นตอน ขายอาหารในศูนย์การค้า ต้องเริ่มอย่างไร?

เชื่อว่ามีร้านอาหารมากมาย ที่เคยคิดอยากจะเปิดร้านอาหารภายในศูนย์การค้า รวมถึงร้านที่ไม่ใช่แบรนด์ดัง ก็อยากจะพาร้านตัวเองเข้าสู่ศูนย์การค้า เพื่อให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น แต่ก็มีหลายคำถามมากๆว่า ขายอาหารในศูนย์การค้า ต้องเริ่มอย่างไร มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ยุ่งยากหรือไม่ คุณประภา จิตวิวัฒน์พร Leasing Manager Business Development Group ศูนย์การค้า Seacon Square มาให้คำตอบแบบ Step by Step ให้เจ้าของร้านให้ทราบกันเลย   10 ขั้นตอน ขายอาหารในศูนย์การค้า Step by Step ขั้นตอนแรก เจ้าของร้านต้องโทรเข้ามาที่ศูนย์การค้าเพื่อ ติดต่อฝ่ายขาย ว่ามีความประสงค์ต้องการจะเปิดร้านอาหาร ทีมฝ่ายขายจะมีการสอบถามเบื้องต้นว่า ต้องการเปิดร้านอะไร พื้นที่เท่าไหร่ จากนั้นก็จะให้ทางร้านส่ง Brand Profile มาให้พิจารณาเป็นลำดับถัดไป เจ้าของร้านส่ง Brand Profile ให้ศูนย์การค้าพิจารณา จุดนี้สำคัญมาก เจ้าของร้านต้องทำโปรไฟล์ร้านของตัวเองก่อน เพื่อให้รู้ว่าร้านของคุณเป็นอย่างไร ขายอาหาร หรือเครื่องดื่มประเภทใด หรือแม้กระทั่งมีจุดเด่นอะไรที่น่าสนใจ ยิ่งหากไม่ใช่ร้านดัง Brand […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.